กำลังแสดงผล 1 ถึง 1 จากทั้งหมด 1

หัวข้อ: วันนี้ในอดีต วันที่ 31 กรกฎาคม

Threaded View

คำตอบที่แล้วมา คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป คำตอบถัดไป
  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    วันนี้ในอดีต วันที่ 31 กรกฎาคม

    วันนี้ในอดีต วันที่ 31 กรกฎาคม



    พ.ศ.2035 คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ค้นพบหมู่เกาะทรินิแดด

    พ.ศ. 2410 หม่อมราโชทัย ผู้แต่งนิราศลอนดอน ถึงแก่อนิจกรรม

    พ.ศ. 2418 แอนดรูว์ จอห์นสัน ประธานาธิบดีคนที่ 17 ของสหรัฐฯ ถึงแก่กรรม เขาเกิดเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2351

    พ.ศ. 2470 ภาพยนตร์เรื่อง โชคสองชั้น ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่สร้างโดยฝีมือคนไทยเรื่องแรก เข้าฉายที่โรงภาพยนตร์พัฒนาการ ภาพยนตร์เรื่องนี้ ขุนอนุรักษ์รัถการ เป็นผู้กำกับการแสดง หลวงกลการเจนจิต เป็นช่างภาพ ผู้แสดงนำฝ่ายชาย คือ นายมานพ ประภารัตน์ ส่วนฝ่ายหญิง คือ มล. สุจิตร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา

    พ.ศ. 2504 ประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจักตั้งสมาคมอาสา (ASA, Aossocirtion of Southeast Asia) วัตถุประสงค์เพื่อปรึกษาหารือและร่วมมือกันในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิทยาการ และการบริหาร

    พ.ศ. 2508 ฟิลิปปินส์ประกาศให้ ดร. ป๋วย อึ้งภากรณ์ ได้รับรางวัล แม๊กไซไซ




    ...........................................


    เหตุการณ์ที่ 1

    วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2035 คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ค้นพบหมู่เกาะทรินิแดด


    วันนี้ในอดีต วันที่ 31 กรกฎาคม


    คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) นักสำรวจชาวอิตาเลียนผู้ค้นพบทวีปอเมริกาในยุคใหม่ เสียชีวิต โคลัมบัสเกิดที่เมืองเจนัว ประเทศอิตาลีเมื่อปี 1994 ในสมัยนั้นผู้คนยังเชื่อว่าโลกแบน แต่โคลัมบัสต้องการค้นหาดินแดนแห่งเครื่องเทศและผ้าไหม ที่เรียกว่าอินเดียและจีน เขาจึงเสนอเป็นผู้สำรวจดินแดนดังกล่าวให้กษัริย์โปรตุเกสแต่ไม่สำเร็จ จึงเดินทางไปประเทศสเปนและเสนอตัวต่อ พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ ที่ 2 (Ferdinand II of Aragon) และ พระนางอิสซาเบลลา ที่ 1 (Isabella of Castile) เพื่อออกสำรวจอินเดียและจีน เพื่อทำการค้าเครื่องเทศและผ้าไหม ในที่สุด เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2035 โคลัมบัสและลูกเรือ 90 คนและเรืออีก 3 ลำออกเดินเรือค้นหาทวีปเอเชียและจีน โดยแล่นเรือไปทางทิศตะวันตกข้ามมหาสมุทรแอตแลนติค และไปถึง เกาะบาฮามาส์ (Bahamas) ทางตะวันออกของฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกาปัจจุบัน และตั้งชื่อว่า "ซาน ซัลวาดอร์" (San Salvador) เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2035 ซึ่งเขาคิดว่าเป็นส่วนหนึ่งของเอเชีย จากนั้นเขาเดินเรือต่อไปจนถึงคิวบา ฮิสปานิโอลา เปอร์โตริโก จาเมกา ตรินิแดด เวเนาซุเอลา และคอคอดปานามา โคลัมบัสเชื่อมาตลอดจนเสียชีวิตว่าดินแดนที่เขาค้นพบนั้นคือทวีปเอเชีย ภายหลังได้มีการกำหนดให้วันที่ 12 ตุลาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่โคลัมบัสมาถึงอเมริกาเป็น "วันโคลัมบัส" มีการเฉลิมฉลองกันในสหรัฐอเมริกาและประเทศต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาใต้

    การออกสำรวจของโคลัมบัส
    โคลัมบัส เป็นนักเดินเรือคนสำคัญคนหนึ่งของปอร์ตุเกส และได้ทราบเรื่องราวอันน่ามหัศจรรย์เกี่ยวกับดินแดนไกลโพ้นที่ลิฟ เออริคสันได้ค้นพบ แต่เขาเชื่อว่าดินแดนส่วนที่กล่าวขวัญอยู่นั้นคงเป็นตอนหนึ่งของไซบีเรีย ซึ่งทางใต้ของไซบีเรียต้องเป็นที่ตั้งของประเทศญี่ปุ่นและประเทศจีน โคลัมบัสมีความเชื่อว่าโลกกลม จึงวางแผนการณ์เดินเรือสำรวจหนทางไปสู่ประเทศจีนวิธีใหม่โดยการแล่นเรือไปทางตะวันตกทิศทางเดียว เพราะโลกกลม ในที่สุดก็จะไปถึงแผ่นดินของจีนและอินเดียได้ เนื่องจากขาดผู้สนับสนุนทางทุนทรัพย์และกำลัง เขาจึงเสนอแผนการณ์นี้ไปยังพระเจ้าแผ่นดินปอร์ตุเกส แต่ไม่เป็นผลสำเร็จเพราะไม่มีใครเชื่อว่าแผนการณ์เดินเรือเช่นนั้น ของเขาจะเป็นไปได้ เขาจึงเดินทางไปขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าเฟอร์ดินันด์ และพระนางอิสซาเบลลาแห่งสเปน ซึ่งตอนแรกก็ได้รับการปฏิเสธอีกด้วยเหตุผลอันเดียวกัน โคลัมบัสมิได้ละความพยายามเพียรชี้แจงจนได้รับความช่วยเหลือพระเจ้าเฟอร์ดินันด์และพระนางอิสซาเบลลา พระราชทานเรือ 3 ลำและลูกเรือพร้อม เขาจึงออกเรือมุ่งหน้าไปทางตะวันตกเพื่อข้ามมหาสมุทรอัตลันติค เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1492 เป็นเวลาหลายสัปดาห์ที่เขาแล่นเรือออกไปโดยไม่พบอะไร พอจะเข้าใจได้ว่ามีผืนแผ่นดินอยู่ข้างหน้าเลย แต่ในที่สุดเขาได้เห็นนกบินโฉบเหยื่อในทะเล และเห็นเศษไม้กิ่งไม้ลอยอยู่ตามกระแสคลื่นซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ว่ามีผืนแผ่นดินอยู่ไม่ไกลนัก

    พอตกกลางคืนเขาก็เห็นแสงไฟในระยะไกล โคลัมบัสกล่าวด้วยความยินดี ?พรุ่งนี้เราจะได้พบวัดที่หลังคาเป็นสีทองในดินแดนประเทศญี่ปุ่นละ? แต่พอรุ่งขึ้นเขามิได้พบหลังคาวัดสีทองตามที่คาดคิดไว้ แต่ได้พบหมู่เกาะซึ่งต่อมาเรียกว่าหมู่เกาะบาฮามา และมีชาวพื้นเมืองผิวสีแดงอาศัยอยู่ เขาจึงเอาเรือเทียบฝั่งและขึ้นสำรวจประกาศเอาเป็นดินแดนเมืองขึ้นของสเปนเสีย การพบเกาะครั้งนี้ ทำให้โคลัมบัสเชื่อว่าเขามาใกล้ประเทศจีนมากแล้ว เขาจึงออกเดินทางสำรวจจากเกาะหนึ่งไปยังเกาะหนึ่งสืบต่อไปเพื่อหาทางไปสู่ประเทศจีนให้ได้ แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ พอดีกับเสบียงอาหารจวนหมด จึงยกกองเรือกลับสเปนเสียก่อน และได้ยกกองเรือมาสำรวจอีกในปีต่อมา ซึ่งทำให้เขาพบดินแดนส่วนใหญ่ของทวีปอเมริกาเหนือและใต้ แต่เขาก็มิได้พบจีนหรืออินเดียเลย โคลัมบัสเชื่อว่าเขาคงหมดหวังในการหาทางเดินเรือไปสู่จีน หรืออินเดียเสียแล้ว ในที่สุดเขาก็ถึงแก่กรรมลงโดยมิทราบเลยว่า ดินแดนที่เขาพบนั้นเป็นผืนแผ่นดินผืนใหม่ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรตามธรรมชาติ ซึ่งเรียกว่า ทวีปอเมริกาเหนือ-ใต้ในโอกาสต่อมา

    พอตกกลางคืนเขาก็เห็นแสงไฟในระยะไกล โคลัมบัสกล่าวด้วยความยินดี ?พรุ่งนี้เราจะได้พบวัดที่หลังคาเป็นสีทองในดินแดนประเทศญี่ปุ่นละ? แต่พอรุ่งขึ้นเขามิได้พบหลังคาวัดสีทองตามที่คาดคิดไว้ แต่ได้พบหมู่เกาะซึ่งต่อมาเรียกว่าหมู่เกาะบาฮามา และมีชาวพื้นเมืองผิวสีแดงอาศัยอยู่ เขาจึงเอาเรือเทียบฝั่งและขึ้นสำรวจประกาศเอาเป็นดินแดนเมืองขึ้นของสเปนเสีย การพบเกาะครั้งนี้ ทำให้โคลัมบัสเชื่อว่าเขามาใกล้ประเทศจีนมากแล้ว เขาจึงออกเดินทางสำรวจจากเกาะหนึ่งไปยังเกาะหนึ่งสืบต่อไปเพื่อหาทางไปสู่ประเทศจีนให้ได้ แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ พอดีกับเสบียงอาหารจวนหมด จึงยกกองเรือกลับสเปนเสียก่อน และได้ยกกองเรือมาสำรวจอีกในปีต่อมา ซึ่งทำให้เขาพบดินแดนส่วนใหญ่ของทวีปอเมริกาเหนือและใต้ แต่เขาก็มิได้พบจีนหรืออินเดียเลย โคลัมบัสเชื่อว่าเขาคงหมดหวังในการหาทางเดินเรือไปสู่จีน หรืออินเดียเสียแล้ว ในที่สุดเขาก็ถึงแก่กรรมลงโดยมิทราบเลยว่า ดินแดนที่เขาพบนั้นเป็นผืนแผ่นดินผืนใหม่ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรตามธรรมชาติ ซึ่งเรียกว่า ทวีปอเมริกาเหนือ-ใต้ในโอกาสต่อมา




    ที่มาของข้อมูล
    violettespage.com



    วันนี้ในอดีต วันที่ 31 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต วันที่ 31 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต วันที่ 31 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต วันที่ 31 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต วันที่ 31 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต วันที่ 31 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต วันที่ 31 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต วันที่ 31 กรกฎาคม.




    เหตุการณ์ที่ 2

    วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2410 หม่อมราโชทัย ผู้แต่งนิราศลอนดอน ถึงแก่อนิจกรรม



    ประวัติหม่อมราโชทัย

    หม่อมราโชทัย นามเดิม หม่อมราชวงค์กระต่าย อิศรางกูร เป็นบุตรของกรมหมื่นเทวานุรักษ์ พระราชินีในราชกาลที่ ๒ เป็นปนัดดาของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ซึ่งเป็นพระพี่นางในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช.

    หม่อมราชวงศ์กระต่ายเกิดเมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๓๖๓ เมื่อเจริญวัยบิดาได้นำไปถวายตัวอยู่กับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งยังดำรงพนะอิสริยยศเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎสมมุติเทวาวงศ์พงศาอิศวรกระษัตริย์ขัตติยราชกุมาร หม่อมราชวงค์กระต่ายได้อยู่รับใช้ในพระองค์ท่านตลอดมาด้วยเป็นญาติใกล้ชิดทางพระราชมารดาในเจ้าฟ้ามงกุฎ เมื่อเจ้าฟ้ามงกุฎทรงผนวชมีฉายาว่า ? วชิรญาณ ? หม่อมราชวงค์กระต่ายก็ได้ตามเสด็จไปอยู่รับใช้โดยตลอด ครั้นเมื่อเจ้าฟ้ามงกุฎทรงสนพระราชหฤทัยในการศึกษาภาษาอังกฤษ หม่อมราชวงค์กระต่ายก็ได้ศึกษาตามพระราชนิยม โดยได้ศึกษากับพวกหมอสอนศาสนามิชชันนารีจนมีความรู้ภาษาอังกฤษดี เมื่อเจ้าฟ้ามงกุฎได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๔ หม่อมราชวงค์กระต่ายก็ได้ติดตามสมัครเข้ารับราชการสนองพระมหากรุณาธิคุณและด้วยความสามารถทางการใช้ภาษาอังกฤษ จึงได้เลื่อนยศเป็น ? หม่อมราโชทัย ? เมื่อมีพระราชดำริให้จัดส่งราชทูตเชิญพระราชสาสน์และเครื่องราชบรรณาการไปอังกฤษ ก็ได้ให้ หม่อมราโชทัย ไปเป็นล่าม ภายหลังกลับมาแล้วก็ทรงโปรดเกล้าให้เป็น อธิบดีพิพากษาศาลต่างประเทศเป็นคนแรก.

    หม่อมราโชทัยถึงแก่อานิจกรรมเมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๑๐ เมื่ออายุได้ ๔๓ ปี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าให้จัดการรับพระราชทานเพลิง ณ เมรุวัดอรุณราชวราราม เมื่อ วันที่๑๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๔



    ที่มา หนังสือ "พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี'' เรียบเรียงโดย พลตรี หม่อมราชวงศ์ศุภวัฒน์ เกษมศรีและรัชนี ทรัพย์วิจิตร พ.ศ.2543.


    วันนี้ในอดีต วันที่ 31 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต วันที่ 31 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต วันที่ 31 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต วันที่ 31 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต วันที่ 31 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต วันที่ 31 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต วันที่ 31 กรกฎาคม..




    เหตุการณ์ที่ 3

    วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2418 แอนดรูว์ จอห์นสัน ประธานาธิบดีคนที่ 17 ของสหรัฐฯ ถึงแก่กรรม เขาเกิดเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2351


    วันนี้ในอดีต วันที่ 31 กรกฎาคม


    แอนดรู จอห์นสัน
    Andrew Johnson
    ค.ศ.1865-1869
    ประธานาธิบดีคนที่ 17 ของสหรัฐฯ


    ข้อมูลของแอนดรู จอห์นสัน

    จอห์สัน เกิดเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 1808 ที่ราเล่ท์ นอร์ธคาโรไลน่า บิดาของเขาจาค็อบ จอห์นสัน ทำงานเป็นพนักงานยกกระเป๋าในโรงแรมเล็กๆ ของหมู่บ้าน มารดาของเขาคือ พอลลี่ เป็นช่างทอผ้า เขาจึงเป็น ประธานาธิบดีที่เริ่มต้นชีวิตที่ยากจนที่สุด

    ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
    เริ่มตั้งแต่วันที่ 14 เมษายน 1865 ? 4 มีนาคม 1869



    การทำงาน

    เมื่อประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น ถูกลอบสังหาร สงครามกลางเมืองกำลังจะสิ้นสุดลง เขาถูกเรียกตัวอย่างกะทันหัน โดยไม่ได้เตรียมตัวมาก่อนเพื่อมารับตำแหน่งประธานาธิบดี เพื่อมาจัดการปัญหาที่สลับซับซ้อนมากที่สุด ปัญหานี้คือจะจัดการกับฝ่ายใต้ซึ่งเป็นฝ่ายปราชัยอย่างไร และจะรวมประเทศซึ่งแบ่งแยกกันด้วยสงครามเป็นเวลาถึง 4 ปี อย่างไร จอห์นสันพยายามอย่างหนักที่จะปฏิบัติภารกิจนี้ให้ลุล่วง แต่เขาไม่สามารถจะลดความขมขื่นระหว่างฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ และนำกิจการของประเทศกลับสู่ภาวะปกติ เขาเป็นชายผู้กล้าหาญและมีความตั้งใจดี แต่เขาไม่ทราบวิธีจะรับคำแนะนำหรือทำงานร่วมกับผู้อื่น และเขาไม่ประสบความสำเร็จในการเป็นระธานาธิบดี

    31 กรกฎาคม 1875 จอห์นสันป่วย และถึงแก่อสัญกรรม


    ข้อมูลเพิ่มเติม

    จอห์นสันเกิดและเติบโตจากครอบครัวที่ยากจนเมื่อปี ค.ศ.1808 ที่เมืองราเล่ห์ (Raleigh) มลรัฐนอร์ธแคโรไลน่า (North Carolina) ในวัยเด็กจอห์นสันถูกฝึกให้เป็นช่างตัดเสื้อ แต่จอห์นสันได้หนีออกมา จอห์นสันได้เปิดร้านตัดเสื้อที่เมืองกรีนวิลล์ (Greeneville) มลรัฐเทนเนสซี (Tennessee) และได้แต่งงานกับเอลิซ่า แมคคาเดิล (Eliza MaCardle) และยังได้ร่วมอภิปรายที่สถาบันวิชาท้องถิ่นอีกด้วย เมื่อจอห์นสันเข้าสู่การเมือง จอห์นสันเป็นนักพูดที่มีความสามารถและเน้นการสนับสนุนสามัญชนและประณามพวกคณาธิปไตย จอห์นสันได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกสภาสูงในช่วงทศวรรษที่ 1840s และ 1850s ในปี ค.ศ.1864 จอห์นสันได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี และถึงแก่อนิจกรรมในปี ค.ศ.1875 รวมอายุได้ 67 ปี


    บทบาทที่มีต่อสหรัฐอเมริกา

    ประธานาธิบดีจอห์นสันได้ใช้สิทธิยับยั้งกฎหมายฟื้นฟูที่ลงโทษมลรัฐฝ่ายใต้ของรัฐสภาฉบับแล้วฉบับเล่า แต่ก็ถูกฝ่ายรัฐสภายืนยันด้วยคะแนนเสียง 2/3 ผ่านกฎหมายที่จอห์นสันยับยั้งไปทุกฉบับเหมือนกัน และในที่สุดสภาผู้แทนราษฎรก็ได้ลงคะแนนเสียงฟ้องร้อง (Impeachment) ประธานาธิบดีจอห์นสันต่อวุฒิสภา ให้ปลดจอห์นสันออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี ในปี ค.ศ.1867 ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์อเมริกาที่มีการฟ้องร้องครั้งนี้เนื่องจากจอห์นสันได้ปลดรัฐมนตรีกลาโหมออกจากตำแหน่งโดยไม่ได้ขออนุญาตจากวุฒิสภาตามกฎหมาย Tenure of Office Act (1867) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ห้ามไม่ให้ประธานาธิบดี ปลดข้าราชการออกจากตำแหน่งโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา (กฎหมาย Tenure of Office Act ต่อมาถูกยกเลิกไป)

    การกระทำของฝ่ายนิติบัญญัติครั้งนี้เป็นการลุแก่อำนาจผิดหลักการ เป็นการใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล แต่เป็นโชคดีต่อระบบการปกครองและรัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ ที่ผลการตัดสินของวุฒิสภาที่ต้องการคะแนนเสียง 2/3 ของสมาชิกวุฒิสภาที่จะลงโทษปลดจอห์นสันออกจากตำแหน่งได้นั้นขาดไปเพียงหนึ่งเสียงเท่านั้น ทำให้ประธานาธิบดีจอห์นสันถูกตัดสินยกฟ้อง และได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีจนหมดสมัย




    ที่มา
    1 blogger.sanook.com/ekbkbb/2008/12/02/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-17/

    2 lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/ww521/suprawee/suprawee_web2/Contents/psd17




    วันนี้ในอดีต วันที่ 31 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต วันที่ 31 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต วันที่ 31 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต วันที่ 31 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต วันที่ 31 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต วันที่ 31 กรกฎาคม??..



    เหตุการณ์ที่ 4

    วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2470 ภาพยนตร์เรื่อง โชคสองชั้น ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่สร้างโดยฝีมือคนไทยเรื่องแรก เข้าฉายที่โรงภาพยนตร์พัฒนาการ ภาพยนตร์เรื่องนี้ ขุนอนุรักษ์รัถการ เป็นผู้กำกับการแสดง หลวงกลการเจนจิต เป็นช่างภาพ ผู้แสดงนำฝ่ายชาย คือ นายมานพ ประภารัตน์ ส่วนฝ่ายหญิง คือ มล. สุจิตร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา


    วันนี้ในอดีต วันที่ 31 กรกฎาคม



    ภาพยนตร์แต่เดิมคนไทยเรียกตามฝรั่งว่า "ซีมาโตแครฟ" ของตระกูลลูมิแอร์แห่งฝรั่งเศส โดยครั้งแรกนักฉายภาพยนตร์เร่ชื่อ เอส.จี. มาร์คอฟสกี ฉายให้คนไทยได้ชมที่โรงละครหม่อมเจ้าอลังการ โดยคำขอของคณะราษฎร เมื่อปี 2440 รวมถึงได้มีการตั้ง ?กองภาพยนตร์เผยแพร่ข่าว ? ซี่งก็เพียงเป็นการถ่ายภาพข่าว ภาพกรณียกิจ หรือประชาสัมพันธ์งานของรัฐเท่านั้น

    ปี 2447 คณะฉายภาพยนตร์แบบหนังเร่ชาวญี่ปุ่นนำหนังเข้ามาฉาย เนื้อหาเป็นเหตุการณ์สู้รบระหว่างญี่ปุ่นกับรัสเซีย และต่อมาได้สร้างโรงภาพยนตร์ชั่วคราวจนเป็นโรงถาวรรายแรกเปิดฉายหนังประจำหลังวัดตึก ถ.เจริญกรุง

    พ.ศ.2465 ในรัชกาลที่ 6 ได้มีกลุ่มนักสร้างภาพยนตร์ชาวอเมริกันจากบริษัทยูนิเวอร์ซัล ได้มาถ่ายภาพยนตร์ในประเทศไทยเรื่อง "นางสาวสุวรรณ" ได้รับความช่วยเหลือ จาก กรมมหรสพหลวงและกรมรถไฟหลวง โดยใช้นักแสดงไทยทั้งหมด ซึ่งนับว่าเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของเมืองไทย โดยมีนายเฮนรี่ แมคเรย์ กำกับการแสดง นายเดล คลองสัน ถ่ายภาพ นำแสดงโดย ขุนรามภรตศาสตร์ น.ส.เสงี่ยม นาวีเสถียร และหลวงภรตกรรมโกศล ซึ่งถือได้ว่าทั้งสามได้เล่นเป็นพระเอก นางเอกและผู้ร้าย คนแรกของเมืองไทย ภาพยนตร์เรื่อง นางสาวสุวรรณ ออกฉายในกรุงสยามเป็นครั้งแรกเมื่อ 22 พ.ย. 2466 ท่ามกลางความตื่นเต้นของประชาชน

    ต่อมาในปี 2468 คณะสร้างภาพยนตร์จากฮอลลีวูดอีกคณะ เดินทางเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง "ช้าง" โดยใช้ผู้แสดงเป็นชาวสยามทั้งหมดเช่นกัน ในเวลาที่ภาพยนตร์เรื่อง ช้าง ออกฉายในประเทศสยามนั้น คนไทยได้สร้างหนังบันเทิงและนำออกฉายแล้วหลายเรื่อง ผู้คนจึงไม่ค่อยตื่นเต้นกับภาพยนตร์เรื่อง ช้าง กันมากเท่าที่ควร ภาพยนตร์เรื่อง ช้าง กำกับและถ่ายทำโดย มาเรียน ซี คูเปอร์ และ เออร์เนส บี โชคแส็ค ใช้เวลาถ่ายทำทั้งสิ้นปีครึ่ง สิ้นเงินประมาณ 2 แสนบาทไทยขณะนั้น สถานที่ถ่ายทำคือจังหวัดน่าน พัทลุง ตรัง สงขลา และชุมพร ออกฉายครั้งแรกในปี พ.ศ. 2570 ที่โรงภาพยนตร์ในนครนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา และฉายครั้งแรกในประเทศไทยเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2471

    ปี 2469 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ในยุครัชกาลที่ 7 ได้ปลดข้าราชการออกส่วนหนึ่ง ทำให้ หลวงสุนทรอัศวราช ได้รวบรวมพรรคพวกที่มีฝีมือด้านการแสดงและเขียนบท มาก่อตั้งบริษัทถ่ายภาพยนต์ มีชื่อว่า บริษัทถ่ายภาพยนต์ไทย โดยกลุ่มคนทั้งหมดนี้ประกาศจะสร้างหนังเรื่องแรกที่เป็นฝีมือของคนไทยเรื่องแรกออกมา
    แต่แล้วบริษัทถ่ายภาพยนตร์ไทย ก็ถูกผู้สร้างหนังกลุ่มสกุลวสุวัต กับพรรคพวกในคณะหนังสือพิมพ์สยามราษฏร์และศรีกรุง ได้จัดตั้งเป็นคณะสร้างหนังในนาม "กรุงเทพภาพยนตร์บริษัท" โดยประกาศสร้างหนังเรื่อง "โชคสองชั้น" ออกฉายก่อนบริษัทถ่ายภาพยนตร์ไทยที่นำหนังเรื่อง "ไม่คิดเลย" ออกฉาย ผลปรากฏว่าได้รับการตอบรับมากจนบางส่วนไม่สามารถเข้าชมได้ หลังจากนั้นก็มีบริษัทถ่ายภาพยนต์ เกิดขึ้นอีกหลายบริษัท และเป็นหนังเงียบทั้งสิ้น ดังนั้น คนรุ่นหลังจึง ยกให้ โชคสองชั้น เป็นหนังไทยเรื่องแรก ที่สร้างโดยบริษัทของคนไทย ปี 2470 เป็นปีที่เริ่มยุคหนังเสียงหรือภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม (Sound on Film)
    ภาพยนตร์เสียงเรื่องแรก โดยพี่น้องวสุวัต หรือ 'บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง' ประเดิมถ่ายทำได้แก่ภาพยนตร์ข่าว สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี เสด็จนิวัติพระนคร เมื่อ 12 ต.ค. 2474 ต่อมา ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ออกฉาย สู่สาธารณะที่ โรงภาพยนตร์พัฒนากร




    ที่มา
    oknation.net/blog




    วันนี้ในอดีต วันที่ 31 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต วันที่ 31 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต วันที่ 31 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต วันที่ 31 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต วันที่ 31 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต วันที่ 31 กรกฎาคม



    เหตุการณ์ที่ 5

    พ.ศ. 2504 ประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจักตั้งสมาคมอาสา (ASA, Aossocirtion of Southeast Asia) วัตถุประสงค์เพื่อปรึกษาหารือและร่วมมือกันในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิทยาการ และการบริหาร

    ปัจจุบันพัฒนาการเป็น กลุ่มอาเชียน

    อาเซียน [ASEAN] มีชื่อแบบเต็มยศว่า สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [Association of South East Asian Nations] เป็นองค์การความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ ในเขตภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีทั้งหมด 10 ประเทศได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และเมียนมาร์ โดยอาเซียนมีสำนักงานศูนย์กลางตั้งอยู่ที่ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
    ความเป็นมาของอาเซียนการจัดตั้ง

    มีจุดเริ่มต้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคมอาสา หรือ Association of South East Asia ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผันแปรทางการเมืองระหว่าง ประเทศอินโดนีเซีย กับประเทศมาเลเซีย

    จนกระทั่งต่อมามีการฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างประเทศขึ้นจึงมีการมองหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค ซึ่งก็คือ ?สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้? หรือ อาเซียน และ พันเอก (พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศในสมัยรัฐบาล จอมพลถนอม กิตติขจร โดยมีการลงนาม ?ปฏิญญากรุงเทพฯ? ที่วังสราญรมย์ ในกระทรวงการต่างประเทศ กรุงเทพมหานคร ขึ้นในวันที่ 8 สิงหาคม 2510 จากคำประกาศอาเซียน (ASEAN Declaration) ซึ่งลงนามโดย รัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิกที่ร่วมก่อตั้ง 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมา บรูไน ดารุสซาลามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในวันที่ 8 มกราคม 2527 เวียดนามได้เข้าร่วมเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2538 ลาวและพม่าเข้าร่วมเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2540 และกัมพูชาเข้าร่วมเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542

    ภูมิภาคอาเซียนนั้น ประกอบด้วยประชากรประมาณ 567 ล้านคน มีพื้นที่โดยรวม 4.5 ล้านตารางกิโลเมตร ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติประมาณ 1,100 พันล้านดอลลาร์ และรายได้โดยรวมจากการค้าประมาณ 1.4 ล้านล้านดอลลาร์ (สถิติในปี 2550)
    วัตถุประสงค์

    ปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN Declaration) ได้ระบุว่า เป้าหมายและจุดประสงค์ของอาเซียน คือ 1) เร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและการพัฒนาวัฒนธรรมในภูมิภาค และ 2) ส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค โดยการเคารพหลักความยุติธรรมและ หลักนิติธรรมในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภูมิภาค ตลอดจนยึดมั่นในหลักการแห่งกฎบัตรสหประชาชาติ

    ในโอกาสครบรอบ 30 ปีของการก่อตั้งอาเซียน ในปี 2540 (ค.ศ.1997) ผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนได้รับรอง ?วิสัยทัศน์อาเซียน 2020? (ASEAN Vision 2020) โดยเห็นพ้องกันในวิสัยทัศน์ร่วมของอาเซียนที่จะเป็นวงสมานฉันท์ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ ต้องการมีปฏิสัมพันธ์กับภายนอก การใช้ชีวิตในสภาพที่มีสันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรือง ผูกมัดกันเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาที่มีพลวัตและในประชาคมที่มีความเอื้ออาทรระหว่างกัน

    ปี 2546 ผู้นำอาเซียนได้เห็นพ้องกันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียนที่ประกอบด้วย 3 เสาหลัก อันได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community?ASC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) และประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC) ภายในปี 2563 ต่อมา ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 12 ที่เมืองเซบู ฟิลิปปินส์ ผู้นำประเทศอาเซียนตกลงที่จะเร่งรัดกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในปี 2558
    หลักการพื้นฐานของความร่วมมือ

    ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ยอมรับในการปฏิบัติตามหลักการพื้นฐานในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างกัน อันปรากฏอยู่ในสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia หรือ TAC) ซึ่งประกอบด้วย

    - การเคารพซึ่งกันและกันในเอกราช อธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณาการแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ประจำชาติของทุกชาติ
    - สิทธิของทุกรัฐในการดำรงอยู่โดยปราศจากจากการแทรกแซง การโค่นล้มอธิปไตยหรือการบีบบังคับจากภายนอก
    - หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน
    - ระงับความแตกต่างหรือข้อพิพาทโดยสันติวิธี
    - การไม่ใช้การขู่บังคับ หรือการใช้กำลัง และ
    - ความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพระหว่างประเทศสมาชิ



    ที่มา chaoprayanews.com/


    วันนี้ในอดีต วันที่ 31 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต วันที่ 31 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต วันที่ 31 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต วันที่ 31 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต วันที่ 31 กรกฎาคมวันนี้ในอดีต วันที่ 31 กรกฎาคม?

    เหตุการณ์ที่ 6

    พ.ศ. 2508 ฟิลิปปินส์ประกาศให้ ดร. ป๋วย อึ้งภากรณ์ ได้รับรางวัล แม๊กไซไซ



    วันนี้ในอดีต วันที่ 31 กรกฎาคม



    ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ (9 มีนาคม พ.ศ. 2458 - 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2542)

    เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย เคยเป็นผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย สมาชิกขบวนการเสรีไทย และอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับ รางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ ในปี พ.ศ. 2508 และเป็นเจ้าของข้อเขียน "คุณภาพชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน"

    ในปี พ.ศ. 2482 เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง สงครามและเหตุการณ์ที่เกิดจากสงครามได้เร่งรัดความจำเป็นต้องจัดตั้งธนาคารกลางขึ้นในประเทศไทย ปรีดี พนมยงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ร่วมมือกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย เริ่มจัดตั้งสำนักงานธนาคารชาติขึ้นในปี พ.ศ. 2482 อันเป็นแนวทางไปสู่การตราพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทยในปี พ.ศ. 2485 ในสมัยที่ พลเอกเภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (2484 - 2487) ได้มีการตราพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 จัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทย ขึ้นเป็นองค์กรอิสระ และ จากพระราชกฤษฎีกากำหนดกิจการธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเริ่มประกอบธุรกิจได้ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2485 เป็นต้นไป พร้อมกันนี้ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย เป็นผู้ว่าการธนาคารพระองค์แรก (พ.ศ. 2485 - 2489) พระองค์ได้ทรงวางระเบียบแบบแผนและดำเนินการจนธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดำรงอยู่เป็นปึกแผ่นมั่นคงตลอดมาจนปัจจุบัน



    ผลงาน

    งานด้านการเมือง

    จากผลการเรียนอันดีเด่นของป๋วย ทำให้ได้รับทุนลีเวอร์ฮูล์ม สามารถศึกษาต่อระดับปริญญาเอกได้ทันที แต่ในระหว่างนั้น เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น ทำให้ป๋วยตัดสินใจทำงานเพื่อชาติ

    วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 กองทัพญี่ปุ่นบุกประเทศไทย รัฐบาลไทยในสมัยนั้น ซึ่งมี จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศสงครามเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น และต่อมาก็ประกาศสงครามกับสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา รัฐบาลไทยเรียกตัวคนไทย ในสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา ให้เดินทางกลับ โดยขู่ว่า ผู้ที่ไม่เดินทางกลับจะถูกถอดสัญชาติไทย ปรากฏว่าคนไทยจำนวนหนึ่ง ได้จัดตั้งขบวนการต่อต้านญี่ปุ่นขึ้นทั้งในและนอกประเทศ ในนามของขบวนการเสรีไทย ภายในประเทศมี นายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการ เป็นหัวหน้า ส่วนในสหรัฐอเมริกามี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช อัครราชทูตไทย เป็นหัวหน้า เสรีไทยปฏิเสธการประกาศสงครามของรัฐบาลไทย ซึ่งทำให้สหรัฐอเมริกา ประกาศรับรองฐานะของเสรีไทย

    ส่วนทางด้านอังกฤษ ปรากฏว่าอัครราชทูตไทยยอมเดินทางกลับประเทศตามคำสั่งของรัฐบาล แต่ป๋วยและคนไทยจำนวนหนึ่งไม่ยอมกลับประเทศ และได้ร่วมกันก่อตั้งคณะเสรีไทยขึ้นในอังกฤษ เพื่อประกาศไม่ยอมอยู่ใต้อาณัติรัฐบาลไทยที่ยอมเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น เสรีไทยจำนวน 36 คน สมัครเข้าเป็นทหารในกองทัพบกอังกฤษ เสรีไทยกลุ่มนี้มีฉายาว่า "ช้างเผือก" (White Elephants) ในช่วงแรก ป๋วยได้รับยศเป็นร้อยเอกแห่งกองทัพบกอังกฤษ มีชื่อจัดตั้งว่า "นายเข้ม เย็นยิ่ง"

    นายเข้ม เย็นยิ่ง ต่อมาได้รับคำสั่งให้ลงเรือบรรทุกทหารจากลิเวอร์พูล เล่นเรืออ้อมทวีปแอฟริกา มาขึ้นฝั่งที่ประเทศอินเดีย ได้มาฝึกหลักสูตรนักรบแบบกองโจรและการจารกรรม ที่เมืองปูนา มีการฝึกการใช้อาวุธ และวิธีการต่อสู้ต่างๆ เป็นเวลาครึ่งปี. ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2486 นายเข้มเป็นทหารฝ่ายสัมพันธมิตรชุดแรก ที่ได้รับคำสั่งให้เข้ามาติดต่อกับขบวนการเสรีไทยในประเทศไทย ที่มี "รูธ" หรือ นายปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้า เพื่อหาทางตั้งสถานี วิทยุติดต่อระหว่างกองทัพอังกฤษในอินเดียกับคณะเสรีไทย

    พฤศจิกายน พ.ศ. 2486 ร้อยตรีเข้มได้เดินทางด้วยเรือดำน้ำของราชนาวีอังกฤษพร้อมสหายอีกสองคนจาก ลังกา โดยมีเป้าหมายจะขึ้นฝั่งที่ตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เมื่อมาถึงที่หมายเรือดำน้ำจอดซุ่มรอนอกฝั่งหนึ่งสัปดาห์ แต่ไม่มีคนมารับจึงยกเลิกภารกิจ จึงกลับสู่ศรีลังกา ต่อมาอีกหนึ่งสัปดาห์ร้อยตรีเข้มได้รับมอบภารกิจอีกครั้ง ให้ลักลอบเข้าแผ่นดินไทย โดยการกระโดดร่มพร้อมอุปกรณ์เครื่องรับส่งวิทยุ จึงได้เดินทางไปฝึกซ้อมกระโดดร่ม ในต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487 ที่แคว้นปัญจาบ พอวันที่ 6 มีนาคม ร.ต.เข้ม และเสรีไทยอีกสองคนมาขึ้นเครื่องบิน บี 24 ที่กัลตัตตา ประเทศอินเดีย มุ่งมาสู่แผ่นดินไทย เป็นการกระโดดร่มแบบสุ่ม ไม่มีคนมารับที่ภาคพื้นดิน แต่สภาพอากาศไม่อำนวย เครื่องบินจึงเดินทางกลับไปกัลกัตตา. อีกหนึ่งสัปดาห์ต่อมา เสรีไทยทั้งสามคนก็ขึ้นเครื่องบินอีก เพื่อปฏิบัติภารกิจเดิม โดยเข้ามาทางจังหวัดชัยนาท เสรีไทยทั้งสามคนกระโดดร่มลง แต่ ร.ต.เข้ม ถูกเจ้าหน้าที่ไทยและชาวบ้าน ช่วยกันล้อมจับกุมตัวไว้ได้ และถูกตั้งข้อหาว่า ทรยศต่อชาติและทำจารกรรม ถูกซ้อม และผลักเข้าสู่กอหนาม โดยมีเจ้าหน้าที่เอาปืนจ่อข้างหลัง และถูกนำมาขังล่ามโซ่ไว้บนศาลาวัดวังน้ำขาว อำเภอวัดสิงห์ เป็นเวลาหลายวัน จึงถูกส่งตัวมาลงเรือยนต์ล่องลำน้ำเจ้าพระยา เข้ามาที่ตึกสันติบาลในกรุงเทพฯ

    ด้วยความช่วยเหลือของตำรวจที่เป็นเสรีไทย ร.ต.เข้ม จึงมีโอกาสเข้าพบกับ นายปรีดี พนมยงค์ ทำให้ฝ่ายเสรีไทย เริ่มส่งวิทยุไปยังกองทัพอังกฤษที่อินเดีย ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก ทำให้หน่วยทหารจากอังกฤษและสหรัฐฯ สามารถเล็ดลอดเข้ามาปฏิบัติงานในแผ่นดินไทยได้สะดวกขึ้น ในการทิ้งระเบิดของอังกฤษ นายป๋วยได้ประสานติดต่อกับอังกฤษ แจ้งพิกัดไม่ให้เครื่องบินมาทิ้งระเบิดพระบรมมหาราชวัง ตลอดจนวังต่างๆ ทางอังกฤษก็ได้ตอบรับ ทำให้สถานที่สำคัญเหล่านี้ สามารถอยู่รอดปลอดภัยมาจนทุกวันนี้

    ปลายสงครามโลกครั้งที่สอง นายปรีดีส่งนายป๋วยกลับไปอังกฤษอีกครั้งหนึ่ง เพื่อไปเจรจาให้รัฐบาลอังกฤษ ยอมรับว่าขบวนการเสรีไทย เป็นรัฐบาลอันชอบธรรมของไทย ทำนองเดียวกับที่สหรัฐได้รับรองมาก่อนแล้ว และเจรจาให้อังกฤษ ยอมปล่อยเงินตราสำรอง ที่รัฐบาลไทยฝากไว้ที่ธนาคารกลางอังกฤษ

    เมื่อสงครามโลกยุติ นายป๋วยได้รับยศพันตรีแห่งกองทัพบกอังกฤษ ได้เป็นหนึ่งในผู้แทนไทย เดินทางไปเจรจาทางการทหาร และการเมืองกับฝ่ายอังกฤษ ที่นครแคนดี ประเทศศรีลังกา ได้ร่วมกับเสรีไทยจากอเมริกาอารักขา แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และพระอนุชาที่กัลกัตตา จากนั้น นายป๋วยก็คืนยศทหารแก่กองทัพอังกฤษ แล้วกลับไปแต่งงานกับ มาร์กาเร็ต สมิท ในปี พ.ศ. 2489 และเรียนต่อระดับปริญญาเอก ที่ มหาวิทยาลัยลอนดอน


    ผลงานด้านการคลัง

    ปี พ.ศ. 2491 ป๋วยได้เรียนสำเร็จปริญญาเอก โดยใช้เวลาสามปีทำวิทยานิพนธ์ "เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการควบคุมดีบุก" แต่เนื่องจากสถานการณ์ภายในประเทศไทย นายปรีดี พนมยงค์ ถูกทหารทำรัฐประหาร ทำให้สถานการณ์ไม่ปลอดภัย ทางญาติขอให้ป๋วยยังไม่ต้องรีบกลับมา

    ปี พ.ศ. 2492 ดร.ป๋วย ก็เดินทางกลับประเทศไทย บริษัทห้างร้านต่างๆ จำนวนมากทั้งในและนอกประเทศ ต้องการตัวดร.ป๋วยไปทำงานโดยเสนอให้เงินเดือนสูงๆ แต่ในที่สุด ดร.ป๋วย ก็เลือกที่จะรับราชการ เนื่องจากถือว่า ตนเองนอกจากจะเกิดเมืองไทย กินข้าวไทยแล้ว ยังได้รับทุนเล่าเรียนรัฐบาลไทย คือเงินของชาวนาชาวเมืองไทย ไปเมืองนอกแล้วผูกพันใจว่าจะรับราชการไทยด้วย

    ดร.ป๋วย เข้ารับราชการครั้งแรกในตำแหน่งเศรษฐกร กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้รับเงินเดือน ประมาณ 1,600 บาท สภาพเศรษฐกิจของประเทศไทยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังอยู่ในสภาพฟื้นตัว ต่อมาในปี พ.ศ. 2495 ดร.ป๋วย ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยฝ่ายวิชาการของปลัดกระทรวงการคลัง และกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย จนถึงปี พ.ศ. 2496 ดร.ป๋วย ก็ได้รับแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่ง รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ได้มีส่วนทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ซึ่งมีปัญหามากในสมัยนั้น กลับมีเสถียรภาพมากขึ้น นักธุรกิจมั่นใจค่าของเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินตราต่างประเทศ ทำให้ราคาสินค้าลดลง และเงินสำรองระหว่างประเทศก็ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น

    วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2496 คณะรัฐมนตรีมีมติ ให้ ดร.ป๋วย พ้นจากตำแหน่งรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ไปรับราชการเป็นผู้เชี่ยวชาญการคลัง กระทรวงการคลัง เนื่องจาก ดร.ป๋วย ปฏิเสธการที่ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ต้องการซื้อ สหธนาคารกรุงเทพจำกัด แต่เนื่องจากธนาคารแห่งนั้น กระทำผิดระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทย และกำลังถูกปรับเป็นเงินหลายล้านบาท จอมพลสฤษดิ์ ขอให้ ดร.ป๋วย ยกเลิกการปรับ แต่ ดร.ป๋วย ปฏิเสธ และยืนกรานให้คณะรัฐมนตรีปรับธนาคารแห่งนั้น ในที่สุดคณะรัฐมนตรี ก็ปฏิบัติตามข้อเสนอของ ดร.ป๋วย

    ต่อมา พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ก็พยายาม เสนอให้บริษัทแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ซึ่งตนเองมีผลประโยชน์อยู่ด้วย เป็นผู้จัดพิมพ์ธนบัตรไทยแทน บริษัท โทมัส เดอลารู, คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ดร.ป๋วยเป็นผู้พิจารณาเรื่องนี้ ดร.ป๋วย ตรวจพบว่า บริษัทดังกล่าวฝีมือไม่ดี ปลอมง่าย และมีชื่อเสียงในการวิ่งเต้น จึงไม่มีความน่าเชื่อถือเพียงพอให้เป็นผู้จัดพิมพ์ธนบัตร จึงทำรายงานเสนอ ให้ใช้ บริษัทโทมัส เดอลารูตามเดิม แต่ถ้าหากจะตัดสินใจให้บริษัทอเมริกันเป็นผู้พิมพ์ธนบัตร ก็จะออกจากราชการ คณะรัฐมนตรีก็มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของ ดร.ป๋วย, เหตุการณ์ครั้งนี้ สร้างความไม่พอใจให้แก่ พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ เป็นอย่างมาก ผู้มีอำนาจในประเทศขณะนั้น ต่างไม่พอใจ ดร.ป๋วย เพื่อความปลอดภัย พระบริภัณฑ์ยุทธกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงได้ให้ ดร.ป๋วย ไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจการคลัง ประจำสถานเอกอัครราชทูตไทยในอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2499 และยังได้เป็นผู้แทนไทย ประจำคณะมนตรีดีบุกระหว่างประเทศ มีผลทำให้ ไทยสามารถขายแร่ดีบุก เป็นสินค้าออกสำคัญของประเทศได้มากขึ้น

    ปี พ.ศ. 2502 จอมพลสฤษดิ์ ทำรัฐประหารยึดอำนาจการปกครอง จอมพลสฤษดิ์ได้ให้ ดร.ป๋วย กลับเมืองไทยเข้ามาช่วยงาน ต่อมาเมื่อ นายโชติ คุณะเกษม ลาอกจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จอมพลสฤษดิ์ได้โทรเลขไปถึง ดร.ป๋วย ซึ่งกำลังประชุมคณะรัฐมนตรีดีบุกโลกที่กรุงลอนดอน เสนอให้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แต่ ดร.ป๋วย ปฏิเสธไปว่า ไม่ขอรับตำแหน่งนี้ เพราะเมื่อตอนเข้าเป็นเสรีไทย ได้สาบานไว้ว่า จะไม่รับตำแหน่งทางการเมืองใดๆ จนกว่าจะเกษียณอายุราชการ เพื่อพิสูจน์ว่าไม่ได้หวังแสวงหาผลประโยชน์จากการเป็นเสรีไทย เมื่อ ดร.ป๋วย กลับจากอังกฤษ จอมพลสฤษดิ์ก็แต่งตั้ง ให้ ดร.ป๋วย เป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็น ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง อีกตำแหน่งหนึ่ง ดร.ป๋วย จึง ควบคุมทั้งนโยบายด้านการเงิน การคลังและ งบประมาณของประเทศ ในขณะที่อายุได้ เพียง 43 ปี นอกจากนั้น ดร.ป๋วย ยังมีบทบาทสำคัญ ในการผลักดันให้มี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการสภาพัฒน์ เป็นกรรมการสภาการศึกษาแห่งชาติ

    แม้ว่า ดร.ป๋วย จะมีตำแหน่งที่สูง แต่ก็ใช้ชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย ชอบนุ่งกางเกงเวสต์ปอยต์มาทำงาน ไม่มีชุดดินเนอร์แจ็กเกตเป็นของตนเอง ชอบกินก๋วยเตี๋ยว ข้าวต้มกุ๊ย และเต้าฮวย

    ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นเวลา 12 ปี นับเป็นผู้ว่าการที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุด ตลอดสมัยที่ ดร.ป๋วย เป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ถือได้ว่าเป็นสมัยที่ธนาคารแห่ง ประเทศไทยปลอดจากการเมืองมากที่สุด และเป็นยุคที่สามารถรักษาเสถียรภาพเงินตรา ไว้ได้อย่างแข็งแกร่ง เงินบาท ได้รับได้รับความเชื่อมั่นจากทั้งในและนอกประเทศ ทำให้มีการค้าขายและการลงทุนเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นเงินทุน สำรองระหว่างประเทศก็เพิ่มมากขึ้นเป็นประวัติการณ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย เริ่มขยายสาขาออกไปสู่ภูมิภาค สามารถจัดตั้งโรงพิมพ์ธนบัตรได้สำเร็จ ไม่จำเป็นต้องไปพิมพ์ธนบัตรในต่างประเทศ มีการอออกพระราชบัญญัติ ธนาคารพาณิชย์ปี พ.ศ. 2505 ซึ่งถือเป็นแม่บทของธนาคารพาณิชย์ ตลอดจนนำเทคนิคนโยบายทางการเงินที่ สำคัญๆ เช่น อัตราเงินสดสำรองอัตราส่วนลดมาใช้ และชักจูงให้ธนาคารปฏิบัติตามกฎระเบียบ อันจำเป็นต่อการ เสริมสร้างความมั่นคงในระบบการธนาคาร และอนุมัติให้ธนาคารพาณิชย์เปิดสาขามากขึ้น และขยายไปทั่วราชอาณาจักร ทำให้กิจการธนาคารพาณิชย์ต่างๆ เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว

    ปี พ.ศ. 2507 ดร.ป๋วย ได้กล่าวสุนทรพจน์ของสมาคมธนาคารไทย เพื่อเตือนสติผู้มีอำนาจ มีใจความว่า จอมพล ถนอม นายกรัฐมนตรีผู้มีคำขวัญประจำใจว่า "จงทำดี จงทำดี จงทำดี" มีนโยบายไม่เห็นด้วยที่รัฐมนตรีจะไปยุ่งเกี่ยว กับ "การค้า" แต่ทำไมจึงมีรัฐมนตรีบางคนไปเป็นกรรมการในธนาคารต่างๆ หรือเป็นเพราะว่าธนาคารพาณิชย์ไม่ใช่ "การค้า" ชนิดหนึ่ง




    ที่มา วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    ...................................................
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 01-08-2009 at 01:24.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •