กำลังแสดงผล 1 ถึง 1 จากทั้งหมด 1

หัวข้อ: แสงแห่งราตรี

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    แสงแห่งราตรี

    แสงแห่งราตรี



    แสงแห่งราตรี



    ห้วงอวกาศอันไกลโพ้นและมืดมิด มีสิ่งต่างๆ มากมายที่หลบเร้นจากสายตามนุษย์และกล้องโทรทรรศน์ปกติ แต่เมื่ออยู่ในแสงอินฟราเรดซึ่งจับภาพได้โดยกล้องปิตเซอร์ ปรากฏการณ์อัศจรรย์เกี่ยวกับการถือกำเนิดของดวงดาวต่างๆ ในเอกภพก็ถูกเปิดเผยสู่ชาวโลก

    ในมุมมืดของเอกภพมีอะไรมามายซ่อนอยู่ เมฆระหว่างดาวและห้วงอวกาศอันดำมืดที่ดูไม่น่าสนใจในกล้องโทรทรรศน์ปกติ จะมีชีวิตชีวาด้วยแสงอินฟราเรดหรือรังสีความร้อน หากมองผ่านกล้องโทรทรรศน์ขนาดเท่ารถยนต์ที่อยู่ห่างจากโลก 42 ล้านกิโลเมตร โรเบิร์ต เคนนิคัตส์ นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแอริโซนา บอกว่า นับตั้งแต่ส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2003 กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ (Spitzer Space Telescope) ขององค์การนาซาก็ ?ช่วยให้เราเห็นเอกภพตั้งครึ่งหนึ่งแน่?

    สิ่งที่เราเห็นนั้นมีแหล่งกำเนิดดาวรวมอยู่ด้วย ดาวฤกษ์ก่อตัวขึ้นในเมฆฝุ่นแลก๊าซ ส่วนดาวเคราะห์เกิดจากเศษซากที่หมุนวนเป็นจานรอบดาวเกิดใหม่ ดาราจักรในยุคแรกๆจะถูกห่อหุ้มด้วยฝุ่นจนแสงปกติเล็ดรอดออกมาแทบไม่ได้ แต่กลับมีรังสีความร้อนแผ่ออกมา ?ถ้าคุณมองหาวัตถุเหล่านี้ในแสงปกติก็ยากที่จะมองเห็นได้? ชาร์ลส์ลอว์เรนซ์ แห่งห้องปฏิบัติการขับดันไอพ่น (Jet Propulsion Laboratory) ในรัฐแคลิฟอร์เนีย บอก ?เราจึงต้องมองในแสงอินฟราเรดซึ่งมีโฟตอนอยู่มากกว่า?

    การมองหาโฟตอนหรืออนุภาคแสงที่ว่านี้ต้องออกไปในอวกาศ เพราะบรรยากาศของโลกปิดกั้นแสงอินฟราเรดจากอวกาศไว้เกือบทั้งหมด ไลแมน สปิตเซอร์ นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ชาวอเมริกันผู้เป็นที่มาของชื่อกล้องสปิดเซอร์ เคยชี้ข้อดีของกล้องโทรทรรศน์อวกาศไว้ตั้งแต่ปี 1946 และกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลก็พิสูจน์ว่าเขาพูดถูก แต่ภาพจากกล้องสปิตเซอร์นั้นคมชัดกว่ากล้องอื่นๆเพราะใช้กระจกที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเกือบเมตร มีตัวตรวจหาความไวแสงในอุณหภูมิเย็นจัดเกือบถึงศูนย์สัมบูรณ์ และมีวงโคจรที่ห่างไกลความร้อนรบกวนจากโลก

    กล้องสปิตเซอร์ตรวจพบการก่อตัวของดาวเคราะห์ 2 ด้วงจากแสงอินฟราเรดที่ดาวทั้งสองเปล่งออกมา และทำให้นักดาราศาสตร์เข้าใจว่าแสงและรังสีจากดาวฤกร์ผลักดันให้เมฆก๊าซยุบตัวจนนำไปสู่การเกิดดาวใหม่ได้อย่างไร กล้องสปิตเซอร์กำลังเสาะหาดาราจักรอายุน้อยที่เปล่งแสงอินฟราเรดในอวกาศอันไกลโพ้น
    การสำรวจจะดำเนินต่อไปจนกว่าฮีเลียมเหลวที่ใช้ทำความเย็นจะหมดลง องค์การนาซาวางแผนส่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เว็บบ์ (James Webb Space Telescope) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่ากล้องสปิตเซอร์ ขึ้นสู่อวกาศในต้นทศวรรษหน้า ลอว์เรนซ์บอกว่า ?อีกพันปีข้างหน้าเราจะมองกลับมาแล้วพูดว่านี่คือยุคทองของดาราศาสตร์ฟิสิกส์?



    ข้อมูล นิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย



    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 06-07-2009 at 14:39.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •