กำลังแสดงผล 1 ถึง 4 จากทั้งหมด 4

หัวข้อ: ปราชญ์ชาวบ้าน : จังหวัดนครราชสีมา

  1. #1
    ท่องเวบ สัญลักษณ์ของ pui.lab
    วันที่สมัคร
    Jul 2006
    ที่อยู่
    โสดไม่มีใครเอา หรือว่าเราไม่เอาใคร
    กระทู้
    8,954
    บล็อก
    9

    ปราชญ์ชาวบ้าน : จังหวัดนครราชสีมา

    ประวัติ
    นายใหญ่ วิเศษพลกรัง อายุ ๗๗ ปี เกิดเมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๖๓ ที่จังหวัดนครราชสีมา ได้รับการยกย่องว่าเป็นหมอเพลงโคราชที่มีชื่อเสียงมาอย่างยาวนานเป็นที่ยอมรับไม่เฉพาะชาวจังหวัดนครราชสีมาเท่านั้น แต่ยังเป็นที่ยอมรับของชาวจังหวัดภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคเหนืออีกด้วย นายใหญ่ วิเศษพลกรัง เป็นหมอเพลงโคราชที่มีปฏิภาณไหวพริบที่สามารถว่าเพลงโต้ตอบกับหมอเพลงคู่โต้ได้อย่างเฉียบแหลมคมคาย มีความไพเราะในเนื้อหาสาระตามแบบฉบับของเพลงโคราชจนได้รับฉายาว่า "ใหญ่เพลงงาม" หรือ"ใหญ่เมืองคงดำรงศิลป์" ซึ่งในช่วงที่มีชื่อเสียงนั้นได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก รับงานแสดงมากที่สุด ซึ่งตลอดระยะเวลา ๔๘ ปี ของการเป็นหมอเพลงโคราช นายใหญ่ วิเศษพลกรัง ได้ทุ่มเทชีวิตให้กับเพลงโคราชตลอดมา ถึงแม้ปัจจุบันจะยุติการรับงานแสดงแล้วก็ตาม แต่ด้วยความเป็นศิลปินที่ยิ่งใหญ่ยังยินดีสาธิตและถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาที่สั่งสมมาอย่างยาวนานให้แก่ผู้สนใจใฝ่ศึกษาอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ นับว่า นายใหญ่ วิเศษพลกรัง เป็นศิลปินเพลงโคราชที่อนุรักษ์สืบทอดและสร้างสรรค์เพลงพื้นบ้านอีสาน ให้ดำรงความเป็นเอกลักษณ์ไว้ให้คนรุ่นหลังได้ภาคภูมิใจสืบไป

    ปราชญ์ชาวบ้าน : จังหวัดนครราชสีมา
    ผลงาน
    นายใหญ่ วิเศษพลกรัง จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน - เพลงโคราช) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๙

    โค้ด PHP:
    http://kanchanapisek.or.th/oncc-cgi/text.cgi?no=2533 
    บ้านมหาดอทคอม เว็บไซต์ส่งเสริม ศิลปะ วัฒนธรรมไทย ศิลปิน ความรู้ออนไลน์
    st1: มิตรภาพและรอยยิ้ม กับดีเจคนไกลบ้าน st1:

  2. #2
    ฝ่ายกิจการพิเศษ สัญลักษณ์ของ กำพร้าผีน้อย
    วันที่สมัคร
    Apr 2009
    ที่อยู่
    รัตนาธิเบศร์..ใกล้แยกแคราย
    กระทู้
    1,788
    ตอนเรียนหนังสืออยู่โคราช ได้เบิ่งเพิ่นร้องอยู่แถวอนุสาวรีย์ย่าโม.

    พี่น้องทางโคราชกะร่วมกันสืบสานเด้อครับ....

  3. #3
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ บ่าวจอหอ
    วันที่สมัคร
    Mar 2009
    ที่อยู่
    ayutthaya
    กระทู้
    316
    [YFLASH]http://www.youtube.com/v/aqHDTvqrdNQ&hl=en&fs=1[/YFLASH]

  4. #4
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ บ่าวจอหอ
    วันที่สมัคร
    Mar 2009
    ที่อยู่
    ayutthaya
    กระทู้
    316
    ประเภทของเพลงโคราช


    การแบ่งประเภทของเพลงโคราชนั้น แบ่งได้หลายวิธี พอจะแยกกล่าวได้ดังนี้

    1. แบ่งตามโอกาสที่จะเล่น ได้ 2 ประเภท

    เพลงอาชีพ ได้แก่ เพลงโคราชที่เล่นเป็นอาชีพ มีการว่าจ้างเป็นเงินตามราคาที่กำหนด เพลงประเภทนี้จะเล่นในงานฉลองหรือสมโภชต่าง ๆ เช่น งานศพ งานบวชนาค ทอดกฐินงานประจำปี หรือเล่นแก้บน ผู้ประกอบอาชีพเพลงโคราชนี้เรียกว่า " หมอเพลง" การเล่นจะเล่นเป็นพิธีการ มีเวที การแต่งกายตามแบบของหมอเพลงและมีการยกครูเป็นต้น
    เพลงชาวบ้าน เพลงประเภทนี้ เป็นเพลงของชาวบ้านที่ร้องเล่นกันในยามว่างงานเพื่อความสนุกสนาน เช่น ในงานลงแขก ไถนา หรือเกี่ยวข้าว หรือพบปะพูดคุยกันในวงสุราชาวบ้านที่ว่าเพลงได้ จะว่าเพลงโต้ตอบกันเพื่อความสนุกสนาน ไม่มีพิธีรีตรอง ไม่ต้องสร้างเวทีหรือ " โรงเพลง " และไม่มีการแต่งกายแบบหมอเพลงอาชีพ

    2. แบ่งตามวิวัฒนาการของเพลงโคราช ตั้งแต่ยุคแรกมาจนถึงยุคปัจจุบัน เริ่มตั้งแต่เพลงสั้น ๆ มาจนถึงเพลงยาว ๆ ที่ใช้เล่นกันในปัจจุบันนี้แบ่งได้ 5 ประเภท คือ


    2.1 เพลงขัดอัน เป็นเพลงสั้น ๆ มีสัมผัสอยู่แห่งเดียว คือ ระหว่างวรรคที่ 1 กับวรรคที่ 2 เท่านั้น ส่วนวรรคที่ 3 และ 4 ไม่มีสัมผัส ( สัมผัสที่ใช้เป็นสัมผัสสระ ) เช่น
    2.1.1 เอ้อเอ่อ....สะรุสะระ อีแม่กะทะขั่วถั่ว
    เมิ้ดบุญผัวแล้ว เหมือนไข่ไก่ร่างรัง
    2.1.2 เอ้อเอ่อ....สะรุสะระ อีแม่กะทะขั่วหมี่
    รู้ว่ากินไม่เมิ้ด มึงจิขั่วมากทำไม
    ( ในข้อ 2.1.2 นี้ จะเห็นได้ว่ามีการเล่นอักษรเพิ่มเข้ามาแต่ยังไม่บังคับ ลักษณะนี้จะกลายเป็นสัมผัสบังคับในสมัยหลัง )
    2.2 เพลงก้อม เป็นเพลงสั้น ๆ เช่นเดียวกับเพลงขัดอัน แต่เพิ่มสัมผัสในระหว่างวรรคที่ 3 และ 4 ซึ่งไม่มีในในเพลงขัดอัน เช่น
    ทำกะต้องกะแต้ง อยู่เหมือนกะแต๋งคอกะติก
    ขอให่พี่ซักหน่อย จะเอาไปฝากถ่วยน่ามพริก

    2.3 เพลงหลัก เป็นเพลงที่เพิ่มจำนวนวรรคจาก 4 วรรคในเพลง 2 ประเภทต้นมาเป็น 6 วรรค เพลงประเภทนี้จะเห็นว่าการเริ่มใช้สัมผัสประเภทอักษรเด่นชัดขึ้นเช่น

    2.3.1 อันคนเราทุกวัน เปรียบกันกะโคม
    พอคนโห่ควันโหม ก็ลอยบนเวหา
    พอเมิ้ดควันโคมคืน ก็ต๊กลงพื้นสุธา...ใหญ่
    2.3.2 เกษาว่าผม แก่แล้วบานผี
    เมื่อผมดำงามดี ก็ลับมาหายดำ
    ไม่เป็นผลดีดอกผม จะไม่นิยมมันทำ...ไม

    2.4 เพลงสมัยปัจจุบัน คือเพลงที่ใช้ร้องเล่นกันในปัจจุบัน มีขนาดยาวกว่าสมัยก่อน ๆ แต่ถ้าร้องจะร้องช้าบางทีจังหวะไม่สม่ำเสมอ ขึ้นอยู่กับผู้ร้อง ร้องช้าหรือร้องเร็วไม่สม่ำเสมอเช่น

    โอ้โอ่
    ...... ประเทศของไทยเราถึงคราวแคบ มันต้องมีคนแอบดอกนาพี่เอย
    .......คนแฝงเพลงโคราช สมัยเจริญจ้างเป็นเงินมาก็แพง .......เองจะว่ากันยังไงจะถูกใจคนฟังขอให้หนุ่มนำหน้าพอ
    .......เหนื่อยมาจะนำนอน ถ้าเข่าใจครรไลจร ให้ชี่นิ่วนำทาง
    .......อุปมาเหมือนยังพระ.....เดินนำเณร (ตบมือ)
    สมัยวิวัฒน์พัฒนา เขาก้าวหน่ามิใช่น่อย
    มาฉันจะเดินซ่อนรอย ขอแต่ให้พี่ชายนำ
    ถ้ายังไม่จรจะนำไปถึงจุ๊ด ฉันคงไม่ยุ๊ดพยายาม
    จะนำน้องเข่าไปเขาใหญ่ หรือดงพญา....เย็น

    2.5 เพลงจังหวะรำ เพลงประเภทนี้ เป็นที่ใช้ร้องกันอยู่ในสมัยปัจจุบันเช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้วในข้อ 2.4 แตกต่างกันที่ตรงจังหวะรำนี้จะเล่นสัมผัสมาก และสม่ำเสมอ สามารถเคาะจังหวะตามได้ และขณะที่ร้อง ผู้ร้องจะรำขย่มตัวไปตามจังหวะเพลงด้วย โดยจะเริ่มรำเมื่อว่าไปแล้วประมาณ 4 วรรค เพราะใน 4 วรรคต้นนี้จังหวะยังไม่กระชั้นหรือคงที่ อาจช้าบ้างเร็วบ้าง จะรำด้วยก็ได้แต่เป็นการรำช้า ๆ ไปรำจังหวะเร็วที่วรรคที่ 5 - 8 เป็นการจบท่อนแรก พร้อมทั้งตบมือ 1 ครั้ง พอขึ้นท่อนที่ 2 จะร้องช้าลงเพื่อเตรียมจบหรือเตรียมลง การรำหลอกล่อกันระหว่างชายและหญิง คือถ้าฝ่ายชายร้อง ฝ่ายหญิงก็จะรำด้วย ถ้าฝ่ายหญิงร้องฝ่ายชายก็จะรำด้วย การรำจึงเป็นการรำทีละคู่



    3. แบ่งตามลักษณะกลอน จะได้เป็น 5 ประเภทคือ เพลงคู่สอง เพลงคู่สี่ เพลงคู่แปด และเพลงคู่สิบสอง การแบ่งเช่นนี้ เป็นการกำหนดประเภทคล้ายแบบที่แบ่งตามวิวัฒนาการนั่นเอง คือเพลงคู่สองกับคู่สี่ เป็นเพลงก้อม ส่วนเพลงคู่หก กับคู่แปดเป็นเพลงที่ใช้ร้องกันในปัจจุบัน ซึ่งทั้งสองประเภทนี้ มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ในด้านจำนวนคำในวรรค ส่วนเพลงคู่สิบสองนั้นเป็นเพลงที่ดัดแปลง มาจากเพลงคู่แปด โดยเพิ่มจำนวนคำ ในวรรคมากขึ้น และร้องเร็วมาก จังหวะถี่ยังไม่แพร่หลายนักในปัจจุบัน เพราะหมอเพลงส่วนใหญ่ จะคิดคำไม่ทัน กับที่ต้องว่าเร็ว ๆ จึงปรากฎให้เห็น เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

    4. แบ่งตามเนื้อหาของเพลง จะได้หลายชนิด เช่น เพลงเกริ่น เพลงเชิญ เพลงไหว้ครู เพลงถามข่าว เพลงชวน เพลงชมนกชมไม้ เพลงเกี้ยวเพลงเปรียบ เพลงสาบาน เพลงด่า เพลงคร่ำครวญ เพลงสู่ขอ เพลงเกี้ยวแกมจาก เพลงจาก เพลงลา เพลงพาหนี เพลงปลอบ เพลงไหว้พระ เพลงตัวเดียว เพลงเรื่อง ( นิทาน ) เป็นต้น

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •