ออกัสตา แอดา ไบรอน
(Lady Augusta Ada Byron, Coutress of Lovelace)
นักคณิตศาสตร์




ออกัสตา แอดา ไบรอน



ออกัสตา แอดา ไบรอน



เอด้า ไบร่อน (Lady Augusta Ada Byron, Coutress of Lovelace) เป็นบุตรสาวของ ลอร์ด ไบร่อน (Lord Byron) เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2358 (ค.ศ. 1815) ในกรุงลอนดอน ผู้คนรู้จักเธอในนามของท่านผู้หญิงเลิฟเลซ ท่านลอร์ดไบรอน บิดาของเธอซึ่งเป็นกวีที่มีชื่อเสียงของอังกฤษ และแอนนาเบล มิลแบงค์ มารดาของเธอซึ่งเป็นนักคณิตศาสตร์

หลังจากเธอเกิดไม่นาน พ่อแม่ของเธอก็แยกทางกัน แม่ของเอด้า จึงตัดสินใจเลี้ยงดูเธอให้เป็นผู้หญิงสมัยใหม่ และให้
ศึกษาด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ต่างไปจากเลดี้ในตระกูลใหญ่ๆ ของอังกฤษทั่วไป

พออายุ 17 ปี ก็มีผู้แนะนำให้เอด้ารู้จัก Mrs. Somerville แห่งเคมบริดจ์ ผู้หญิงเก่งแห่งยุค ที่เคยแปลงานของ Laplace มาเป็นภาษาอังกฤษ เอด้าจึงเข้ามาคลุกคลีกับ
เพื่อนกลุ่มนี้ จนได้รู้จักกับ ชาร์ลส แบบเบจ ในงานสังสรรค์แห่งหนึ่ง ในที่สุด ในงานวันนั้น ตอนที่แบบเบจกล่าวว่า "what if a calculating engine could not only foresee but could act on that foresight" (จะเป็นอย่างไร ถ้าหากเครื่องคำนวณไม่เพียงสามารถหยั่งรู้ได้ หากแต่สามารถตอบสนองต่อการหยั่งรู้นั้นได้ด้วย) ไม่มีใครสนใจแนวคิดนี้ของแบบเบจเลย ยกเว้นเอด้า ซึ่งเธอรู้สึกสนใจในงานนี้เป็นอย่างมาก จนอาสาที่จะช่วยพัฒนา โดยสิ่งที่เธอทำคือ การสร้างภาษาสำหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของแบบเบจ

มารดาของแอดาเกรงว่าเธอจะเติบโตแล้วเป็นกวีเหมือนพ่อของเธอ มารดาของเธอจึงพยายามสอนและปลูกฝังให้แอดาเป็นนักคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ แอดาได้รับการศึกษาด้านคณิตศาสตร์จากครูส่วนตัว ซึ่งเป็นเรื่องที่นับว่าแปลกในขณะนั้น โดยเฉพาะในเด็กสาวแล้ว ในสมัยนั้นสตรีผู้ได้รับการศึกษาทางด้านนี้ค่อนข้างจะหาได้ยาก เธอได้เรียนเรื่องพีชคณิต, ตรรกวิทยา และแคลคูลัส แต่ถึงมารดาของเธอก็ยังพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้มั่นใจว่าแอดาจะไม่เป็นกวีเหมือนพ่อ แต่แอดาก็ยังมีเลือดของความเป็นกวีอย่างชัดเจน เพราะนอกจากเธอจะรักและเข้าใจในบทกวีอย่างลึกซึ้งแล้ว บทกวีก็ยังทำให้เธอสามารถเข้าใจในคณิตศาสตร์อย่างถ่องแท้ยิ่งขึ้นด้วย

เหตุการณ์ที่ทำให้เธอกลายเป็นนักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงได้เริ่มต้นขึ้นในงานปาร์ตี้แห่งหนึ่ง เมื่อเธออายุเพียง 17 ปี เธอได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับเครื่องคำนวณของชาร์ลส์ แบบเบจ ชาร์ลส์ ทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล เขามีความคิดที่จะสร้างเครื่องคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่สามารถคำนวณได้เองอย่างอัตโนมัติและมีขั้นตอนที่ถูกต้องแม่นยำ ซึ่งในขณะนั้นแนวทางนี้เป็นการปฏิวัติทางความคิดที่สำคัญ แอดารู้สึกประทับใจในแนวความคิดนี้และเฝ้าติดตามการทำงานของเขาอย่างใกล้ชิดอยู่หลายปี

แบบเบจได้ทำงานตามแผนงานที่เขาได้วางไว้ และได้มีการรายงานความคืบหน้าในการสัมมนา ณ เมืองตูริน ประเทศอิตาลีใน ค.ศ. 1840 นอกจากนี้ยังได้มีการตีพิมพ์สรุปเนื้อหาไว้ด้วยภาษาฝรั่งเศส ใน ค.ศ. 1843 แอดาได้แต่งงานและมีลูก 3 คน เธอได้แปลบทความที่เป็นภาษาฝรั่งเศสนี้ เมื่อเธอนำบทความที่แปลแล้วไปให้แบบเบจดู แบบเบจแนะให้เธอเติมข้อมูลของเธอด้วย ปรากฏว่าเมื่อแปลเสร็จ บทความนั้นยาวกว่าต้นฉบับถึง 3 เท่าโดยที่แอดามีความคิดเห็นและทำนายว่าเครื่องคำนวณนี้จะสามารถใช้ในการเรียบเรียงดนตรี, ทำภาพกราฟิก และใช้ประโยชน์ในทางวิทยาศาสตร์ได้ด้วย และหากเราได้ลองพิจารณาดูก็จะพบว่าคอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับที่แอดาได้ทำนายไว้ครบถ้วน ไม่ผิดเพี้ยนเลยแม้แต่น้อย

แอดามีความคิดเห็นสอดคล้องกับแบบเบจมาโดยตลอดและหลายคนเชื่อว่าเธอมีส่วนในการเขียน หรืออย่างน้อยที่สุดก็เป็นผู้ที่ชี้ชวนให้แบบเบจเขียนแผนว่าเครื่องจักรของเขาจะสามารถคำนวณตัวเลขเบอนูลีได้อย่างไร ซึ่งข้อมูลนี้ถือเป็นแนวทางสำคัญในการกำเนิดโปรแกรมคอมพิวเตอร์

แอดาเสียชีวิตเมื่ออายุประมาณ 36 ปีต้นๆ เช่นเดียวกับพ่อของเธอ เธอสนใจหลายสิ่งหลายอย่างตั้งแต่ดนตรีไปจนถึงการขี่ม้า รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการคำนวณ ด้วยความฉลาด ความสวยและบุคลิกภาพที่มีเสน่ห์ของเธอจึงทำให้เธอได้รับความสนใจอย่างมากในวงสังคมไม่เว้นแม้กระทั่งในวงการของผู้ที่สนใจคอมพิวเตอร์

อีกร้อยกว่าปีต่อมา ในปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ สร้างภาษาคอมพิวเตอร์มาตรฐาน ISO ขึ้นมาตัวแรก พร้อมตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ เลดี้ เอด้า ว่า ภาษา "ADA"

ในช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่ เอด้าได้รู้จัก และอาสาช่วยงาน พร้อมทั้งอุปการะ นักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ รวมทั้งนักเขียนหลายคน เช่น Sir David Brewster คนคิดคาไลโดสโคป, Charles Wheatstone, ชาร์ลส ดิกเก้นส์, และ ไมเคิล ฟาราเดย์



ข้อมูลจาก mc41.com/content