กำลังแสดงผล 1 ถึง 8 จากทั้งหมด 8

หัวข้อ: มรดก"ท่านพุทธทาส"

  1. #1
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ auddy228
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    ที่อยู่
    THAILAND
    กระทู้
    1,176
    บล็อก
    1

    สว่างใจ มรดก"ท่านพุทธทาส"

    มรดก"ท่านพุทธทาส"



    มรดก"ท่านพุทธทาส"


    ภาคที่ ๑
    มรดกที่เป็นเรื่องฝ่ายวัตถุธรรมและพิธีกรรม



    คำนำ

    ข้าพเจ้าไม่มีมรดกอะไร ที่จะฝากไว้กับ เพื่อนพุทธบริษัท ผู้เป็นเพื่อน เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งหลาย นอกจาก สิ่งที่ระบุไว้ใน ข้อความข้างล่างนี้ ด้วยความหวังว่า ถ้ายังมีการ สืบมรดกนี้ อยู่เพียงใด กิจกรรม สวนโมกขพลาราม ก็จะยังคงมีอยู่ ตลอดกาลนาน เพียงนั้น และ "พุทธทาส" ก็จะยังคงมีอยู่ ในสถานที่นั้นๆ ตลอดกาล เพียงนั้น ขอได้โปรด รับพิจารณา กันเสียแต่บัดนี้ ซึ่งจะเป็นการง่าย ในการสืบมรดก ดังกล่าว ขอให้ถือว่า เป็นมรดกธรรม แก่บรรดาเพื่อน ผู้มอบกาย ถวายชีวิต ในการสืบอายุ พระศาสนา เพื่อประโยชน์แก่ คนทั้งโลกเถิด มิได้เป็น เรื่องส่วนบุคคล แต่ประการ



    มรดกที่ ๑. ทุกคนสามารถเป็นพุทธทาสได้ ถ้าเขาต้องการโดยบริสุทธิ์ใจ คือ รับใช้ในการเผยแผ่พุทธศาสนา ด้วยการทำตัวอย่างในการปฏิบัติให้ดู มีความสุขให้ดู จนผู้อื่นพากันทำตาม

    มรดกที่ ๒. ปณิธาน ๓ ประการ ควรแก่ผู้ที่เป็นพุทธทาสทุกคน ถือเป็นหลักในการทำหน้าที่เพื่อประโยชน์แก่โลก คือ

    ๑. พยายามทำตนให้เข้าถึงหัวใจแห่งศาสนาของตนๆ
    ๒. พยายามช่วยกันถอนตัวออกจากอำนาจของวัตถุนิยม
    ๓. พยายามทำความเข้าใจระหว่างศาสนา

    มรดกที่ ๓. ปณิธานข้อแรก คือ การทำให้ทุกคน เข้าถึง หัวใจของพุทธศาสนา เพื่อให้เกิด การปฏิบัติดี-ตรง-เป็นธรรม-สมควรแก่ การหลุดพ้น เพื่อสนองพุทธประสงค์ โดยตรง ได้อย่างแท้จริง

    มรดกที่ ๔. ปณิธานข้อที่สอง คือ การทำโลก ให้ออกมาเสียจาก อำนาจของวัตถุนิยม หรือ รส อันเกิดจาก วัตถุทางเนื้อหนังนั้น ควรเป็นกิจกรรม แบบสหกรณ์ ของคนทุกคนในโลก และทุกศาสนา เพื่อโลกจะเป็นโลก สะอาด-สว่าง-สงบ จากสภาพที่เป็นอยู่ ในปัจจุบัน

    มรดกที่ ๕. ปณิธานข้อที่สาม คือ การทำความเข้าใจ ระหว่างศาสนา นี้เป็นสิ่งจำเป็น ต้องทำ เพราะโลกนี้ ต้องมีมากศาสนา เท่ากับ ชนิดของคนในโลก เพื่อจะอยู่ร่วมโลกกันได้ โดยสันติ และทุกศาสนา ล้วนแต่สอน ความไม่เห็นแก่ตัว จะต่างกันบ้าง ก็แต่วิธีการณ์ เท่านั้น

    มรดกที่ ๖. สวนโมกข์ คือ สถานที่ให้ความสะดวก ในการเป็นเกลอ กับธรรมชาติ ทั้งฝ่ายจิต และฝ่ายวัตถุ, ควรจัดให้มีกัน ทุกแห่งหน เพื่อการศึกษาธรรมชาติ โดยตรง, เพื่อการรู้จัก กฏของธรรมชาติ, และเพื่อการชิมรส ของธรรมชาติ จนรู้จักรักธรรมชาติ ซึ่งล้วนแต่ ช่วยให้เข้าใจธรรมะ ได้โดยง่าย

    มรดกที่ ๗. สวนโมกข์ คือ มหรสพทางวิญญาณ เป็นสิ่งจำเป็น ต้องมี สำหรับ สัตว์ที่มี สัญชาตญาณ แห่งการต้องมี สิ่งประเล้าประโลมใจ อันเป็นปัจจัย ฝ่ายวิญญาณ เพิ่มเป็นปัจจัยที่ห้า ให้แก่ ปัจจัยทั้งสี่ อัน เป็นฝ่ายร่างกาย, ขอให้ช่วยกันจัดให้มีขึ้นไว้ สำหรับใช้สอย เพื่อประโยชน์ ดังกล่าวแล้ว แก่คนทุกคน.

    มรดกที่ ๘. สวนโมกข์ นานาชาติ สำหรับ แสงสว่างทางวิญญาณ ของเพื่อนมนุษย์ ต่างชาติ ต่างภาษา โดยเฉพาะ, เป็นความคิด ที่เกิดขึ้นมา เมื่อมองเห็น คนเหล่านั้น ดิ้นรน เสาะแสวงหา เพื่อให้พบ ตัวของตัวเอง. ขอฝากไว้ ให้ช่วยกัน จัด และ รักษา ที่จัดแล้ว ไว้สืบไป.

    มรดกที่ ๙. มหรสพทางวิญญาณ เพื่อความเพลิดเพลินทางวิญญาณ ด้วยรสแห่งธรรมะ เป็นสิ่งจำเป็นต้องมี เพื่อแทนที่มหรสพทางเนื้อหนัง ที่ทำมนุษย์ให้เป็นปีศาจชนิดใดชนิดหนึ่ง อยู่ตลอดเวลา มนุษย์ต้องมี ความเพลิดเพลิน (Entertainment) เป็นปัจจัยที่ห้า ของชีวิต จำเป็นที่จะต้องจัดหาให้ ให้ดีๆ.

    มรดกที่ ๑๐. สัญญลักษณ์เสาห้าต้นบนหลังคา หมายถึง นิวรณ์ห้า ปัญจุปาทานขันธ์ห้า พละห้า อินทรีย์ห้า ธรรมสาระห้า มรรคผลนิพพานห้า แม้ที่สุดแต่ นิ้วมือทั้งห้า ของตนเอง ล้วนแต่เป็นเครื่องเตือนใจ ในเรื่อง การกำจัดความทุกข์ ของคนเราทั้งสิ้น.



    ธุจ้า
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย auddy228; 07-07-2009 at 21:40.

  2. #2
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ auddy228
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    ที่อยู่
    THAILAND
    กระทู้
    1,176
    บล็อก
    1

    สว่างใจ มรดก"ท่านพุทธทาส" 2

    มรดก"ท่านพุทธทาส" 2


    มรดกที่ ๑๑. คติพจน์ หรือ Slogan ประจำสวนโมกข์ คือ กินข้าวจานแมว อาบน้ำในคู นอนกุฎิเล้าหมู ฟังยุงร้องเพลง ฯลฯ ดังนี้ เป็นต้นนั้น เป็นหลักปฏิบัติ เพื่อไม่มีปัญหา ทางด้านการเป็นอยู่ ฝ่ายวัตถุ และเหมาะสม แก่การก้าวหน้าทางจิตใจ โดยหลักธรรมชาติ ที่ว่า กินอยู่อย่างต่ำ มุ่งกระทำอย่างสูง นั่นเอง

    มรดกที่ ๑๒. ปริญญาจากสวนโมกข์ มีอยู่ว่า "ตายก่อนตาย" คือ จิตหมดความรู้สึกว่า ตัวกูของกู เสียก่อนแต่ที่ร่างกายจะตาย เหลืออยู่แต่ สติปัญญา บริสุทธิ์ในชีวิต นี้เป็นสิ่งที่มีได้แต่เดี๋ยวนี้ ดังนั้น ตายได้เร็วเท่าไร ก็ยิ่งมีกำไรชีวิตเท่านั้น.

    มรดกที่ ๑๓. ภาษาคน-ภาษาธรรม มีไว้สำหรับแยกกันใช้พูดให้ถูกต้อง ในระหว่างเรื่องทางวัตถุ และเรื่องทางจิต แล้วจะเข้าใจเรื่องนั้นๆ ได้อย่างถูกต้อง ลึกซึ้ง สำเร็จประโยชน์ อย่าใช้รวมกัน หรือ กลับกัน จะเกิดการเวียนหัว.

    มรดกที่ ๑๔. ระบบการใช้ ภาษาคน-ภาษาธรรม เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมี อย่างแน่นอน เพื่อใช้ในการศึกษา และสั่งสอนพุทธศาสนา เพราะ ธรรมะทั้งหมด มีที่ตรัสไว้ ทั้งโดย ภาษาธรรมของคนธรรมดา (ปุคคลาธิษฐาน) และ ภาษาธรรมของคนที่เห็นธรรมะแล้ว (ธรรมาธิษฐาน) ดังนั้น จึงต้องสังเกตให้ดีๆ ทั้งในการศึกษา การสั่งสอน การสนทนา มิฉะนั้น จะเกิดอาการเวียนหัว.

    มรดกที่ ๑๕. การล้ออายุ และ การให้ ของขวัญ วันล้ออายุ อย่างที่ กระทำกันอยู่ ที่สวนโมกข์นั้น มีผลทางจิตใจ ในความไม่ประมาท และรู้จักตัวเอง ดีขึ้นทุกปี ขอฝากไว้ สำหรับรักษา กันไว้สืบต่อไป เพื่อความก้าวหน้า ทางจิตใจ ของทุกคน.

    มรดกที่ ๑๖. พุทธบริษัท ที่แท้จริง ไม่ควรมี แม้แต่เรื่องปวดหัว โดยไม่ต้องกล่าวถึงโรคประสาท หรือ โรคจิต ทั้งนี้ เพราะ อาศัย หลักธรรม ที่เป็นหัวใจ ของพุทธศาสนา ที่ว่า "ตถตา" หรือ "เช่นนั้นเอง" คือ การที่สิ่งทั้งหลายทั้งปวง จะต้องเป็นไปตามเหตุ ตามปัจจัย ของมัน และจะต้องแก้ไขกันที่นั่น โดยไม่มีอะไรแปลก จึงขอฝากไว้ ในฐานะเป็นมรดก.

    มรดกที่ ๑๗. สาม ส. คือ สะอาด-สว่าง-สงบ เป็นคุณลักษณะ ของพระอริยเจ้า และมีภาวะเป็นหัวใจ ของพระรัตนตรัย ในพุทธศาสนา ขอฝากไว้เป็นมรดก แก่ทุกคน ในฐานะเป็นบทมนต์ประจำจิต.

    มรดกที่ ๑๘. กฏบัตรของพุทธบริษัท ที่ได้ช่วยกันทำขึ้นไว้แล้ว อย่างถูกต้องตามหลักพุทธศาสนา สำหรับพุทธบริษัทถือเป็นหลักปฏิบัติ เพื่อความถูกต้อง เป็นผลดี และสะดวกดาย ในการเป็น ผู้รู้-ผู้ตื่น-ผู้เบิกบาน ไม่ตกไปสู่ หนองของไสยศาสตร์ และวัตถุนิยม ขอฝากไว้เป็นมรดก ตลอดกาลนาน.

    มรดกที่ ๑ ๙. วรรณกรรม ชุดธรรมโฆษณ์ จากพระโอษฐ์-ลอยปทุม- หมุนล้อธรรมจักร ขอฝากไว้เป็นมรดกอนุสรณ์ของผู้ประคองจิต ร้อยกรอง แล้วประคอง ปล่อยลงสู่ธรรมวารี คือ ห้วงหฤทัย แห่งสาธุชนทั้งหลาย ทั่วพื้นปถพี เพื่องอกงามในห้วงแห่งธรรมวารีนั้น ตลอดกัลปาวสาน อย่ารู้สิ้นสุด.

    มรดกที่ ๒๐. บทสวดมนต์แปล แบบสวนโมกข์ คือ สวดมนต์แปล ที่ได้ พยายามกระทำ ให้สวดกัน ได้ลื่นสละสลวย ได้เลือกมา เฉพาะเนื้อความ ที่เป็น หลักธรรม เข้มข้น และรัดกุม ใช้เป็น อารมณ์แห่งสมาธิ และวิปัสสนา ไปได้ในตัว ขอฝากไว้ ให้ใช้สวดกัน ตลอดกาลนาน.

  3. #3
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ auddy228
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    ที่อยู่
    THAILAND
    กระทู้
    1,176
    บล็อก
    1

    สว่างใจ มรดก"ท่านพุทธทาส" ๓

    มรดก"ท่านพุทธทาส" ๓



    มรดกที่ ๒๑. การตักบาตรสาธิต แบบที่ทำกันอยู่ในสวนโมกข์ เป็นการศึกษา อยู่ในตัว ว่าจะสามารถ เลี้ยงพระ จำนวนร้อยได้อย่างไร, สะดวกเท่าไร, ควบคุมกิเลสได้โดยวิธีไหน. ขอให้ช่วยกันรักษาพิธีกรรม แบบนี้ไว้ เพื่อเป็นประโยชน์ เกื้อกูล แก่การพิทักษ์รักษาพุทธศาสนาไว้ โดยวิธีประหยัด ไม่ยุ่งยากลำบาก และรักษาแบบฉบับโบราณ นับแต่สมัยพุทธกาลเป็นต้นมา

    มรดกที่ ๒๒. สระมะพร้าวนาฬิเกร์ คือ บทเรียนด้วยของ จำลองมาจาก บทกล่อมลูกให้นอนของประชาชน ที่แสดงว่า สมัยโน้น ประชาชน ได้เข้าถึงธรรมะสูงสุด กันเพียงไร จนถึงกับนำเอาเรื่อง ของพระนิพพาน มาทำเป็นบทเพลงกล่อมลูกได้ ขอให้รักษาเกียรติของบรรพบุรุษ ในข้อนี้ และทำตนให้สมกับ เป็นลูกหลานของท่าน จงทุกคนเถิด.

    มรดกที่ ๒๓. การแสดงธรรมในรูปของการแสดงปาฐกถา ซึ่งบางคราว ถึงกับต้องยืนพูดนั้น ไม่ผิดธรรมวินัยแต่ประการใด สะดวกและเหมาะสมแก่สมัย ทำให้การเผยแผ่พระศาสนา เป็นไป อย่างราบรื่น และได้ผลดี ไม่จำเป็นต้องถือตามตัวอักษร เพราะ ระเบียบวัฒนธรรมคนละยุค คนละสมัย.

    มรดกที่ ๒๔. หลักการที่ถือกันอยู่ในสวนโมกข์ ว่าไม่ยินดีต้อนรับ คนที่ล้างจานข้าวไม่เป็น กินแล้วต้องให้คนอื่นช่วยล้างจานนั้น เป็นหลักการที่ไม่ขัดกับ หลักพุทธศาสนา ไว้คัดเลือกคนที่เหมาะสม สำหรับจะพักอยู่ในวัด เพื่อการปฏิบัติธรรม เพราะมีจิตใจ สมคล้อยกับ หลักแห่งการไม่เห็นแก่ตัว หรือ เอาเปรียบผู้อื่น ขอให้ช่วยกันรักษาไว้ เป็นมรดก สืบทอดต่อไปเถิด.

    มรดกที่ ๒๕. การหนุนหมอนไม้ เป็นสิ่งที่พุทธองค์ทรงชักชวนไว้โดยตรง เพื่อฝึกฝน การเป็นคนไม่มักมาก ในการนอน. มารไม่ได้โอกาส ครอบงำ คนไม่เห็นแก่นอน มีความเข็มแข็งว่องไว ทั้งทางกาย และทางจิต บรรพชิต และนักรบ สมัยโน้น จึงหนุนหมอนไม้ โดยเฉพาะ พวกกษัตริย์ ลิจฉวี.

    มรดกที่ ๒๖. ขอคัดค้านคำกล่าวที่ว่า "งานคือเงิน - เงินคืองาน" ว่าเป็นคำกล่าวที่ไม่ถูกต้อง ตามหลักพุทธศาสนา ซึ่งสอน ให้ทำงาน ในฐานะเป็น หน้าที่ ที่ถูกต้อง สำหรับสิ่งที่มีชีวิตทุกชนิด มิใช่ ทำเพื่อหาเงิน มาปรนเปรอชีวิต ให้หลงระเริง ในอบายมุข หรือ ความเริงรมย์ ต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่อง "บ้าวูบเดียว" ขอฝาก มรดกการคัดค้าน นี้ไว้ด้วย

    มรดกที่ ๒๗. เคล็ดลับของแบบเซ็น นั้นคือ วิธีเดิมแท้ ในพุทธศาสนา ที่บวก สมถะเข้ากับวิปัสสนา ให้ทำงานร่วมกัน ในขณะที่มีสมาธิ และเพ่งพิจารณา เพื่อเข้าถึง สภาพเดิมของจิต คือ ความไร้กิเลส ได้โดยฉับพลัน ไม่แยกกันทำ ทีละอย่าง เพราะ ความยึดมั่น เฉพาะอย่าง, หลักนั้นมีว่า ฌานไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน.

    มรดกที่ ๒๘. หลักการที่ว่า เอาเชื้อโรคมาแก้ไขโรค นั้น นำมาใช้ได้ในการปฏิบัติธรรม ในพุทธศาสนา โดยเอา กำลังของความโลภ มาละโมบ ในการทำความดี หรือ บุญกุศล เอากำลังของความโกรธ มาอาฆาตโกรธแค้น ต่อกิเลสและความทุกข์ เพื่อทำลายเสีย ในฐานะศัตรู เอากำลังของโมหะ มาหลง ในการ ทำความดี ขั้นต้นๆ แทน การหลงชั่ว ทั้งนี้ เพราะเรามีสิ่งทั้งสามนี้ เป็นเดิมพัน อย่างรุนแรง อยู่ในจิตใจ กันอยู่แล้ว อย่างเต็มที่.

    มรดกที่ ๒๙. การมีธรรมะตลอดวัน ตลอดคืน เป็นสิ่งที่ทำได้โดยไม่ยาก คือเมื่อจะทำหน้าที่ใดๆ ในชีวิตประจำวัน ก็ทำโดยรู้สึก ต่อความจริง ข้อหนึ่ง อยู่ในใจว่า "หน้าที่นั่นแหละ คือ ธรรมะ" เพราะหน้าที่ เป็นสิ่งที่ สามารถ กำจัดปัญหาได้ ทุกชนิด และนำมาซึ่งผลดี อันพึงปรารถนา ข้อนี้ตรงกับ ความหมายของคำว่า "ธรรม" คือ สิ่งที่ช่วยผู้ปฏิบัติ ไม่ให้ตกลง สู่ความทุกข์ ดังนั้น เมื่อทำหน้าที่ ตลอดวัน ก็มีธรรมะได้ ตลอดวัน แม้ การพักผ่อน ก็เรียกว่า หน้าที่ ที่ต้องทำ ด้วยเหมือนกัน คือ จะได้มีกำลัง ในการทำหน้าที่.

    มรดกที่ ๓๐. มหาปเทสฝ่ายวินัย ตามแบบพระวินัย ขอฝากไว้ ให้ถือว่า เป็นสิ่งจำเป็น ต้องนำมาใช้ ในโลกปัจจุบัน ซึ่งเจริญด้วยวัตถุ จนเต็มไปด้วยวัตถุ ชนิดที่เป็นปัญหา ทางศีล ทางวินัย ทั้งแก่บรรพชิต และฆราวาส ขอให้ศึกษา มหาปเทส นั้นอย่างแตกฉาน เพื่อป้องกัน ความงมงาย.

  4. #4
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ auddy228
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    ที่อยู่
    THAILAND
    กระทู้
    1,176
    บล็อก
    1

    สว่างใจ มรดก"ท่านพุทธทาส" ๔

    มรดก"ท่านพุทธทาส" ๔


    มรดกที่ ๓๑. มหาปเทสฝ่ายธรรม ในมหาปรินิพพานสูตร เป็นสิ่งที่ ต้องนำมาใช้ ควบคู่กันกับ หลักตัดสินธรรมวินัย ในโคตมีสูตร เพื่อว่า ถูกต้อง สมบูรณ์ที่สุด ในการ ตัดสินความถูกต้อง ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับ พุทธบริษัท แห่งยุคปัจจุบัน ซึ่งเต็มไปด้วย ปัญหา และนับวัน จะเพิ่มมากขึ้น ทุกที วิธีการณ์ อย่างนี้ ได้เคยใช้ ประสบผลดี มาแล้ว จึงขอฝากไว้ เป็นมรดก เพื่อใช้กัน สืบไป.

    มรดกที่ ๓๒. ปฏิจจสมุปบาท แบบ "ฮัมเพลง" (ในโยคักเขมวรรค สฬายตนสังยุตต์ สํ.) เป็นสูตรที่ตรัสไว้อย่างเข้าใจได้ง่าย ปฏิบัติได้ง่าย กว่าแบบทั่วไป ควรทำความเข้าใจ กับแบบนี้เสียก่อน แล้วจึงพิจารณา แบบทั่วไป แต่การปฏิบัติ ก็ยังเป็นอย่างเดียวกัน คือ มีสติ เมื่อมีผัสสะ (รายละเอียดหาดูได้ จากปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์).

    มรดกที่ ๓๓. การใช้หลัก อิทัปปัจจยตา - ปฏิจจสมุปบาท - ตถตา - สุญญตา เป็นอมฤตโอสถ ซึ่งทำให้อยู่ เหนือความตาย หรือ เหนือการเวียนว่าย ตายเกิด เพราะ ทำให้หมดตัวตน และของตน นั้นเป็น กิจกรรมประจำวัน ของพุทธบริษัท ที่แท้จริง เป็นทางลัดสั้น ที่สุด มีผลดีที่สุด จึงขอฝากไว้ เป็นมรดก ในฐานะ เป็นสิ่งที่เคยใช้ได้ผลดี มาแล้ว

    มรดกที่ ๓๔. บาลี วิมุตตายตนสูตร เป็นหลักธรรม ที่ควรสนใจเป็นพิเศษ คือ บอกให้รู้ว่า คนเรา สามารถบรรลุธรรม ได้ถึง ๕ เวลา คือ เมื่อกำลัง ฟังธรรมอยู่, เมื่อกำลัง แสดงธรรมให้ผู้อื่นอยู่, เมื่อกำลัง สาธยายธรรมอยู่, เมื่อเพ่งธรรมอยู่, และ เมื่อพิจารณา ใคร่ครวญธรรมอยู่; นับว่า โอกาสมีมาก ในการบรรลุธรรม แต่พวกเรา พากันประมาทเสีย ไม่ฉวยเอาได้ แม้แต่ โอกาสเดียว.

    มรดกที่ ๓๕. การใช้หลักกาลามสูตร ๑๐ ประการ ให้ถูกต้อง และ ครบถ้วน เป็นหลักการ และ วิธีการณ์ อันแน่นอน ในการที่จะ รักษาพุทธศาสนา เอาไว้ได้ และ ในลักษณะที่จะ เป็นที่พึ่งได้ อย่างแท้จริง และเป็นการ สืบอายุ พุทธศาสนา ที่ตรงตาม พุทธประสงค์ ได้เคยใช้ วิธีนี้ อยู่เป็นประจำ และสำเร็จประโยชน์ เต็มตามความหมาย จึงขอนำ พิธีกรรม อันนี้ มาฝากไว้เป็นมรดก.

    มรดกที่ ๓๖. การศึกษา สติปัฎฐานสี่ จาก อานาปานสติสูตร ได้ผลดีกว่า จาก มหาสติปัฎฐานสูตร ซึ่งกล่าวไว้อย่างยืดยาว มีลักษณะกำกวมฟั่นเฝือ ไม่มีลำดับ ติดต่อกัน อย่างชัดแจ้ง, เพียงแต่อ่านอย่างเดียว ก็กินเวลา หลายชั่วโมง ส่วนข้อความจาก อานาปานสติสูตร นั้น ติดต่อกันเป็นสาย ๑๖ ขั้น จนตลอดเรื่อง นับตั้งแต่เริ่มปฏิบัติ ไปจนกระทั่ง ถึงการรู้ว่า บรรลุผลสำเร็จแล้ว และเป็นหลักที่พระองค์ ทรงยืนยันว่า ได้อาศัยหลักนี้ ในการตรัสรู้ ของพระองค์เอง ขอให้พิจารณากันให้ดี และขอฝาก ข้อเท็จจริงอันนี้ ไว้เป็นมรดก ด้วย

    มรดกที่ ๓๗. สุญญตาสำหรับฆราวาส แม้ที่เป็นผู้หญิงและเด็ก คือ มีสติสัมปชัญญะ ไม่ให้เกิด ความรู้สึก ยึดมั่น ถือมั่น ในสิ่งใด จนเกิด ความรัก - โกรธ - เกลียด - วิตกกังวล อาลัยอาวรณ์ - อิจฉาริษยา - หวง - หึง ด้วยอำนาจความรู้สึก เป็นตัวกู ของกู. ขอยืนยันว่า ข้อนี้ เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ ตามสติกำลัง และควรปฏิบัติ จึงขอฝากไว้เป็นมรดก พิเศษ สำหรับฆราวาส.

    มรดกที่ ๓๘. หลักการ ตามรอยพระอรหันต์ ที่ได้ใช้ร่วมกัน ทั้งสำหรับ ฆราวาส และบรรพชิต คือ การดำรงชีวิต ชนิดที่เป็นการขูดเกลา กิเลส และบรรเทา ความเคยชิน ที่จะเกิดกิเลส (อนุสัย) อยู่ตลอดเวลา โดยมีสติสัมปชัญญะ ในขณะ สัมผัสอารมณ์ ไม่ปล่อยให้ปรุง เป็น โลภะ โทสะ โมหะ ขึ้นมา, หรือ ถ้าปรุงแล้ว ก็มีสติ ปิดกั้น การปรุงนั้นเสีย.

    มรดกที่ ๓๙. "งามอยู่ที่ผี ดีอยู่ที่ละ พระอยู่ที่จริง นิพพาน อยู่ที่ ตายเสียก่อนตาย" นี้คือ ของเก่า ที่ปัดฝุ่น แล้วนำมา ใช้ใหม่ เพื่อรักษา สติปัญญา ของบรรพบุรุษไว้ ว่าเคยเฉียบแหลม ลึกซึ่งอย่างไร แล้ว ลูกหลาน ชั้นหลัง ก็จะมีสติปัญญา ไม่น้อยไปกว่า บรรพบุรุษ ก็จะเป็น พุทธบริษัท ได้เต็ม ตามความหมาย ไม่เอา นิพพานไปเก็บไว้ สำหรับ ตายแล้วตายอีก หลายหมื่น หลายแสนชาติ จึงจะได้ผล ขอให้ช่วยกัน รักษามรดก ข้อนี้ ของบรรพบุรุษ กันเถิด.

    มรดกที่ ๔๐. ขอให้เรา มีความมุ่งหมายเป็นพิเศษ กันไว้ สักข้อหนึ่ง ว่าไม่เร็ว ก็ช้า จะมีโลกสักยุคหนึ่ง อันเป็น โลกสมบูรณ์ ด้วยธรรมะ โดยที่ทุกคน ทำหน้าที่ ของตนๆ โดยมี สติสัมปชัญญะ รู้สึกอยู่ในใจว่า หน้าที่อันถูกต้อง นั่นแหละ คือ ธรรมะ ที่จะช่วยให้คนเรา อยู่เหนือปัญหา ทั้งปวงได้ ทั้งนี้ เป็นสิ่งที่มีได้ เพราะ โลก เปลี่ยนแปลง อยู่เสมอ จงให้ปัจจัย แห่งความเปลี่ยนแปลง เพื่อความเป็นอย่างนี้ แก่โลกเถิด.

    มรดกที่ ๔๑. ถ้าคนทั้งโลก เขาไม่เห็นด้วย ในการทำโลกให้มีธรรมะ เพราะเห็นว่า เหลือวิสัย ก็ตามใจเขา เราคนเดียว ก็อาจจะทำตนเอง ให้ดับทุกข์ได้ ด้วยธรรมะอย่างถึงที่สุด, ดังนั้น อย่าได้ท้อใจเลย ในการที่คนทั้งหลาย เขาไม่สนใจใยดี กับธรรมะ.

    ทั้งหมดนี้ เป็น มรดกฝ่ายวัตถุธรรม และพิธีกรรม เป็นภาคหนึ่ง ของ มรดกที่มอบไว้ ในฐานะเป็นมรดก. ต่อไปนี้ เป็นมรดก ฝ่ายนามธรรม ที่ได้เคย ค้นคว้า สังเกต ศึกษา และ ทดลองปฏิบัติ มาแล้ว มีผล เป็นที่น่าพอใจ จึงขอสรุปไว้ เป็นข้อๆ นำมามอบไว้ ในที่นี้ ในฐานะ เป็นมรดก เช่นเดียวกัน.

  5. #5
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ นา ดอกจาน
    วันที่สมัคร
    Mar 2009
    ที่อยู่
    FL,USA
    กระทู้
    229
    มรดกนี้มีค่า มหาศาลผู้มีบุญบารมีจึงจะได้พบ ขออนุโมทนาสาธุ กับเจ้าของกะทู้นี้ด้วย ที่นำมรดกนี้มาเผยแพร่ เป็นประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะข้อสุดท้ายอันนี้ "ดังนั้น อย่าได้ท้อใจเลย ในการที่คนทั้งหลาย เขาไม่สนใจใยดี กับธรรมะ" เป็น ความจริงที่สุด ! สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ.ธุจ้าธุจ้าธุจ้า

  6. #6
    Moderators สัญลักษณ์ของ ต่าย
    วันที่สมัคร
    Nov 2007
    ที่อยู่
    เชียงใหม่
    กระทู้
    1,229
    บล็อก
    5

    สว่างใจ

    ท่านพุทธทาส..
    ท่านเป็นพระภิกษุที่เข้าใจแก่นแท้ของคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง

    บ่ยึดติดพิธีการ....................
    บ่ยึดติดวัตถุธรรม.................

    แก่นแท้ของศาสนาพุทธอยู่ที่การปฏิบัติตนอย่างรู้สติ..และอยู่บนความพอดี
    ธรรมะ....คือความมีเหตุมีผล..การรู้จักความพอดี..นำไปสู่ความสมดุลย์ของชีวิต


    ธรรมะที่ท่านสอนเน้นการปฏิบัติที่นำเอาคำสอนของพระพุทธเจ้าไปใช้ได้จริง
    ปัจจุบันยังมีชาวพุทธบางส่วนที่หลงทางคำสอนของพระพุทธเจ้าไปเน้นพิธีการและเน้นวัตถุธรรม..
    แก่นแท้ของธรรมะในทางศาสนาจึงบ่บังเกิดผลต่อพฤติกรรมและจิตใจ


    ต่ายเป็นศิษย์ธรรมะผู้หนึ่งของท่านพุทธทาส

    ธรรมะ..คือการปฏิบัติตนอย่างมีสติ.และอยู่บนความพอดี

    นี่เป็นการสรุปรวบยอดความคิดของต่ายต่อหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า


    :heart::heart::heart:

  7. #7
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ กำลังใจ
    วันที่สมัคร
    Mar 2007
    กระทู้
    1,529
    บล็อก
    1
    ขอบคูณหลายๆ ที่นำมาให้อ่านกันจ๊ะ

  8. #8
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ ญา ทิวาราช
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    825
    บล็อก
    17

    รอบยิ้มพิมใจ สาธุนำกันคับ

    ธุจ้าขอบคุณหลายคับ.ที่นำสิ่งดีมีประโยชน์มาให้กันคับ:l-

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •