กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: คนไทยกับภาษาไทย

  1. #1
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ auddy228
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    ที่อยู่
    THAILAND
    กระทู้
    1,176
    บล็อก
    1

    สว่างใจ คนไทยกับภาษาไทย

    คนไทยกับภาษาไทย



    ภาษาไทยประจำวัน

    กกุธภัณฑ์

    อ่านว่า กะ-กุด-ทะ-พัน หมายถึง เครื่องหมายความเป็นพระราชาธิบดีตามที่แสดงไว้ในบรมราชาภิเษก ร. ๗ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกร ๔. วาลวีชนี (พัดกับแส้จามรี) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่า เบญจราชกกุธภัณฑ์ มักเขียนผิดเป็น กกุฐภัณฑ์, กกุธพรรณ

    :ปักเป้า
    อ่านว่า ปัก-กะ-เป้า หมายถึง ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในวงศ์ Tetraodontidae, Diodontidae และ Triodontidae มักอ่านผิดเป็น ปัก-เป้า
    อ่านว่า ปัก-เป้า หมายถึง ชื่อว่าวชนิดหนึ่งมีหางยาว, คู่กับ ว่าวจุฬา, อีเป้า ก็เรียก มักอ่านผิดเป็น ปัก-กะ-เป้า

    กงเกวียนกำเกวียน

    อ่านว่า กง-เกฺวียน-กำ-เกฺวียน หมายถึง เวรสนองเวร กรรมสนองกรรม เช่น ทำแก่เขาอย่างไร เขาก็ทำแก่ตนอย่างนั้น เป็นกงเกวียนกำเกวียน, การหมุนเวียนไปตามสภาพ เช่น อันทุกข์โศกโรคภัยในมนุษย์ ไม่รู้สุดสิ้นลงที่ตรงไหน เหมือนกงเกวียนกำเกวียนเวียนระไว จงหักใจเสียเถิดเจ้าเยาวมาลย์ มักเขียนผิดเป็น กงเกวียนกรรมเกวียน, กงกรรมกงเกวียน

    กงไฉ่

    อ่านว่า กง-ไฉ่ หมายถึง ผักกาดเค็มชนิดหนึ่งของจีน มักเขียนผิดเป็น ก๋งไฉ่


    กงสุล

    อ่านว่า กง-สุน หมายถึง ผู้ดูแลผลประโยชน์ ณ ต่างประเทศ มักเขียนผิดเป็น กงสุน,กงศุล

    กฎเกณฑ์

    อ่านว่า กด-เกน หมายถึง ข้อกำหนดที่วางไว้เป็นหลัก, หลักเกณฑ์ มักเขียนผิดเป็น กฏเกณฑ์.


    กฐินทาน

    อ่านว่า กะ-ถิน-นะ-ทาน หมายถึง การทอดกฐิน มักอ่านผิดเป็น กะ-ถิน-ทาน

    กฐินกาล

    อ่านว่า กะ-ถิน-นะ-กาล หมายถึง หน้ากฐิน คือระยะเวลาตั้งแต่แรมค่ำหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ มักอ่านผิดเป็น กะ-ถิน-กาน

    กรมธรรม์

    อ่านว่า กฺรม-มะ-ทัน หมายถึง สัญญาซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน, เอกสารซึ่งทาสลูกหนี้ยินยอมให้กรมการอำเภอทำให้ไว้แก่เจ้าหนี้นายเงิน, คำนี้เรียกเต็มว่า สารกรมธรรม์ หรือย่อว่า สารกรม, บางทีเรียกเพียงคำเดียวว่า กรม ก็มี เช่น กู้หนี้ถือสีนกันเข้าชื่อในกรมหลายคน (สามดวง ลักษณะกู้หนี้) มักเขียนผิดเป็น กรมธรรม

    กระงกกระเงิ่น


    อ่านว่า กฺระ-งก-กฺระ-เงิ่น หมายถึง งกๆ เงิ่นๆ มักเขียนผิดเป็น กะงกกะเงิ่น




    แล้วจะมาเพิ่มเติมอีก....

  2. #2
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ auddy228
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    ที่อยู่
    THAILAND
    กระทู้
    1,176
    บล็อก
    1

    สว่างใจ คำที่ใช้สับสน

    คำที่ใช้สับสน


    คำที่ใช้สับสน



    กระเชอก้นรั่ว

    อ่านว่า กฺระ-เชอ-ก้น-รั่ว หมายถึง ไม่รู้จักเก็บหอมรอมริบ ขาดการประหยัด มักเขียนผิดเป็น กระเฌอก้นรั่ว

    กระเง้ากระงอด

    อ่านว่า กฺระ-เง้า-กฺระ-งอด หมายถึง โกรธอย่างแสนงอน มักเขียนผิดเป็น กาเง้ากางอด

    กระจ้อยร่อย


    อ่านว่า กฺระ-จ้อย-ร่อย หมายถึง น้อยๆ เล็กนิด มักเขียนผิดเป็น กะจ้อยร่อย

    กระจุกกระจิก

    อ่านว่า กฺระ-จุก-กฺระ-จิก หมายถึง เล็กๆ น้อยๆ คละกัน, เบ็ดเตล็ดคละกัน มักเขียนผิดเป็น กะจุกกะจิก


    กระชุ่มกระชวย


    อ่านว่า กฺระ-ชุ่ม-กฺระ-ชวย หมายถึง มีผิวพรรณสดใส หรือมีอาการกระปรี้กระเปร่า มักเขียนผิดเป็น กะชุ่มกะชวย

    กราฟ


    อ่านว่า กฺร๊าบ หมายถึง แผนภูมิที่ใช้เส้น หรือจุด หรือภาพ เป็นต้น เพื่อแสดงความเปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปรตัวหนึ่งเทียบกับความเปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปรตัวอื่น มักเขียนผิดเป็น กร๊าฟ

    กระตือรือร้น

    อ่านว่า กฺระ-ตือ-รือ-ร้น หมายถึง รีบร้อน, เร่งรีบ, ขมีขมัน, มีใจฝักใฝ่เร่งร้อน มักเขียนผิดเป็น กระตือรือล้น

    กระฟัดกระเฟียด

    อ่านว่า กฺระ-ฟัด-กฺระ-เฟียด หมายถึง อาการที่โกรธหรือแสร้งทำโกรธ มักเขียนผิดเป็น กะฟัดกะเฟียด


    กระษาปณ์, กษาปณ์


    อ่านว่า กฺระ-สาบ,กะ-สาบ หมายถึง เงินตราที่ทำด้วยโลหะ มักเขียนผิดเป็น กะษาปณ์

    กระแหนะกระแหน

    อ่านว่า กฺระ-แหฺนะ-กฺระ-แหฺน หมายถึง พูดกระทบหรือพูดเป็นเชิงเสียดสี มักเขียนผิดเป็น กระแนะกระแหน

    กรณี


    อ่านว่า กะ-ระ-นี หมายถึง คดี, เรื่อง, เหตุ มักอ่านผิดเป็น กอ-ระ-นี

    กรกฎาคม

    อ่านว่า กะ-รัก-กะ-ดา-คม หมายถึง ชื่อเดือนที่ ๗ ตามสุริยคติ มาจากคำว่า กรกฎ (กอ-ระ-กด) กับคำว่า อาคม (อา-คม) มักอ่านผิดเป็น กะ-ดั๊ก-กะ-ดา-คม

    กรกฎ เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า ปู ส่วนคำว่า อาคม แปลว่า การมา คนโบราณเชื่อว่าเดือนที่ ๗ เป็นเดือนที่ดวงอาทิตย์โคจรมาสู่ราศีของกลุ่มดาวกรกฎ จึงเรียกเดือนนั้นว่า กรกฎาคม



    กรรมาธิการ

    อ่านว่า กำ-มา-ทิ-กาน หมายถึง บุคคลที่ได้รับเลือกจากวุฒิสภาหรือสภาผู้แทนราษฎรตั้งเป็นคณะกรรมาธิการเพื่อกระทำกิจการหรือพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใดๆ ตามที่สภามอบหมายแล้วรายงานต่อสภา คณะกรรมาธิการแบ่งออกเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ ประกอบด้วยกรรมาธิการที่เลือกจากบรรดาสมาชิกของสภานิติบัญญัติล้วนๆ และคณะกรรมาธิการวิสามัญ ประกอบด้วยกรรมาธิการที่เลือกจากผู้เป็นสมาชิก และบุคคลที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของสภานิติบัญญัติ มักอ่านผิดเป็น กัน-มา-ทิ-กาน


    กระผีกริ้น

    อ่านว่า กฺระ-ผีก-ริ้น หมายถึง นิดหน่อย, น้อยมาก, เล็กน้อย มักเขียนผิดเป็น กระผีกลิ้น





    :heart:

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •