กำลังแสดงผล 1 ถึง 3 จากทั้งหมด 3

หัวข้อ: แม่น้ำแยงซีแม่น้ำที่ยาวที่สุดในเอเซีย

Hybrid View

คำตอบที่แล้วมา คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป คำตอบถัดไป
  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    แม่น้ำแยงซีแม่น้ำที่ยาวที่สุดในเอเซีย

    แม่น้ำแยงซีแม่น้ำที่ยาวที่สุดในเอเซีย



    แม่น้ำแยงซี หรือ แยงซีเกียง เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในทวีปเอเชีย และเป็นแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับที่สามของโลก รองจากแม่น้ำไนล์ในทวีปแอฟริกาและแม่น้ำแอมะซอนในทวีปอเมริกาใต้ แม่น้ำแยงซีเกียงยาว 6,300 กิโลเมตร ต้นน้ำอยู่ที่มณฑลชิงไห่และทิเบต ในทิศตะวันตกของสาธารณรัฐประชาชนจีน และไหลมาทางทิศตะวันออก ออกสู่ทะเลจีนตะวันออก



    แม่น้ำแยงซีแม่น้ำที่ยาวที่สุดในเอเซีย


    แม่น้ำแยงซีแม่น้ำที่ยาวที่สุดในเอเซีย


    แม่น้ำแยงซีแม่น้ำที่ยาวที่สุดในเอเซีย


    แม่น้ำแยงซีแม่น้ำที่ยาวที่สุดในเอเซีย


    แม่น้ำแยงซีแม่น้ำที่ยาวที่สุดในเอเซีย


    แม่น้ำแยงซีแม่น้ำที่ยาวที่สุดในเอเซีย


    แม่น้ำแยงซีแม่น้ำที่ยาวที่สุดในเอเซีย


    แม่น้ำแยงซีแม่น้ำที่ยาวที่สุดในเอเซีย




    ชื่อแม่น้ำแยงซีเกียงที่คนไทยเรียกกันนั้น เป็นชื่อที่ตกทอดมาจากแม่น้ำหยางจี๋เจียง ซึ่งเริ่มเรียกในสมัยราชวงศ์สุย. ชื่อแม่น้ำหยางจี๋เจียงถูกเรียกตามเรือบรรทุกสินค้าในสมัยก่อนจากเมืองหยางจีจิน ในสมัยราชวงศ์หมิง ตัวเขียนของแม่น้ำหยางจีจินบางครั้งเขียนเป็น??(พินอิน) เนื่องจากกลุ่มแรกๆที่ได้ยินชื่อแม่น้ำหยางจีจินคือกลุ่มมิชชันนารีและพ่อค้า ชื่อแม่น้ำนี้จึงถูกเรียกแทนแม่น้ำทั้งสาย ในเวลาต่อมาชื่อของแม่น้ำหยางจี๋เจียงได้รับการพิจารณาว่าเป็นชื่อที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวรรณคดีของประเทศจีน ชื่อใหม่ของแม่น้ำหยางจี๋เจียงคือ แม่น้ำฉางเจียงซึ่งมีความหมายว่า แม่น้ำสายยาว(Long River) ซึ่งชาวตะวันตกก็เรียกเช่นเดียวกันนี้ในบางครั้ง

    แม่น้ำแยงซีเกียงถูกเรียกต่างชื่อกันไปตามเส้นทางของลำน้ำเช่นเดียวกับแม่น้ำหลายๆสาย เช่น ต้นทางของแม่น้ำแยงซีเกียงถูกเรียกโดยชาวทิเบตว่า ตางชู ตามทางของแม่น้ำแยงซีเกียงถูกเรียกว่า แม่น้ำถัวทัว ลาดลงมาอีกเรียกว่า แม่น้ำถงเทียน(อักษรจีน: แม่น้ำแยงซีแม่น้ำที่ยาวที่สุดในเอเซีย, ให้ความหมายทางวรรณกรรมว่า ผ่านแม่น้ำสวรรค์) นอกจากนี้แล้วแม่น้ำแยงซีเกียงยังถูกเรียกว่า แม่น้ำจินชา ให้ความหมายทางวรรณกรรมว่า แม่น้ำหาดทรายทอง) จากเส้นทางน้ำไหลผ่านช่องแคบระหว่างเทือกเขาต่างๆสู่ แม่น้ำแม่กองและ แม่น้ำสาละวิน ก่อนที่จะไหลผ่านเข้าสู่ที่ราบลุ่มเสฉวน หรือ ชิชวน ซึ่งตั้งอยู่ด้านตะวันตกของจีน ชาวจีนสมัยก่อนเรียกแม่น้ำแยงซีเกียงเพียงสั้นๆว่า เจียง หรือ ต้าเจียง ซึ่งต่อมาชาวจีนเรียกแทนแม่น้ำว่า เจียง ชาวทิเบตเรียกแม่น้ำว่า บีร์ชู(ภาษาทิเบต: ให้ความหมายทางวรรณกรรมว่า แม่น้ำแม่วัวป่า) แม่น้ำแยงซีเกียงยังถูกเรียกว่าเป็นแม่น้ำสายทองคำ อีกด้วย



    สภาพทางภูมิศาสตร์

    ต้นกำเนิดของแม่น้ำแยงซีเกียงอยู่ใต้ธารน้ำแข็งทางทิศตะวันตกของภูเขาเก้อลาตานตงแม่น้ำแยงซีเกียงไหลผ่านไปฝั่งตะวันออกของมณฑลชิงไห่ และไหลลงไปทางใต้สู่หุบเขาที่ลึกตามแนวเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างมณฑลเสฉวน กับ ทิเบต แล้วไหลเข้าสู่มณฑลหูหนาน หรือ ฮูนาน ซึ่งเส้นทางไหลเลาะ ลาด ตามหุบเขานั้นได้ลดระดับความสูงของแม่น้ำจากมากกว่า 5000เมตร สู่ระดับที่ต่ำกว่า 1000เมตร

    แม่น้ำแยงซีเกียงไหลเข้าสู่ แอ่งน้ำเสฉวน ณ อี๋ปิน ซึ่งแม่น้ำแยงซีเกียงได้บรรจบกับแม่น้ำอีกหลายสาย ณ แอ่งน้ำเสฉวน นี้ จึงทำให้มีปริมาณน้ำมากขึ้นอย่างชัดเจน หลังจากนั้นแม่น้ำแยงซีเกียงก็ไหลเลาะตามเส้นแบ่งเขตระหว่างมณฑลฉงชิ่ง กับ มณฑลหูเป่ย์ จากเส้นทางไหลเลาะตามเส้นแบ่งเขตนี้ ก่อให้เกิดซานเชี่ย อันโด่งดัง

    แม่น้ำแยงซีเกียงได้รับปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นจากทะเลสาบพันๆแห่งหลังจากไหลเข้าสู่มณฑลหูเป่ย์ ทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดที่มาบรรจบกับแม่น้ำแยงซีเกียงคือ ทะเลสาบต้งถิง ซึ่งเลาะเลียบตามเส้นแบ่งเขตของมณฑลหูหนานกับมณฑลหูเป่ย์ หลังจากเข้าสู่เมืองอู๋ฮั่น แม่น้ำแยงซีเกียงได้บรรจบกับแม่น้ำสายย่อยที่ใหญ่ที่สุด นั่นคือแม่น้ำฮั่น โดยที่แม่น้ำฮั่นนำพาปริมาณน้ำมาจากเขตทางเหนือเริ่มจากมณฑลฉ่านซี ทะเลสาบโป๋หยาง ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจีนเข้าบรรจบกับแม่น้ำแยงซีเกียงที่ปลายทางตอนเหนือของมณฑลเจียงซี จากนั้นแม่น้ำแยงซีเกียงก็ได้รับปริมาณน้ำเพิ่มจากทะเลสาบและแม่น้ำใหญ่น้อยที่นับไม่ถ้วนจากเส้นทางที่ไหลผ่านเข้าสู่มณฑลอานฮุย และมณฑลเจียงซู แล้วสุดท้ายก็ไหลผ่านลงสู่ทะเลจีนตะวันออก หรือ เซี่ยงไฮ้


    แม่น้ำแยงซีเกียงที่ไหลเข้าสู่ทะเลจีนตะวันออกนั้นมีขนาดกว้างและลึกพอสำหรับการสัญจรของเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่เป็นระยะทางหลายพันไมล์จากปากทางเข้า แม้ว่าเขื่อนสามผา จะยังไม่ได้สร้างก็ตาม ต่อมาในปี 2003 เดือนมิถุนายน เขื่อนสามผา ถูกสร้างขึ้นเพื่อควบคุมปริมาณน้ำจากแม่น้ำแยงซีเกียงที่ไหลท่วมเขตการปกครองเฟิ้งเจี๋ย จึงทำให้เขตการปกครองเฟิ้งเจี๋ยเป็นเมืองแรกที่ได้รับการคุ้มครองจากอุทกภัยและได้รับผลประโยชน์จากโครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเขื่อนสามผา

    เขื่อนสามผา เป็นโครงการชลประทานแบบครอบคลุมที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมของประเทศจีนเป็นอย่างมาก ฝ่ายผู้สนับสนุนโครงการชี้แจงว่า เขื่อนสามผา สามารถให้ผู้คนอาศัยตามริมฝั่งแม่น้ำแยงซีเกียงโดยไม่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยอย่างที่เกิดขึ้นบ่อยๆในอดีต พร้อมทั้งยังจำหน่ายไฟฟ้าและลำเลียงเส้นทางน้ำให้ แม้ว่า เขื่อนสามผา จะถูกสร้างขึ้นทับเมืองต่างๆ(รวมถึงโบราณสถานหลายแห่ง) และส่งผลกระทบถึงการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศน์ในชุมชนขนาดใหญ่

    ฝ่านผู้คัดค้านโครงการชี้แจงว่าอุทกภัยที่เกิดขึ้นบริเวณแม่น้ำแยงซีเกียงแบ่งได้เป็น 3 ชนิด กล่าวคือ อุทกภัยบนที่สูง อุทกภัยบนที่ต่ำ และอุทกภัยตามเส้นทางลำน้ำ ฝ่ายผู้คัดค้านกล่าวโต้แย้งว่าที่จริงแล้ว เขื่อนสามผา ทำให้อุทกภัยบนที่สูงร้ายแรงกว่าเดิม แต่บรรเทาอุทกภัยบนที่ต่ำจนแทบไม่ได้รับผลกระทบ เส้นขีดวัดแนวน้ำตื้นของแม่น้ำแยงซีเกียงที่บันทึกอยู่ในประวัติศาสตร์จีนตลอด 1200 ปีที่แล้ว ปัจจุบันน้ำได้ขึ้นท่วมทับเส้นวัดระดับนี้

    สายการผลิตทางอุตสาหกรรมอันทันสมัย เช่น การทำเหมืองแร่ โรงงานไฟฟ้า โรงงานก่อสร้าง ถูกสร้างระนาบตามลำน้ำแยงซีเกียง ซึ่งสายการผลิตทางอุตสาหกรรมเหล่านี้มีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในพื้นที่ ทั้งยังเป็นจุดเชื่อมระหว่างการส่งสินค้าจากต่างประเทศเข้าสู่ภายในประเทศ แม่น้ำแยงซีเกียงเป็นเส้นทางหลักในการคมนาคมขนส่งทางน้ำ บัดนี้สามารถรองรับการท่องเที่ยวทางน้ำ

    ตั้งแต่ปี 2004 บริษัทเรือสำราญจากยุโรปได้นำมาตรฐานระดับสูงเข้ามา พร้อมทั้งความช่วยเหลือจากนักการโรงแรมชาวสวิตเซอร์แลนด์ ชื่อ นิโคลัส ซี โซลารี่ (Nicolas C. Solari) ช่วยกันพัฒนาและเปิดบริการเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่สามลำ ล่องเที่ยวบนแม่น้ำแยงซีเกียง แม่น้ำแยงซีเกียงเป็นหนึ่งในลำน้ำที่มีความวุ่นวายมากที่สุด การคมนาคมของลำน้ำนี้ประกอบด้วยการขนส่งสินค้าจำพวก ถ่านหิน และ สินค้าอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงการขนส่งผู้คนและนักท่องเที่ยว

    ในปี 2005 ยอดการขนส่งมีถึง 795ล้านตัน การท่องเรือใหญ่แบบกินนอนหลายๆวันเพื่อไปชมทัศนียภาพของ หุบเขาซานเชี่ย กำลังเป็นที่นิยมเห็นได้จากการเจริญเติบโตทางภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศจีน

    น้ำท่วมตามแนวแม่น้ำแยงซีเกียงเป็นปัญหาใหญ่มาแต่ช้านาน ฤดูฝนในประเทศจีนเริ่มเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนมิถุนายนในทางตอนใต้ของแม่น้ำแยงซีเกียง และเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนสิงหาคมในทางตอนเหนือ ระบบแม่น้ำได้รับน้ำจากทางใต้และทางเหนือ ก่อเกิดปัญหาน้ำท่วมตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนสิงหาคม ซึ่งปัญหาได้ทวีความรุนแรงขึ้นและเสียหายมากขึ้น เนื่องด้วยประชากรที่อาศัยกันหนาแน่นและเมืองที่คับคั่งตามแนวเส้นทางลำน้ำแยงซีเกียง ปัญหาน้ำท่วมขนาดหนักได้พรากชีวิตผู้คนในปี 1954 ประมาณ 30,000คน ในปี 1935 ประมาณ 142,000คน ในปี 1931 ประมาณ 145,000คน ในปี 1911 ประมาณ 100,001คน





    ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมอิสระ

    แม่น้ำแยงซีแม่น้ำที่ยาวที่สุดในเอเซีย

    [radio]http://dc108.google.co.th/img/74679224/80dead0d/dlink__2Fdownload_2F74679224_2F80dead0d_3Ftsid_3D20090610-043715-a58baa46/preview.mp3[/radio]
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ คนไกลบ้าน2009
    วันที่สมัคร
    Jun 2009
    กระทู้
    380
    ประเทศจีนเขาสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำมหาศาลไว้ให้ประชาชนใช้ไม่กี่ปีก็เสร็จ ประเทศไทยแลนด์เฮาแค่มีโครงการออกมากะล้มแล้ว นักวิชาการหลายโพ้ดมีแต่เว้าบ่เห็ต (เว้ามาละเคร้า)

  3. #3
    ฝ่ายกิจการพิเศษ สัญลักษณ์ของ กำพร้าผีน้อย
    วันที่สมัคร
    Apr 2009
    ที่อยู่
    รัตนาธิเบศร์..ใกล้แยกแคราย
    กระทู้
    1,788
    ไหลผ่าประเทศจีนเลยตั๊วนี่ จากตะวันตก ไปตะวันออก..เป็นแม่น้ำที่สำคัญ
    อีกสายหนึ่งของโลก..

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •