กำลังแสดงผล 1 ถึง 1 จากทั้งหมด 1

หัวข้อ: วันนี้ในอดีต วันที่ 16 กรกฎาคม

Threaded View

คำตอบที่แล้วมา คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป คำตอบถัดไป
  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    วันนี้ในอดีต วันที่ 16 กรกฎาคม

    วันนี้ในอดีต วันที่ 16 กรกฎาคม




    พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จพระราชดำเนินแซะดินพระฤกษ์ ในการสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-สมุทรปราการ ระยะทาง 21 กิโลเมตร ทางรถไฟาสยนี้เปิดทำการเดินรถ เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2436 และเลิกเดินเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2503

    พ.ศ. 2448 สหรัฐฯ ทดลองระเบิดปรมณูลูกแรก ที่เมืองอาลาโมกอร์โด รัฐนิวเม็กซิโก หลังจากทดลองได้ไม่กี่วัน ก็นำระเบิดชนิดนี้มาใช้ทางการทหารเป็นครั้งแรก ในมหาสงครามโลกครั้งที่2 โดยนำไปทื้งที่เมืองฮิโรชิมาประเทศญี่ปุ่น ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 70,000 คน และผลกระดูกอีกมากมายนานาประการจนตราบเท่าทุกวันนี้

    พ.ศ. 2512 สหรัฐฯ ส่งยานอวกาศอพอลโล 11 ขึ้นไปลงบนดวงจันทร์เป็นผลสำเร็จ นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ที่มนุษย์เดินทางไปถึงดวงจันทร์ ทั้ง 3 ได้แก่ นีล เอ.อาร์มสตรอง หัวหน้าคณะ ไมเคิล คอลลินส์ และเอ็ดวิน อี. แอลดริน จูเนียร์ ผู้ช่วย



    วันนี้ในอดีต วันที่ 16 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต วันที่ 16 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต วันที่ 16 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต วันที่ 16 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต วันที่ 16 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต วันที่ 16 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต วันที่ 16 กรกฎาคม


    ประวัติความเป็นมาของ ( รถรางไฟฟ้า )
    รถไฟเริ่มเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อประมาณสามร้อยปีมาแล้วเดิมทีเดียวสร้างขึ้นเพื่อใช้บรรทุกถ่านหิน รถนั้นมีล้อ แล่นไปตามรางและใช้ม้าลาก ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๕๗ ยอร์จ สตีเฟนสัน(George Stephenson) ชาวอังกฤษ ได้ประดิษฐ์รถจักรไอน้ำซึ่งสามารถแล่นได้ด้วยตนเองเป็นผลสำเร็จ นำมาใช้ลากจูงรถแทนม้าในเหมืองถ่านหิน ภายหลังจากนั้นก็ได้มีผู้ประดิษฐ์รถจักรไอน้ำและรถจักรชนิดอื่นๆ ขึ้น อีกหลายแบบ รถไฟได้เปลี่ยนสภาพจากรถขนถ่านหินมาเป็นรถสำหรับขนส่งผู้โดยสารและสินค้า ดังเช่นในปัจจุบัน ทั้งนี้อาจกล่าวได้ว่า กิจการรถไฟเป็นที่นิยมแพร่หลายไป ทั่วทุกประเทศในโลก

    สำหรับในประเทศไทย ถือว่า การเดินรถไฟเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๓๙ ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นการเดินรถไฟระหว่างสถานีกรุงเทพฯ กับอยุธยา ระยะทาง ๗๑ กิโลเมตร ปัจจุบันทางรถไฟที่สำคัญของประเทศไทยมีอยู่ด้วย กันทั้งสิ้นรวมสี่สาย คือ สายเหนือ ถึงจังหวัดเชียงใหม่ สายใต้ ถึงจังหวัดนราธิวาสและจังหวัดสงขลา สายตะวันออก ถึงจังหวัดปราจีนบุรี และสายตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงจังหวัดหนองคายและอุบลราชธานี รวมเป็นระยะทาง ๓,๘๕๕ กิโลเมตร องค์ประกอบของการเดินขบวนรถไฟที่สำคัญได้แก่ ทางรถไฟ รถจักร รถพ่วง เครื่องอาณัติสัญญาณ และ สถานีรถไฟ

    ส่วนประกอบของรถรางไฟฟ้า
    ขบวนรถรางไฟฟ้าประกอบขึ้นด้วย รถจักร อันเป็นต้นกำลังที่สำคัญ ทำหน้าที่ลากจูงรถคันอื่น ๆ ให้เคลื่อนที่ไปได้ รถจักรมีหลายชนิด ได้แก่
    -รถจักรไอน้ำ ใช้เครื่องกลไอน้ำเป็นเครื่องต้นกำลัง
    -รถจักรดีเซล ใช้เครื่องยนต์ดีเซลเป็นเครื่องต้นกำลัง
    -รถจักรไฟฟ้า ใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นเครื่องต้นกำลัง

    นอกจากรถจักรสามชนิดนี้แล้ว ยังมีรถจักรชนิดอื่นอีก คือ รถจักรกังหันก๊าซซึ่งใช้ เครื่องกังหันก๊าซเป็นเครื่องต้นกำลัง และรถจักรที่เป็นรถโดยสารขับเคลื่อนด้วยตนเองโดยใช้เครื่องยนต์ดีเซลเป็นเครื่องต้นกำลัง เรียกว่า รถดีเซลราง กับยังมีรถ โดยสารที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นเครื่องต้นกำลัง เรียกว่า รถรางไฟฟ้า
    "เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๐ เวลาเช้าโมงเศษ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จทรงรถพระที่นั่งจากเกยหน้าพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พร้อมด้วยกระบวนตำรวจทหารแห่นำตามเสด็จ ออกทางประตูวิเศษไชยศร ไปเลี้ยวป้อมเผด็จดัสกรลงไปตามถนนท้องสนามไชย แล้วเลี้ยวลงถนนเจริญกรุง ตรงไปถึงสามแยกบางรัก เลี้ยวลงถนนสีลมทางแยกที่จะไปทุ่งสระปทุมวัน เวลาเช้า ๒ โมง รถพระที่นั่งถึงที่ประทับชายทุ่งสระปทุมวันด้านตะวันตก เสด็จลงจากรถพระที่นั่ง ทรงพระดำเนินไปยังพลับพลาที่ประทับริมชายทุ่งซึ่งปลูกสรวมต้นทางรถไฟแลตรงหน้าพลับพลาออกไปทางกลางทุ่งนั้นปักเสาทำเป็นประตูซุ้ม อันประดับประดาล้วนไปด้วยธงผ้าสีต่างๆทั้งสองข้างซึ่งกำหนดเป็นทางรถไฟ ก็แสไสวไปด้วยธงเทียวอันงดงามทั้งสิ้น


    อนึ่ง คนต่างประเทศทั้งชายแลหญิงบรรดาซึ่งได้มีความยินดีรับเข้าส่วนเป็นกอมปนีนั้น ได้มาประชุมพร้อมกันเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอยู่ในที่นั้นเป็นอันมากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสปราศรัยด้วยคนต่างประเทศทั้งปวงตามสมควรแล้ว พระยาชลยุทธโยธินจึงนำเอาเครื่องขุดดินมาทูลเกล้าฯถวาย แล้วพระเจ้าอยู่หัวทรงแซะพื้นดินในที่ซึ่งได้กำหนดเป็นทางรถไฟเป็นพระฤกษ์พอสังเขปแล้วพนักงานประโคมแลทหารแตรจึ่งประโคมแลทำแตรสรรเสริญพระบารมี เสียงกึกก้องเอิกเกริกขึ้นพร้อมกัน แล้วพวกจีนซึ่งกอมปนีได้จ้างมาทำในการนี้นั้น จึงได้ลงมือขุดพื้นที่ดินตามที่ซึ่งกำหนดกะเป็นทางรถไฟนั้นต่อไป"

    รถรางไฟฟ้ารุ่นแรกในประเทศไทย

    เมื่อสร้างทางรถไฟเสร็จแล้ว พระยาชลยุทธโยธินซึ่งเป็นผู้จัดการในบริษัทรถไฟปากน้ำ ได้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จพระราชดำเนินเปิดทางรถไฟเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ.2436 ค่ารถไฟในสมัยนั้น ไปกลับ 1 บาท มี 10 สถานี สถานีละ 1 เฟื้อง สถานีต้นทางคือสถานีหัวลำโพง รถจะหยุดรับส่งคนโดยสารที่ ศาลาแดง บ้านกล้วย พระโขนง บางนา สำโรง ศีรษะจระเข้(หัวตะเข้) บ้านนางเกรง มหาวง แล้วก็ถึงปากน้ำ รถไฟสายนี้มีความยาว 21 กิโลเมตร เป็นทางรถไฟสายแรกของประเทศไทย
    ตามสัญญาครบกำหนด 50 ปี เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ.2479 จากนั้นรัฐบาลได้ซื้อทรัพย์สินของรถไฟสายนี้ตลอดจนการเดินรถรางไฟฟ้าด้วย ต่อมายกเลิกทางรถไฟสายนี้ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2503 แล้วขยายถนน รถรางมีกำเนิดมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ในปีพ.ศ. 2430 ซึ่งเป็นประเทศแรกในเอเชียที่มีการใช้รถราง เกิดจากการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพัฒนาระบบสาธารณูปโภคภายในประเทศ เพื่อความสะดวกสบายของประชาชน จึงทรงให้ชาวเดนมาร์ค รับสัมปทานก่อตั้งจัดเดินรถรางขึ้นในเมืองบางกอก (กรุงเทพฯ) โดยการเปิดทำการครั้งแรกของรถรางนั้น มีการใช้ม้าลาก ซึ่งมีการเทียมม้าไว้ด้านหน้ารถ
    จากนั้นก็มีการดำเนินกิจการ ?รถรางไฟฟ้า? ในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2437
    หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองได้ประมาณ 4-5 ปี สัมปทานการเดินรถราง ก็สิ้นสุดลงในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2492 รัฐบาลจึงต้องเข้ามาดำเนินการต่อในนามของบริษัท การไฟฟ้ากรุงเทพฯ จำกัด โดยอยู่ในสังกัดกรมโยธาเทศบาล และกระทรวงมหาดไทย ซึ่งรับช่วงต่อจากสัมปทานของชาวเดนมาร์ค ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2493 โดยหลังจากนั้น ก็มีการเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองแบบยกเค้าใหม่หมด ในช่วงปี พ.ศ. 2502 ที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีนโยบายการเลิกเดินรถราง และรถสามล้อถีบในเขต พระนคร-ธนบุรี การเดินรถจึงลดบทบาทลง โดยการเลิกวิ่งอย่างเด็ดขาดในเขตเมืองหลวง เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2511 รวมเวลาแล้วประเทศไทยมีรถรางใช้เป็นเวลาร่วม 80 ปี

    การปรากฎตัวครั้งแรกของรถรางในช่วงครึ่งศตวรรษที่ 19 เริ่มโดยการใช้ม้าดึงหรือลาก ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในประเทศสหรัฐอเมริกาเหนือซึ่งเป็นประเทศที่ริเริ่มสร้างรถรางขึ้นเพื่อการขนส่งสิ่งของ โดยเริ่มก่อสร้างที่เมือง maryland ในปี1828,และใน new york สร้างขึ้นในปี1832 และในปี 1834 สร้างที่ new orleans,louisiana. โดยรางนั้นสร้างขึ้นครั้งแรกบนถนนในเมือง new york

    รถรางที่ใช้สัตว์ลาก
    ลักษณะของราง
    รถรางทุกสายเป็นแบบรางเดี่ยว โดยมีทางหลีกในระยะช่วง 1/4 ไมล์ รางมีขนาดกว้าง 1 เมตร และรางรถส่วนมากฝังอยู่ในพื้นถนนลาดยาง มีบางช่วงเท่านั้นที่ฝังอยู่บนถนนคอนกรีต และได้มีการให้สิทธิให้รถรางที่วิ่งทางขวาไปก่อน ในขณะนั้นมีตู้รถรางทั้งหมดรวม 54 โบกี้ รถตู้ที่เป็นมอเตอร์แบบคู่ มี 28 ตู้ และ รถหัวขบวนซึ่งเป็นตัวลาก 62 คัน แต่ละคันมี 40 แรงม้า สามารถจุคนได้ 60 คน โดยแบ่งเป็นที่นั่ง 36 คน ที่ยืน 24 คน นอกจากนั้นยังมีตัวถังโบกี้รถรางที่มีที่นั่งโดยสาร 2 แบบ คือ แบบเปิดโล่ง และแบบที่มีกระจกปิด ทุกโบกี้จะมีทางขึ้น 2 ทาง ตัวถังรถรางส่วนมากผลิตในไทย จะมีก็เพียง 5 โบกี้ที่ส่งมาจากอังกฤษ สีของรถรางส่วนใหญ่ มี 4 แบบซึ่งประกอบด้วย 2 สีคู่กัน คือ เหลืองกับน้ำตาล เหลืองกับเขียว เหลืองกับแดง และดำกับเขียวอ่อน

    วันที่ 30 กันยายน ปี ค.ศ.1968 รถราง 2 สายสุดท้ายของบางกอกถูกยกเลิกไป และถูกแทนที่ด้วยรถเมล์.นั่นคือเสี้ยวหนึ่งในประวัติศาสตร์ของรถรางไฟฟ้าซึ่งทำให้บางกอกกลายเป็นเมืองที่มีความเจริญไม่แพ้ประเทศในยุโรปบางประเทศในยุคนั้นทีเดียว เพราะถือเป็นประเทศแรกในเอเซียที่มีรถรางไฟฟ้าใช้ อย่างไรก็ดีความเป็นมาของรถรางในบางกอกมีมาก่อนหน้านั้นแล้วซึ่งหนังสือเล่มเดียวกันได้กล่าวไว้ว่ากำเนิดของรถรางที่ใช้ม้าลากในสยาม ได้เริ่มเปิดดำเนินการเมื่อปี ค.ศ. 1889 และต่อมาได้พัฒนาไปสู่ระบบไฟฟ้าซึ่งเริ่มเมื่อปี 1892 ซึ่งในประเด็นนี้ ข้อมูลบางแห่งได้บอกว่ารถรางไฟฟ้าสายแรกของบางกอกนั้น (บางคอแหลม) เริ่มเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 1893 ระยะทางของรถรางทั้งหมด 7 สาย มีความยาวทั้งสิ้น 48.7 กิโลเมตร คือ บางคอแหลม 9.2 กม. สามเสน 11.3 กม. ดุสิต 11.5 กม. บางซื่อ 4 กม. หัวลำโพง 4.4 กม. สีลม 4.5 กม. และสุดท้าย ปทุมวัน 3.8 กม. เนื่องจากระบบรถรางสมัยนั้นเป็นระบบรางเดียว ดังนั้นทุกๆ 500 เมตร จึงต้องมีรางสับหลีก เพื่อให้รถรางวิ่งสวนมาหลบหลีกกันได้โดยสะดวก ในบางกอกมีท่ารถรางอยู่ 4 แห่งคือ ที่สะพานดำ สะพานเหลือง บางกระบือ และบางคอแหลม ทั้งนี้โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ถนนท่าช้าง

    จำนวนตู้รถรางทั้งหมดในบางกอกขณะนั้นไม่เป็นที่แน่ชัด เนื่องจากตัวเลขอย่างเป็นทางการของแต่ละหน่วยงานนั้นแตกต่างกันออกไป แต่จากข้อมูลเท่าที่สืบค้นได้ ประมาณว่ามีทั้งหมด 206 ตู้ ในจำนวนนี้แยกได้เป็น ตู้รถรางขนาดสองเครื่องยนต์จำนวน 62 ตู้ พร้อมตู้ลากเข้าคู่กันอีก 62 ตู้ รถรางตู้เดี่ยวหนึ่งเครื่องยนต์จำนวน 54 ตู้ และรถตู้แฝดหนึ่งเครื่องยนต์ท้ายต่อกันจำนวน 28 ตู้ ในตู้รถรางทุกตู้จะมีอุปกรณ์ที่สำคัญคือ มอเตอร์ขนาด 40 แรงม้าหนึ่งตัว การที่สภาพพื้นที่เป็นที่ราบไม่มีความต่างระดับ ทำให้พลังงานในการขับเคลื่อนต่ำ จึงทำให้รถรางวิ่งช้ากว่าที่ควรจะเป็น ได้มีการสร้างตัวตู้รถมาตรฐานแบบห้าตอน( five-bay body)โดยตู้รถรางจะมีหน้าต่างที่ เปิดโล่งด้านข้าง และกั้นด้วยไม้เป็นซี่ตามยาว ตู้รถรางในบางกอกโดยทั่วไป มีที่นั่งขนานตามทางยาวกับตัวตู้สำหรับ 26 ที่นั่ง มีที่ว่างตรงกลางให้ผู้โดยสารยืนได้ 34 คน ช่วงสองตอนข้างหน้าจะกันไว้เป็นที่นั่งผู้โดยสารชั้นหนึ่ง

    ปลายปี ค.ศ.1950 รถตู้แบบเครื่องยนต์เดี่ยวได้รับการประกอบตัวถังใหม่ โดยชิ้นส่วนที่ใช้ประกอบถูกนำเข้ามาจากบริษัทโอลด์เบอรี่ เบอร์มิ่งแฮม ประเทศอังกฤษ รถตู้เหล่านี้ได้มีการติดหน้าต่างกระจกทั้งคัน ส่วนมากจะใช้ตู้โดยสารแบบ บริลล์ 21อี แต่ก็มีบางส่วนที่ใช้แบบ Peckham cantilever สำหรับสีของตัวถังรถรุ่นใหม่นี้โดยทั่วไปจะมีสีเหลือง-แดง และมีแถบคาดสีขาว

    ช่วงกลางปี ค.ศ.1950 นี้เอง ภายหลังจากที่กิจการรถรางถูกโอนจากการไฟฟ้าบางกอก (Bangkok Electric Works) ไปอยู่ในความดูแลของการไฟฟ้านครหลวง (the Metropolitan Electric Authority/MEA) ผู้บริหารของการไฟฟ้านครหลวงได้แสดงความประสงค์ที่จะยกเลิกกิจการรถราง และให้มีรถเมล์วิ่งแทน อย่างไรก็ดี จนกระทั่งถึงช่วงปี ค.ศ.1961-1962 รถรางทั้งหมดถูกแทนที่โดยบริษัทรถเมล์เอกชน จะเหลือก็เพียง 2 สายรอบกรุงเก่าเท่านั้น ซึ่งได้ดำเนินกิจการต่อมาจนถึงปี ค.ศ.1968 หลังจากนั้นเหลือรถรางเฉพาะแบบตู้เดี่ยวเพียง 16 ตู้ ปริมาณรถรางที่ให้บริการในจำนวนน้อยเช่นนี้ ประกอบกับความช้าของการขับเคลื่อนไม่ทันใจผู้ใช้บริการ เนื่องจากในสมัยนั้นเมืองไทยมีรถมอเตอร์ไซด์ใช้แล้ว เมื่อการจราจรหนาแน่นขึ้น และรถรางต้องวิ่งตัดผ่านถนนต่างๆ ทำให้ยิ่งเกิดความล่าช้า การตัดสินใจจะยกเลิกระบบรถรางจึงมีขึ้นเมื่อวันที่ 23 กันยายน 1968 โดยกระทรวงมหาดไทย ดำเนินการตามข้อเสนอของการไฟฟ้านครหลวง ที่ให้เหตุผลว่า รถรางทั้ง 2 สายที่เหลือนั้น ประสบการขาดทุนโดยเฉลี่ยเดือนละ 7000 บาท ทั้งที่มีความตั้งใจที่จะอนุรักษ์รถรางเอาไว้ 2 ตู้ แต่ก็ได้ขายรถทั้งหมดในราคาตู้ละ 8000 บาท

    จากข้อมูลในหนังสือโมเดิร์น แทรมเวย์ ได้ทำให้เราทราบด้วยว่า นอกจากรถรางในเมืองหลวงแล้ว ยังมีรถรางสายชานเมืองวิ่งไปยังปากน้ำด้วย ซึ่งได้ยกเลิกไปเมื่อปี ค.ศ.1954 นอกจากนั้น การไฟฟ้านครหลวงก็ได้เปิดบริการรถรางที่เมืองลพบุรีด้วย เมื่อวันที่ 31 มกราคม ปี ค.ศ.1955 มีระยะทาง 5.75 กม. โดยใช้ตู้รถรางเก่าจากบางกอก รถรางเมืองลพบุรีนี้ ดำเนินการอยู่เพียง 7 ปีก็ถูกยกเลิกในปี ค.ศ. 1962 ได้มีความพยายามที่จะเปิดดำเนินกิจการรถรางไฟฟ้าในจังหวัดอื่นด้วย เช่น เชียงใหม่ โคราช และสงขลา แต่ก็ไม่ปรากฎผลสำเร็จ จากปี ค.ศ.1968 เป็นต้นมา ก็ไม่ปรากฎรถรางๆฟฟ้าวิ่งในเมืองไทยอีกต่อไป เป็นอันจบบทบาทระบบขนส่งมวลชนประเภทนี้
    รถรางไฟฟ้าในปัจจุบัน

    รถรางไฟฟ้าในแถบเอเชีย
    ในเอเชียนั้นมีรถรางไฟฟ้าเพียงไม่กี่ประเทศ แต่ที่มีความทันสมัยที่สุดต้องยกให้ประเทศญญี่ปุ่น โดยมีรถรางไฟฟ้าหลายสายให้วิ่ง
    ส่วนในประเทศฮ่องกงและฟิลฟปปินส์นั้นรถรางไฟฟ้ายังไม่ค่อยมีความทันสมัยสักเท่าไร ส่วนในประเทศเกาหลีได้มีการรถรางไฟฟ้าเมื่อไม่นานมานี้เอง ในประเทศอินเดียก็มีรถรางไฟฟ้า แต่ทางที่รถรางไฟฟ้าวิ่งนั้น เป็นทางที่แคบ
    รถรางไฟฟ้าในเอเชีย
    รถรางไฟฟ้าในประเทสฮ่องกง
    รถรางไฟฟ้าในประเทศอินเดีย
    รถรางไฟฟ้าในทวีปแอฟริกา
    รถรางไฟฟ้าในทวีปแอฟริกานั้นมีไม่กี่ประเทศ แต่ที่มีมานานแล้ว
    ก็คือรถรางไฟฟ้า ในประเทศอียิป ซึ่งยังใช้กันอยู่

    รถรางในอเมริกาเหนือ
    รถรางในอเมริกาเหนือนั้น มีหลายสายให้วิ่ง และแต่ละคัน ก็มีความทันสมัย และสะดวกสบายมาก ทำให้การสัญจรมีความสะดวกสบายมากขึ้น


    วันนี้ในอดีต วันที่ 16 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต วันที่ 16 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต วันที่ 16 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต วันที่ 16 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต วันที่ 16 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต วันที่ 16 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต วันที่ 16 กรกฎาคม?




    ผลของสงครามโลกครั้งที่สองกับการใช้ระเบิดปรมนูของสหรัฐอเมริกา

    ขณะที่ทูตญี่ปุ่นกำลังดำเนินการเจรจาทางการทูต เพื่อแก้ไขปัญหากับสหรัฐฯอยู่นั้น เช้าวันที่ 7 ธันวาคม ปี ค.ศ.1941 กองทัพญี่ปุ่นก็ได้บุกเข้าตีฐานทัพของสหรัฐอเมริกาที่เกาะเพิร์ลฮาร์เบอร์ อันเป็นเกาะเล็กๆในหมู่เกาะฮาวาย อันเป็นฐานทัพใหญ่ของสหรัฐฯที่คุมกำลังด้านพื้นแปซิฟิก โดยที่สหรัฐฯเองไม่ทันตั้งตัว ขณะเดียวกันญี่ปุ่นก็ยกกำลังอีกทางหนึ่งเข้าบุกประเทศแถบเอเซียอาคเนย์ อันรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งก่อนหน้าที่ญี่ปุ่นโจมตีเกาะเพร์ลฮาร์เบอร์ เพียงวันเดียว รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเพิ่งอนุมัติเงินก้อนใหญ่เพื่ออุดหนุนการวิจัยเรื่อง พลังงานนิวเคลียร์ อย่างจริงจังเป็นครั้งแรก และการที่ญี่ปุ่นเข้าโจมตีเพร์ลฮาร์เบอร์ในครั้งนั้นเอง จึงเป็นการผลักดันให้ทั้ง 2 ชาติ กระโจนเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างเต็มตัว
    จนถึงปี ค.ศ. 1944 สถานการณ์สงครามโลกเริ่มคลี่คลายไปมาก ฝ่ายอักษะเริ่มปรากฎลางแพ้ เมื่อกองทัพฝ่ายพันธมิตรบุกอย่างหนัก อิตาลีปราชัยต่อฝ่ายพันธมิตร ประเทศต่างๆที่เคยถูกอักษะยึดครองไว้ ได้รับการการปลดปล่อย จนในเดือน เมษายน ค.ศ. 1945 ฝ่ายพันธมิตรก็ได้รับชัยชนะต่อเยอรมนีอย่างเด็ดขาด โดนกองทัพรัสเซียซึ่งเป็นฝ่ายสัมพันธมิตรได้เข้ายึดครองเยอรมนีได้สำเร็จ และฮิตเลอร์ฆ่าตัวตาย เดือนเดียวกันนั้นเองประธานาธิบดีรูสเวลต์ก็ล้มป่วยและเสียชีวิต แฮร์รี่ ทรูแมน รองประธานาธิบดีในขณะนั้นเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีแทน

    จนเมื่อการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ประสบความสำเร็จ สหรัฐอมเริกา จึงเตรียมที่จะใช้อาวุธมหาประลัยนี้เผด็จศึกญี่ปุ่น โดยฝ่ายสัมพันธมิตรได้ยื่นคำขาดให้ญี่ปุ่นยอมจำนน แต่ญี่ปุ่นไม่สนใจ

    และแล้วในวันที่ 6 สิงหาคม 1945 เครื่องบิน บี-29 ของสหรัฐอเมริกาชื่อ "เอนอลาเกย์" ก็ได้ปฎิบัติภารกิจครั้งประวัติศาตร์ คือการนำระเบิดปรมณูไปถล่มเมืองฮิโรชิมา ระเบิดปรมณูลุกนี้ชื่อว่า "ลิตเติลบอย" มีแรงระเบิดขนาด 15 กิโลตัน หรือเทียบเท่ากับดินระเบิด ทีเอ็นที 15000 ตัน ซึ่งประมาณระเบิดขนาดนี้ หากใช้รถบรรทุกสิบล้อขน ก็ราว 750 เที่ยวทีเดียว
    เมืองฮิโรชิมา เป็นเมืองที่มีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่น และแม้ว่าชาวญี่ปุ่นจะรู้ล่วงหน้าว่า สหรัฐฯจะทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ แต่ก็หามีใครตะหนักถึงอนุภาพของมัน เมื่อเอนอลาเกย์ ถึงที่หมาย นักบินจึงปล่อยระเบิดนิวเคลียร์ และรับออกจากที่หมายโดยเร็วที่สุด ระเบิดนิวเคลียร์เกิดปฎิกิริยาลูกโซ่ และระเบิดกลางอากาศขณะที่ลอยอยู่เหนือเมืองฮิโรฮิมา ที่ความสูง 600 เมตร เกิดเป็นควันขาวอมเขียวพวยพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าเป็นรูปดอกเห็ดสูงถึง 10 กิโลเมตร อันเป็นลักษณะเฉพาะของระเบิดนิวเคลียร์ และแสงสว่างอันเจิดจ้า พลังงานอีนมหาศาลที่ถูกปลดปล่อยออกมาในรูปของแรงอัดอากาศ จากการระเบิด ความร้อนและกัมมันตภาพรังสี โดยที่ศูนย์กลางของการระเบิดนั้น มีอุณห๓ูมิสูงถึง 3800 องศาเซลเซียส

    ผลการระเบิดทำให้เกิดแรงลมขนาด 1600 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รุนแรงกว่าพายุเฮอริเคนที่รุนแรงที่สุดถึง 5 เท่า พลานุภาพของเจ้าเด็กน้อย ลิตเติลบอย หรือระเบิดนิวเคลียร์ มากมายจนชาวญี่ปุ่นคิดไม่ถึง

    ขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่น กำลังตื่นตระหนกต่ออำนาจของระเบิดนิวเคลียร์ ประธานาธิบดี ทรูแมน แห่งสหรัฐอเมริกา ก็ได้ยืนคำขาดอีกครั้งเพื่อให้ญี่ปุ่นยอมจำนนแต่โดยดี แต่รัฐบาลญี่ปุ่นเพิกเฉย ในที่สุด ทณุแมน จึงได้สั่งให้ทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่มญี่ปุ่นเป็นลูกที่ 2 และระเบิดลูกนี้ มีชื่อว่า "แฟทแมน" เพราะว่าขนาดอ้วนและใหญ่โตกว่าลูกแรก เป้าหมายของระเบิดลูกที่ 2 นี้ ก็คือ เมืองนางาซากิ

    และแล้ว ในวันที่ 9 สิงหาคม ปี ค.ศ.1945 คืออีก 3 วันถัดมา โศรกนาฎกรรมของมนุษยชาติ อีกฉากหนึ่งก็ได้อุบัติขึ้น เมืองนางาซากิ พินาศย่อยยับในพริบตาด้วยอำนาจของเจ้าคนอ้วน หรือ แฟทแมน
    ในที่สดุรัฐบาลญี่ปุ่นก็ประกาศยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไข ทั้งนี้เพื่อรักษาชีวิตของประชาชนไว้ เพราะไม่แน่ว่าอาจจะมีระเบิดลูกที่3 ตามมาอีก ส่วนพิธีลงนามอย่างเป็นทางการนั้น ได้จัดขึ้นในปลายเดือนนั้น
    สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงแล้ว ผลของระเบิดนิวเคลียร์ทำให้เมืองฮิโรชิมา มีผู้เสียชีวิตทันทีจากการระเบิด ประมาณ 70,000 คน มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตภายหลังในปีเดียวกันอีกราว 70,000 คน และผู้ที่เสียชีวิตภายหลังนี้ต้องได้รับความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสก่อนเสียชีวิต จากแผลไฟลวก และผลจากกัมมันตภาพรังสี และประมาณอีก 60,000 คนเสียชีวิตในอีก 6 ปี ถัดมา ส่วนใหญ่เป็นผลจากกัมมันตภาพรังสี รวมแล้วมีผู้เสียชีวิตกว่า 200,000 คน

    ส่วนที่นางาซากินั้น มีชะตากรรมไม่แพ้กัน ผู้เสียชีวิตในทันที 70,000 คน บาดเจ็บอีกราว 80,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตในเวลาต่อมา นอกจากนี้ผลของกัมมันตภาพรังสี ยังทำให้ผู้ที่ได้รับรังสีกลายเป็นมะเร็งในภายหลังได้อีกด้วย ในส่วนนี้ไม่สามารถประเมินได้แน่นอนว่ามีจำนวนเท่าใด ยังไม่รวมถึงความผิดปกติทางพันธุกรรม อันเป็นผลจากกัมมันตภาพรังสีที่ตกค้างอีกด้วย


    ข้อมูล ::thaisamkok.com/forum/index.php?showtopic=604


    วันนี้ในอดีต วันที่ 16 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต วันที่ 16 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต วันที่ 16 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต วันที่ 16 กรกฎาคม..


    ยานอวกาศอพอลโล 11


    ยานอวกาศอพอลโล-11 ของสหรัฐพร้อมลูกเรือสามคน นีล อาร์มสตรอง, เอดวิน อัลดริน , และไมเคิ้ล คอลลินส์ เดินทางจากเคฟ เคนเนดี้ ในตอนเช้าของวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1969 อีกสี่วันต่อมา วันที่ 20 กรกฎาคม นีล อาร์มสตรอง กับ เอดวิน อัลดริน ลงบนดวงจันทร์ หลังจากอยู่บนดวงจันทร์เป็นเวลา 21 ชั่วโมง 36 นาที อาร์มสตรอง กับอัลดริน เดินทางออกจากดวงจันทร์ เดินทางกลับถึงโลกในวันที่ 24 กรกฎาคม

    อพอลโล-11 เดินทางไปดวงจันทร์ ก่อนการเดินทางอวกาศเป็นคณะของโซยุซ-6, โซยุซ-7 และ โซยุซ-8 เป็นเวลาสามเดือน เมื่อเบียโกวอย กับฟีออคตีสตอฟ เดินทางไปเยือนสหรัฐจึงมีโอกาสมองเห็นผุ่นดวงจันทร์ซึ่ง นีล อาร์มสตรองกับเอดวิน อัลดริน นำมาจากบริเวณทะเลแห่งความสงบบนดวงจันทร์

    หลังจากเบียโกวอยกับฟีออคตีสตอฟ เดินทางกลับสตาร์ทาวน์ อีกไม่กี่เดือนต่อมา วันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1970 นีล อาร์มสตรอง มนุษย์คนแรกบนดวงจันทร์ เดินทางมาเยือนสตาร์ทาวน์ อาร์มสตรอง ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นอย่างเป็นทางการจากนายพลอากาศเอกเอ.เอน.เยฟีนอฟ รองผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพอากาศ และได้รับการต้อนรับอย่างดีเลิศจากคณะนักบินอวกาศของรัสเซียที่สตาร์ทาวน์ อาร์มสตรอง เล่าเรื่องการเดินทางไปดวงจันทร์ให้นักบินอวกาศรัสเซียฟัง

    กอร์กี้ เบียโกวอย อาร์มสตรอง วีรบุรุษเดินทางกลับจากดวงจันทร์ ชาวอเมริกันในนามของนักบินอวกาศรัสเซีย ด้วยการมอบหุ่นจำลองยานอวกาศโซยุซสองลำเชื่อมต่อกัน วาเลนตินา เทเรลโกวา สตรีในอวกาศคนแรกของโลก เป็นผู้มอบกระเช้าดอกไม้และเข็มประดับเป็นที่ระลึกการเดินทางมาเยือน สตาร์ทาวน์ของมนุษย์คนแรกบนดวงจันทร์

    ภายในห้องรับรอง นาทีของความสะเทือนใจ จนไม่มีใครกั้นความรู้สึกได้เมื่อ นีล อาร์มสตรอง กล่าวว่า เขาได้นำเหรียญเกียรติยศ มีชื่อของนักบินอวกาศผู้เสียชีวิตทุกรวมทั้งชื่อ ยูรี กาการิน และชี่อวลาดิมีร์ โคมารอฟ รวมอยู่ด้วยไปวางไว้บนดวงจันทร์ เมื่อกล่าวถึงตรงนี้ อาร์มสตรอง ขอให้ภรรยาของกาการิน กับภรรยาของโคมารอฟ ขึ้นมาบนเวที อาร์มสตรอง อ้าแขนโอบสตรีหม้ายภรรยาของวีรบุรุษอวกาศของรัสเซียทั้งสองคน ภายในดวงตาของอาร์มสตรองมีน้ำตาซึม เขาหยิบเหรียญจำลองของเหรียญที่เขาเอาไปวางไว้บนดวงจันทร์ให้ภรรยาของยูรี กาการิน และภรรยาของ วลาดิมีร์ โคมารอฟ แล้วมอบเหรียญอย่างเดียวกันนี้อีกชุดหนึ่งเป็นของขวัญของสตาร์ทาวน์ ทุกคนภายในห้องอยู่ในความเงียบส่งความรำลึก ไปถึงผู้เสียชีวิตเพราะความพยายามพิชิตอวกาศ





    ข้อมูลจาก doodaw.com/article/index.php?topic=mir36



    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 16-07-2009 at 16:14.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •