หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย
กำลังแสดงผล 1 ถึง 10 จากทั้งหมด 11

หัวข้อ: มิตรภาพ เมื่อ40ปีที่แล้ว

  1. #1
    Super Moderator สัญลักษณ์ของ ไก่น้อย
    วันที่สมัคร
    Aug 2006
    ที่อยู่
    นครโคราช
    กระทู้
    4,928
    บล็อก
    8

    เรื่องฮิตน่าอ่าน มิตรภาพ เมื่อ40ปีที่แล้ว

    วันนี้ ผู้คนกำลังกลับภูมิลำเนากันหนาตา บนเส้นทางเริ่มแออัดไปด้วยยานยนต์ที่หลั่งไหลออกจากกรุงเทพฯ สู่จังหวัดต่างๆ โดยเฉพาะภาตตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสาน โดยมีจังหวัดนครราชสีมา เป็นด่านหน้ารองรับลูกหลานกลับบ้าน ผ่านถนนมิตรภาพ เส้นเลือดใหญ่เชื่อมโยงจังหวัดต่างๆ ในพื้นที่ภาคอีสาน กับ กรุงเทพมหานคร

    เอ...ขุดเอาเรื่องถนนมิตรภาพมาเล่าสู่กันฟัง รับวันหยุด ดีไหมค่ะ ?


    เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับการเปิดถนนมิตรภาพ ช่วงระหว่าง จ.นครราชสีมา – หนองคาย ซึ่งปัจจุบันนี้ พวกเราทุกคนก็รู้กันดีว่า เป็นทางหลวงหมายเลข 2 ขนาดสี่เลนวิ่งสบายจนไปถึงเชิงสะพานมิตรภาพไทย – ลาว ( แต่ทางฝั่งโน้นเรียกว่า “ ขัวมิดตะพาบ ลาว – ไท" ) ในเวลาไม่ถึงวัน

    สมัยก่อนโน้น...... ใครจะเดินทางไป จ.หนองคาย ทางรถยนต์ไม่ใช่ง่ายเหมือนทุกวันนี้นะครับ เว้นแต่ ถนนมิตรภาพ ช่วงจาก สระบุรี – นครราชสีมา ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จก่อนหน้านั้น ซึ่งเส้นทางที่เก่าแก่กว่าถนนมิตรภาพ คือ ถนนสุรนารายณ์ เริ่มต้นจาก อ.โคกสำโรง ผ่าน อ.ชัยบาดาล สี่แยกบ้านหนองบัวโคก อ.โนนไทย สามแยกบ้านจอหอ เข้าสู่นครราชสีมา ซึ่งปัจจุบันคือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 205 นั่นเอง แต่ใช้เวลาเดินทางอ้อมโลกเหลือหลาย...

    ออกจาก จ.นครราชสีมา ถนนจะไปทางจอหอ – ผ่านแยกเข้า อ.พิมาย – แยก อ.คง เบนขวาออกไป อ.ประทาย จนเกือบเข้า อ.พุทไธสง แล้ววกกลับมา อ.พล อีกครั้งหนึง ( ช่วงนี้ปัจจุบันเป็นทางหลวงหมายเลข 207 ) พอเข้าแนวเส้นทางปกติ จะวกเข้า อ.บ้านไผ่ ออกมาเข้าสู่ จ.ขอนแก่น , อุดรธานี ไปจนถึง จ.หนองคาย สภาพถนนนั้น ลาดฝุ่นเกือบตลอดสาย แถมมีหลุมบ่อให้เอวเคล็ดเล่นๆ งั้นแหละ ผู้คนจึงนิยมเดินทางโดยรถไฟมากกว่า

    ครับ…มาดูเรื่องราวความลำบากในการก่อสร้างเส้นทางสายนี้ และคำพูดจากพี่น้องที่ได้รับประโยชน์จากเส้นทาง และในขณะเดียวกันก็กลายเป็นคู่แข่งขันที่สำคัญของทางรถไฟสายหนองคาย จนไม่อาจคึกคักดังเช่น สายอุบลราชธานี ในทุกวันนี้

    ผมเคยเห็นภาพยนตร์สารคดีของเส้นทางสายนี้ มีชื่อว่า “ ทางหลวงหมายเลข 21" ของสำนักข่าวสารอเมริกัน กรุงเทพฯความยาวประมาณ 40 นาที ที่ใช้ชื่อนั้น เพราะแต่เดิม กรมทางหลวง ได้กำหนดหมายเลขทางหลวงไว้เป็นหมายเลข 21 สำหรับถนนมิตรภาพ มาเปลี่ยนเป็นหมายเลข 2 ในภายหลัง ใครสนใจภาพยนต์เรื่องนี้ ลองติดต่อสอบถามดูนะครับ

    อีกนิดหนึ่ง ค่าก่อสร้างถนนสมัยนั้น หากคิดเปรียบเทียบเป็นมูลค่าในปัจจุบันแล้ว ต้องเทียบประมาณจากราคาซื้อ - ขายทอง ซึ่งราคาทองคำที่ซื้อขายกันในสมัยนั้น จะตกอยู่ราวบาทละ 350 บาทเท่านั้น
    ถนนดีทำให้การทำมาหากินในท้องถิ่นเจริญก้าวหน้าและ ช่วยยกระดับการครองชีพของราษฎร

    มิตรภาพ เมื่อ40ปีที่แล้ว


    การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต้องอาศัยถนนดีป็นเส้นทางสำหรับนำความเจริญไปสู่ท้องที่ๆ ห่างไกลคมนาคม และสำหรับลำเลียงพืชผลที่ราษฎรในเขตนั้นๆ ผลิตขึ้นออกสู่ตลาด

    วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๐๘

    นับว่าเป็นวันสำคัญวันหนึ่งในโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและการส่งเสริมความอยู่ดีกินดีของราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    เนื่องจากในวันนั้นได้มีการประกอบพิธีเปิดถนนสายโคราช – หนองคาย เป็นทางการ ถนนนสายนี้มีความยาว ๓๖๐ กม. เป็นช่วงสุดท้ายของทางหลวงซึ่งเริ่มต้นจาก กรุงเทพฯ หนึ่งในสามส่วนของถนนสายนี้ คือ ทางหลวงสายมิตรภาพ เชื่อมสระบุรี กับ โคราช อีกตอนหนึ่งที่ยังเหลือ คือช่วง กรุงเทพฯ – สระบุรี ซึ่งส่วนใหญ่ก็เสร็จเรียบร้อยแล้วเช่นกัน คงเหลืออีกเพียง ๒๘ กม. ( ระหว่าง รังสิต – กรุงเทพฯ ) เท่านั้น และช่วงนี้ก็กำหนดว่า จะแล้วเสร็จก่อนเดือน พฤศจิกายน ๒๕๐๘ นี้

    ดังนั้น ปัจจุบันเราจึงมีทางหลวงลาดยางแอสฟัลท์ตลอดสายยาวที่สุดในเมืองไทย ตัดออกจากกรุงเทพฯ ผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือทางนครราชสีมา และไปจนสุดชายแดนที่จังหวัดหนองคาย ณ ริมฝั่งแม่น้ำโขง รวมเป็นระยะทางยาวทั้งสิ้น ๖๑๒ กม.


    มิตรภาพ เมื่อ40ปีที่แล้ว

    ส่วนในทางปฏิบัตินั้น ทางตอน โคราช – หนองคาย ได้เปิดให้ยวดยานของประชาชนสัญจรไปมาได้ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน ศกก่อนแล้ว เป็นทางลาดยางแอสฟัลท์ กว้าง ๖.๕ เมตร และไหล่ทางลูกรัง ๒ ข้าง ๆ ละ ๒.๒๕ เมตร ส่วนใหญ่สร้างทับแนวถนนที่มีอยู่เดิม นอกจากช่วงโคราช – บ้านไผ่ ซึ่งแนวถนนเดิมคดเคี้ยว และอยู่ในสภาพชำรุด จากการสำรวจและประมาณราคาพบว่า การสร้างแนวถนนขึ้นใหม่เป็นการดีกว่าที่จะใช้เส้นทางเดิม ทั้งนี้ เพราะแนวถนนใหม่จะย่นระยะทางลงกว่า ๓๐ กม.

    บัดนี้การก่อสร้างทางหลวงสายหลักจาก พระนคร ไปจนสุดอาณาเขตลงที่ จังหวัดหนองคาย จึงเสร็จสมบูรณ์ตามความมุ่งหมาย ทำให้เราสามารถเดินทางโดยยานยนต์จาก กรุงเทพฯ ไปถึงหนองคายได้ภายในเวลา ๘ ชั่วโมง โดยแล่นไปตามเส้นทางที่มีผิวจราจรราบเรียบ รถไม่กระเทือนแลแน่นิ่งจนกระทั่งอาจกล่าวได้ว่า แม้น้ำในแก้วก็จะไม่หก การเดินทางสะดวก รวดเร็ว และเราอาจกระทำได้ตลอดฤดูกาลไม่ว่าจะเป็นหน้าฝนหรือหน้าแล้ง

    นับเป็นเส้นทางคมนาคมขั้นมาตรฐานสายแรก ที่เชื่อมการติดต่อระหว่างเมืองหลวงของประเทศกับหัวเมืองชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    ในการสร้างทางสาย โคราช – หนองคาย สายนี้ รัฐบาลไทยได้รับความช่วยเหลือจากองค์การบริหารวิเทศกิจแห่งสหรัฐ ( USOM ) พร้อมทั้งได้จ้างผู้เชี่ยวชาญชาวอเมริกันมาช่วยให้คำแนะนำด้วย ส่วนการออกแบบและการก่อสร้างอยู่ภายใต้การควบคุมของ กรมทางหลวง

    มิตรภาพ เมื่อ40ปีที่แล้ว

    เดียวมาต่อนะค่ะ
    กระเบื้องจะฟูลอย น้ำเต้าน้อยจะถอยจม เมฆจะหล่นฟ้าปลาจะกินดาว ลาวจะครองเมือง ::)

  2. #2
    Super Moderator สัญลักษณ์ของ ไก่น้อย
    วันที่สมัคร
    Aug 2006
    ที่อยู่
    นครโคราช
    กระทู้
    4,928
    บล็อก
    8

    เรื่องฮิตน่าอ่าน มิตรภาพเมื่อ 40ปีที่แล้ว ตอนที่2

    ปัญหาในการสร้างทางสายนี้ก็คือ วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง จะเห็นได้ว่า ภูมิประเทศในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความขาดแคลนหินเป็นอย่างมาก ส่วนพื้นที่ ก็มีลักษณะเป็นดินทรายละเอียด ถ้ารถวิ่งในหน้าแล้งจะเป็นฝุ่นคลุ้ง และในหน้าฝนก็เป็นโคลน แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญชาวอเมริกัน ทำให้สามารถแก้ปัญหานี้ตกไปได้

    เมื่อประมาณ ๘ ปีก่อนหน้านี้ นายช่างของกรมทางฯ ได้ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ทำการสำรวจภูมิประเทศในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งใต้ดินและบนดิน เพื่อพิจารณาหาทางที่จะนำวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นมาใช้ในการสร้างทาง ผลของการสำรวจก็ปรากฏแต่เพียงว่า ในภาคนี้มีลูกรัง กรวด รวมกันอยู่เป็นแห่งๆ ซึ่งมีคุณภาพไม่เหมาะที่จะทำถนน แต่ในขณะนั้น ก็ยังมองไม่เห็นวิธีอื่นใดนอกจากจะพยายามใช้วัสดุในท้องถิ่นให้ได้ เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว จะต้องลำเลีบงหินไปจากแหล่งห่างไกล เช่น จากสีคิ้ว ซึ่งกว่าจะถึง ขอนแก่น ก็เป็นระยะทางห่างประมาณ ๒๐๐ – ๓๐๐ กิโลเมตร

    ปัญหานี้เป็นปัญหาหนัก จึงจำเป็นต้องมีการทดลองทางวิทยาศาสตร์ โดยร่อนขนาดของวัสดุชนิดต่างๆ ว่ามีขนาดอย่างไรบ้าง แล้วใช้วิทยาการแผนใหม่ ที่จะผสมวัสดุพวกนี้ให้มีคุณภาพใช้แทนหินได้ ในที่สุดการทดลองก็ประสบผลสำเร็จ โดยหาปริมาตรของ ดิน ทราย หิน กรวด ที่พบในดินหรือกรวดแม่น้ำ มาผสมกัน ใช้เป็นวัสดุสำหรับสร้างทางได้ จึงได้เปิดโครงการทดลองขึ้นเมื่อ ๘ ปีก่อน เรียกว่า Demonstration Project เป็นการทำถนนขั้นทดลองขึ้นสายหนึ่ง ตอนใต้ของจังหวัดอุดรธานี เป็นระยะทางยาวประมาณ ๒๐ กิโลเมตร เพื่อดูผลการทดลองว่าจะใช้ได้เพียงไร

    วิธีการเช่นนี้เรียกว่า วิธีการ Mechanical Stabilization คือ เลือกขนาดของเม็ดวัตถุให้เท่ากันพอเหมาะที่จะให้กำลังดีเท่าๆ กับหิน เพื่อนำมาบดอัดจนได้เป็นพื้นฐานถนนตามมาตรฐานที่ต้องการ

    การทำถนนทดลองสายนี้ลาดยางหนาเพียง ๒ เซนติเมตรเท่านั้น ผลก็ปรากฎว่า ทางสายนี้สามารถรับการจราจรได้ดี ทางเรียบ รถยนต์วิ่งได้เร็ว การบำรุงรักษาก็ไม่แตกต่างกับถนนลาดยางส่วนอื่นๆ ของประเทศ ค่าบำรุงรักษาก็อยู่ในอัตราไล่เลี่ยกัน กรมทสงหลวงจึงได้คิดขยายโครงการ Demonstration Project โดยการสร้างทางสายโคราช – หนองคายขึ้น

    มิตรภาพเมื่อ 40ปีที่แล้ว ตอนที่2

    บัดนี้ที่ป่าดง ๒ ข้างทางถนนสายมิตรภาพ เปลี่ยนแปลงไปเป็นสวนผลไม้ ไร่ข้าวโพด ไร่มันหมดแล้ว โดยเฉพาะชาวไร่สามารถเพิ่มรายได้ของตนได้อีกมาก ด้วยการปลูกข้าวโพดอย่างเป็นล่ำเป็นสัน

    ทางสายนี้เริ่มสร้างในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ โดยกรมทางหลวง ได้จ้างบริษัทรับเหมาก่อสร้างเป็นตอนๆ รวม ๗ ตอน สรุปรวมเบ็ดเสร็จในการก่อสร้างทางสายโคราช – หนองคาย สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๒๔๐ ล้านบาท ไม่รวมค่าก่อสร้างสะพานอีกประมาณ ๕๐ ล้านบาท ซึ่งองค์การยูซอมลงทุนให้ก่อนแล้ว ฉะนั้น จึงสิ้นค่าก่อสร้างรวมทั้งสิ้น คิดเฉลี่ยประมาณ กม.ละไม่ถึง ๑ ล้านบาท ( ถนนมิตรภาพ ประมาณ กม.ละ ๓.๕ ล้านบาท ) และส่วนใหญ่เป็นเงินค่าก่อสร้างที่องค์การยูซอมออกให้เกือบ ๓๐๐ ล้านบาท ซึ่งนับว่าเป็นส่วนที่สหรัฐอเมริกาได้ช่วยเหลือโดยไม่มีข้อผูกพัน การสร้างทางสายนี้นับว่า มีประโยชน์นานัปการ ไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้น แม้แต่ประเทศลาวก็ได้อาศัยเส้นทางสายนี้ เพราะลาวเป็นประเทศที่ไม่มีถนนติดต่อกับภายนอกได้สะดวกเท่ากับผ่านประเทศไทย

    ดังนั้น เมื่อประเทศไทยมีทางหลวงที่ดีสายนี้ ประเทศลาวก็ได้ประโยชน์ไปด้วย โดยรถจะวิ่งจาก กรุงเทพฯ ถึง หนองคาย ในเวลาเพียงวันเดียวเท่านั้น


    มิตรภาพเมื่อ 40ปีที่แล้ว ตอนที่2

    ในการประกอบพิธีเปิด จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า

    "...ถนนหนทางมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ ในท้องถิ่นใดก็ตามที่มีถนนไปถึง ความเจริญของท้องที่ การเพิ่มพูนขยายตัวของการทำมาหากินและรายได้ของประชาชนก็ย่อมจะบังเกิดเป็นเงาตามตัวมาด้วย…..

    …..ทางหลวงสายนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อมวลชนและทรัพยากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างมาก เพราะจะช่วยเชื่อมชุมนุมชน ไร่นา และตลาดในท้องที่สำคัญๆ หลายแห่ง ให้ใกล้ชิดติดต่อกัน และจะเปิดทางเพื่อการพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และเกษตรกรรม ดังเช่นที่ประจักษ์อยู่แล้ว

    ในความเจริญทางเศรษฐกิจที่บังเกิดขึ้นกับอาณาบริเวณถนนมิตภาพในเวลาอันไม่นานมานี้…..”


    คำกล่าวของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ข้างต้นนี้ บรรยายให้เห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ที่เกิดขึ้นแก่ความเจริญก้าวหน้าในทางเศรษฐกิจ และสังคม ของท้องที่สองข้างทางถนนมิตรภาพในเวลาปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากปริมาณการจราจรบนถนนมิตรภาพเพิ่มจาก ๒๐๐ คันในระยะ ๕ – ๖ ปีที่ผ่านมาเป็น ๓,๐๐๐ คันในปัจจุบัน บริเวณที่ดินที่เคยเป็นป่าทั้ง ๒ ข้างทาง ก็เปลี่ยนสภาพเป็นแห่งเพาะปลูกเกษตรกรรมยาวสุดสายตา

    มิตรภาพเมื่อ 40ปีที่แล้ว ตอนที่2

    ตำบลปากช่อง แต่ก่อนเป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆ มีห้องแถวไม้เก่าแก่อยู่ ๒ – ๓ แถว บัดนี้กลับกลายเป็นตลาดการค้าที่แน่นขนัดไปด้วยตึกราม ๒ ชั้น ๓ ชั้น
    ( ปัจจุบันคือชุมชนเทศบาลเมืองปากช่อง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา)

    ที่อำเภอปากช่อง อันเป็นแหล่งศูนย์กลางการค้าผลผลิตเกษตรกรรมในย่านถนนมิตรภาพนั้น แต่ก่อนเป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆ มีถนนสายเดียว และทั้งสองข้างถนนก็มีแต่ห้องแถวไม้เก่าคร่ำคร่า ครั้นถนนสายมิตรภาพผ่านมา วิวัฒนาการความเจริญในด้านต่างๆ ก็บังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันนี้ ห้องแถวไม้เก่าแก่นั้นได้กลายเป็นตึกสามชั้นยาวเหยียดไปหมดแล้ว ในบริเวณใกล้เคียงตลาดมีการก่อสร้างโรงงานทอกระสอบ โรงงานทำแป้งมัน โรงงานทำแผ่นสังกะสี ผู้คนที่พากันเข้ามาทำมาหากินในย่านนี้ ซึ่งเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นลำดับ ก็เคลื่อนไหวคึกคักในการซื้อขายข้าวโพดและมันสำปะหลัง อันเป็นพืชหลักที่นิยมเพาะปลูกกันอยู่ในเวลาปัจจุบัน นอกจากนี้ กรมกสิกรรม ยังได้ส่งเสริมให้มีการปลูกฝ้ายมา ๒ – ๓ ฤดูแล้ว ปรากฎว่า ราษฎรที่ได้เข้าร่วมในการทดลองกับทางราชการ ได้รับความสำเร็จอย่างดียิ่ง

    ดังนั้นในไม่ช้า ฝ้ายซึ่งให้ผลต่อไร่เป็นมูลค่าสูงมาก ก็จะได้เข้ามาเป็นพืชหลักของย่านนี้เพิ่มเติมอีกชนิดหนึ่งด้วย

    เหล่านี้เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า ถนนดี อาจอำนวยประโยชน์มหาศาลให้พื้นที่และผู้ที่ทำมาหากินอยู่ในละแวกนั้นๆ ได้เพียงไร
    กระเบื้องจะฟูลอย น้ำเต้าน้อยจะถอยจม เมฆจะหล่นฟ้าปลาจะกินดาว ลาวจะครองเมือง ::)

  3. #3
    ศิลปิน นักร้อง นักแสดง
    มิสบ้านมหา 2011
    สัญลักษณ์ของ ผู้ก่อการรัก
    วันที่สมัคร
    Feb 2006
    ที่อยู่
    HappyLand ดินแดนแห่งความสุข, Thailand
    กระทู้
    3,161
    น้องไก่ เกิดมา 40 ปีแล้วเนาะ อิอิ
    ล้มแล้วฟื้นยืนสู้ชูช่อใหม่ เพราะต้นยังสดใสผลิใบเขียว
    ลุกขึ้นต้านลมฝนต้นเป็นเกลียว รากยึดเหนี่ยวซับซ้อนกับพื้นดิน



  4. #4
    Super Moderator สัญลักษณ์ของ ไก่น้อย
    วันที่สมัคร
    Aug 2006
    ที่อยู่
    นครโคราช
    กระทู้
    4,928
    บล็อก
    8
    อะฟ้าวแซวหลายนิกะดาย 555+ เหลืออีก9ปีพุ้น ฮ่าๆๆ
    กระเบื้องจะฟูลอย น้ำเต้าน้อยจะถอยจม เมฆจะหล่นฟ้าปลาจะกินดาว ลาวจะครองเมือง ::)

  5. #5
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ บ่าวจัย
    วันที่สมัคร
    Jun 2008
    กระทู้
    2,872
    เป็นข้อมูลที่ดีครับเอื้อยไก่ ได้เห็นทางเมือบ้านแต่สมัยเก่าก่อน
    เบิ่งแล้วกะอยากลองขับรถไปอีกแล้วละ นานฮอดแท้ปีใหม่นิอยากเมือบ้านแล้วๆๆๆๆ
    หล่อคืออ้าย กินข้าวบายกบตั๋วะหล่า

  6. #6
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ บ่าวเคน
    วันที่สมัคร
    Jun 2009
    ที่อยู่
    อุบลฯ เมืองดอกบัวงาม
    กระทู้
    360
    ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆแบบนี้ แต่ว่ากลับบ้านยามเทศกาล ปีใหม่ สงกรานต์ บ่อยากคึดเลยครับ
    สำหรับทางเส้นนี้ คึดไปคึดมากะเลยฮู้ว่า คนอีสานบ้านเฮาน่ะรวยสุดในประเทศ เพราะชื้อรถหลายกว่าหมู่ ปีใหม่ สงกรานต์ 3-4 มื้อ รถกะยังติด สระบุรี หมวกเหล็ก ลำตะคอง เขาปัก

  7. #7
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ กำลังใจ
    วันที่สมัคร
    Mar 2007
    กระทู้
    1,529
    บล็อก
    1
    เขียนได้ละเอียดมากเลยจ้า

  8. #8
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ หมอนกิ๋ว
    วันที่สมัคร
    Sep 2007
    กระทู้
    119
    ความรู้ใหม่
    มีมาตั้งแต่บ่ทันเกิด
    ขอบคุณครับ

  9. #9
    นักการภารโรง สัญลักษณ์ของ บ่าวคนเดิม
    วันที่สมัคร
    Jan 2006
    ที่อยู่
    Amphoe Det Udom
    กระทู้
    3,148
    ภาพนี้ได้ยินไหย่ศรีฯ เว้าสู่ฟังยุหว่า...เลาไปประจำการอยู่ปางช่องนิละ สมัย 40 คืนหลัง

  10. #10
    ฝ่ายกิจการพิเศษ สัญลักษณ์ของ กำพร้าผีน้อย
    วันที่สมัคร
    Apr 2009
    ที่อยู่
    รัตนาธิเบศร์..ใกล้แยกแคราย
    กระทู้
    1,788

    ... ปี 2524 เคยเดินทางมากรุงเทพฯ..กว่าสิฮอดใช้เวลาเดินทาง10 ชม.ขึ้นไป
    ย่อนว่าถนนมีแค่ 2 เลน ไป-กลับ ฝั่งละ 1 เลน ฮอดแถวๆปากช่องนี่รถแล่นช้าคัก
    แซงกะยากๆ ซะ ยิ่งช่วงที่อยู่บนเขา ...แต่ซุมื่อนี่ ดีมากๆ 4-5 ชม.กะฮอด
    บ้านแล้ว

หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •