องค์ประกอบของเรือนไทย

ตัวเรือนของไทยส่วนใหญ่ทำด้วยไม้สัก เช่น โครงหลังคา ฝา พื้นห้อง นอน พื้นระเบียง ส่วนเสาและพื้นชานทำด้วยไม้เนื้อแข็ง
เช่น ไม้เต็งไม้แดง เป็นต้น เรือนประกอบด้วยส่วนต่างๆดังนี้




งัว ไม้ท่อนกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 50-60 เซนติเมตร ใช้ไม้ทองหลางวางขวางปลายเสา
ทำหน้าที่เป็นหมอนรองรับน้ำหนักจากกงพัดถ่ายลงดิน ลักษณะการทำงานเหมือนกันรากฐานของอาคารปัจจุบัน เพื่อป้องกันเรือนทรุด

กงพัด คือ ไม้สี่เหลี่ยมขนาด 5 x 15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 50-70 เซนติเมตร สอดในรูซึ่งเจาะไว้ที่โคนเสาเรือน หรือจะใช้ตีคู่
ขนาบขวางกับเสา โดยบากเสาให้เป็นบ่ารองรับยึดด้วยสลักไม้แสม เส้นผ่านศูนย์กลางสลักประมาณ 2.083 เซนติเมตร (1 นิ้วไทย)
ปลายทั้งสองของกงพัดวางอยู่บนงัวทำหน้าที่ถ่ายน้ำหนัก จากเสาลงสู่งัว




แระ (ระแนะ) คือ แผ่นไม้กลมแบนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 30-50 เซนติเมตรหนาประมาณ 5-7 เซนติเมตร ทำด้วย
ไม้ทองหลางวางที่ก้นหลุมทำหน้าที่ถ่ายน้ำหนักจากเสาลงสู่พื้นดินเพื่อป้องกันการทรุด



เสาเรือน คือ ไม้ท่อนกลมขนาดยาวขนาดลำต้น โคนเสามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 25 เซนติเมตรปลายเสาประมาณ
20 เซนติเมตร ใช้ไม้เต็ง รังมะค่า แดง เสาต่างๆ ที่จะนำมาเป็นเสาเรือน ต้องเป็นเสาที่ดีมีตาเสาที่ดี มีตาเสาอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องถูกโฉลก
การเจาะรูเสาเพื่อใส่รอดหรือใส่เต้าก็ต้องมีวิธีที่ถูกต้องในการวัดเพื่อที่จะได้ทำให้เจ้าของเรือนอยู่เย็นเป็นสุข เสาหมอคือเสาที่ใช้รองรับรอด
รา และพื้นที่บางแห่งที่บริเวณนั้นทรุดหรือผุ มีขนาดเล็กกว่าเสาจริงเล็กน้อย และมีช่วงสั้น เสาหมอมีระยะความสูงจากพื้นดินถึงระดับใต้ดิน
เสานางเรียง คือ เสารองรับหลังคากันสาดที่ยื่นออกมามากในกรณีที่ไม่ใช้ไม้ค้ำยันก็ใช้เสานางเรียงแทนอยู่ทางด้านข้างของเสาเรือน เสาเอก
คือเสาต้นแรกของเดือนที่จะยกขึ้น ซึ่งเกี่ยวกับพิธีทางไสยศาสตร์มีกำฤกษ์ยาม ทิศทาง ตามแต่หมอจะเป็นผู้ดูให้ เสาโท คือเสาที่ยกขึ้น
เป็นอันดับที่สองรองจากเสาเอก แต่การยกต้องเวียนไปทางขวามือเสมอ เสาตรี (เสาพล) คือ เสาทั่วไปที่นับเวียนขวาเลยเสาเอกและเสาโท
ไปแล้ว เสาตอหม้อ คือ เสาจากใต้ระดับพื้นดิน ถึงระดับพื้นชาน เป็นเสาที่ไม่เลยจากพื้นขึ้นไป

รอด คือ ไม้สามเหลี่ยมขนาดประมาณ 5x20 - 25 เซนติเมตร ใช้ไม้เนื้อแข็ง เช่น เต็งรัง รอดที่ทำหน้าที่รองรับพื้น นั่งอยู่บนเสา
ที่เจาะทะลุ กึ่งกลางทั้งสองด้าน และยื่นเลยเสาออกไปด้านละประมาณ 20 - 25 เซนติเมตร โครงสร้างสมัยปัจจุบันเรียกว่า คาน

รา คือไม้สี่เหลี่ยมขนาด 5x20 - 25 เซนติเมตร ใช้ไม้เนื้อแข็งเช่น เต็ง รัง ทำหน้าที่เช่นเดียวกับรอด แต่แขวนอยู่กับพรึง ช่วยให้
พื้นแข็งไม่ตกท้องช้าง (ตกท้องช้างหมายถึง ลักษณะของสิ่งมีน้ำหนักมากถ่วงลงเกินควร)

ตง คือ ไม้สี่เหลี่ยมขนาด 4x5 เซนติเมตร ยะระห่างประมาณ 30 - 40 เซนติเมตร ใช้ไม้เนื้อแข็งเช่น เต็งรังมะค่า แดง วางพาด
ระหว่างช่องรอด ถ้าเรือนปูพื้นขวางและมีตงมักไม่ใช้รา เรือนบางหลังหาใช้พื้นยาวไม่ได้ ต้องใช้ไม้พื้นสั้นปูขวางกับตัวเรือน จึงจำเป็น
ต้องมีตงมารองรับ

พรึง คือไม้สักสี่เหลี่ยมขนาดประมาณ 5x20 เซนติเมตร ทำหน้าที่รัดเสาส่วนที่ติดกับพื้นทั้งสี่ด้านด้วยตะปูจีน ให้อยู่ภายในส่วนที่
กำหนดและทำหน้าที่รับฝาตลอดทุกด้าน นอกจากนี้ พรึงยังนั่งอยู่บนปลายรอดทางด้านยาวของเรือน และทำหน้าที่รับน้ำหนักจากราอีกด้วย

พื้น คือ ไม้สักสี่เหลี่ยมขนาดประมาณ 5x40 เซนติเมตร 5x45 เซนติเมตร และ 5x50 เซนติเมตร เรือนไทยนิยมใช้ไม้พื้นกว้าง
มากปูบนตงหรือบนรอด เพื่อเป็นที่พักผ่อนหลับนอน ระหว่างแผ่นต่อแผ่นของพื้นที่มีเดือยไม้แสมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร
ตอกยึดพื้น ระยะห่างระหว่างเดือยประมาณ 1X2.5 เซนติเมตร เรียกว่า ลิ้นกระบือ สำหรับพื้นที่ใช้ปูนอกชานนั้น ควรปูเว้นร่องให้น้ำไหลผ่าน
ห่างประมาณ 1 เซนติเมตร เพื่อป้องกันพื้นผุ

ฝักมะขาม คือ ไม้ทุกชนิดขนาด 3.5X3.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร รูปร่างโค้งงอคล้ายฝักมะขามตอกติดกับเสา
ใต้พื้นเรือน ทำหน้าที่รองรับแผ่นไม้พื้นที่ชนกับเสาและขาดจากกัน ไม่มีส่วนของรอดรองรับ จึงใช้ฝักมะขามรับพื้นแผ่นนี้แทนรอด

ฝา คือ ผืนผนังที่ประกอบเข้าเป็นแผ่นจากชิ้นส่วนเล็กๆ ของไม้ หรือจากใบไม้บางชนิด โดยมีโครงขอบฝาเป็นไม้จริง หรือไม้ไผ่
มีหน้าที่เป็นเสมือนเปลือกหุ้มที่ว่างภายในห้อง ทำให้เกิดขอบเขตขึ้น ฝาส่วนด้านสกัด(ด้านขื่อ) หัวท้าย เรียกฝาทั้งแผงว่า ฝาอุดหน้ากลอง หรือ
ฝาหุ้มกลอง ส่วนฝากันห้องภายในระหว่างห้องนอนกับห้องโถง เรียกว่าฝาประจันห้อง จะเป็นฝาของห้อง ฝาของระเบียงหรือฝาของชานก็ดี เท่าที่
สำรวจได้มีดังนี้ ฝาปะกน ฝาปะกนกระดานดุน ฝาลูกฟัก กระดานดุน ฝาสายพัว ฝาสายบัวกระดานดุน ฝาสำหรวด (ใบเตย) ฝากระแชงอ่อน
ฝาขัดแตะ ฝากระดานเรียบ ฝาถังหรือฝาเฟื้ยม และฝาลำแพน

กันสาด คือ ส่วนหนึ่งของหลังคาที่ยื่นออกไปโดยรอบ ลดระดับจากหลังคาลงมา และทำมุม น้อยกว่าหลังคา ประกอบด้วยจันทันกันสาด
แป กลอน วัสดุมุมปลายจันทัน ข้างหนึ่งตอกยึดอยู่กับเต้าด้วยสลักไม้ (ค้างคาว) อีกข้างหนึ่ง รองรับด้วยค้ำยัน หรือเสานางเรียง ทำหน้าที่
กันแดดส่องและฝาสาด

เต้า คือ ไม้สี่เหลี่ยมขนาด 5x10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 70 เซนติเมตร โดยสอดทะลุเสา ห่างจากปลายเสาประมาณ 50-60
เซนติเมตรทำหน้าที่ 2 ประการ คือ ยื่นจากเสาออกไปรับน้ำหนักเชิงชายและปลายของหลังคา และเป็นที่ยึดเกาะของจันทันกันสาด เต้าที่อยู่
ตามมุมเรือนมี 2 ตัว เรียกว่า เต้ารุมเต้าที่ไม่อยู่ตรงมุม และมีตัวเดียว เรียกว่าเต้าราย เต้าจะมีปลายข้างหนึ่งเล็กโคนใหญ่ เมื่อสอดผ่านเสา
ที่เจาะรูพอดีกับเต้า เสาและเต้าจะได้รับและแน่นพอดีกับระยะที่ต้องการ



สลักเดือย คือ ไม้สี่เหลี่ยมสอดทะลุระหว่างโคนเต้ากับจันทันกันสาด ทำหน้าที่ยึดเกาะเต้ากับจันทันกันสาดให้ติดกัน มีขนาดประมาณ
10-12 เซนติเมตร

ค้างคาว คือ ไม้สี่เหลี่ยมกว้างประมาณ 8x10 เซนติเมตร เจาะช่องกลางกว้างกว่าขนาดของ จันทันกันสาดและเต้าเล็กน้อยให้
สามารถสอดผ่านได้และที่เหมือนสลักเดือย



หัวเทียน คือ ส่วนหนึ่งที่อยู่ตรงปลายของเสา ขั้นเป็นแท่งกลมยาวประมาณ 10-11 เซนติเมตร ( 5 นิ้ว) เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ
4 เซนติเมตร มีหน้าที่ยึดปลายขื่อเสาให้ติดกับเสาโดยเจาะแผ่นขื่อเป็นรูปกว้างกว่าหัวเทียนพอสวมเข้าได้ ช่วยยึดหัวเสาทั้งสองข้าง

ขื่อ คือ ไม้สักแผ่นเหลี่ยมขนาด 5x20 เซนติเมตร มีหน้าที่ยึดหัวเสาทั้งสองเข้าหากัน และกันแรงถ่ายทอดจากจันทันที่พยายาม
จะถีบหัวเสาออก เจาะรูที่ปลายทั้งสองของขื่อให้กว้างกว่าหัวเทียนเล็กน้อย และสวมขื่อเข้ากับหัวเทียน

ชนิดที่ 1 ขื่ออยู่กลางห้องมีขนาดเท่ากับหัวเสา
ชนิดที่ 2 ขื่ออยู่หัวท้ายของเรือนติดกับฝาหุ้มกลอง ขนาดใหญ่กว่าหัวเสาเท่ากับ 5x25 เซนติเมตร ปลายบนด้านนอกของขื่อนี้
ปาดเฉลียงลง เพื่อรับกลอนปีกนก เรียกขื่อนี้ว่าขื่อเพล่ ขื่อเพล่ยังมีหน้าที่ช่วยหยุดหรือจับฝาอุดหน้ากลองด้านบน ซึ่งฝาด้านยาวนั้นแปหัวเสา
ทำหน้าที่ช่วยยึดอยู่

ดั้ง มี 2 ชนิด

1. ชนิดไม้สี่เหลี่ยมแบบขนานโคน 5x20 เซนติเมตร ปลาย 5x12 เซนติเมตรยึดอกไก่กับขื่อ ปลายล่างของดั้งติดกับขื่อโดย
เข้าเดือยเข็นเรียกว่า ดั้งแขวน
2. ชนิดไม้กลมยาวคล้ายเสา มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาวประมาณ 20 เซนติเมตรดั้งอยู่กึ่งกลางรอด โดบากอมรอดยาวถึงขื่อ เลยขื่อ
เป็นชนิดแบน เรียกส่วนกลมของหลังคา และยังมีหลบหลังคานั่งทับ

อกไก่ คือ ไม้สักเหลี่ยมรูปข้าวหลามตัด ยาวตลอดเรือนและยื่นหัวท้ายอีกช้างละประมาณ 60-75 เซนติเมตร มีหน้าที่ยึดหน้าจั่ว ดั้ง
และจันทัน ตั้งอยู่บนสุดยอดของหลังคา และยังให้หลบหลังคานั่งทับ

จันทัน คือ ไม้สี่เหลี่ยมแบบขนาด 5x25 เซนติเมตร แต่งรูปอ่อนช้อนตามแบบอยู่ระหว่างสอง ข้างของสามเหลี่ยมโครงหลังคา ทำหน้าที่
รับน้ำหนักของหลังคาที่ถ่ายทอดมายังกลอนและแป จันทันนี้ มีมีอยู่เฉพาะส่วนของห้องที่ไม่มีหน้าจั่ว และใช้กับดั้งแขวนเท่านั้น ส่วนห้องที่มี
จั่วใช้แผงหน้าจั่วรับน้ำหนักจากหลังคาจันทัน

แป เฉพาะเรือนไทยมี 2 ชนิด ได้แก่

1. แปหัวเสา คือ ไม้สี่เหลี่ยมขนาดประมาณ 10 x 10 เซนติเมตร ยาวตลอดหลังคา ทำ หน้าที่ยึดหัวเสาระหว่างห้องกับห้องโดย
การวางทับบากอมกับขื่อ รับน้ำหนักจากกลอน แปหัวเสายังทำหน้าที่ยึดและรับน้ำหนักของแผงหน้าจั่ว ช่วยเป็นส่วนหยุดของฝาตอนบนด้านยาว
ของเรือน
2. แปลาน คือ ไม้สี่เหลี่ยมขนาด 5x10 เซนติเมตร พาดอยู่ระหว่างจันทันกับแผงหน้าจั่ว ยาวตลอดเรือนเท่ากับอกไก่ ทำหน้าที่
รับน้ำหนักจากกลอนถ่ายสู่จันทัน

กลอน คือ ไม้สี่เหลี่ยมขนาด 1.5 x 7.5 เซนติเมตร วางขวางพาดอยู่กับแประยะห่างระหว่างกลอนกับกลอนประมาณ 40 เซนติเมตร
กลอนมีหลายชนิดได้แก่

1. กลอนสำหรับหลังคาจาก เป็นกลอนเรียบเจาะรูข้างหนึ่ง ระยะห่างของรู ประมาณ 10 เซนติเมตร สำหรับใช้ตอกร้อย
มัดกับจาก ติดกับแปด้วยการตอกสลับไม้แสม ปลายด้านบนขวาเข้าเดือยหางเหยี่ยวติดกับอกไก่ปลายด้านล่างตอกติดกับตะพานหนู

2. กลอนสำหรับหลังคามุงกระเบื้อง เรียกว่ากลอนขอ เป็นรูปหยักบากเพื่อให้ระแนงวางทับ ระยะห่างของช่วงบากประมาณ
10-12 เซนติเมตร มีทั้งแบบบากทุกช่วงกับแบบบาก 1 ช่วงเว้น 1 ช่วงสลับกันไปกลอนขอนี้ตอกติดกับแปโดยตะปูเหลี่ยมแบนแต่ไม่ตอก
ทุกช่วงตอกเป็นจังหวะห่างๆ

ระแนง คือ ไม้สี่เหลี่ยมขนาด 2.5 x 2.5 เซนติเมตร วางตามยาวของหลังคา ขนานกับอกไก่ ใช้สำหรับหลังคาเรือนที่มุงด้วยกระเบื้อง
ระยะห่างของระแนงประมาณ 10-12 เซนติเมตร วางบนกลอนขอทำหน้าที่รองรับกระเบื้อง และถ่ายน้ำหนักลงยังกลอน ติดกับกลอนโดยใช้
หลักไม้แสม

เชิงชาย คือ ไม้เหลี่ยมขนาด 5 x 20 เซนติเมตร ติดอยู่ที่ปลายเต้า ยาวรอบชายคา ทำหน้าที่รับตะพานหนู และรับน้ำหนักทั้งหมด
จากปลายกลอน



ตะพาน หนู คือ ไม้เหลี่ยมแบบขนาด 1.5 x 7.5 เซนติเมตร ติดอยู่ด้านบนของเชิง ของเชิงชายและยึดปลายกลอน ใช้ช่วย
รับส่วนยื่นของกระเบื้องหรือจากให้พ้นแนวของเชิงชาย ทำให้น้ำฝนไหลพุ่งออกไปด้านนอก ช่วยทำให้เชิงชายไม่ผุกร่อนง่าย

ปั้นลม คือ แผ่นไม้ขนาดหนา 2.5-3 เซนติเมตร ติดอยู่กับปลายแปหัวเสาแปลาน อกไก่ มีหน้าที่ปิดชายคาด้านสกัดหัวท้ายเพื่อ
ป้องกันลมตีจากหรือกระเบื้อง ส่วนล่างของปั้นลมแต่งรูปเป็นแบบตัวเหงา เรียกว่า เหงาปั้นลม หรือแต่เป็นรูปหางปลา การติดใช้ตะปู
ตอดจากใต้แปให้ทะลุไปติดกับปั้นลม

หน้าจั่ว คือ แผงไม้รูปสามเหลี่ยม สร้างขึ้นจากองค์ประกอบของชิ้นไม้ลักษณะต่างๆ ใช้ประกบปิดตรงส่วนที่เป็นโพรงของหลังคา
ทางด้านสกัดหรื่อด้านขื่อของเรือนเพื่อป้องกันลม แดด และฝน หน้าจั่วที่นิยมมีดังนี้

จั่วลูกฟัก หรือจั่วพรหมพักตร์ แบ่งหน้าจั่วโดยมีแนวนอนและแนวตั้งสลับกันคล้ายผ้าปะกน แต่ขนาดใหญ่กว่า และขยายส่วน
ไปตามแนวนอน

จั่วรูปพระอาทิตย์ มีรูปลักษณะคล้ายพระอาทิตย์ครึ่งดวง เส้นรัศมีพระอาทิตย์ทำด้วยไม้แบน และเว้นช่องให้อากาศถ่ายเท
นิยมใช้กับจั่วเรือนครัวไฟ

จั่วใบปรือ จั่วชนิดนี้มีตัวแผงประกอบด้วยแผ่นไม้ขนาดเล็กเรียงซ้อนทางแนวนอน นิยมใช้กับเรือนนอนและเรือนครัวไฟ
ถ้าเป็นเรือนครัวไฟส่วนบนต้องเว้นช่องให้อากาศถ่ายเทได้

หลังคา คือชิ้นส่วนที่เป็นผืนหน้าที่กันแดดและฝนให้กับตัวเรือน ใช้วัสดุได้หลายอย่างประกอบกันเข้า (มุง) ซึ่งแล้วแต่ความ
พอใจและความสะดวกของเจ้าของ วัสดุที่ใช้มุง ได้แก่

ก. กระเบื้อง มีหลายแบบหลายขนาด ทำจากดินเผาสุก เรียกชื่อตามลักษณะของรูปร่าง เช่น กระเบื้องขอ ความหนาประมาณ
0.05-0.08 เซนติเมตร เป็นชนิดตัวผู้และตัวเมีย
ข. จาก ทำจากใบต้นจากแผ่และจัดเข้าเป็นตับ โดยมีไม้ไผเหลาเป็นแกน
ค. แฝก
ง. หญ้าคา วัสดุดังกล่าวนี้หาได้ง่ายโดยมีอยู่ในท้องถิ่น ถ้ามุงด้วยกระเบื้องจะดูดซึมความร้อนมากกว่า มุงด้วยจากและแฝก
เรือนที่มุงด้วยกระเบื้อง จาก หรือแฝก ส่วนบนสุดของหลังคา คือ ส่วนสันอกไก่ของหลังคา จะมีร่องรอย จำเป็นต้องมีชิ้นส่วนปิดรอยนี้เพื่อกัน
น้ำฝนรั่วถ้ามุงด้วยกระเบื้องใช้กระเบื้องครอบเป็นส่วนปิด ถ้ามุงด้วยจากหรือแฝก ใช้หลบจากหรือหลบแฝกเป็นส่วนครอบ ส่วนนี้จะทำเป็น
พิเศษเพื่อกันน้ำฝนรั่วไหลเข้า

ไขรา คือ ส่วนของหลังคาที่ยื่นมาจากฝา เรียกว่าไขรากันสาด อยู่ตรงหน้าจั่ว เรียกว่า ไขราหน้าจั่ว อยู่ตรงปีกนกเรียกว่าเซนติเมตร
(1 ศอก) เป็นลูกฝักสี่เหลี่ยมโดยรอบของเรือน

ร่องตีนช้าง คือ ส่วนล่างของฝาระหว่างบนพรึงถึงกรอบเช็ดหน้า (ใต้หน้าต่าง) เป็นช่องลูกฝัก สี่เหลี่ยมคล้ายคอสองระยะของร่อง

ตีนช้างประมาณ 43.743 เซนติเมตร (คืบ 9 นิ้ว) มีรอบตัวเรือน

ช่องแมวลอด คือช่องระหว่างพื้นห้องนอนกับพื้นระเบียง หรือช่องว่างระหว่างพื้นระเบียงกับ พื้นชาน ระยะประมาณ 40 เซนติเมตร
มีความยาวตลอดตัวเรือน มีประโยชน์เพื่อเป็นที่ให้ลมพัดผ่านจากใต้ถุนขึ้นบนเรือน และเป็นที่ทำให้อากาศภายในไหลผ่านช่องนี้ได้ เกิดความ
รู้สึกโล่งโปร่ง ใช้ไม้ประมาณ 1.5 x 7.5 เซนติเมตร ตีอันเว้นอันปิดช่องเพื่อกันของตก

ประตูห้อง คือ ทางออกระหว่างห้องนอน ห้องครัว กับระเบียง ความกว้างเท่ากับ 3 ฝาเท้าของ เจ้าของเรือน ประตูนี้ส่วนล่างกว้าง
ส่วนบนสอบเล็กกว่า ความเอียงสัมพันธ์กับส่วนล้มสอบของฝาเรือน ประกอบด้วย กรอบเช็ดหน้า บานประตู และเดือยธรณีประตูและคานคู่

ประตูรั้วชาน คือ ทางเข้าออกระหว่างชานกับบริเวณบ้านโดยมีบันไดเป็นตัวกลาง มีความกว้าง เท่ากับ 4 ฝาเท้าของเจ้าของเรือน
ลักษณะและส่วนประกอบเหมือนประตูห้อง แต่มีซุ้มหลังคาข้างบน เพื่อกันฝนสาดทำให้บานประตูผุ และเน้นทางขึ้นให้มีความสำคัญและน่าดู
ยิ่งขึ้น

หน้าต่าง คือ ส่วนประกอบของฝาเรือนที่ทำติดเป็นส่วนเดียวกัน แต่เป็นช่องเจาะให้เป็นแสง สว่าง อากาศ และลมผ่านเข้าได้ รวมทั้ง
เป็นช่องให้สายตาของผู้อยู่ภายในห้องมองผ่านออกไปภายนอก ช่องนี้สามารถคุมการปิดเปิดได้โดยตัวบาน ซึ่งทั้งหมดประกอบด้วย

ก. กรอบเช็ดหน้า หมายถึง วงขอบรอบนอกของบาน (วงกบ) เป็นไม้เหลี่ยมแบนขนาด ประมาณ 3.5-5 X 12.5
เซนติเมตรวางประกอบตามส่วนแบน ทำมุม 45 องศา เซาะร่องบัวประดับ ส่วนล่างกว้างส่วนบนล้มสอบตามแนวของฝาเป็นหลัก
ข. ตัวบาน ใช้แผ่น ไม้หนาประมาณ 3 เซนติเมตร แบ่งเป็น 2 แผ่นต่อ 1 บาน มุมสุดบน และล่างมีเดือยเส้นผ่าศูนย์กลาง
3 เซนติเมตร ยาว 2.5 เซนติเมตร (แบบเดือยไม่ทะลุ) และยาว 6 เซนติเมตร (แบบเดือยทะลุ) สอดใส่ในรูของธรณีหน้าต่างแทนบานพับ
ค. ธรณีหน้าต่าง ใช้ไม้เหลี่ยมขนาดหนา 3.5 X 10 เซนติเมตร ยาวตลอด

บันได ส่วนประกอบของบันได คือลูกขั้นตามแนวนอน กับแม่บันไดตามแนวตั้ง ใช้สำหรับขึ้นจากพื้นดินไปสู่ชาน บันไดแบบเดิม
วางพาดกับพื้นและขอบพรึงทำชักขึ้นเก็บบนนอกชานได้เมื่อเวลาค่ำคืน เพราะช่วยให้เกิดความปลอดภัยได้บ้างจากสัตว์ร้ายหรือขโมย ลูกขั้น
กลมมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 เซนติเมตร หรือไม้เหลี่ยมลูกคั่นขนาด 3.5 X 7.5 เซนติเมตร แม่บันไดขนาด 5 X10 เซนติเมตร เจาะ
ทะลุสอดเข้าเป็นชั้นๆ ระยะห่างพอก้าวขึ้นได้สะดวก ต่อมาบ้านเรือนเจริญขึ้น หรือบ้านตั้งอยู่ในที่ชุมชน ห่างไกลจากสัตว์ป่า จึงทำเป็นบันได
ติดกับที่ เป็นชนิดแข็งแรง และขึ้นลงได้สะดวกกว่าแบบเก่า มีลักษณะเป็นแผ่นไม้แบบขนาด 3.5 -5 X 20 เซนติเมตร แม่บันไดขนาด
ที่มา เว็บ บ้านทรงไทย ดอทคอม