กำลังแสดงผล 1 ถึง 3 จากทั้งหมด 3

หัวข้อ: ผู้มีปัญญาเท่านั้นอดทนได้

  1. #1

    สว่างใจ ผู้มีปัญญาเท่านั้นอดทนได้

    ผู้มีปัญญาเท่านั้นอดทนได้

    วันหนึ่งมีโยมผู้หญิงวัยกลางคนเดินทางมาจากอเมริกาโยมคนนี้คงจะศึกษาพระพุทธศาสนามาพอสมควรที่เดินทางมาวัดหนองป่าพง ก็เพราะคงได้ยินกิตติศัพท์ของหลวงพ่อชา เมื่อเข้าไปหาหลวงพ่อ ซึ่งขณะนั้นท่านกำลังยืนดูงานก่อสร้างในโบสถ์อยู่ โยมก็ถามหลวงพ่อว่า สอนวิปัสสนาอย่าไร? พระฝรั่งก็ช่วยแปลให้ อาจารย์เองก็ยืนอยู่ตรงนั้นด้วย หลวงพ่อหัวเราะ พูดว่าผมไม่สอนวิปัสสนา ผมสอนแต่ทรมานพูดแล้วหลวงพ่อก็เดินไป อาจาย์เดินตามหลวงพ่อไป ท่านก็หยุดหันมาพูดกับอาจารย์ว่า การทรมานก็

    คือการสอนให้อดทน เพื่อที่เราจะได้เรียนรู้จิตใจของตัวเองท่านอธิบายว่า สมมติว่าร่างกายเป็นวิทยุ ก็รื้อระบบออกาดูว่าข้างในมันมีอะไรบ้าง รื้อดูให้ละเอียด ดูให้ชัด ๆ ศึกษาระบบข้างในดูให้เข้าใจจนซ่อมแซมเป็น เหมือนช่างที่ซ่อมแซมได้เมื่อวิทยุเสีย การศึกษาชีวิตตัวเองก็คือ รื้อเข้าไปในกายในใจ เพื่อที่จะเข้าใจและรู้จักตัวเองตามความเป็นจริง ปกติคนเราก็วิ่งตามกิเลสตัณหา ทำตามกระแสความอยาก หลวงพ่อชาท่านเมตตาทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตท่านช่วยเราในการฝืนกระแสของความอยาก ด้วยการให้ในสิ่งที่เราไม่อยากได้ และไม่ให้ในสิ่งที่เราอยากจะได้เพื่อให้เราเห็นอารมณ์ เห็นเข้าไปในจิตใจตัว

    เอง ท่านทรมานเพราะต้องการฝึกให้เรามีความอดทน อดกลั้น ให้มีจิตใจเข้มแข็ง หนักแน่น เมื่อผ่านการทรมานไปได้ ต่อไปก็จะทำใจได้ในทุกสถานการณ์ เพราะสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมแล้วจำเป็นต้องสร้างความอดทนไว้เป็นพื้อนฐาน นับแต่การรักษาศึลก็ต้องมีความอดทนที่จะปฏิบัติตามระเบียบวินัย เป็นการขัดเกลากิเลสอย่างหยาบ การเจริญสมาธิ ต้องอาศัยอดทนอดกลั้นต่อสู้กับนิววรณ์ 5 และในการเจริญสมถะวิปัสสนา เพื่อที่จะละกิเลสตัณหาอุปาทานทั้งปวง ก็ต้องอาศัยจิตใจที่มั่นคงหนักแน่นอดทนอย่างยิ่งยวด

    ปฏิปทาของหลวงพ่อชาท่านจึงเน้นอดทน หลวงพ่อมีชื่อเสียงเรื่องฝึกให้ลูกศิษย์มีความอดทน โดยเฉพาะกับเรื่องลมฟ้าอากาศ ลูกศิษย์สมัยแรก ๆ ของหลวงพ่อ เล่าถึงช่วงแรก ๆ ที่หลวงพ่อนำพระเณรปฏิบัติว่าพอหน้าร้อนฉันข้าวเสร็จ ท่านให้ห่มจีวรช้อนผ้าสังฆาฏิ ปิดหน้าต่างนั่งสมาธิ แต่พอหน้าหนาว ท่านให้เปิดหน้าต่างโล่งไปหมดไม่ให้ห่มจีวร มีเพียงผาอังสะอย่างเดียว บางทีจิตใจที่มั่นคง โดยเฉพาะวันพระ ท่านพาเสสัชชิกตลอดทั้งคืน (เนสัชชิก คือการปฏิบัติภาวนาโดยไม่มีการเอนกายนอน) พระเณรก็ต้องนั่งพับเพียบฟังเทศน์ทั้งคืนลุกขึ้นไปไหนไม่ได้ บางครั้งเช้า ๆ ญาติโยมมาทำบุญ ถวายอาหาร ให้พรเสร็จ ท่านก็คุยกับชาวบ้านพ่ออีก คุยไปเรื่อยๆ พระคอยฉันก็หงุดหงิด ฟัง ๆ ดูหลวงพ่อก็คัยกับโยมได้เป็นชั่วโมง ไม่เห็นจะมีเรื่องสำคัญอะไรเช่นชาวบ้านก็เล่าว่า เมื่อคืนควายคลอดลูกอย่างนั้นอย่างนี้พระก็รอ ๆๆ มีอารมณืหงุดหงิดมากขึ้นเป็นลำดับ เมื่อไรจะได้ฉันสักที นี่ก็เป็นอุบายของหลวงพ่อที่จะฝึกลูกศิษย์ให้รู้จักอดทนและได้เห็นอารมณ์ของตัวเอง

    สิ่งที่หลวงพ่อชาท่านพูดบ่อย ๆ ก็ คือ "ผู้มีปัญญาเท่านั้นอดทนได้ อดทน กับ ปัญญาเป็นของคู่กัน" "เห็นทุกข์ไม่มีทุกข์"

    คำพูดของหลวงพ่อติดอยู่ในใจของอาจารย์ตลอด และได้ประจักษ์แจ้งแก่ใจถึงความหมายที่ว่า "เห็นทุกข์ไม่มีทุกข์" ก็จากประสบการณ์พิจารณาทุกขเวทนา คือ เอาทุกขเวทนาเป็นอารมณ์กรรมฐาน ตั้งอธิษฐานในใจว่าขอมอบกายถวายชีวิตแด่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์แล้วก็นั่งขัดสมาธิเพชร ตั้งใจรักษาอิริยาบถเดียว อะไรจะกิดก็จะไม่ขยับ ไม่เปลี่ยนอิริยาบถ ซึ่งเป็นสภาวะที่ทุกข์ทรมานทนได้ยาก ใตร ๆ ก็กลัวกันทุกคน ตามปกติคนเราต้องเปลี่ยนอิริยาบถอยู่ตลอด เพื่อหนีจากทุกขเวทน แต่ในวันนั้นอาจารย์ก็มีกำลงใจแก่กล้าต้องการพิสูจน์เพื่อที่จะได้รุ้จักความจริงอันประเสริฐ คือทุกขสัจ ปกติเรามีอุปาทานยึดมั่นในทกขเวทนา เรามักมีความรู้สึกว่าเรามีทุกข์ เราเป็นทุกข์ประสบการณ์ทกข์เป็นของเรา เราทนทุกขเวทนาไม่ไหว เรายึดมั่นถือมั่นว่าเรากับทุกขเวทนาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแต่เมื่อตั้งใจจะพิจารณาทุกขเวทนาแล้ว ทุกข์อยู่ที่ไหน ให้ตั้งสติ

    ตั้งใจมั่น กำหนดดู เข้าไปดูถึงต้นตอ เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิต่อทุกข์ อาการของสมธิที่จิตตั้งมั่นกับทุกข์เวทนาคือไม่ยินดียินร้าย ไม่มีวิภวตัณหา เป็นจิตที่หนักแน่นกล้าหาญจึงทำจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิกับทุกขเวทนาได้ เมื่อผ่านจุดนี้ไปได้จึงเกิดปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริง ละตัณหา วิภวตัณหา อุปาทานยึดมั่นถือมั่น ขณะที่วิภวตัณหาดับ ทุกขเวทนา ก็จะดับในขณะนั้น เห็นด้วยป้ญญาว่าเราผู้รู้ผู้เห็นทุกขเวทนากับความรู้สึกทุกขเวทนาอยู่คนละฝ่ายกัน ใจสงบเย็นด้วยความปล่อยวาง จิตอยู่เหนือเวทนามองดูเวทนาอยู่ห่าง ๆ คล้ายกับว่าเกิดข่องว่างระหว่างจิตกับเวทนา เราคือส่วนหนึ่ง เวทนาก็เป็นอีกส่วนอีกหนึ่ง "รู้" คือส่วนหนึ่ง "รู้สึก" ก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง มองเห็นเวทนาจริง ๆ เหมือนเห็นด้วยตาแต่เป็นการเห็นด้วยใจว่า ทุกขเวทนาเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จึงเห็นความรู้สึกทุกข์ รู้ความรู้สึกทุกข์แต่ไม่ได้เป็นทุกข์ เรียกว่าเห็นทุกข์ไม่มีทุกข์จริง ๆ เลย


    จากหนังสือมีขันติคือให้พรแก่ตัวเอง โดย พระอาจาย์มิตซูโอะ คเวสโก

  2. #2
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ แดงน้อย
    วันที่สมัคร
    Nov 2008
    กระทู้
    156
    บล็อก
    1
    "ตั้งใจมั่น กำหนดดู เข้าไปดูถึงต้นตอ เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิต่อทุกข์ อาการของสมธิที่จิตตั้งมั่นกับทุกข์เวทนาคือไม่ยินดียินร้าย ไม่มีวิภวตัณหา เป็นจิตที่หนักแน่นกล้าหาญจึงทำจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิกับทุกขเวทนาได้ เมื่อผ่านจุดนี้ไปได้จึงเกิดปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริง ละตัณหา วิภวตัณหา อุปาทานยึดมั่นถือมั่น ขณะที่วิภวตัณหาดับ ทุกขเวทนา ก็จะดับในขณะนั้น เห็นด้วยป้ญญาว่าเราผู้รู้ผู้เห็นทุกขเวทนากับความรู้สึกทุกขเวทนาอยู่คนละฝ่ายกัน ใจสงบเย็นด้วยความปล่อยวาง จิตอยู่เหนือเวทนามองดูเวทนาอยู่ห่าง ๆ คล้ายกับว่าเกิดข่องว่างระหว่างจิตกับเวทนา เราคือส่วนหนึ่ง เวทนาก็เป็นอีกส่วนอีกหนึ่ง "รู้" คือส่วนหนึ่ง "รู้สึก" ก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง มองเห็นเวทนาจริง ๆ เหมือนเห็นด้วยตาแต่เป็นการเห็นด้วยใจว่า ทุกขเวทนาเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จึงเห็นความรู้สึกทุกข์ รู้ความรู้สึกทุกข์แต่ไม่ได้เป็นทุกข์ เรียกว่าเห็นทุกข์ไม่มีทุกข์จริง ๆ เลย
    "


    เคยสงสัยว่าทำไมบางคนถึงอดทนอดกลั้นความรู้สึกได้ดีจริงๆ จนเรามองว่าเค้าเป็นคนใจดำบ้างเอย.. คนเย็นชาบ้างเอย..ตอนนี้..ถึงคราวตัวเองเริ่มปริ่มๆโผล่น้ำบ้างละค่ะ..ขอบคุณดีเจเด็กน้อยสำหรับบทความดีๆค่ะ..จุ้ฟฟ..(อิอิ)

  3. #3
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197
    ขอบคุณมากนะคะ สำหรับข้อมูลทางธรรมและสาระที่มีประโยชน์ค่ะ
    ขออนุโมทนา สาธุ มาด้วยนะคะ
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •