กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: วัฒนธรรมไทย - วัฒนธรรมหลวง

  1. #1
    ท่องเวบ สัญลักษณ์ของ pui.lab
    วันที่สมัคร
    Jul 2006
    ที่อยู่
    โสดไม่มีใครเอา หรือว่าเราไม่เอาใคร
    กระทู้
    8,954
    บล็อก
    9

    วัฒนธรรมไทย - วัฒนธรรมหลวง

    ความหมาย และความเป็นมาของวัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมหลวง
    เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในชาติที่ตกอยู่ในกระแสโลกาภิวัตน์ ความเจริญทางวัตถุไหลบ่าเข้ามาตามกระบวนการสื่อสาร
    แบบไร้พรมแดน วิถีชีวิตของคนและวิธีสังคมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนน่าหวาดวิตกว่าถ้าไม่รู้เท่าทันกระแสและปล่อยให้
    ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมไทย ซึ่งเป็นมรดกของชาติที่น่าภาคภูมิใจเกิดการผสมผสานกับแนวนิยมใหม่ ๆ ที่ฉาบฉวยจนเจือจางเลือนลางไปแล้วอนุชนรุ่นหลังอาจไม่สามารถย้อนหลังดูร่องรอยความเป็นมา หรือรากเหง้าแห่งวัฒนธรรมของเราได้

    วัฒนธรรมไทย - วัฒนธรรมหลวง

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีบทบาทสำคัญทั้งในแง่อนุรักษ์ ดัดแปลงและกอบกู้วัฒนธรรมไทย
    ให้คงอยู่ดังสภาพที่เห็นในทุกวันนี้โดยมีพระราชกรณียกิจส่วนหนึ่งในการสืบสานพระราชพิธีต่าง ๆ ทรงเล็งเห็นคุณานุประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับคนในชาติทั้งในระยะสั้นและระยะยาว จึงทรงส่งเสริมและทำนุบำรุง
    ประเพณีศิลปะและวัฒนธรรมของชาติอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาอันยาวนานกว่า 50 ปี

    คำ ว่าพระราชพิธี จำกัดความหมายเฉพาะเป็นงานที่พระมหากษัตริย์ได้ทรงพระกรุณาให้จัดทำขึ้นตาม ลัทธิประเพณี เพื่อความเป็นสวัสดิมงคลของประเทศและประชาชน หรือเพื่อความเป็นสวัสดิมงคลแก่สิริราชสมบัติพระบรมราชวงศ์และองค์พระมหา กษัตริย์เอง หรือเพื่อน้อมนำให้ระลึกถึงความสำคัญในทางพระพุทธศาสนา หรือเพื่อสำแดงความกตัญญูธรรมและระลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ ในรัชกาลก่อน ๆ ตลอดจนพระบรมราชบูรพการีที่ได้ทรงกระทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน มาแล้วในอดีต

    การ พระราชพิธีนั้นจะทำกันแบบเดิมโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงบ้างนั้นเห็นจะไม่ได้ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เหมาะสมแก่กาลเทศะบ้างเป็นธรรมดา ในหลักการนั้นหากจะเปลี่ยนแปลงก็จะต้องได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจาก พระมหากษัตริย์เสียก่อนจึงจะเปลี่ยนได้ แต่ก่อนที่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนแปลงอะไรนั้น ก็จะต้องทรงไตร่ตรองอย่างรอบคอบ เพราะความรู้สึกนิดคิดและความนิยมเชื่อถือจากประชาชนนั้นมีหลายฝ่าย บ้างก็เป็นหัวสมัยเห็นว่าลัทธิหรือประเพณีเก่าอะไรต่าง ๆ นั้นไม่ใช่ของจำเป็น แต่ที่ยังมีความนิยมชมชอบเพราะเห็นว่าเป็นเครื่องแสดงถึงความเป็นผู้มีคติ ธรรมและวัฒนธรรมของบรรพชน ฉะนั้นในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขอะไรเกี่ยวกับพระราชพิธีนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงได้ทรงถือหลักในทางสายกลาง คือ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในหลักการและความมุ่งหมายของพระราชพิธีนั้น ๆ จะเปลี่ยนแปลงก็เฉพาะในข้อปลีกย่อย เช่น ตัดทอนวันเวลาในการประกอบการพระราชพิธีให้น้อยลงบ้าง เปลี่ยนแปลงให้เกิดความประหยัดขึ้นบ้าง เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อรักษาน้ำใจและขวัญของประชาชนทั่วไปทุกหมู่เหล่าไว้โดยเสมอกัน

    พระราชพิธีสงกรานต์

    เริ่ม กระทำในวันที่ 13 เมษายนถึงวันที่ 15 ซึ่งเป็นวันเถลิงศก พระราชพิธีทำบุญเถลิงศกนี้ในสมัยกรุงสุโขทัยจะมีหรือไม่ ไม่ปรากฏหลักฐาน แต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาปรากฏในหนังสือคำให้การของชาวกรุงเก่าว่าพระเจ้าแผ่น ดินได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลหลายอย่าง เช่น เสด็จฯ ไปสรงน้ำพระพุทธปฏิมากรศรีสรรเพชร สรงน้ำเทวรูปพระพิฆเนศร และโปรดให้นิมนต์พระสงฆ์เข้าไปสรงน้ำ และรับพระราชทานอาหารบิณฑบาตในพระบรมมหาราชวัง 3 วัน กับทรงบำเพ็ญพระราชกุศลก่อพระทรายและฉลองพระทรายอีกด้วย พระราชพิธีเดือนห้านี้แต่ก่อนเรียกว่าพระราชพิธีเผด็จศกสงกรานต์ ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 1-5 ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในงานเถลิงศก โดยอนุโลมตามแบบอย่างที่ทำในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นบางส่วน และได้ทำการเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงบ้างตามความเหมาะสม ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงพระราชดำริว่าการบำเพ็ญพระราชกุศลสิ้นปี ซึ่งเรียกกันว่า การพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ ซึ่งได้ทำกันราวกลางเดือนมีนาคม และการพระราชพิธีเผด็จศกสงกรานต์ ซึ่งกระทำกลางเดือนเมษายนนั้น น่าจะเลื่อนมาทำให้สืบเนื่องติดต่อกันเป็นพิธีเดียวกัน จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนการบำเพ็ญพระราชกุศลสิ้นปีไปทำในปลายเดือนมีนาคม และเลื่อนพระราชพิธีเผด็จศกสงกรานต์มาทำต้นเดือนเมษายน โดยให้วันประกอบการพระราชพิธีติดต่อสืบเนื่องกัน แล้วเปลี่ยนเรียกชื่อพระราชพิธีเสียใหม่ว่า การพระราชพิธีตรุษสงกรานต์ หมายความว่าพระราชพิธีสิ้นปีและขึ้นปีใหม่ ต่อมาใน พ.ศ.2482 ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์จึงได้ให้ยกเลิกการพระราชพิธีตรุษเสียทั้งหมด คงให้มีอยู่แต่พระราชพิธีทำบุญเถลิงศก และได้เปลี่ยนชื่อพระราชพิธีเสียใหม่ว่าพระราชพิธีเถลิงศก ครั้นเมื่อได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากเมษายนมาเป็นมกราคมแล้ว จึงเปลี่ยนชื่อเป็นพระราชพิธีขึ้นปีใหม่ แต่พิธีการมีอยู่อย่างเดิมในปี พ.ศ.2487 ได้ตัดทอนพิธีลงไปอีกเหลือเป็นงานวันเดียว ไม่มีการสรงน้ำพระบรมอัฐและพระอัฐ

    พระราชพิธีสงกรานต์ในรัชกาลปัจจุบัน

    ครั้น ถึง พ.ศ.2492 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ทรงพระดำริว่า การสรงน้ำพระบรมธาตุ สรงน้ำพระพุทธปฏิมากร สรงน้ำพระบรมอัฐ และพระอัฐ สมเด็จพระบรมราชบูรพการีและพระบรมราชวงศ์นั้นเคยถือธรรมเนียมปฏิบัติกันมา ช้านานในเทศกาลสงกรานต์ ไม่ควรจะละทิ้งธรรมเนียมอันเป็นมงคลเสีย และก็ไม่ควรจะได้มีการสรงน้ำพระ สรงน้ำพระบรมอัฐ และพระอัฐในเดือนมกราคมซึ่งเป็นฤดูหนาว ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงมีรับสั่งให้การประกอบการพระราชพิธีสงกรานต์ขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง ต่อมาพลตรีหม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวว่า การพระราชพิธีซ้ำกันอยู่ คือ มกราคมก็ทำหนหนึ่ง มาถึงเดือนเมษายนก็ทำอีกหนหนึ่ง น่าจะงดการพระราชพิธีขึ้นปีใหม่เดือนมกราคมเสีย ก็ทรงเห็นด้วย แต่ทรงมีพระราชกระแสว่าการนี้จะงดเสียเลยทีเดียวก็ไม่สมควร เพราะว่าประชาชนส่วนรวมเขาถือว่ามกราคมเป็นปีใหม่ ฉะนั้นให้งดแต่การพิธีต่าง ๆ แต่ให้มีการทรงบาตร เช่นเดียวกับที่ประชาชนนิยมตักบาตรกันในวันปีใหม่ ซึ่งก็มีพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการทุกกระทรวงไปร่วมในการพระราชกุศลทำบุญ ตักบาตรที่หน้าพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวังในวันที่ 31 ธันวาคมมาก ที่ทรงกำหนดให้ไปตักบาตรในวันที่ 31 ธันวาคมนั้น ก็เพราะทรงพระราชดำริว่าวันที่ 1 นั้นประชาชนตักบาตรกันที่ท้องสนามหลวง ถ้าจะทรงบาตรในวันนั้นด้วย ข้าราชการข้าทูลละอองธุลีพระบาท ซึ่งจะไปตักบาตรที่สนามหลวงบ้างก็จะไปไม่ได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนเสียใหม่ไม่ให้พ้องกัน

    ใน พระราชพิธีสงกรานต์นี้แต่ครั้งรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำพระมหาสังข์ และพระราชทานเงินเหรียญสลึงแก่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการที่เป็นราช ตระกูลบรรดาที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในพระราชพิธีเพื่อเป็นที่ระลึกด้วย การพระราชทานแจกเหรียญสลึงนั้น พระบรมวงศานุวงศ์ คือ เจ้านาย และราชตระกูล คือ หม่อมราชวงศ์ หม่อมหลวงไปจนถึงราชินีกุล เข้าไปรับพระราชทานกันเป็นตระกูล ๆ ตามลำดับ ส่วนข้าราชการอื่น ๆ ที่ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ไม่ได้รับพระราชทานในรัชกาลหลัง ๆ ก็ปฏิบัติอย่างนั้นตลอดมา ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงพระราชดำริในปัจจุบันนี้กาลสมัยได้เปลี่ยนไปแล้ว การทำเช่นนั้น จะทำให้เห็นว่ามีการแยกพระราชทานพระมหากรุณาเฉพาะหมู่ เฉพาะเหล่าไม่เสมอหน้ากัน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้งดแจกเหรียญสลึงเสีย

    พระราชพิธีฉัตรมงคล

    คือ การบำเพ็ญพระราชกุศลสมโภชพระมหาเศวตฉัตรและเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์ เป็นการฉลองครบรอบปีของการเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษก เพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่สิริราชสมบัติ และในโอกาสเดียวกันก็ทรงพระราชอุทิศผลบุญพระราชทานแก่ประชาชนชาวไทยโดยทั่วหน้ากัน

    การ สมโภชเครื่องราชูปโภคและเครื่องราชกกุธภัณฑ์นี้ ความจริงมีมานานแล้ว แต่ว่าไม่ได้เป็นพระราชพิธีเป็นเพียงวิธีที่เจ้าพนักงานที่รักษาเครื่อง ราชูปโภคทำกันเอง เพราะว่าในรอบปีเขาต้องแตะต้องสิ่งของเหล่านี้ซึ่งเขาถือว่าเป็นของสูงอยู่ บ่อย ๆ หากไปทำอะไรที่ไม่เป็นการสมควรเข้าก็จะเป็นเสนียดจัญไรแก่ตน เพราะฉะนั้นพอถึงเดือนหก ซึ่งเป็นเดือนที่ว่างพระราชพิธีจึงจัดการสมโภชกันเอง ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัวเสด็จขึ้นเสวยราชย์แล้ว ก็ทรงมีพระราชดำริว่าวันพระบรมราชาภิเษกนั้นเป็นวันมงคล จึงทรงพระราชดำริให้บำเพ็ญพระราชกุศลสมโภชพระมหาเศวตฉัตรและเครื่อง ราชกกุธภัณฑ์ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.2395 พระราชทานชื่อการพระราชพิธีนี้ว่า "พระราชพิธีฉัตรมงคล"

    ต่อ มาในรัชกาลที่ 6 เมื่อ พ.ศ.2457 ทรงพระราชดำริว่าการพระราชพิธีฉัตรมงคลนั้น วัตถุประสงค์ก็เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่สิริราชสมบัติ ถ้าได้บำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลก่อนที่ได้ เคยดำรงสิริราชสมบัติ ณ กรุงรัตนโกสินทร์ทุกพระองค์ด้วย ก็จะเป็นสิริมงคลและเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวใน รัชกาลก่อน ๆ ยิ่งขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานฉลองพระเดชพระคุณสมเด็จ พระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า เป็นการเริ่มต้นของงานพระราชพิธีฉัตรมงคล แต่นั้นมา และได้เปลี่ยนเรียกชื่อการพระราชพิธีนี้ว่า "พระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีฉัตรมงคล"

    พระราชพิธีฉัตรมงคลในรัชกาลปัจจุบัน

    กำหนดวันที่ 3 พฤษภาคม เป็นวันบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานที่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย วันที่ 14 เจริญพระพุทธมนต์ในการพระราชพิธีฉัตรมงคล ที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท วันที่ 5 เช้าเลี้ยงพระและเวียนเทียน
    สมโภชพระมหาเศวตฉัตรและเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์ บ่ายออกมหาสมาคมพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วเสด็จขึ้นถวายบังคมพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าที่ปราสาทพระเทพบิดร การเสด็จฯ
    ไปถวายบังคมพระบรมรูปนี้ในรัชกาลก่อน ๆ เสด็จฯ โดยกระบวนพยุหยาตราน้อยบ้าง กระบวนราบบ้าง แต่ในปัจจุบัน
    เสด็จฯ โดยกระบวนรถยนต์

    พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัล

    พระ ราชพิธีจรดพระนังคัลหรือที่เราเรียกกันว่า พิธีแรกนาขวัญนี้ สมัยกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มีแต่พิธีพราหมณ์เท่านั้น ต่อมาในรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ตั้งการพระราชพิธีพืชมงคลขึ้นอีก พิธีหนึ่งเป็นพิธีสงฆ์ ทำก่อนหน้าการพระราชพิธีจรดพระนังคัล 1 วัน พิธีพืชมงคลนี้เป็นพิธีที่ประกอบขึ้นเพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่กสิกร บรรดาพืชพันธุ์ธัญญาหารต่าง ๆ สำหรับที่จะเอาไปหว่านในการพิธีและแจกจ่ายให้แก่ประชาชนที่นำมาตั้งไว้ใน พิธีมณฑลทั้งสิ้น สำหรับพิธีแรกนานี้ครั้งกรุงสุโขทัย พระเจ้าแผ่นดินเสด็จฯ ไปประทับทอดพระเนตรพิธีแรกนาด้วย มาสมัยกรุงศรีอยุธยาพระเจ้าแผ่นดินไม่ได้เสด็จฯ ไป แต่พระราชทานพระแสงอาญาสิทธิ์ให้แก่พระยาแรกนา ถือว่ารับพระราชอำนาจให้เป็นผู้แทนพระองค์พระมหากษัตริย์ มาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลก่อน ๆ ไม่ได้เสด็จฯ ในพิธีแรกนาอย่างเป็นทางการ เพียงแต่เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรบ้างเป็นครั้งคราว พระราชพิธีนี้ได้กระทำสืบเนื่องกันมานถึง พ.ศ.2475 มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงระงับการพระราชพิธีนี้ไป

    พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลในรัชกาลปัจจุบัน

    พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า การพระราชทานพิธีนี้กระทำเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่พืชพันธุ์ธัญญาหารและ บำรุงขวัญให้กำลังใจแก่ประชาชนของพระองค์ ซึ่งส่วนมากเป็นกสิกร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟูขึ้นใหม่ และก็เสด็จพระราชดำเนินทุกคราวมิได้ขาด ที่จริงโบราณถือคติว่าถ้าหากพระเจ้าแผ่นดินทรงพระเกษมสำราญแล้ว ความสมบูรณ์พูนสุขก็ตกอยู่กับประชาชนเป็นเงาตามตัว จึงมีกำหนดการให้ทำพิธีที่เป็นสิริมงคลถวายพระมหากษัตริย์เสมอ แต่คติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลนี้ทรงถือว่าถ้าเกี่ยวกับพระชา ชน เกี่ยวกับพืชพันธุ์ ธัญญาหาร เกี่ยวกับกสิกรแล้วถึงจะทรงเหน็ดเหนื่อยก็ไม่ถือว่าทรงพระราชอุตสาหะเสด็จ พระราชดำเนินทุกครั้ง และตั้งพระราชหฤทัยส่งเสริมเสมอ

    วัฒนธรรมไทย - วัฒนธรรมหลวง


    พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน

    พิธี ทอดกฐินนี้ได้ปฏิบัติกันมาแต่โบราณ ในแผ่นดินศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงก็ปรากฏว่า ประชาชนพลเมืองสมัยนั้นได้บำเพ็ญกุศลถวายพระกฐินในเทศกาลออกพรรษาด้วย แต่จะได้ทำเป็นพิธีหลวงอย่างไรหรือไม่นั้นไม่ปรากฏหลักฐาน มาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้เมื่อถึงเทศกาลทอดกฐิน พระมหากษัตริย์ในฐานะที่ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปภัมภกนั้นจะต้องเสด็จพระราช ดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินตามพระอารามหลวงต่าง ๆ แต่โดยที่พระอารามหลวงทั่วราชอาณาจักรนั้นมีมากเหลือเกิน สุดที่จะเสด็จพระราชดำเนินไปถวายพระพระกฐินให้ครบถ้วนได้ จึงต้องเปิดโอกาสให้กระทรวงทบวงกรมต่าง ๆ ตลอดจนคณะบุคคลหรือบุคคลที่สมควรรับพระราชทานผ้าพระกฐินไปทอดกฐิน ประเภทนี้จึงเรียกว่า กฐินพระราชทาน คงสงวนพระอารามหลวงที่สำคัญทั้งในพระนครและต่างจังหวัด ไว้รวม 16 พระอาราม สำหรับที่จะได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงทอดเอง เสด็จพระราชดำเนินด้วยพระองค์เองเพียงปีละ 8 หรือ 9 พระอาราม นอกนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวงศ์หรือองคมนตรี หรือบุคคลที่สมควรเป็นผู้แทนพระองค์ไปเป็นผู้ถวายผ้าพระกฐินแทน

    นอกจากการเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินเป็นทางราชการแล้ว พระมหากษัตริย์ยังเสด็จพระราชดำเนินไปทรงทอดกฐิน ณ พระอารามต่าง ๆ ที่มิใช่อารามหลวง เป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลส่วนพระองค์อีกด้วย กฐินส่วนพระองค์นี้ในสมัยก่อนรัชกาลที่ 5 จะเรียกว่าอย่างไรนั้นยังไม่พบหลักฐานมาเรียกกันว่ากฐินต้นในรัชกาลที่ 5

    พระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินในรัชกาลปัจจุบัน

    ใน รัชกาลปัจจุบันก็ได้ทรงดำเนินรอยพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินต้นเป็นประจำทุก ปี การจะเสด็จฯ ไปถวายผ้าพระกฐินมาก่อน ประชาชนในท้องถิ่นมีความศรัทธาเลื่อมใสในวัดนั้นมาก และประชาชนในท้องถิ่นนั้นไม่ค่อยมีโอกาสได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปจะได้มีโอกาสเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอย่างใกล้ ชิดด้วย

    การ เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนแห่ทั้งทางบกและทางเรือ ตามประเพณีโบราณ ขบวนแห่สำหรับพระมหากษัตริย์นั้นมีอยู่ 9 ขบวน ขบวนทางน้ำ 5 ขบวน และขบวนทางบกอีก 4 ขบวน ตั้งแต่เปลี่ยนการปกครองเป็นต้นมาเราไม่เคยได้เห็นกฐินขบวนพยุหยาตราทั้งทาง บกและทางเรือ จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันได้เสด็จพระราชดำเนินไป ที่โรงเก็บเรือพระราชพิธีในคลองบางกอกน้อย ทอดพระเนตรเห็นเรืออยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม จึงทรงพระราชดำริว่า ถ้าจะโปรดให้มีการฟื้นฟูประเพณีการเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยขบวน พยุหยาตราชลมารคขึ้น ก็จะดูไม่เป็นการสิ้นเปลืองอะไรนัก เพราะคนที่ใช้กำลังทหารเรือ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายทำขึ้นครั้งเดียวก็ใช้ได้นานปี ส่วนประโยชน์ที่จะพึงได้รับนั้นมีอยู่มากมาย และหลายทางด้วยกัน เช่น เรือพระราชพิธีต่าง ๆ อันสวยงามและทรงคุณค่าในทางศิลปอย่างยิ่งนั้นก็จะได้รับการดูแลรักษาและ บูรณะซ่อมแซมให้ดีอยู่เสมอ เป็นการรักษาสมบัติอันมีค่าของชาติให้มีอายุยืนยาวออกไป ทั้งจะได้เป็นการฟื้นฟูขนบประเพณีอันดีที่บรรพชนของเราได้กระทำมาแล้วแต่ปาง ก่อน ให้ดำรงคงอยู่เป็นที่เชิดหน้าชูตาของชาติ เป็นการบำรุงขวัญและก่อให้เกิดความภาคภูมิใจของคนไทย ทั้งยังเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมของชาติที่มีมาแต่โบราณกาลให้เป็นที่ประจักษ์ แก่สายตาของชาวต่างประเทศอยู่ตลอดกาลด้วย นี่เป็นสาเหตุที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการฟื้นฟูประเพณีการเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตรา ชลมารคขึ้น


    โค้ด PHP:
    http://technology.thai.net/culture/onccthai1.html 
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย pui.lab; 25-01-2010 at 02:35.
    บ้านมหาดอทคอม เว็บไซต์ส่งเสริม ศิลปะ วัฒนธรรมไทย ศิลปิน ความรู้ออนไลน์
    st1: มิตรภาพและรอยยิ้ม กับดีเจคนไกลบ้าน st1:

  2. #2
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ pann.ya
    วันที่สมัคร
    May 2009
    ที่อยู่
    หล่มสัก เพชรบูรณ์
    กระทู้
    4
    ขอบคุณหลายเด้อ เอาไปให้ลูกทำรายงาน

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •