ส้มบักฮู่ง

ส้มตำ (บางท้องถิ่นเรียก ตำส้ม) เป็นการนำมะละกอมากินวิธีหนึ่ง
ส้มตำเป็นชื่ออาหารที่แสดงความหมายในตัว มะละกอก็ไม่มีใครสืบค้นได้ว่ามีถิ่นกำเนิดที่ใดในโลก
แต่มีบางคนสันนิษฐานว่ามนุษย์คือเป็นอาหารที่มีรสเปรี้ยว (ส้ม) และการปรุงต้องโขลกผสมคลุกในครก
ส้มตำเป็นอาหารที่นิยมรับประทานกันทั่วทุกภาค
แต่เป็นที่เข้าใจกันว่าส้มตำนิยมกินกันทางภาคอีสานก่อน เรียกว่า ?ตำหมากหุ่ง?
เครื่องปรุงหลักมีมะละกอดิบ กระเทียม พริกขี้หนู เกลือ น้ำตาลปี๊บ ปลาร้า มะนาว (อาจใช้มะขามเปียก หรือมะกอกแทน)
ถ้าเอาส้มตำมาคลุกกับขนมจีนเรียก ?ตำซั่ว?
ครั้นส้มตำเผยแพร่มายังภาคต่างๆ มีการเพิ่ม ลด ดัดแปลงส่วนประกอบ
เป็นต้นว่าส้มตำโคราชจะใส่พริกขี้หนูแห้ง ปลาป่น และขิง
ส่วนท้องที่อื่นๆ ก็ดัดแปลงกันตามชอบ บางเจ้าใส่น้ำพริกตาแดง บางเจ้าใส่กะปิ
บางที่นอกจากใช้มะละกอแล้ว ยังใช้ถั่วฝักยาว แตงกวา แตงไทย มะยม ลูกยอ
ส่วนส้มตำภาคกลาง หรือ ?ตำไทย?จะใส่ถั่วลิสงคั่ว ใส่กุ้งแห้ง หรือปูดองแทนปลาร้า บางแห่งใส่กั้งดองก็มี
คนไทยในสหรัฐอเมริกาและยุโรปหามะละกอไม่ได้
ก็ใช้กะหล่ำปลี แครอท ใช้วิธีคลุกแทนการโขลก