กำลังแสดงผล 1 ถึง 9 จากทั้งหมด 9

หัวข้อ: วันนี้ในอดีต (สิงหาคม )

  1. #1
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ auddy228
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    ที่อยู่
    THAILAND
    กระทู้
    1,176
    บล็อก
    1

    สว่างใจ วันนี้ในอดีต (สิงหาคม )


    วันนี้ในอดีต / 1 สิงหาคม
    เหตุการณ์ในประเทศไทย.




    วันนี้ในอดีต (สิงหาคม )


    ? พ.ศ. 2367 (ค.ศ. 1824) - พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์



    ? พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาเจษฏาบดินทร์ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งราชจักรีวงศ์ พระนามเดิมว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ หรือ พระองค์ชายทับ"

    ? พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๓ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และองค์แรกที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเรียม เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันจันทร์ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะแม เวลาค่ำ ๑๐.๓๐ นาฬิกา (สี่ทุ่มครึ่ง) ตรงกับวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๓๐ ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยกับเจ้าจอมมารดาเรียม ซึ่งภายหลังได้รับการสถาปนาเป็น กรมสมเด็จพระศรีสุราลัย เสวยราชสมบัติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๙ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีวอก ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๖๗ รวมสิริดำรงราชสมบัติได้ ๒๕ ปี ๗ เดือน ๒๓ วัน

    ? ทรงมีเจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม ๕ พระองค์ มีพระราชโอรส-ราชธิดา ทั้งสิ้น ๕๑ พระองค์ เสด็จสวรรคต เมื่อวันพุธ เดือน ๕ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีกุน โทศก จุลศักราช ๑๒๑๒ เวลา ๗ ทุ่ม ๕ บาท ตรงกับวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๔ รวมพระชนมพรรษา ๖๓ พรรษา

    พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระนามเต็มว่า "สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร์ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวไสย สมุทัยดโรมน สากลจักรวาลาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทราธาธิบดี ศรีสุวิบูลย คุณอถพิษฐ ฤทธิราเมศวร ธรรมิกราชาธิราช เดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมินทรปรมาธิเบศร โลกเชษฐวิสุทธิ มงกุฏประเทศคตา มหาพุทธางกูร บรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว"


    วันนี้ในอดีต (สิงหาคม )


    1 สิงหาคม พ.ศ. 2445พระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ยกกำลังไปปราบ กบฎเงี้ยว ที่เมืองแพร่

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ยกกำลังไปปราบ กบฎเงี้ยว ที่เมืองแพร่ ในมณฑลพายัพ ทั้งนี้ในปี 2440 รัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนการปกครองจากเจ้าผู้ครองนครเป็นเทศาภิบาล ยุบเลิกฐานะเมืองประเทศราช แล้วรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง พร้อมทั้งโปรดเกล้าฯ ให้ พระยาไชยบูรณ์ (ทองอยู่ สุวรรณบาตร) เป็นข้าหลวงปกครองเมืองแพร่เป็นคนแรก เจ้าเมืองแพร่องค์เดิมคือ พระยาพิริยวิไชย จึงสูญเสียอำนาจไปเพราะอำนาจสิทธิ์ขาดตกเป็นของข้าหลวงซึ่งเป็นข้าราชการที่ส่งมาจากส่วนกลาง อีกทั้งยังถูกตัดผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ สร้างความไม่พอใจแก่เจ้าเมืองและเจ้านายบุตรหลานทั้งหลายรวมไปถึงชาวเมืองแพร่เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเมืองแพร่นั้น เมื่อครั้งปฏิรูปการปกครองในปี 2442 พระยาศรีสหเทพ (เส็ง วิรยศิริ) ได้จัดการอย่างรุนแรงและบีบบังคับยิ่งกว่าเมืองอื่น ๆ วันที่ 24 กรกฎาคม 2445 ชาว "เงี้ยว" (หรือชาวไทใหญ่ ชาติพันธุ์หนึ่งที่อาศัยอยู่ในมณฑลพายัพมาช้านาน) ในเมืองแพร่นำโดย พะกาหม่อง และ สลาโปไชย พร้อมกำลังราว 40-50 นาย ได้ก่อความวุ่นวายขึ้น โดยบุกยึดสถานที่ราชการและปล้นเงินคลังของจังหวัด ตลอดจนปล่อยนักโทษในเรือนจำ ต่อมากำลังเพิ่มเป็นราว 300 นายเพราะชาวเมืองแพร่เข้ามาสนับสนุน สามารถยึดเมืองแพร่ได้ในวันที่ 25 กรกฎาคม จากนั้นก็ไปเชิญเจ้าเมืองแพร่องค์เดิมให้ปกครองบ้านเมืองต่อ และออกตามล่าข้าราชการคนนอกที่เข้ามาปกครองเมืองแพร่ สามารถจับตัวพระยาไชยบูรณ์ได้ในวันที่ 27 กรกฎาคม และบังคับให้คืนเมืองแพร่ แต่พระยาไชยบูรณ์ปฏิเสธจึงถูกสำเร็จโทษพร้อมกับข้าราชการอีกหลายคน ความทราบถึงรัชกาลที่ 5 จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระยาสุรศักดิ์มนตรีนำทัพหลวงและกองทัพจากเมืองใกล้เคียงทำการปราบปรามพวกเงี้ยวได้อย่างราบคาบ โดยตั้งค่ายทัพที่บริเวณ "บ้านเด่นทัพชัย" ต่อมาเปลี่ยนเป็น "ตำบลเด่นชัย" ใน "อำเภอเด่นชัย" ปัจจุบัน เริ่มสอบสวนเอาความในวันที่ 20 สิงหาคม 2445 พบว่าเจ้าเมืองแพร่ เจ้าราชบุตร เจ้าไชยสงคราม มีส่วนสนับสนุนให้กองโจรเงี้ยวก่อการกบฎขึ้น แต่ครั้นจะจับกุมตัวสั่งประหารชีวิต ท่านก็เกรงว่าจะกระทบกระเทือนต่อความสัมพันธ์กับหัวเมืองทางเหนือซึ่งถือเป็นเครือญาติผู้สืบสายราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนด้วยกัน จึงปล่อยข่าวลือว่าจะจับกุมตัวเจ้าเมืองแพร่ พระยาพิริยวิไชยจึงหลบหนีออกไป หลังหลบหนีไปได้ 15 วัน เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีจึงออกคำสั่งถอดเจ้าเมืองแพร่ออกจากตำแหน่งทันที ด้วยถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่ราชการ พร้อมกับสั่งอายัดทรัพย์เพื่อชดใช้หนี้หลวงที่เจ้าเมืองแพร่ค้างกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ สำหรับคดีความผิดฐานร่วมก่อการกบฎก็เป็นอันต้องระงับโดยปริยาย ไม่มีการรื้อฟื้นขึ้นอีก เจ้าพิริยเทพวงศ์เจ้าเมืองแพร่องค์สุดท้ายต้องลี้ภัยไปใช้ชีวิตในบั้นปลายที่เมืองหลวงพระบาง จนถึงแก่พิราลัย







    วันนี้ในอดีต / 1 สิงหาคม
    เหตุการณ์ในต่างประเทศ.



    วันนี้ในอดีต (สิงหาคม )



    ? 1 สิงหาคมพ.ศ. 2317 (ค.ศ. 1774) - โจเซฟ พริสต์ลีย์ ค้นพบธาตุ ออกซิเจน ซึ่งเป็นการยืนยันการค้นพบก่อนหน้านั้นโดย คาร์ล วิลเฮล์ม เชเลอ
    ออกซิเจน( Oxygen) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ O และเลขอะตอม 8 ธาตุนี้พบมาก ทั้งบนโลกและทั่วทั้งจักรวาล โมเลกุลออกซิเจน (O2 หรือที่มักเรียกว่า free oxygen) บนโลกมีความไม่เสถียรทางเทอร์โมไดนามิกส์จึงเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันกับธาตุอื่นๆ ได้ง่าย ออกซิเจนเกิดขึ้นครั้งแรกในโลกจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของแบคทีเรียและพืช

    ออกซิเจน เป็นส่วนประกอบที่สำคัญและมีปริมาณเป็นอันดับ 2 ในส่วนประกอบของบรรยากาศโลกคือมีประมาณ 20.947% โดยปริมาตร


    บทบาทของออกซิเจน



    1. องค์ประกอบทางเคมี มีสารพิษที่แตกต่างกันมากกว่า 70000 ชนิดในปัจุบันซึ่งหลายชนิดไม่เคยพบมาก่อนในอดีต ออกซิเจนเป็นสิ่งสำคัญในการขับพิษออกจากเซลล์ร่างกายต้องการออกซิเจนในปริมาณสูงเพื่อช่วยในการเผาพลาญและกำจัดสารเคมีที่เป็นอัตรายออกจากร่างกายนักวิทยาศาสตร์พบว่า บรรยากาศของโลกเราในอดีตมีปริมาณออกซิเจนอยู่ถึง 38% -50% แต่ในปัจจุบันปริมาณออกซิเจนลดลงเหลือเพียง 20.9 %และหากเป็นบรรยากาศในเมืองก็ยิ่งมออกซิเจนน้องลงไปอีก

    2. ความเครียดจากอารมณ์ร่างกายต้องใช้ออกซิเจนมาช่วยในการเผาพลาญฮอร์โมนอะดรีนาลีน (Adrenaline) และฮอร์โมนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะถูกสร้างขึ้นมาเวลาที่ร่างกายมีความเครียดสูง

    3. ระบบภูมิคุ้มกัน ออกซิเจนมีบทบาทสำคัญในการทำให้ระบบภูมิคุ้มกันดำเนินต่อไปอย่างปกติ ไวรัส และแบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย จะไม่ใช้ออกซิเจนในการดำรงชีพ (Anaerobic) จึงไม่สามารถอยู่รอดในภาวะที่มีออกซิเจน นอกจากนี้ออกซิเจนยังเลือกทำลาย สิ่งที่ควรทำลายโดยธรรมชาติไม่เหมือนยา เช่น พวกยาปฏิชีวนะซึ่งจะทำลายแบคทีเรียทุกชนิดในร่างกาย แต่ออกซิเจนจะทำลายเฉพาะแบคทีเรียที่เป็นอันตรายและปล่อย ให้แบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอยู่รอด

    4. การขาดการออกกำลังกาย การออกกำลังกาย เป็นการเพิ่มอัตราการเผาผลาญ (Metabolism) โดยการนำพาออกซิเจนเข้ามาในร่างกาย เพื่อช่วยทำความสะอาดและขับสารพิษที่ตกค้างอยู่ในร่างกาย การขาดออกซิเจนเนื่องจากขาดการออกกำลังกาย จะลดความสามารถในการขับพิษของร่างกายลง


    สารประกอบออกซิเจน

    เนื่องด้วยค่า อิเล็กโตรเนกาติวิตี ของออกซิเจน จะเกิด พันธะเคมี กับธาตุอื่นๆ ได้เกือบหมด (และนี่คือจุดเริ่มต้นของคำจำกัดความว่า ออกซิเดชัน) มีเพียงก๊าซมีตระกูลเท่านั้นที่หนีรอดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันไปได้ และออกไซด์ที่มีชื่อเสียงที่สุดก็คือ ไดไฮโดรเจนโมโนออกไซด์ หรือ น้ำ (H2O).


    ตัวอย่างที่รู้จักกันดีของสารประกอบคาร์บอนและออกซิเจนคือ


    ? คาร์บอนไดออกไซด์ (carbon dioxide-CO2),
    ? แอลกอฮอล์ (alcohol-R-OH),
    ? อัลดีไฮด์ (aldehyde-R-CHO),
    ? กรดคาร์บอกซิลิก (carboxylic acid-R-COOH).
    ออกซิเจเนต อนุมูล เช่น
    ? คลอเรต (chlorate-ClO3?),
    ? เปอร์คลอเรต (perchlorate-ClO4?),
    ? โครเมต (chromate-CrO42?),
    ? ไดโครเมต (dichromate-Cr2O72?),
    ? เปอร์แมงกาเนต (permanganate-MnO4?), and
    ? ไนเตรต (nitrate-NO3?) เป็นออกซิไดซิ่งเอเจนต์อย่างแรง โลหะหลายตัวเช่นเหล็กมีพันธะกับออกซิเจนอะตอม เช่น เหล็ก(III) ออกไซด์ (Fe2O3).
    ? โอโซน (Ozone-O3) เกิดขึ้นโดยการปลดปล่อยไฟฟ้าสถิตที่อยู่ในโมเลกุลของออกซิเจน 2 โมเลกุลของออกซิเจน (O2)2 ซึ่งพบในส่วนประกอบย่อยของออกซิเจนเหลว
    ? อีป๊อกไซด์ (Epoxide) เป็น อีเทอร์ ซึ่งออกซิเจนอะตอมเป็นส่วนหนึ่งของวงแหวน 3 อะตอม








    วันสถาปนาประเทศ สวิตเซอร์แลนด์

    1 สิงหาคม พ.ศ. 1834 วันสถาปนาประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ (Switzerland) หรือชื่อเต็ม "สมาพันธรัฐสวิส" (Swiss Confederation) โดยรัฐอิสระหรือมณฑล (Canton) แถบเทือกเขาเอลป์ (Alps) 3 รัฐได้แก่ อูริ (Uri), สวิซ (Schwyz) และ อันเทอร์วอลเดน (Unterwalden) ได้ร่วมลงนามใน "กฎบัตรสหพันธรัฐ" (Federal Charter) เพื่อเป็นพันธมิตรทางด้านการทหารร่วมกันต่อต้านการรุกรานจากกองทัพ ฮับส์บวร์ก (Habsburg-- ราชวงศ์ที่มีอำนาจเหนือจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีและจักรวรรดิโรมัน รุ่งเรืองในยุคกลางถึงยุคใหม่) ต่อมาในปี 1896 รัฐอิสระอีก 5 แห่งได้แก่ กลาวส์ (Glarus), ซุก (Zug), ลูเซิร์น (Lucerne) ซูริค (Zurich) และ เบิร์น (Berne) ก็เข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรด้วย จากนั้นก็รวมเข้ากับรัฐอิสระอื่น ๆ จนเป็น "สมาพันธรัฐสวิส" อย่างทุกวันนี้ ชาวสวิสจึงถือเอาวันที่ 1 สิงหาคมของทุกปีเป็น "วันชาติ" สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศเล็ก ๆ ในเทือกเขาแอลป์ ตั้งอยู่ในตอนกลางของทวีปยุโรป ภูมิประเทศกว่าร้อยละ 70 เป็นเทือกเขาสูงที่สวยงาม มีพื้นที่ทั้งหมด 41,285 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวงคือกรุงเบิร์น เมืองใหญ่ที่สุดคือซูริค ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย แบบสมาพันธรัฐ (confederation) ประกอบด้วยมณฑล (Canton) 26 มณฑล มีประชากรทั้งหมดประมาณ 7.5 ล้านคน (ปี 2549) เป็นชาวสวิส-เยอรมันร้อยละ 65 สวิส-ฝรั่งเศสร้อยละ 18 สวิส-อิตาเลียนร้อยละ 10 โรมานช์ร้อยละ 1 และอื่น ๆ ร้อยละ 6 ประชาชนร้อยละ 46.1 นับถือนิกายโรมันคาธอลิก ร้อยละ 40 นับถือนิกาย โปรเตสแตนท์ ร้อยละ 5 นับถือศาสนาอื่น ๆ ที่เหลืออีกร้อยละ 8.9 ไม่ได้นับถือศาสนา ใช้ภาษาราชการ 4 ภาษาคือ เยอรมัน, ฝรั่งเศส, อิตาเลียน และโรมานช์ (Romansh) ใช้หน่วยเงินตราฟรังก์สวิส (Swiss franc) แม้สวิตเซอร์แลนด์จะมีทรัพยากรที่สำคัญคือหินแกรนิต หินปูน และหินที่ใช้ในการก่อสร้าง แต่สินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศนี้คือเคมีภัณฑ์และเวชภัณฑ์ โดยมีบริษัทข้ามชาติมากมายนิยมเข้ามาลงทุน เพราะธนาคารสวิสขึ้นชื่อว่ามีกฎการเก็บความลับทางการเงินของลูกค้าเป็นอย่างดี จึงสามารถดึงดูดเงินจากกระเป๋านักลงทุนจากต่างประเทศอย่างมาก อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลของสวิตเซอร์แลนด์เป็นอุตสาหกรรมที่ดีที่สุดในโลกด้วยใช้วัตถุดิบและแรงงานฝีมือชั้นสูง การท่องเที่ยวก็เป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่ง ส่วนสินค้านำเข้าที่สำคัญได้แก่วัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมและสินค้าทางการเกษตร เนื่องจากมีพื้นที่เพาะปลูกเพียง 1 ใน 4 เท่านั้น ปัจจุบันสวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่มั่งคั่งที่สุดประเทศหนึ่ง ในปี 2543 GDP ต่อหัวสูงถึง 33,464 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงเป็นอันดับที่ 3 ของโลกรองจากญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีความเป็นกลางทางการเมือง แต่ชาวสวิสทุกคนก็มีสิทธิ์เสรีภาพทางการเมืองไม่น้อยหน้าประเทศใดในโลก


    วันนี้ในอดีต (สิงหาคม )

    ? 1 สิงหาคม พ.ศ. 2341 (ค.ศ. 1798) - ยุทธภูมิแม่น้ำไนล์ ระหว่างกองทัพเรือฝรั่งเศสกับสหราชอาณาจักร เริ่มต้นขึ้นในช่วงสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส



    วันนี้ในอดีต (สิงหาคม )


    ? 1 สิงหาคม พ.ศ.2470 (ค.ศ. 1927) - ประเทศจีนก่อตั้ง กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน


    วันนี้ในอดีต (สิงหาคม )


    ? 1 สิงหาคม พ.ศ.2487 (ค.ศ. 1944) - การจลาจลในวอร์ซอ ต่อต้านการยึดครองโดยนาซี เริ่มต้นในประเทศโปแลนด์


    วันนี้ในอดีต (สิงหาคม )


    1 สิงหาคม ค.ศ.1999 : เกิดปรากฏการณ์คลื่นความร้อน ในหลายประเทศทั่วโลก เช่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคน นับเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่แสดงถึงสภาวะแวดล้อมอันเลวร้ายลงของโลก


    ภาวะโลกร้อน ส่งผล ฮีตเวฟ 50 องศา




    ปรากฏการณ์ "ฮีตเวฟ" ที่ผ่านๆ มา เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตนับหมื่นราย อาจกลายเป็นเรื่องขี้ประติ๋วไปเลยก็ได้ เมื่อเทียบกับ "คลื่นความร้อน" ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพราะนักวิจัยดัตช์คำนวณออกมาแล้ว พบว่าสิ้นศตวรรษนี้ อาจมีคลื่นความร้อน ที่อุณหภูมิสูงพุ่งสูงถึง 50 องศาเซลเซียส

    แอนเดรียส สเติร์ล (Andreas Sterl) นักวิจัยของราชบัณฑิตยสถาน ด้านอุตุนิยมวิทยา เนเธอร์แลนด์ (Royal Netherlands Meteorological Institute) ได้ศึกษาจากแบบจำลองคอมพิวเตอร์ และคำนวณการเกิดคลื่นความร้อน (heat wave) พบว่า ปลายศตวรรษนี้หลายเมืองใหญ่ทั่วโลก มีแนวโน้มที่จะเกิดคลื่นความร้อนที่มีอุณหภูมิสูงถึง 50 องศาเซลเซียส ซึ่งเพิ่มจากปัจจุบันเกือบ 10 องศาเซลเซียส และได้ตีพิมพ์ในวารสารจีโอฟิสิคัล รีเสิร์ช เลตเตอร์ส (Geophysical Research Letters) และสำนักข่าวเอพีนำมารายงาน

    สเติร์ลให้ข้อมูลว่า เมื่อปี 2538 คลื่นความร้อนในเมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา มีอุณหภูมิสูงถึง 41.1 องศาเซลเซียส และเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 600 ราย ต่อมาในปี 2546 คลื่นความร้อนได้คร่าชีวิตประชากรในยุโรป ไปนับหมื่นคน

    เฉพาะแค่ในฝรั่งเศส ซึ่งวัดอุณหภูมิได้สูงถึง 40 องศาเซลเซียส และมีผู้เสียชีวิตไปราว 15,000 คน แต่หากพิจารณาย้อนหลังไปในช่วงทศวรรษที่ 50 จะเห็นว่าในคลื่นความร้อนที่เคยเกิดขึ้นในฝรั่งเศส มีอุณหภูมิสูงที่สุด 32.7 องศาเซลเซียส

    ทว่าในอนาคตอีกราว 50 ปีข้างหน้า คลื่นความร้อนในฝรั่งเศสจะมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นเป็น 43.8 องศาเซลเซียส และจะเพิ่มขึ้นอีกเป็น 47.7 องศาเซลเซียสในช่องปลายของศตวรรษนี้


    สเติร์ลใช้แบบจำลองคอมพิวเตอร์ศึกษาพบว่าสิ้นศตวรรษนี้ โลกจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นและที่ทำให้เกิดคลื่นความร้อนที่รุนแรงได้มากถึง 2 ครั้งในแต่ละวัน ยกตัวอย่างในรัฐชิคาโก ซึ่งจะมีอุณหภูมิพุ่งสูงถึง 46.1 องศาเซลเซียสในปี 2643 ขณะที่อุณหภูมิในปารีสจะเพิ่มเป็น 42.7 องศาเซลเซียส ส่วนเมืองลียง ในฝรั่งเศส อุณหภูมิพุ่งเฉียด 45.5 องศาเซลเซียส

    การคาดการณ์ของสเติร์ลกำลังถูกกระตุ้นให้เกิดขึ้นได้จากความแห้งแล้งในปัจจุบันอันเป็นผลมาจากที่โลกร้อนขึ้น ขณะที่งานวิจัยเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนเกือบทั้งหมดมุ่งเน้นไปที่การคำนวณอุณหภูมิเฉลี่ยของแต่ละวันที่อาจเพิ่มขึ้นในอนาคต ทั้งที่จริงๆ แล้วคลื่นความร้อนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตนั้นส่งผลกระทบรุนแรงกว่ามาก

    ผลการศึกษาของสเติร์ล พบว่าในปี 2643 อุณหภูมิสูงสุดในลอสแองเจลิสอยู่ที่ 47.2 องศาเซลเซียส ในแอตแลนตาจะอยู่ที่ 43.3 องศาเซลเซียส ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันราว 3 องศาเซลเซียส ส่วนในแคนซัสจะมีอุณหภูมิสูงถึง 46.6 องศาเซลเซียส ขณะที่ตามรายงานของศูนย์ข้อมูลสภาพภูมิอากาศแห่งชาติสหรัฐฯ (National Climactic Data Center) ระบุว่าสถิติอุณหภูมิสูงสุดในขณะนี้ของแคนซัสอยู่ที่ 42.7 องศาเซลเซียสเท่านั้น

    อย่างไรก็ตาม เมืองฟีนิกซ์ (Phoenix) ในมลรัฐแอริโซนา ที่ครั้งหนึ่งเคยมีอุณหภูมิพุ่งสูงถึง 50 องศาเซลเซียสมาแล้ว และเคยเกิดคลื่นความร้อนที่อุณหภูมิ 48.8 องศาเซลเซียส มาแล้วราวหนึ่งหรือสองครั้ง แต่ในอนาคตจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นไม่มากเท่าไหร่ แต่จะเปลี่ยนตามอุณหภูมิของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป

    นอกจากนี้ยังมีอีกหลายแห่งที่อุณหภูมิจะสูงขึ้นและคาดว่ามีผลรุนแรงด้วย เช่น เมืองเดลี ประเทศอินเดีย อุณหภูมิจะสูงถึง 48.8 องศาเซลเซียส ส่วนเมืองเบเลม ในบราซิล อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นเป็น 49.4 องศาเซลเซียส และที่กรุงแบกแดด ในอิรัก จะสูงถึง 50 องศาเซลเซียส

    ทั้งนี้ เคน คุนเคล สุดยอดนักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศแห่งตะวันออกกลางของสหรัฐฯ และรัษาการผู้อำนวยการอิลลินอยส์ เสตต วอเตอร์เซอร์เวย์ (Illinois State Water Survey) แสดงความเห็นว่าข้อมูลวิจัยของเสติร์ลนั้นมีความเป็นไปได้มากทีเดียว

    ส่วน ดร.โจนาธาน แพตซ์ (Dr. Jonathan Patz) ผู้เชี่ยวชาญสาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม (environmental health) มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน กล่าวว่า หากอุณหภูมิพุ่งสูงขึ้นตามที่นักวิจัยได้คาดการณ์ไว้ จะก่อให้เกิดอันตรายอย่างยิ่ง โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบของหัวใจ ขณะเดียวกันผู้สูงอายุก็จัดว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากว่าร่างกายตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิได้ไม่ดีเท่าที่ควร.



    ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์




    1 สิงหาคม พ.ศ.2374 : ลอนดอนบริดจ์ สะพานข้ามแม่น้ำเธมส์ที่พาดผ่านกลางกรุงลอนดอน ถูกเปิดใช้อย่างเป็นทางการ

    London Bridge ที่เราเคยได้ยิน ในเพลง London Bridge Is Falling Down นั้น เป็นสะพานอีกแห่งหนึ่ง เลยจาก Tower Bridge ออกไปหน่อย สะพานนี้ เป็นสะพาน ข้ามแม่น้ำเธมส์ สะพานแรก ของลอนดอน สร้างตั้งแต่ ค.ศ. 1209 เดิมทำด้วยไม้ และโดนไฟไหม้บ่อยๆ ต่อมาเลยสร้างใหม่ เป็นสะพานหินแกรนิต มีหน้าตาธรรมดาๆ เลยไม่มีใครอยากถ่ายรูปไว้

    มีเรื่องแปลกอย่างหนี่งว่า เมื่อ ค.ศ. 1968 ทางการ ต้องการรื้อสะพาน London Bridge แล้วสร้างเป็น สะพานคอนกรีต ทดแทน เพื่อเพิ่มผิวจราจร ในเวลานั้น มีมหาเศรษฐี อเมริกันรายหนึ่ง มาขอซื้อ สะพานเดิมนั้น รื้อออกไปประกอบใหม่ ที่ทะเลสาบฮาวาสุ รัฐอริโซนา ในราคาถึงหนี่งล้านปอนด์ (เจ็ดสิบห้าล้านบาท)

    ลือกันให้แซด ว่ามหาเศรษฐีรายนี้เข้าใจผิดว่า London Bridge คือสะพานสวยๆ ในลอนดอน ทั้งที่ความจริง สะพานสวยๆ คือ Tower Bridge ต่างหาก


    วันนี้ในอดีต (สิงหาคม )


    1 สิงหาคม พ.ศ.2416 : รถรางไฟฟ้าแห่งเมืองซานฟรานซิสโก ถูกเปิดใช้เป็นวันแรก

    รถรางซานฟราน (San Francisco Cable Car)

    ถ้าพูดถึงเมืองซานฟรานซิสโก หลายคนคงรู้จักเพราะเมืองนี้มีชื่อเสียงมาก เพราะมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง อย่างสะพานโกลเดนเกต และเกาะอัลคาทราซ ใช่แล้วล่ะมาซานฟรานซิสโกต้องไปเที่ยวที่เอ่ยมาแน่นอน แต่ยังมีบางอย่างที่เรียกได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของซานฟรานซิสโกที่เรียกได้ว่าถ้าไม่ได้ทำสิ่งนี้ล่ะก็ไม่ถึงซานฟรานซิสโก คือ รถรางซานฟราน (San Francisco Cable Car) นั้นเอง


    รถรางซานฟราน มีลักษณะคล้ายตู้รถไฟสั้นๆ วิ่งตามรางบนถนนเดียวกับรถยนต์แต่ไม่ชนกัน ฟังดูก็คงคิดใช่มั้ยว่ามันวิเศษยังไง ก็แค่เป็นรถเคเบิ้ลที่เดียวในโลกที่ใช้คนขับ และเปิดให้บริการมาร้อยกว่าปี เสียงกระดิ่ง ดิ่ง ดิ่ง ดิ่ง สลับกับเสียงนักท่องเที่ยวกรี๊ดกร๊าดอยู่บนรถ รถวิ่งขึ้นเขาลงเนิน ผ่านกลางถนน ท่ามกลางตึกสูงและบ้านทรงวิคตอเรียสไตล์ (Victorian- style home) ที่คล้ายบ้านในการ์ตูน แถมวิ่งเรียบชายฝั่ง รับลมทะเลเย็นชื่นใจ เป็นเรื่องที่น่าตื่นตาตื่นใจอีกอย่างมาก


    การให้บริการนั้นจะมีทั้งหมด 3 สาย ได้แก่ แคลิฟอร์เนียไลน์, เบย์แอนด์เทเลอร์ และ ไฮด์แอนด์บีช โดยจะเปิดให้บริการ ทุุกวัน





    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย auddy228; 01-08-2009 at 07:41.

  2. #2
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ auddy228
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    ที่อยู่
    THAILAND
    กระทู้
    1,176
    บล็อก
    1

    สว่างใจ วันนี้ในอดีต 2 สิงหาคม

    วันนี้ในอดีต / 2 สิงหาคม
    เหตุการณ์ในประเทศไทย.


    วันนี้ในอดีต  2  สิงหาคม


    2 สิงหาคม พ.ศ. 2464
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้า องค์ที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สิ้นพระชนม์ ทรงดำรงตำแหน่งพระสังฆราช 10 ปี 7 เดือน

    กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 กับเจ้าจอมมารดาแพ ประสูติเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2403 พระนามเดิมคือ พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ

    ทรงเริ่มศึกษาภาษาบาลีเมื่อพระชนมายุ 8 พรรษา ทรงศึกษาอยู่จนสามารถแปลธรรมบทได้ และทรงศึกษาภาษาอังกฤษกับครูฝรั่งเมื่อพระชนมายุ 12 พรรษา นอกจากนี้ยังทรงศึกษาโหราศาสตร์กับครูที่เชี่ยวชาญทางโหราศาสตร์มาแต่พระชนม์ยังน้อย ทรงผนวชเป็นสามเณรตามราชประเพณี ณ วัดพระศรีรัตนศาสดารามเมื่อพระชนมายุ 14 พรรษา ทรงผนวชเป็นสามเณรอยู่ 2 เดือนเศษ จึงทรงลาผนวช ครั้นพระชนมายุ 20 พรรษาก็ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วเสด็จมาจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร จากนั้นได้เสด็จไปจำพรรษาที่ 2 ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม ในสำนักของ พระจันทโคจรคุณ (ยิ้ม) และได้ทรงทำ "ทัฬหีกรรม" อุปสมบทซ้ำอีกครั้งหนึ่งตามธรรมเนียมนิยมของพระสงฆ์ธรรมยุต หลังจากทรงแปลพระปริยัติธรรมได้เป็นเปรียญ 5 ประโยคแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาพระอิศริยยศเป็น "กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส" ทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นเจ้าคณะรองในธรรมยุตินิกายเมื่อปี 2424 เมื่อ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สิ้นพระชนม์ในปี 2434 รัชกาลที่ 5 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงครองวัดบวรนิเวศวิหารสืบต่อ นับเป็นเจ้าอาวาสพระองค์ที่ 3 อีกสองปีต่อมารัชกาลที่ 5 ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต จากนั้นก็ได้ทรงเริ่มพัฒนากิจการพระศาสนาที่สำคัญคือ ทรงสนับสนุนให้ภิกษุสามเณรที่บวชใหม่เล่าเรียนพระธรรมวินัยในภาษาไทย ต่อมาได้แพร่หลายออกไป พระองค์จึงได้ทรงกำหนดให้เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับคณะสงฆ์ในเวลาต่อมา ที่เรียกว่า "นักธรรม" ซึ่งเป็นหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของคณะสงฆ์สืบมาจนปัจจุบัน ทรงจัดตั้ง มหามกุฎราชวิทยาลัย ในปี 2436 เป็นการทรงริเริ่มจัดการศึกษาของภิกษุสามเณรแบบใหม่ คือ เล่าเรียนพระปริยัติธรรมประกอบกับวิชาการอื่นๆ ที่เอื้อต่อการสั่งสอนพระพุทธศาสนา ให้เป็นสถานศึกษาของภิกษุสามเณรและกุลบุตร ปีต่อมาทรงออกนิตยสาร "ธรรมจักษุ" จากนั้นทรงขยายการศึกษาออกไปยังหัวเมืองทั่วประราชอาณาจักร โดยให้วัดเป็นโรงเรียนให้พระเป็นครู นับเป็นการวางรากฐานการศึกษาระดับประถมศึกษาของไทย นอกจากนี้ยังทรงจัดระเบียนการปกครองคณะสงฆ์ใหม่ให้รัดกุมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทรงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง "สมเด็จพระสังฆราช" ในปี 2453 ภายหลังได้ทรงประชวรเป็นวัณโรคและสิ้นพระชนม์ในที่สุด




    วันนี้ในอดีต / 2 สิงหาคม
    เหตุการณ์ในต่างประเทศ.




    วันนี้ในอดีต  2  สิงหาคม


    2 สิงหาคม:

    ? พ.ศ. 2413 (ค.ศ. 1870) ? ทาวเวอร์ซับเวย์ เป็นทางรถไฟใต้ดินสายแรกของโลก ได้เปิดใช้งานในกรุงลอนดอน

    ทาวเวอร์ ซับเวย์ (Tower Subway) รถไฟใต้ดิน (Underground Tube Railway) สายแรกของโลก เปิดให้บริการที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยมีลักษณะเป็นอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเทมส์ (Thames) มีสองสถานีคือ ทาวเวอร์ ฮิลล์ (Tower hill) และ ไวน์ เลน (vine lane) รถไฟใต้ดินสายนี้ได้ชื่อมาจาก "หอคอยแห่งลอนดอน" (Tower of London) อุโมงค์ออกแบบและก่อสร้างโดย เจมส์ เกรทีด (James Henry Greathead) ส่วนเปลือกอุโมงค์ออกแบบโดย ปีเตอร์ บาร์โลว์ (Peter William Barlow) และมีลูกชายของบาร์โลว์คือ ปีเตอร์ บาร์โลว์ จูเนียร์ (Peter W. Barlow Jr.) เป็นวิศวกรควบคุมงานก่อสร้าง เริ่มก่อสร้างในเดือนกุมภาพันธ์ 2412 โดยขุดอุโมงค์รถไฟด้วยเครื่องจักรไฮดรอลิกลึกประมาณ 18 เมตรใต้ผืนดิน ในระยะแรกอุโมงค์ยาวเพียง 410 เมตร กว้าง 2.1 เมตร รางกว้าง 76.2 เซนติเมตร ใช้เครื่องจักรไอน้ำขนาด 4 แรงม้าเป็นตัวลากรถเคเบิลคาร์ (cable car) ขนาด 12 ที่นั่ง ใช้เวลาโดยสารเที่ยวละประมาณ 70 วินาที หลังจากเปิดใช้งานได้ประมาณ 3 เดือนก็ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก เพราะความคับแคบและไม่สะดวกของสถานี ประชาชนจึงนิยมเดินเท้ามากกว่า ในที่สุด ทางการจึงปรับปรุงใหม่ นำลิฟท์มาแทนบันได เปลี่ยนเครื่องจักรไอน้ำเป็นเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ส่งผลให้รถไฟฟ้าใต้ดินสายนี้กลับมาได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง มีผู้โดยสารกว่าสองหมื่นคนต่อสัปดาห์ ก่อนจะคลายความนิยมไปหลังจากมีการก่อสร้างสะพาน "ทาวเวอร์ บริดจ์" (Tower Bridge) ในปี 2437 เนื่องจากไม่ต้องเสียเงินเหมือนรถไฟฟ้า ไม่นานก็ขาดทุนจนรัฐบาลต้องขายกิจการให้เอกชนดำเนินการต่อ ก่อนจะปิดการใช้งานในปี 2441


    วันนี้ในอดีต  2  สิงหาคม



    ? 2 สิงหาคม พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1934) ? ไกลช์ชอัลทุง: อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (ในภาพ) ก้าวขึ้นเป็นประมุขแห่งรัฐของนาซีเยอรมนี และเริ่มการปกครองประเทศในระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จ

    อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (เยอรมัน: Adolf Hitler; 20 เมษายน ค.ศ. 1889 ? 30 เมษายน ค.ศ. 1945) เป็นนักการเมืองสัญชาติออสเตรียโดยกำเนิด เป็นหัวหน้าพรรคชาติสังคมนิยมกรรมกรเยอรมัน และดำรงตำแหน่งผู้นำเผด็จการของนาซีเยอรมนี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1933 - 1945 และดำรงตำแหน่งมุขมนตรีเยอรมนี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1934 - 1945

    วันนี้ในอดีต  2  สิงหาคม


    ? 2 สิงหาคม พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) ? อิรักรุกรานคูเวต และยึดครองคูเวตได้ภายในเวลาสองวัน เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามอ่าวเปอร์เซีย ในอีกเจ็ดเดือนถัดมา

    สงครามอ่าวเปอร์เซีย หรือบางทีเรียกสั้น ๆ ว่า สงครามอ่าว (Gulf War) เป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศอิรัก และกองกำลังผสมจาก 34 ชาติใต้อาณัติของสหประชาชาติ นำโดยสหรัฐอเมริกา

    สงครามอ่าวเปอร์เซีย (Gulf War) เปิดฉากขึ้น เมื่อประธานาธิบดี ซัดดัม ฮุสเซน (Suddam Hussein) แห่งอิรักออกคำสั่งให้กองกำลังทหารประมาณ 122,000 นายพร้อมด้วยรถถังประมาณ 900 คันบุกยึด ประเทศคูเวต (Kuwait) อย่างเงียบเชียบ เนื่องจากอิรักต้องการแหล่งน้ำมันของคูเวตและอ้างว่าคูเวตเป็นส่วนหนึ่งของอิรัก ซึ่งทั้งสองประเทศมีความขัดแย้งเรื่องพรมแดนมานาน จากนั้นคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้มีมติเป็นเอกฉันท์ ประณามการรุกรานและประกาศคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจแก่อิรัก พร้อมทั้งเรียกร้องให้อิรักถอนกำลังออกจากคูเวตภายในวันที่ 15 มกราคม 2534 เมื่อครบกำหนดเส้นตาย จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช (George H. W. Bush) ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกานำกองกำลังผสม 34 ชาติของสหประชาชาติ เปิดฉากโจมตีอิรักและคูเวตทางอากาศเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2534 กองกำลังพันธมิตรร่วมมือโจมตีอิรักอย่างต่อเนื่องด้วยยุทธการ ?พายุทะเลทราย? (Desert Storm) จากนั้นกองกำลังพันธมิตรได้เปิดฉากการโจมตีภาคพื้นดินต่ออิรักจนได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดในวันที่ 12 เมษายน 2534 สงครามครั้งนี้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต โดยทหารและประชาชนผู้บริสุทธิ์ฝ่ายอิรักเสียชีวิตประมาณ 200,000 ศพและบาทเจ็บอีกนับไม่ถ้วน ส่วนฝ่ายสหประชาชาติเสียชีวิตประมาณ 378 ศพและบาทเจ็บอีกประมาณ 1,000 คน

    สงครามระหว่างอิรัก กับ อิหร่าน หรือที่นิยมเรียกว่าสงครามอ่าวเปอร์เซีย (Persian Gulf War) นั้นได้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ.1980 โดยมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งอยู่หลายประการดังนี้
    ดินแดนบริเวณชัต อัล-อาหรับ (Shatt Al-Arab)

    ซึ่งดินแดนบริเวณนี้มีแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีสไหลมาบรรจบกัน ถือได้ว่าเป็นดินแดนที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศนี้มาก ทำให้อิรักและอิหร่านต่างก็ต้องการยึดไว้เป็นของตน

    ปัญหาเรื่องเชื้อชาติ

    ชาวอิรักส่วนใหญ่มีเชื้อสายอาหรับ แต่ชาวอิหร่านมีเชื้อสายเปอร์เซีย เหตุที่มีความต่างกันของเชื้อชาติจึงเกิดการทะเลาะวิวาทกันอยู่เป็นประจำโดยเฉพาะในบริเวณพรมแดนของทั้ง 2 ประเทศนี้

    ปัญหาจังหวัดคูเซสถาน (Khuzestan)

    จังหวัดนี้เป็นจังหวัดชายแดนของอิหร่าน แต่อิรักต้องการเข้าครอบครองดินแดนนี้ เพราะจังหวัดนี้เป็นแหล่งน้ำมันที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง
    ความไม่พอใจของผู้นำทั้ง 2 ประเทศ

    ประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซ็น ซึ่งนับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่ ไม่พอใจนโยบายการนับถือศาสนาของผู้นำอิหร่าน อยาโตลลาห์ โคไมนี ที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์ และโคไมนีก็มีความเกลียดชังผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่มากและมีความตั้งใจที่จะทำลายล้างให้หมดไป

    ด้วยเหตุนี้ทำให้ในวันที่22กันยายนค.ศ.1980อิรักจึงเข้าโจมตีจังหวัดคูเซสถานของอิหร่านทำให้เกิดการโต้ตอบกันโดยมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆและมีการรบติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน สงครามในครั้งนี้ได้เกี่ยวข้องไปถึงสหรัฐอเมริกาซึ่งถูกอิหร่านกล่าวหาว่าได้ให้การสนับสนุนอิรักสงครามได้ยืดเยื้อมาจนกระทั้งสหประชาชาติและประเทศเป็นกลางอื่นๆพยายามที่จะให้ประเทศทั้งสอง

    ได้เจรจายุติสงครามกัน เพราะทั้ง 2 ประเทศมีบทบาทสำคัญต่อการส่งออกน้ำมันสู่ตลาดโลก
    ประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซ็น ได้ประกาศว่าจะยุติสงครามลงด้วยสันติวิธี แต่ทว่าการกระทำของอิรักกลับตรงข้าม คือ ทางฝ่ายอิหร่านแจ้งว่า ชาวเคิร์ดในอิหร่านถูกอิรักโจมตีด้วยอาวุธเคมี ทำให้ประชาชนต้องล้มตายไปไม่ต่ำกว่า 5,000 คน และขณะเดียวกันทหารอิรักยังโจมตีรุกคืบหน้าเข้าไปในดินแดนของอิหร่านอยู่
    จากผลของสงคราม ทำให้ในวันที่ 18 กรกฎาคมค.ศ.1989รัฐบาลอิหร่านได้ประกาศยอมรับแผนการสันติภาพของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและอิรักก็ยอมรับในมตินี้ด้วย นับว่าเป็นการสิ้นสุดของสงคราม ซึ่งยืดเยื้อมากว่า 9 ปี ทำให้ทั้ง 2 ประเทศนี้ต้องสูญเสียชีวิตทหาร ราษฎร และทรัพย์สินไปเป็นจำนวนมาก






  3. #3
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ auddy228
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    ที่อยู่
    THAILAND
    กระทู้
    1,176
    บล็อก
    1

    สว่างใจ วันนี้ในอดีต 3 สิงหาคม

    วันนี้ในอดีต / 3 สิงหาคม
    เหตุการณ์ในประเทศไทย.




    วันนี้ในอดีต  3  สิงหาคม




    3 สิงหาคมพ.ศ.2354- ตราพระราชกำหนดห้ามสูบและขายฝิ่น



    ในสมัยปลายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ผู้ฝ่าฝืนมีโทษเฆี่ยนหลัง 90 ที
    ให้ตระเวนบก 3 วัน ตระเวนเรือ 3 วัน ริบราชบาตรทรัพย์สินบุตรภรรยาเป็นของหลวง แล้วส่งตัว
    ไปเป็นตะพุ่นหญ้าช้างผู้รู้เห็นเป็นใจมินำเอาความมาแจ้ง ให้เฆี่ยนหลัง 60 ที


    ยาเสพติด ซึ่งเป็นปัญหาของชาติอยู่ในขณะนี้ มีประวัติความเป็นมาอย่างไรเป็นสิ่งที่น่าสนใจ
    เพราะมนุษย์ได้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดมาเป็นเวลาช้านาน
    บางชนิดก็ให้ทั้งคุณประโยชน์และโทษ บางชนิดก็มีแต่โทษภัยเท่านั้น
    ซึ่งในปัจจุบันมียาเสพติดชนิดต่าง ๆ ในท้องตลาดมากกว่า 120 ชนิด
    อย่างไรก็ตามยาเสพติดชนิดแรกที่คนไทยรู้จักก็คือ

    ฝิ่น

    ฝิ่นเข้ามาในประเทศไทยในสมัยใดนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด
    เท่าที่มีหลักฐานครั้งแรก เป็นประกาศใช้กฎหมายลักษณะโจร
    ในสมัยรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)
    ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 1903 หรือ ประมาณ 600 ปี
    ล่วงมาแล้ว ตามกฎหมายฉบับนี้ ได้บัญญัติการห้ามซื้อ ขาย เสพฝิ่นไว้ว่า
    "ผู้สูบฝิ่น กินฝิ่น ขายฝิ่นนั้น ให้ลงพระราชอาญาจงหนักหนาริบราชบาทว์ให้สิ้นเชิง
    ทเวนบกสามวัน ทเวนเรือสามวัน ให้จำใส่คุกไว้จนกว่าจะอดได้ ถ้าอดได้แล้วเรียกเอาทานบนแก่มันญาติพี่น้องไว้แล้ว จึงให้ปล่อยผู้สูบ ขาย กินฝิ่น ออกจากโทษ"
    แม้ว่าบทลงโทษจะสูง แต่การลักลอกซื้อขายและเสพฝิ่น ก็ยังมีต่อมาโดยตลอด กฎหมายคงใช้ได้แต่ในกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น
    ส่วนหัวเมือง และ เมืองขึ้นที่ห่างพระเนตรพระกรรณ ไม่มีการเข้มงวดกวดขัน
    ซึ่งปรากฎว่า ผู้ครองเมืองบางแห่งก็ติดฝิ่น และ ผูกขาดการจำหน่ายฝิ่นเสียเองด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ปัญหาการขายฝิ่น เสพฝิ่น จึงเลิกไม่ได้ตลอดสมัยกรุงศรีอยุธยา

    ต่อมาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
    ทรงแจกกฎหมายป่าวร้องห้ามปรามผู้ขาย ผู้สูบฝิ่นแต่ก็ยังไม่มีผล

    ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงได้ทรงตราพระราชกำหนดโทษให้สูงขึ้นไปอีก โดย
    "ห้ามอย่าให้ผู้ใดสูบฝิ่น กินฝิ่น ซื้อฝิ่นขายฝิ่น และ
    เป็นผู้สมซื้อสมขายเป็นอันขาดทีเดียวถ้ามิฟังจับได้ และมีผู้ร้องฟ้องพิจารณาเป็น สัจจะให้ลงพระอาญา เฆี่ยน 3 ยก ทเวนบก 3 วัน ทเวนเรือ 3 วัน ริบราชบาทว์ บุตรภรรยา และ ทรัพย์สิ่งของ
    ให้สิ้นเชิง ให้ส่งตัว ไปตะพุ่นหญ้าช้าง ผู้รู้เห็นเป็นใจมิได้เอาความมาว่ากล่าว จะให้ลง พระอาญาเฆี่ยน 60 ที"

    ในรัชกาลที่ 3 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
    เป็นระยะที่ตรงกับสมัยที่อังกฤษนำฝิ่นจากอินเดีย ไปบังคับขาย
    ให้จีนทำให้มีคนจีนติดฝิ่นเพิ่มขึ้น และ ในช่วงเวลานั้น
    ตรงกับระยะที่คนจีนเข้ามาค้าขายในเมืองไทยมากขึ้น จึงเป็นการนำ
    การใช้ฝิ่นและผู้ติดฝิ่นเข้ามาในเมืองไทย ตลอดจนมีการลักลอบนำฝิ่น
    เข้ามาในเมืองไทยด้วยเรือสินค้าต่าง ๆ มาก จึงเป็นเหตุให้การเสพฝิ่นระบาด
    ยิ่งขึ้น พระองค์จึงได้ทรงมีบัญชาให้มีการปราบปรามอย่างเข้มงวดกวดขันในปี พ.ศ. 2382 ทำให้การค้าฝิ่น
    และสิ่งอื่น ๆ ที่ผิดกฎหมายเข้าไปอยู่ในมือของกลุ่มอั้งยี่ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ
    และหัวเมืองชายทะเล สร้างความวุ่นวายจากการทะเลาะวิวาท
    ระหว่างกลุ่มอั้งยี่ต่าง ๆ จนต้องทำให้ทหารปราบปราม


    ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ทรงเห็นว่าการปราบปรามไม่สามารถขจัดปัญหาการสูบ และขายฝิ่นได้
    และก่อให้เกิดความยุ่งยากวุ่นวายขึ้น จึงทรงเปลี่ยนนโยบายใหม่
    ยอมให้คนจีนเสพและขายฝิ่นได้ตามกฎหมาย แต่ต้อง
    เสียภาษีผูกขาดมีนายภาษีเป็นผู้ดำเนินการ ปรากฏว่าภาษีฝิ่นทำรายได้
    ให้แก่ประเทศไทยมาก

    ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงรวบรวมไว้ในหนังสือลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ ใน "ตำนานภาษีฝิ่น" ว่าภาษีที่ได้นั้นประมาณว่าถึงปีละ 4 แสนบาท สูงเป็น
    อันดับที่ 5 ของรายได้ประเภทต่าง ๆ และได้มีความพยายามห้ามคนไทยไม่ให้เสพฝิ่น แต่ก็ไม่ได้ผลเต็มที่

    ใน พ.ศ. 2501 คณะปฏิวัติซึ่งปกครองประเทศไทยอยู่ในขณะนั้น
    ได้พิจารณาเห็นว่า การเสพฝิ่นเป็นที่รังเกียจใน วงการสังคม และเป็นอันตราย
    แก่สุขภาพและอนามัยอย่างร้ายแรง ประเทศต่าง ๆ ได้พยายามเลิกการเสพฝิ่น
    โดยเด็ดขาดแล้ว จึงเห็นเป็น
    การสมควรให้เลิกการเสพฝิ่น และ จำหน่ายฝิ่นในประเทศไทย
    จึงมีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 37 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2501
    ให้เลิกการเสพฝิ่น และ จำหน่ายทั่วราชอาณาจักร และ
    กำหนดดำเนินการให้เสร็จสิ้นเด็ดขาดภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2502
    โดยกำหนดการตามลำดับดังนี้

    1. ประกาศให้ผู้เสพฝิ่นขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เสพฝิ่นภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2501
    2. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2502 ห้ามมิให้ร้านฝิ่นจำหน่ายฝิ่นแก่ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตให้สูบฝิ่น
    3. ยุบเลิกร้านจำหน่ายฝิ่นภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2502
    4. ให้กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงมหาดไทย ร่วมกันจัดตั้งสถานพยาบาล และพักฟื้นผู้อดฝิ่น
    5. ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2502 ผู้กระทำผิดฐานเสพฝิ่นหรือมูลฝิ่น
    นอกจากนี้ยังได้แก้ไขกฎหมายว่าด้วยฝิ่น เพิ่มโทษผู้ละเมิดให้สูงขึ้น
    ซึ่งได้ประกาศใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 กรกฎาคม 2502 เป็นต้นมา จ
    ากประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวข้างต้น เป็นอันว่านับแต่รุ่งอรุณ ของวันที่ 1 กรกฎาคม 2502 การเสพ และ
    จำหน่ายฝิ่นในประเทศไทยก็เป็นสิ่งผิดกฎหมาย นอกจากรัฐบาลจะได้จัด
    ให้ผู้ติดฝิ่นเข้ารับการบำบัดรักษา และฟื้นฟูแล้ว ปรากฏว่า
    การปราบปรามก็ได้กระทำเด็ดขาดยิ่งขึ้น มีการประหารชีวิตผู้ผลิต และ
    ค้ายาเสพติด แต่ปัญหายาเสพติดไม่ได้ลดลง เพียงแต่
    การซื้อขายมีการดำเนินการซ่อนเร้น และ มีวิธีการที่ลึกซึ้งแยบยลยิ่งขึ้น
    นอกจากนี้ตัวยาเสพติด ได้เปลี่ยนรูปไปเป็นเฮโรอีน
    ซึ่งผลิตด้วยการเปลี่ยนตัวยาสำคัญในฝิ่น คือ มอร์ฟีน ด้วยวิธีทางเคมีเป็นยาเสพติดที่มีฤทธิ์ร้ายแรงกว่าฝิ่นก็กลับระบาดในเมืองไทย พบครั้งแรกราวเดือนกันยายน พ.ศ. 2502 เฮโรอีนได้ระบาดในหมู่ติดฝิ่นอยู่เดิม เพราะสูบได้ง่ายใช้เผาในกระดาษตะกั่วแล้วสูดไอ
    ไม่ต้องมีบ้องฝิ่น และไม่มีกลิ่นเวลาสูบ การหลบหนีกฎหมายก็ทำได้ง่ายกว่าการสูบฝิ่น

    ปัจจุบัน ปัญหายาเสพติดที่ปรากฏอยู่ในหมู่คนไทยมีรูปแบบต่าง ๆ กันและลักษณะปัญหาแตกต่างกันออกไป ชาวไทยภูเขา
    ที่อาศัยในภาคเหนือของประเทศไทย ส่วนหนึ่งมีอาชีพหลักในการปลูกฝิ่น และมีจำนวนไม่น้อยที่สูบและติดฝิ่นด้วยในหมู่ชาวไทย
    ในชนบทพื้นราบ ก็มีการสูบฝิ่น ใช้ใบกระท่อม กัญชา ยาม้าหรือยาขยันและยาแก้ปวด อยู่อย่างแพร่หลาย ปัญหาที่ร้ายแรงตามมาคือ
    การแพร่ระบาดของการติดยาเสพติดหลายชนิดปนกันอยู่ในขณะนี้ทั้งในต่างจังหวัดและในเขต กรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะ ยาม้า
    หรือยาบ้า ได้แพร่ระบาดเข้าในในแทบทุกชุมชน และหมู่บ้านซึ่งนับว่าเป็นปัญหาใหญ่ในขณะนี้ที่ทุกคนต้องร่วมกันแก้ไข





    3 สิงหาคม พ.ศ. 2500

    การประกวดภาพยนตร์ ชิงรางวัลตุ๊กตาทอง และสำเภาทอง ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2500 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2500 ณ เวทีลีลาศ สวนลุมพินี จัดโดยหอการค้ากรุงเทพ โดยมีนายสงบ สวนสิริ เป็นประธานกรรมการ

    " โดยนักแสดงนำยอดเยี่ยมจะได้รับรางวัล "ละคอนรำ" เรียกชื่อรางวัลนี้ว่า "รางวัลตุ๊กตาทอง" ส่วนรางวัลอื่น ๆ จะได้รับ "โล่สำเภาทอง" ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของหอการค้ากรุงเทพฯ ซึ่งเป็นผู้จัดงาน
    ในปีแรกมีภาพยนตร์ได้รับเสนอชื่อเข้าร่วมประกวดจำนวน 52 เรื่อง "รางวัลตุ๊กตาทอง" ดารานำยอดเยี่ยมฝ่ายชายได้แก่ ลือชัย นฤนาท จากภาพยนตร์เรื่อง "เล็บครุฑ" และดารานำยอดเยี่ยมฝ่ายหญิงคือ วิไลวรรณ วัฒนพานิช จากภาพยนตร์เรื่อง "สาวเครือฟ้า"
    "รางวัลสำเภาทอง" บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ได้แก่ ประจิต จุลละพันธ์ จากภาพยนตร์เรือ่ง "สุภาพบุรุษเสือไทย"บทประพันธ์ยอดเยี่ยม ได้แก่ "เรียมเอง" จากภาพยนตร์เรื่อง "ชั่วฟ้าดินสลาย" ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม ได้แก่ วสันต์ สุนทรปักษิณ จากภาพยนตร์เรื่อง "ทางเปลี่ยว" และภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ได้แก่ภาพยนตร์เรื่อง "เศรษฐีอนาถา" อำนวยการสร้างโดย สุริยน ไรวา ของ บริษัท เอส.อาร์ ฟิล์ม

    ต่อมา มีการออกแบบรางวัล เป็นรูป พระสุรัสวดี ซึ่งเป็นเทพีแห่งความรู้ และภาษา ของอินเดีย เป็นผู้อุปถัมภ์ การศิลปะ การดนตรี และการศึกษา ออกแบบโดยนายจิตร บัวบุศย์ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนเพาะช่าง โดยความเห็นชอบของนายธนิต อยู่โพธิ์ อธิบดีกรมศิลปากร จึงเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น รางวัลพระสุรัสวดี แต่สื่อมวลชน และประชาชน ยังคงนิยมเรียกว่า รางวัลตุ๊กตาทอง

    พิธีมอบรางวัลตุ๊กตาทอง จัดต่อเนื่องทุกปีตั้งแต่ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2500 จนถึงครั้งที่ 8 พ.ศ. 2509 ก็ได้หยุดการจัดงานเป็นเวลา 9 ปี และได้รื้อฟื้นขึ้นใหม่ ในปี พ.ศ. 2517 โดย สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย


    วันนี้ในอดีต  3  สิงหาคม


    ลือชัย นฤนาท มีชื่อจริงว่า พิชัย จิตรีขันธ์ นักแสดงอาวุโส พระเอกภาพยนตร์ไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลนักแสดงนำยอดเยี่ยม ในการประกาศผลรางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2500 เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2500
    ลือชัย นฤนาท มีผลงานที่เป็นที่รู้จักกันดี จากบท ชีพ ชูชัย ในภาพยนตร์สืบสวนแนวเจมส์ บอนด์ เล็บครุฑ สร้างจากผลงานประพันธ์ของพนมเทียน กำกับโดย สุพรรณ พราหมณ์พันธุ์ นำแสดงร่วมกับ อมรา อัศวนนท์
    ลือชัย นฤนาท มีบุคลิกในภาพยนตร์ ที่ชอบทำคอเอียง คาบบุหรี่มุมปาก ทำท่าทางยียวน จนเป็นแบบอย่างให้ผู้ชายในยุคนั้นนิยมทำเลียนแบบ
    ลือชัย นฤนาท มีลูกสาวอยู่ในวงการ สิริยา และ อรุโณทัย นฤนาท



    วันนี้ในอดีต  3  สิงหาคม


    วิไลวรรณ วัฒนพานิช (17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2475 - ) นักแสดงอาวุโส เป็นนักแสดงหญิงคนแรกที่ได้รับรางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม รางวัลตุ๊กตาทอง เมื่อปี พ.ศ. 2500
    วิไลวรรณ วัฒนพานิช เข้าสู่วงการแสดงเป็นครั้งแรก หลังจากเข้าร่วมการประกวดนางสาวไทยประจำปี พ.ศ. 2491 เริ่มแสดงภาพยนตร์เรื่องแรก แดนดาวโจร (2493) จากนั้นได้แสดงภาพยนตร์และละครจำนวนหนึ่ง เธอเริ่มมีชื่อเสียงจากบท เครือฟ้า ในภาพยนตร์ สาวเครือฟ้า (2496) จนได้รับฉายาว่า "ดาราเจ้าน้ำตา"
    วิไลวรรณ วัฒนพานิช เคยสมรสกับพร้อมสิน สีบุญเรือง ก่อนจะแยกทางกัน และสมรสใหม่กับอดุลย์ ดุลยรัตน์ และแยกทางกันอีก ต่อมาเธอสมรสกับบุคคลจากนอกวงการภาพยนตร์ จนถึงปัจจุบัน
    ปัจจุบัน วิไลวรรณ วัฒนพานิช ยังมีผลงานแสดงอยู่ เรื่องล่าสุดคือละครเรื่อง "เหตุเกิดในครอบครัว" ฉายทางช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2550
    วิไลวรรณ วัฒนพานิช เป็นลูกพี่ลูกน้องกับบิดาของธานินทร์ วัฒนพานิช บิดาของมาช่า วัฒนพานิช เธอจึงมีศักดิ์เป็นย่าของ มาช่า




    วันนี้ในอดีต / 3 สิงหาคม
    เหตุการณ์ในต่างประเทศ.




    วันนี้ในอดีต  3  สิงหาคม


    ? 3 สิงหาคม พ.ศ. 2035
    ? คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) นักสำรวจชาวเจนัว (อิตาลี) เริ่มออกเดินเรือเที่ยวแรก เพื่อค้นหาอินเดียและจีน โดยมีลูกเรือ 90 คนกับเรือ 3 ลำได้แก่ "ซานตา มาเรีย" (Santa Maria), "พินตา" (Pinta) และ "ซาตา คลารา" (Santa Clara) โดยได้รับการสนับสนุนจากกษัตริย์สเปนคือ พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ ที่ 2 (Ferdinand II of Aragon) และ พระนางอิสซาเบลลา ที่ 1 (Isabella of Castile) ออกจากท่าเรือเมืองเปลูซ (Palos) ประเทศสเปน แล่นเรือไปทางทิศตะวันตกข้ามมหาสมุทรแอตแลนติค ไปถึง เกาะบาฮามา (The Bahamas) หมู่เกาะในมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกของอเมริกา เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2035 โดยที่โคลัมบัสคิดว่าเป็นส่วนหนึ่งของทวีปเอเชีย จากนั้นเขาเดินเรือต่อไปจนถึงคิวบา ฮิสปานิโอลา เปอร์โตริโก จาเมกา ตรินิแดด เวเนาซุเอลา และคอคอดปานามา โคลัมบัสเชื่อมาตลอดจนเสียชีวิตว่าเกาะบาฮามาที่เขาค้นพบนั้นคือทวีปเอเชีย แต่แท้จริงแล้วเป็นหมู่เกาะทางตะวันออกของทวีปอเมริกา ภายหลังจึงมีการกำหนดให้วันที่ 12 ตุลาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่โคลัมบัสมาถึงอเมริกาเป็น "วันโคลัมบัส" มีการเฉลิมฉลองกันในสหรัฐอเมริกาและประเทศต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาใต้ ในอดีตเคยเชื่อกันว่าโคลัมบัสเป็นชาวยุโรปคนแรกที่ค้นพบอเมริกา แต่จริง ๆ แล้ว เลฟ เอริคสัน (Leaf Erikson) ชาวไวกิ้งเคยเดินทางมาพบทวีปอเมริกาก่อนหน้านี้ และเคยมีนิคมชาวไวกิ้งทางตะวันออกของแคนาดาในศตวรรษที่ 11






  4. #4
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ auddy228
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    ที่อยู่
    THAILAND
    กระทู้
    1,176
    บล็อก
    1

    สว่างใจ วันนี้ในอดีต 4 สิงหาคม

    [B]วันนี้ในอดีต / 4 สิงหาคม
    เหตุการณ์ในประเทศไทย.



    วันนี้ในอดีต  4  สิงหาคม




    ? 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1883) ? พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมไปรษณีย์ขึ้น นับเป็นการเปิดดำเนินงานไปรษณีย์ในประเทศไทยเป็นปฐมฤกษ์ โดยมีสำนักงานใหญ่ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เหนือปากคลองโอ่งอ่าง เรียกว่า ไปรษณียาคาร

    ? ระบบไปรษณีย์ของรัฐ เกิดขึ้นในรัชสมัยของ รัชกาลที่ 5 โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบกิจการไปรษณีย์ในสมัยแรกคือ กรมไปรษณีย์ เปิดให้บริการเป็นครั้งแรก ณ วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426 กรมไปรษณีย์ในสมัยนั้นอยู่ภายใต้การดูแลของ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมหลวงภาณุพันธุวงศ์วงเดช มีตำแหน่งเป็น ผู้สำเร็จราชการกรมไปรษณีย์ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ไปรษณียาคาร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้ปากคลองโอ่งอ่าง ปัจจุบันรื้อทิ้งเพื่อสร้างสะพานพระปกเกล้า (แต่มีการสร้างใหม่ที่ตำแหน่งใกล้เคียงเพื่อเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ในอนาคต)

    ? ในระยะแรกที่ให้บริการ ครอบคลุมเฉพาะกรุงเทพเท่านั้น เมื่อ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2428 จึงเริ่มขยายไปต่างจังหวัดโดยเปิดที่ทำการไปรษณีย์ที่สมุทรปราการและนครเขื่อนขันธ์ (พระประแดง ในปัจจุบัน) และขยายต่อจนถึงเชียงใหม่ในเดือนตุลาคมของปีเดียวกัน ส่วนบริการไปรษณีย์ระหว่างประเทศ เริ่มเมื่อ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2428 หลังประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกสหภาพสากลไปรษณีย์

    ? ในปี พ.ศ. 2441 กรมไปรษณีย์ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กรมไปรษณีย์โทรเลข หลังจากมีการควบรวมเอา กรมไปรษณีย์ และ กรมโทรเลข ซึ่งดูแลงานด้านโทรเลข เข้าด้วยกัน เมื่อ พ.ศ. 2483 ได้มีการเปิด ที่ทำการไปรษณีย์กลาง ขึ้นบนถนนเจริญกรุง เขตบางรัก และใช้เป็นที่ทำการของกรมไปรษณีย์โทรเลข

    ? ปี พ.ศ. 2520 ได้เปลี่ยนโครงสร้างมาเป็นรัฐวิสาหกิจใช้ชื่อว่า การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.)

    ? และเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2546 มีการปรับโครงสร้างอีกครั้งตามนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยแยกการสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็น บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งปัจจุบัน บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เป็นผู้ดูแล บริการด้านไปรษณีย์ทั้งหมด มีสำนักงานใหญ่ที่ถนนแจ้งวัฒนะ


    วันนี้ในอดีต  4  สิงหาคม


    ? 4 สิงหาคม พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) ? สมรักษ์ คำสิงห์ คว้าเหรียญทองจากกีฬามวยสากลสมัครเล่น รุ่นเฟเธอร์เวท ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 26 ณ เมืองแอตแลนตา มลรัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา นับเป็นนักกีฬาทีมชาติไทยคนแรก ที่ได้รับเหรียญทองในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก

    สมรักษ์ เป็นชาวหมู่บ้านโนนสมบูรณ์ จังหวัดขอนแก่น เกิดเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2516 ในครอบครัวยากจน เป็นบุตรคนกลาง ในจำนวนพี่น้อง 3 คน ของ นายแดง และ นางประยูร คำสิงห์ เหตุที่มีชื่อเล่นว่า "บาส" ก็เพราะต้องการให้คล้องกับชื่อเล่นของพี่ชายซึ่งเป็นนักมวยด้วยเหมือนกัน คือ สมรถ คำสิงห์ ที่มีชื่อว่า "บัส" เนื่องจาก คลอดบนรถโดยสาร ระหว่างเดินทางไปสถานีอนามัยอำเภอ

    นักมวยประวัติศาสตร์

    พ.ศ. 2538 สมรักษ์ได้เหรียญทองจากกีฬาซีเกมส์ที่เชียงใหม่ และผ่านการคัดเลือกไปแข่งกีฬาโอลิมปิกรอบสุดท้ายได้สมรักษ์โด่งดังถึงที่สุด

    พ.ศ. 2539 เมื่อสมรักษ์สามารถคว้าเหรียญทองจากโอลิมปิกมาได้ โดยชนะ เซราฟิม โทโดรอฟ จากบัลแกเรีย ด้วยคะแนน 8-5 เส้นทางสู่ทองประวัติศาสตร์เริ่มจากรอบแรกเอาชนะแดเนี่ยล เซต้า นักชกเปอร์โตริโก 13-2, รอบสอง ชนะฟิลิป เอ็นดู จากแอฟริกาใต้ 12-7, รอบสามหรือรอบก่อนรองชนะ รามาส พาเลียนี่ จากรัสเซีย 13-4 นั่นหมายถึงว่าได้เหรียญทองแดงคล้องคอไว้แล้ว และสมรักษ์ชนะ พาโบล ชาคอน จากอาร์เจนตินาไปได้ 20-8 และท้ายที่สุดเอาชนะ เซราฟิม โทโดรอฟ จากบัลแกเรียไปได้ ซึ่งก่อนการชกในรอบชิงชนะเลิศ

    สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารได้พระราชทานกระเช้าผลไม้มายังสมรักษ์และทีมงานพร้อมทั้งทรงอวยพรให้สมรักษ์ได้รับชัยชนะด้วย โดยการแข่งขันโอลิมปิคในครั้งนี้ สมรักษ์ ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า " Kamsing Somluck " โดยเจตนาให้มีนัยทางโชคด้วย (แต่ผู้บรรยายภาษาอังกฤษอ่านออกเสียงว่า คำซิง สมลุก)



    วันนี้ในอดีต / 4 สิงหาคม
    เหตุการณ์ในต่างประเทศ.




    วันนี้ในอดีต  4  สิงหาคม


    2432 : วันพระราชสมภพ สมเด็จพระราชินีอลิซาเบธ โบวส์-ลีออน หรือ ควีนมัม

    เอลิซาเบธ โบวส์-ลีออน ที่ต่อมาคือ สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ (เอลิซาเบธ แองเจลา มาร์เกอริต; 4 สิงหาคม พ.ศ. 2443 - 30 มีนาคม พ.ศ. 2545) ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีมเหสีในพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ พ.ศ. 2479 จนกระทั่งพระองค์เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2495

    หลังจากการเสด็จสวรรคตของพระสวามีได้ดำรงอิสริยยศเป็น สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระบรมราชชนนี (Queen Elizabeth, The Queen Mother) เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนกับพระธิดาองค์โตคือ สมเด็จพระบรมราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ก่อนการเสด็จขึ้นครองราชสมบัติของพระสวามีในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2466

    พ.ศ. 2479 ทรงดำรงอิสริยยศเป็นดัชเชสแห่งยอร์ค อีกทั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งไอร์แลนด์และจักรพรรดินีแห่งอินเดียพระองค์สุดท้ายอีกด้วย ประชาชนนิยมเรียกพระองค์ท่านว่า ควีนมัม

    เอลิซาเบธซึ่งเกิดในครอบครัวตระกูลผู้ดีชาวสก็อต ได้กลายมาเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงในปี พ.ศ. 2466 เมื่อเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับเจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ต ดยุคแห่งยอร์ค พระราชโอรสพระองค์ที่สองในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 และ สมเด็จพระราชินีแมรี ในฐานะที่เป็นดัชเชสแห่งยอร์ค พระองค์ พระสวามีและพระธิดาทั้งสองคือ เจ้าฟ้าหญิงเอลิซาเบธ และเจ้าฟ้าหญิงมาร์กาเร็ต ได้ทรงปฏิบัติตนตามแบบครอบครัวชนชั้นกลาง ดัชเชสได้ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจด้านสาธารณชนต่างๆ มากมายและเป็นที่รู้จักกันว่า "ดัชเชสผู้แย้มยิ้ม" อันเป็นผลมาจากการปรากฏองค์ต่อหน้าสาธารณชนอยู่เป็นประจำ

    ในปี พ.ศ. 2479 เอลิซาเบธได้ทรงกลายเป็นพระราชินีอย่างไม่คาดฝันเมื่อสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 พระเชษฐภรรดา (พี่สามี) ได้ทรงสละราชสมบัติอย่างกะทันหันเพื่อไปอภิเษกกับนางวอลลิส ซิมป์สัน แม่ม่ายชาวอเมริกันที่เคยหย่าร้างแล้วสองครั้ง ในฐานะสมเด็จพระราชินี พระองค์ได้โดยเสด็จพระราชสวามีไปในการเสด็จเยือนทางการทูตยังประเทศฝรั่งเศสและทวีปอเมริกาเหนือในช่วงก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในระหว่างสงครามด้วยความเข้มแข็งเด็ดเดี่ยวที่ไม่ย่อท้ออย่างเห็นได้ชัดทำให้เกิดแรงสนับสนุนทางจิตใจต่อสาธารณชนอังกฤษอย่างมากเท่ากับการสำเหนียกรู้ถึงภาระหน้าที่ในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการชวนเชื่อ ได้ทำให้อดอล์ฟ ฮิตเลอร์กล่าวถึงพระองค์ว่าเป็น "ผู้หญิงที่อันตรายที่สุดในยุโรป" หลังจากสงครามพระพลานามัยของพระสวามีได้อ่อนแอลงและทรงกลายเป็นม่ายเมื่อพระชนมายุ 51 พรรษา

    ในการเสด็จไปประทับยังต่างประเทศของพระเชษฐภรรดาและการเสวยราชสมบัติเป็นสมเด็จพระราชินีนาถของพระธิดาองค์โตตอนพระชนมายุ 26 พรรษาเมื่อสมเด็จพระราชินีแมรี่เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2496 พระองค์ได้ทรงเป็นเชื้อพระวงศ์ที่อาวุโสที่สุดและกลายเป็นหัวหน้าครอบครัว ในช่วงปลายพระชนม์ชีพก็ยังทรงเป็นสมาชิกในพระราชวงศ์อังกฤษที่มีชื่อเสียงอยู่อย่างต่อเนื่อง ขณะที่สมาชิกพระราชวงศ์องค์อื่นๆ ตกอยู่ในการเสื่อมความนิยมจากสาธาณชนมากขึ้น

    หลังจากการประชวรและการสิ้นพระชนม์ของเจ้าฟ้าหญิงมาร์กาเร็ต พระธิดาองค์เล็กเพียงไม่นาน พระพลานามัยของพระองค์ก็แย่ลงเรื่อยๆ และได้เสด็จสวรรคตในอีกหกสัปดาห์ให้หลัง ขณะมีพระชนมพรรษา 101 พรรษา







  5. #5
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ auddy228
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    ที่อยู่
    THAILAND
    กระทู้
    1,176
    บล็อก
    1

    สว่างใจ วันนี้ในอดีต 5 สิงหาคม

    วันนี้ในอดีต / 5 สิงหาคม
    เหตุการณ์ในประเทศไทย.




    วันนี้ในอดีต 5  สิงหาคม




    ? พ.ศ. 2430 (ค.ศ. 1887) ? ได้มีการสถาปนาโรงเรียนนายร้อย ซึ่งปัจจุบันคือ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

    โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เป็นนามที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาติ ขนานนามโรงเรียนนายร้อยทหารบก ในกระทรวงกลาโหมเป็น "โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า" เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 องค์พระผู้พระราชทานกำเนิดสถาบันการศึกษาแห่งนี้

    ต่อมาโรงเรียนนายร้อย พระจุลจอมเกล้า ณ ถนนราชดำเนินนอกอยู่ในสภาพแออัด ด้วยมีจำนวนนักเรียนนายร้อยเพิ่มขึ้น สถานที่ฝึกศึกษา เล่นกีฬา และสถานที่พักผ่อนไม่เพียงพอ ขาดสภาพสิ่งแวดล้อมสำหรับการเป็นโรงเรียนนายร้อยหลักของประเทศ ความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงมีพระราชดำริให้โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า มีสถานที่ตั้งแห่งใหม่ ณ บริเวณเขาชะโงก อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก โรงเรียนนายร้อยแห่งนี้ได้กระทำพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อ 5 สิงหาคม 2524 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพลตรีหญิงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขณะดำรงพระยศพันเอก ได้เสด็จฯ มากระทำพิธี

    30 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 ข้าราชการ ลูกจ้าง นักเรียนนายร้อย พร้อมด้วยศิษย์เก่า ได้พร้อมใจกันเดินเท้าออกจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าสถานที่ตั้งเดิมเข้าสู่สถานที่ตั้งแห่งใหม่ โดยมีพลตรีหญิงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานในการนำกำลังพลเข้าสู่สถานที่ตั้งแห่งใหม่ด้วยความเรียบร้อยพร้อมเพรียงกัน
    5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก ถือเป็นการเปิดโรงเรียนนายร้อยแห่งใหม่อย่างเป็นทางการ และได้ดำเนินการสอนมาจนถึงปัจจุบัน




    วันนี้ในอดีต / 5 สิงหาคม
    เหตุการณ์ในต่างประเทศ.




    วันนี้ในอดีต 5  สิงหาคม




    ? พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) ? มาริลิน มอนโร นักแสดงชาวอเมริกัน เสียชีวิตจากการรับประทานยานอนหลับเกินขนาด พบศพในบ้านที่ลอสแอนเจลิส


    มาริลิน มอนโร (Marilyn Monroe) ชื่อเดิม นอร์ม่า จีน เบเกอร์ (1 มิถุนายน พ.ศ. 2469 - 5 สิงหาคม พ.ศ. 2505) เป็นอดีตนักแสดง นักร้อง นางแบบชื่อดัง ชาวอเมริกัน

    มาริลิน มอนโร คำว่ามาริลีนมาจากชื่อของดาราละครเพลงยุค 20 คือ มาริลีน มิลเลอร์ ส่วนมอนโร มาจากนามสกุลเดิมของคุณยายของเธอ จีน นอร์แมน คือชื่อที่ มาริลีน ใช้ขณะเป็นนางแบบ

    มาริลิน มีมารดาเป็นโรคทางประสาท บิดาสาบสูญ เป็นเหตุให้ชีวิตช่วงวัยเด็กต้องอาศัยอยู่ตามสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า

    เมื่ออายุ 16 ปี จึงเริ่มอาชีพนางแบบ ต่อมาก็เริ่มแสดงภาพยนตร์ซึ่งล้มลุกคลุกคลานมาเรื่อย ภาพยนตร์เรื่อง Gentleman Prefer Blondes (1953) หนังทำเงินถล่มทลายส่งให้มาริลีนกลายเป็นดาราดังไปในทันที ในฉากที่เธอร้องเพลง Diamonds Are A Girls's Bestfriend ที่ถูกมาดอนน่าเลียนแบบในมิวสิกวิดีโอ Material Girl ก็นำมาจากภาพยนตร์เรื่องนี้






  6. #6
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ auddy228
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    ที่อยู่
    THAILAND
    กระทู้
    1,176
    บล็อก
    1

    สว่างใจ วันนี้ในอดีต 6 สิงหาคม

    วันนี้ในอดีต / 6 สิงหาคม
    เหตุการณ์ในประเทศไทย.



    วันนี้ในอดีต 6  สิงหาคม




    6 สิงหาคม พ.ศ. 2532

    - เกรียงไกร เตชะโม่ง คนงานไทยชาวลำปางขโมยเครื่องเพชรของ เจ้าชายไฟซาล บิน ฟาฮัด มูลค่าหลายร้อยล้านบาท กลับมาประเทศไทย
    กลายเป็นโศกนาฎกรรม " คดีเพชรซาอุ ฯ "


    เกรียงไกร เตชะโม่ง คนงานไทยชาวลำปางที่ทำงานอยู่ในพระราชวังของ กษัตริย์ไฟซาล (King Faisal) แห่งซาอุดิอารเบีย ขโมยเครื่องเพชรของ เจ้าชายไฟซาล บิน ฟาฮัด (Prince Faisal Bin Fahd Bin Abdul Aziz) มูลค่าหลายร้อยล้านบาท กลับมาประเทศไทย กลายเป็นโศกนาฎกรรม "คดีเพชรซาอุฯ" อันลือลั่น เมื่อทางการซาอุดิอารเบียแจ้งมายังรัฐบาลไทย ซึ่งในระยะแรกให้การปฏิเสธ จากนั้นก็ได้ตั้งคณะกรรมการสืบสวนโดยมอบหมายให้ พล.ต.ต. ชลอ เกิดเทศ เป็นหัวหน้า และสามารถจับกุมตัวนายเกรียงไกรได้ แต่ทางการไทยตัดสินใจไม่ส่งไปดำเนินการที่ซาอุฯ เนื่องจากเห็นว่ากฎหมายที่นั่นรุนแรงเกินไป ศาลได้พิพากษาตัดสินจำคุก คดีถึงที่สุดและปัจจุบันพ้นโทษแล้ว จากนั้นได้ส่งเพชรบางส่วนคืน แต่ปรากฏว่ามีบางส่วนเป็นของปลอม สร้างความไม่พอใจให้ราชวงศ์ซาอุดิอารเบียเป็นอย่างมาก รัฐบาลไทยต้องเจรจาทางการทูต นายเกรียงไกรได้สารภาพว่า ได้โจรกรรมเครื่องเพชรของเจ้าชายไฟซาลแล้วนำเข้ามาขายในประเทศไทย โดยขายให้ นายสันติ ศรีธนะขัณฑ์ เสี่ยเจ้าของร้านเพชร ซึ่งภายหลังถูกตำรวจในทีม พล.ต.ต. ชะลอข่มขู่คุกคาม ในที่สุดก็จับตัวภรรยาและลูกชายของนายสันติคือ นางดาราวดี และ ด.ช.เสรี ศรีธนะขัณฑ์ ไปกักขังเพื่อบังคับให้นายสันตินำเพชรส่วนที่เหลือมาคืน แต่กักขังไว้นานนับเดือนก็ยังไม่ได้เพชรที่ต้องการ ซ้ำตำรวจนายหนึ่งยังได้ข่มขืนภรรยาของนายสันติ จากนั้นทีมตำรวจชุดนี้จึงสังหารสองแม่ลูกแล้วอำพรางคดีให้เป็นอุบัติเหตุ จากนั้นทีมสอบสวนชุดใหม่ก็สืบพบว่าเป็นการ "อุ้มฆ่า" จึงจับกุมตัว พล.ต.ต. ชลอ และสมุนทั้ง 9 คน มาดำเนินการทางกฎหมาย ในที่สุดศาลอุทธรณ์ก็ได้พิพากษาให้ประหารชีวิต ส่วนเพชรอาถรรพ์ ?บลูไดมอนด์? ก็ยังไม่พบ คดีโจรกรรมเพชรซาอุฯ ครั้งนี้ได้ส่งผลสะเทือนต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับซาอุดิอารเบียมาจนถึงทุกวันนี้



    วันนี้ในอดีต / 6 สิงหาคม
    เหตุการณ์ในต่างประเทศ.




    วันนี้ในอดีต 6  สิงหาคม


    ? พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ? สงครามโลกครั้งที่สอง: สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่มนครฮิโระชิมะ จักรวรรดิญี่ปุ่น ทำให้มีผู้เสียชีวิตทันที 80,000 คน และเสียชีวิตตามมากอีกกว่า 100,000 คน


    ? การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่มฮิโระชิมะและนะงะซะกิ (อังกฤษ: The atomic bombings of Hiroshima and Nagasaki) เป็นการโจมตีจักรวรรดิญี่ปุ่นด้วยอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกา เมื่อปลายสงครามโลกครั้งที่สอง โดยคำสั่งของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา แฮรี่ เอส. ทรูแมน เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม และวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2488 หลังจากการโจมตีทิ้งระเบิดเพลิงตามเมืองต่างๆ 67 เมืองของญี่ปุ่นอย่างหนักหน่วงเป็นเวลาติดต่อกันถึง 6 เดือน สหรัฐอเมริกาจึงได้ทิ้ง "ระเบิดปรมาณู" หรือที่เรียกในปัจจุบันว่าระเบิดนิวเคลียร์ที่มีชื่อเล่นเรียกว่า "เด็กน้อย" หรือ "ลิตเติลบอย" ใส่เมืองฮิโรชิมาในวันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ตามด้วย "ชายอ้วน" หรือ "แฟทแมน" ลูกที่สองใส่เมืองนะงะซะกิโดยให้จุดระเบิดที่ระดับสูงเหนือเมืองเล็กน้อย นับเป็นระเบิดนิวเคลียร์เพียง 2 ลูกเท่านั้นที่นำมาใช้ในประวัติศาสตร์การทำสงคราม


    วันนี้ในอดีต 6  สิงหาคม



    ? การระเบิดทำให้มีคนตายที่ฮิโรชิมา 140,000 คนและที่นะงะซะกิ 80,000 คนโดยนับถึงปลายปี พ.ศ. 2488 จำนวนคนที่เสียชีวิตทันทีในวันที่ระเบิดลงมีจำนวนประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนที่กล่าวนี้ และในระยะต่อมาก็ยังมีผู้เสียชีวิตด้วยการบาดเจ็บหรือจากการรับกัมมันตภาพรังสีที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากการระเบิดอีกนับหมื่นคน ผู้เสียชีวิตเกือบทั้งหมดในทั้ง 2 เมืองเป็นพลเรือน
    ?
    ? หลังการทิ้งระเบิดลูกที่สองเป็นเวลา 6 วัน ญี่ปุ่นประกาศตกลงยอมแพ้สงครามต่อฝ่ายพันธมิตรเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2488 และลงนามในตราสารประกาศยอมแพ้สงครามมหาสมุทรแปซิฟิกที่นับเป็นการยุติสงครามโลกครั้งที่สอง อย่างเป็นทางการในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2488 (นาซีเยอรมนีลงนามตราสารประกาศยอมแพ้และยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรปอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2488) การทิ้งระเบิดทั้งสองลูกดังกล่าวมีส่วนทำให้ประเทศญี่ปุ่นต้องยอมรับหลักการ 3 ข้อว่าด้วยการห้ามมีอาวุธนิวเคลียร์



    วันนี้ในอดีต 6  สิงหาคม



    ? พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - สงครามอ่าวเปอร์เซีย: คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติสั่งการให้ทั่วโลกคว่ำบาตรทางการค้าต่อประเทศอิรัก เพื่อตอบโต้ในกรณีการรุกรานคูเวต

    สงครามอ่าวเปอร์เซีย หรือบางทีเรียกสั้น ๆ ว่า สงครามอ่าว (Gulf War) เป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศอิรัก และกองกำลังผสมจาก 34 ชาติใต้อาณัติของสหประชาชาติ นำโดยสหรัฐอเมริกา
    จุดเริ่มต้นของสงครามอยู่ที่การบุกรุกประเทศคูเวตของกองทัพอิรักในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2533 ซึ่งทำให้สหประชาชาติคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจกับอิรักในทันที หลังจากการเจรจาด้านการทูตหลายครั้ง สหประชาชาติจึงมีมติให้ใช้ปฏิบัติการทางทหารเพื่อขับไล่กองทัพอิรักออกจากประเทศคูเวต เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2534


    หลังจากปฏิบัติการทั้งทางอากาศและภาคพื้นดินช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ชัยชนะเป็นของกองกำลังผสม และวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ประธานาธิบดีจอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช แห่งสหรัฐอเมริกาได้ประกาศหยุดยิงและประกาศความเป็นอิสรภาพของคูเวต
    ?





  7. #7
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ auddy228
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    ที่อยู่
    THAILAND
    กระทู้
    1,176
    บล็อก
    1

    สว่างใจ วันนี้ในอดีต 7 สิงหาคม

    วันนี้ในอดีต / 7 สิงหาคม
    เหตุการณ์ในประเทศไทย.




    วันนี้ในอดีต  7  สิงหาคม



    ? 7 สิงหาคม พ.ศ. 2112 (ค.ศ. 1569) - การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1: กรุงศรีอยุธยาตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรพม่า หลังถูกโอบล้อมนาน 9 เดือน ภายใต้นำของพระเจ้าบุเรงนอง

    การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1

    ? กรุงศรีอยุธยาตกเป็นของพม่าครั้งที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2112 ในสมัยสมเด็จพระมหินทราธิราช สาเหตุของการเสียกรุงเนื่องมาจาก
    ? 1. เกิดความแตกสามัคคีกันระหว่างสมเด็จพระมหินทราธิราชกับพระมหาธรรมราชาเนื่องมาจากการยุยงของข้าศึก
    ? 2. ไทยขาดกำลังใจต่อสู้เนื่องจากสมเด็จพระมหาจักรวรรดิสวรรคตในขณะบัญชาการศึก
    ? 3. พระยาจักรีซึ่งเป็นแม่ทัพไทยเป็นไส้ศึกให้แก่พม่า
    ? 4. ไทยว่างเว้นการสงครามมานาน พอมีศัตรูมารุกรานก็ไม่สามารถปรับตัวได้ทัน
    ?
    เหตุการณ์ก่อนเสียกรุงครั้งที่ 1

    ? ก่อนที่จะเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 มีเหตุการณ์ลำดับได้ ดังนี้
    ? 1. ใน พ.ศ. 2091 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิขึ้นครองราชย์ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ กษัตริย์พม่าได้ยกทัพมารุกรานไทย แต่ไม่สำเร็จ และในสงครามครั้งนี้ไทยได้สูญเสียบุคคลสำคัญคือ สมเด็จพระศรีสุริโยทัยซึ่งเป็นพระมเหสีของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
    ? 2. ใน พ.ศ. 2106 พระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่า ต้องการจะมีอำนาจสูงสุดในภูมิภาคนี้ จึงหาเหตุมาขอช้างเผือก 2 เชือกจากช้างเผือก 7 เชือกที่พระมหาจักรพรรดิทรงจับได้ พระมหาจักรพรรดิไม่ยอมให้จึงเกิดการต่อสู้กัน ไทยเสียเปรียบจึงต้องยอมยกช้างเผือก 4 เชือก และต้องส่งพระราเมศวร พระยาจักรี และพระยาสุนทรสงครามไปเป็นตัวประกันที่เมืองพม่า
    ? 3. ใน พ.ศ. 2111 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงให้สมเด็จพระมหินทราธิราชซึ่งเป็นพระราชโอรสขึ้นครองราชสมบัติ และพระองค์เสด็จออกผนวช ต่อมาพระเจ้าบุเรงนองได้ยกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่เป็นเวลานาน แต่ตีเข้าไม่ได้ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ลาผนวชออกมาบัญชาการศึก และสิ้นพระชนม์ในระหว่างการรบ ทำให้คนไทยขาดขวัญและกำลังใจ
    ? 4. พม่าทำอุบายส่งตัวพระยาจักรีกลับคืน โดยให้เป็นไส้ศึกให้กับกองทัพพม่า ในที่สุดกรุงศรีอยุธยาจึงพ่ายแพ้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า ใน พ.ศ. 2112 ซึ่งเป็นการสูญเสียเอกราชของคนไทยเป็นครั้งแรก



    วันนี้ในอดีต  7  สิงหาคม

    พ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1920) - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ "พระบิดาแห่งกฎหมายไทย" สิ้นพระชนม์


    ? พระประวัติ

    ? พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (21 ตุลาคม พ.ศ. 2417 - 7 สิงหาคม พ.ศ. 2463) ทรงเป็นต้นราชสกุลรพีพัฒน์ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 14 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาตลับ เกตุทัต โดยทรงมีพระเชษฐภคินีคือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัจฉรพรรณีรัชกัญญา ทรงเป็นผู้วางรากฐานด้านกฎหมายในเมืองไทย จนได้รับพระสมัญญานามว่า "พระบิดาแห่งกฎหมายไทย"




    ? การศึกษา?

    พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ทรงเข้าศึกษาวิชาภาษาไทยครั้งแรกในสำนักพระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจารยางกูร) เมื่อทรงผ่านการศึกษาแล้วได้ ทรงเข้าศึกษาภาษาอังกฤษชั้นต้น ในสำนักครูราม สามิ และในปี พ.ศ. ๒๔๒๖ ได้ทรงเข้าศึกษา ภาษาไทยอยู่ในสำนักพระยาโอวาทวรกิจ (แก่น) เปรียญ ณ พระตำหนักสวนกุหลาบ ในปี พ.ศ. ๒๔๒๗ ได้ทรงผนวชเป็นสามเณรประทับอยู่วัดบวรนิเวศ เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๔๓๑ได้เสด็จไปประเทศอังกฤษ และทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนมัธยมอยู่ในกรุงลอนดอน ๓ ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วได้ทรงเลือกศึกษาวิชา กฎหมายต่อที่วิทยาลัยไครส์ตเชิช ในมหาวิทยาลัยออกฟอร์ด เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๓ เมื่อได้ทรงเข้าศึกษาในวิทยาลัย ไครส์ตเชิช แล้วได้ ทรงอุตสาหะเอาพระทัยใส่เป็นอย่างมาก ในที่สุดได้ ทรงสอบไล่ได้ตามหลักสูตรชั้นปริญญาเกียรตินิยม ในทางกฎหมายของมหาวิทยาลัยแห่งนั้นจึงเสด็จกลับกรุงเทพฯ
    ?
    ? พระราชกรณียกิจ

    ? ด้วยพระปรีชาสามารถอันเป็นอัจฉริยะประกอบกับพระวิริยะอุตสาหะ ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระองค์ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจ อันเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศไทยเป็นเอนกประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวงการกฎหมายไทย กล่าวคือทรงปรับปรุงศาลยุติธรรมสู่ระบบใหม่ทรงตรวจชำระสะสางกฎหมายทรงตั้งโรงเรียนกฎหมายเพื่อ เปิดการสอนกฎหมาย ครั้งแรกทรงรวบรวม และแต่งตำราคำอธิบายกฎหมายลักษณะต่างๆ มากมายทรงเป็นกรรมการตรวจตัดสิน ความฎีกาซึ่งทำหน้าที่ศาลสูงสุดของประเทศ ทรงตั้ง กองพิมพ์ลายมือขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๓ สำหรับตรวจ ลายพิมพ์นิ้วมือผู้ต้องหาในคดีอาญา อันเป็นจุดเริ่มต้น ของการพิสูจน์ลายมือที่กรมตำรวจ ในปัจจุบันนอกจาก นั้นในขณะดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิราช ทรงปรับปรุงกิจการกรมทะเบียนที่ดินให้เจริญก้าวหน้า เป็นอันมาก
    ?
    ? การรับราชการในตำแหน่งที่สำคัญ?

    เริ่มรับราชการในสำนักราชเลขานุการ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี
    ? - เป็นสภานายกในกองข้าหลวงพิเศษ เพื่อจัดการแก้ไขธรรมเนียมศาลยุติธรรมหัวเมืองทั้งปวง และสะสางคดีความทั่วราชอาณาจักร
    ? - เป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม
    ? - เป็นประธานกรรมการตรวจชำระกฎหมาย
    ? - เป็นกรรมการตรวจตัดสินความฎีกา
    ? - เป็นกรรมการตรวจตำแหน่งพนักงานในรัฐบาล
    ? - เป็นกรรมการตรวจร่างกฎหมายลักษณะอาญา
    ? - เป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ
    ?
    ? สิ้นพระชนม์

    ? ในปี พ.ศ. ๒๔๖๒ได้ทรงได้รับพระราชทานอนุญาติ ให้ลาพักราชการในตำแหน่งเสนบดีกระทรวงเกษตราธิราชเพื่อรักษาพระองค์ด้วย ทรงประชวรด้วยพระวัณโรคที่พระวักกะ และเสด็จไปรักษาพระองค์ ณ กรุงปารีส แต่อาการหาทุเลาไม่ ในที่สุดได้เสด็จสิ้นพระชนม์ ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๔๖๓ พระชนมายุได้ ๔๗ พรรษา
    ? พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงเป็นนักนิติศาสตร์ ผู้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริตอย่างยิ่งยวด ทรงถือว่าความซื่อสัตย์สุจริต เป็นสิ่งสำคัญสำหรับชีวิตมนุษย์ โดยเฉพาะสำหรับนักกฎหมาย และทรงจัดตั้งโรงเรียน กฎหมายและเป็นผู้สอนวิชากฎหมายด้วยพระองค์เอง เพื่อที่จะให้มีผู้รู้กฎหมายมากขึ้นทรงจัดวางระเบียบศาลยุติธรรมสู่ระบบใหม่ ทรงรวบรวมกฎหมาย และคำพิพากษา ฎีกาพร้อมแต่งตำราอธิบายกฎหมายต่าง ๆ มากมายการค้นคว้ารวบรวมและพระนิพนธ์ ได้เป็นรากฐานก่อตั้งการศึกษานิติศาสตร์ขึ้นในประเทศไทยอันเป็นประโยชน์ใหญ่ยิ่งแก่ประเทศชาติจึงทรงได้รับยกย่องให้เป็น "พระบิดาแห่งกฎหมายไทย" และเรียกวันที่ ๗ สิงหาคม อันเป็นคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์ทุกปีว่า "วันรพี"
    ?

    วันนี้ในอดีต  7  สิงหาคม


    ? พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) - วันเสียงปืนแตก: กองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทยของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ใช้อาวุธโจมตีกองกำลังของรัฐบาลเป็นครั้งแรก ณ บ้านนาบัว ตำบลโคกหินแฮ่ อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม
    วันเสียงปืนแตก คือวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2508 ซึ่งเป็นวันที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยใช้อาวุธโจมตีกองกำลังของรัฐบาลไทยเป็นครั้งแรก กองกำลังของพรรคได้เรียกตนเองว่า กองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย (ทปท.) เหตุเกิดที่ บ้านนาบัว ตำบลเรณูนคร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ทั้งนี้ได้ประกาศยุทธศาสตร์"ต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธ ใช้ชนบทล้อมเมือง และยึดเมือง" หลังจากวันเสียงปืนแตก พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยก็ต่อสู้ด้วยอาวุธกับกองกำลังของรัฐบาลไทยมาตลอด จนกระทั่งปี พ.ศ. 2525 มีการเจรจากับรัฐบาลไทย เลิกต่อสู้กันด้วยอาวุธ ให้มาต่อสู้กันทางรัฐสภาแทน


    วันนี้ในอดีต / 7 สิงหาคม
    เหตุการณ์ในต่างประเทศ.



    วันนี้ในอดีต  7  สิงหาคม



    7 สิงหาคม พ.ศ. 2419
    มาตา ฮารี (Mata Hari) นามจริงคือ มาร์กาเรเท เกอร์ทรูด เซลเล (Margaretha Geertruida (Grietje) Zelle) เป็นชาวเนเธอร์แลนด์โดยกำเนิด เกิดที่เมืองลีวาร์เดน (Leeuwarden) ในจังหวัดฟรีส์แลนด์ (Friesland) ในวันที่ 7 สิงหาคม ปี 1876 ถูกสืบสวนพบว่า เธอเป็นสายลับหรือจารชนให้กับทั้งฝ่ายมหาอำนาจกลางและ ในที่สุดก็ถูกตัดสินประหารชีวิตโดยการยิงเป้าเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2460 ขณะอายุ 41 ปี
    เมื่อครั้งเกิดสงครามโลกครั้งที่1 ในช่วงระหว่างปี ค.ศ.1914 ? 1918 ที่เป็นความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจยุโรปสองค่าย คือฝ่ายเยอรมันนี ออสเตรีย ฮังการี และอิตาลี กับอีกฝ่ายหนึ่งคืออังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย ซึ่งภายหลังรัสเซียถอนตัวไปแล้วสหรัฐอเมริกาเข้ามาแทนที่

    พ่อของเธอเป็นช่างทำหมวกและละทิ้งครอบครัวไปอยู่กับหญิงอื่น และแม่ของเธอก็เสียชีวิตหลังจากนั้นไม่นาน
    เมื่ออายุได้ 18 ปี มาร์กาเรท ตัดสินใจแต่งงานกับนายทหารเรือและย้ายถิ่นอาศัยตามสามีไปอยู่ที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ทั้งคู่มีลูกด้วยกันสองคน แต่ลูกของเธอก็เกิดป่วยและเสียชีวิตในเวลาต่อมา สามีของเธอเองก็มีข่าวรักเร้นกับพี่เลี้ยงของลูก มาร์กาเรทเองก็เริ่มป่วยเป็นไทฟอยด์
    ที่เกาะชวานี้เองที่เธอเริ่มศึกษาการร่ายรำศักดิ์สิทธิ์ของฮินดู จากเทวสถานที่นั่น แล้วค่อยๆ พัฒนาลีลาที่กลายมาเป็นแบบฉบับของตัวเอง เธอร่ายรำม้วนลำตัวแสดงความเป็นผู้หญิง คล้ายระบำหน้าท้อง เธอเคยอธิบายการร่ายรำของตัวเองว่า เป็น บทกวีอันศักดิ์สิทธิ์ ด้วยการเคลื่อนไหวแต่ละลีลาเป็นเสมือนคำที่ขีดเส้นใต้ไว้ด้วยดนตรี.....
    หลังจากสามีของเธอเกษียณอายุราชการในปี 1900 ครอบครัวของเธอทั้งหมดอพยพกลับมายังอัมสเตอร์ดัมในปี 1902 โดยสามีของเธอขอแยกทางกับเธอและกลายเป็นคนติดแอลกอฮอล์ ขณะที่มาร์กาเรท ตัดสินใจทิ้งลูกอีกคนของตัวเองไว้กับญาติของเธอแล้ว มุ่งหน้าสู่กรุงปารีสโดยไม่เคยหันหลังกลับไปมองอดีตของเธออีกเลย....
    เธอมาถึงกรุงปารีสและเข้าไปทำงานหลากหลายอาชีพไม่ว่าจะเป็นคณะละครสัตว์ เป็นนางแบบให้จิตรกรเขียนภาพ แต่ทั้งหมดรายได้ไม่พอเพียงให้กับเธอเลย
    เธอจึงตัดสินใจเดินทางกลับไปเนเธอร์แลนด์อีกครั้งหนึ่ง ในครั้งนี้เธอพบกับ Baron Henry de Marguerie บุรุษผู้ซึ่งทำให้ชีวิตของเธอเปลี่ยนไปทันที...ทั้งวิถีชีวิต อาชีพการงานและเงิน
    เธอเปลี่ยนชื่อตัวเองมาเป็น มาตา ฮารี ด้วยมีความหมายว่า แสงแห่งตะวัน และเธอก็เปลี่ยนประวัติชีวิตตัวเองว่ามีบิดาเป็นชาวชวาและมีแม่เป็นชาวดัชท์ การแสดงที่พิพิธภัณฑ์กุยเมต์ (Guimet Museum) ในวันที่ 13 เดือนมีนาคม ปี 1905 ส่งผลให้เธอโด่งดังชั่วข้ามคืน ด้วยลีลาการเต้นที่แสนยั่วยวน มีเสน่ห์ ลึกลับและน่าหลงใหล
    เธอกลายเป็นนางแบบที่ถูกถ่ายภาพลงหนังสือจนโด่งดังไปทั่วปารีส เธอกลายเป็นนักแสดงหญิงที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยเป็นศิลปินนักเต้นที่โด่งดังไปหลายประเทศในแถบยุโรป และมีความสัมพันธ์กับผู้ชายหลากหลายคน โดยเฉพาะเหล่าบรรดานายทหารระดับสูง ข้าราชการ นักการเมือง ไม่ว่าจะเป็นชาวฝรั่งเศส รัสเซียและเยอรมัน
    มาตาฮารี เริ่มต้นการเป็นสายลับด้วยการทำงานให้กับกองทัพเยอรมัน และต่อมา ในช่วงปี 1916 เธอไปตกหลุมรักนายทหารหนุ่มรัสเซีย เธอจึงเปลี่ยนข้างของการจงรักภักดีมาอยู่อีกฟากหนึ่งตามความลุ่มหลงของตัว เธอเริ่มต้นทำงานเป็นสายลับให้กับฝรั่งเศส ในขณะเดียวกัน เธอก็ไม่กล้าปฏิเสธงานจากฟากเยอรมัน ดังนั้น เธอจึงทำงานเป็นสายลับให้กับทั้งสองฟากฝ่าย....
    เธอเดินทางจากเนเธอร์แลนด์ไปยังสเปน และอังกฤษ และเธอหวังว่าเธอจะไปสิ้นสุดการเดินทางของตัวเองที่เบลเยี่ยมและเยอรมันนี แต่แล้วก็ไม่เป็นไปตามที่เธอหวัง ขณะที่เธอพักอยู่ที่อังกฤษ เธอถือหนังสือเดินทางชาวดัชท์ ที่นั่นเจ้าหน้าที่อังกฤษรู้สึกสับสนกับชื่อเต็มของเธอกระทั่งกลายเป็นเรื่องราว เธอถูกส่งตัวกลับมายังสเปน และนับแต่นั้นกองทัพเยอรมัน ก็เริ่มไม่ไว้วางใจเธอ กระทั่ง วันที่เธอเดินทางกลับมายังปารีสในวันที่ 13 เดือนกุมภาพันธ์ปี 1917 เธอจึงถูกจับที่นั่น...
    ในที่สุดมาตา ฮารีก็ถูกจบชีวิตด้วยการถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ปี 1917 เรื่องราวของเธอถูกเล่าขานหลากหลาย ทั้งมุมมองสวยงามที่เธอเป็นผู้หญิงคนหนึ่งที่กล้าหาญด้วยการใช้เรือนร่างเข้าแลกกับความลับของกองทัพต่างๆ ได้อย่างไม่มีใครสงสัย และ เธอเป็นนางนกสองหัวผู้ไม่เคยจงรักภักดีใครอย่างจริงใจ หวังเพียงเพื่อประโยชน์และความอยู่รอดของตัวเองเท่านั้น
    ก่อนเวลาประหารมีแม่ชีคนหนึ่งมาหาเธอ เธอกอดแม่ชีเหมือนจะยึดเป็นที่พึ่งสุดท้าย
    "ซิสเตอร์ ฉันไม่ได้ทำ ฉันไม่ได้ทำ ฉันกลัว ฉันกลัว" แม่ชีกอดปลอบเธอแล้วบอกว่า
    "เธอต้องไม่เป็นอะไร..เข้มแข็งไว้.."
    "ขอบคุณมาค่ะซิสเตอร์ ฉันไม่กลัว เพราะฉันไม่ได้ทำผิด"
    ผู้คุมนำเธอเดินออกไปที่ลานประหารและก่อนที่ผู้คุมจะปิดตาของเธอ เธอหันไปบอกเขาว่า "ขอบคุณมาก ฉันไม่ได้ทำผิด"
    และกระสุน 14 นัดก็พุ่งผ่านร่างปลิดชีพของเธอแทบจะไม่ได้ยินเสียงร้องออกจากปากของเธอ..เธอทรุดพร้อมกับลมหายใจเฮือกสุดท้ายกองเลือดท่วมตัวของเธอจบแล้วสำหรับนางรำที่มีชีวิตเต็มไปด้วยความเจ็บปวด... วาระสุดท้ายของเธอ...ผู้ชายที่เธอยอมทำทุกอย่างเทิดทูนและรักสุดหัวใจก็มิได้ปรากฏให้เห็นแม้แต่เงา หลายอย่างที่เธอรู้..หลายอย่างที่เธอเห็นที่ยังมิได้บอกใคร......ก็คงเป็นความลับที่เป็นปริศนาจนปัจจุบันนี้




    มาตา ฮารี......วันนี้ในอดีต  7  สิงหาคม.โลกนี้ยังคงจำชื่อของเธอไปอีกนาน....




    วันนี้ในอดีต  7  สิงหาคม



    [/COLOR][/SIZE][/B]
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย auddy228; 07-08-2009 at 21:27.

  8. #8
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ auddy228
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    ที่อยู่
    THAILAND
    กระทู้
    1,176
    บล็อก
    1

    สว่างใจ วันนี้ในอดีต 8 สิงหาคม

    วันนี้ในอดีต / 8 สิงหาคม
    เหตุการณ์ในต่างประเทศ.



    วันนี้ในอดีต  8  สิงหาคม



    ? พ.ศ. 2419 (ค.ศ. 1876) - โทมัส เอดิสันจดสิทธิบัตร เครื่องพิมพ์ปรุไข
    ? โทมัส อัลวา เอดิสัน (Thomas Alva Edison) เป็นนักประดิษฐ์และนักธุรกิจชาวอเมริกัน ผู้ซึ่งประดิษฐ์อุปกรณ์ที่สำคัญต่าง ๆ มากมาย ได้ฉายา "พ่อมดแห่งเมนโลพาร์ก" เป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มนำหลักการของ การผลิตจำนวนมาก และ กระบวนการประดิษฐ์ มาประยุกต์รวมกัน
    ? เอดิสัน เกิดเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1847 ที่เมืองมิลาน (Milan) รัฐโอไฮโอ เป็นลูกคนที่ 7 และคนสุดท้าย ของนายแซมมวล เอดิสัน (Samuel "The Iron Shovel" Edison, Jr.) และนางแนนซี แมทธิวส์ เอลเลียต (Nancy Matthews Elliott) ขณะที่เขาเกิด บิดาของเขามีอายุ 43 ปี และมารดาของเขามีอายุ 37 ปี


    ผลงาน
    -เป็นผู้ประดิษฐ์หลอดไฟฟ้า
    -เป็นผู้ประดิษฐ์หีบเสียง
    -เป็นผู้ประดิษฐ์จานเสียง
    -เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องบันทึกเสียง
    -เป็นผู้ประดิษฐ์กล้องถ่ายภาพยนตร์



    วันนี้ในอดีต  8  สิงหาคม



    ? พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) - การลุกฮือ 8888 ในพม่า และจากการลุกฮือดังกล่าว ทำให้อองซาน ซูจี เข้าสู่วงการเมืองพม่านับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
    การก่อการกำเริบ 8888 เป็นการปฏิวัติระดับชาติเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศพม่า เมื่อ ค.ศ. 1988 การก่อการกำเริบนี้เริ่มขึ้นในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1988 และจากวันที่นี้ (8-8-88) ทำให้เหตุการณ์นี้มักเป็นที่รู้จักในชื่อ "การก่อการกำเริบ 8888"
    ออง ซาน ซูจี เกิดเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2488 เธอมีอายุเพียงสองขวบเมื่อบิดาคือนายพล ออง ซาน ถูกลอบสังหาร บิดา คือ นายพลอองซาน ที่ชาวพม่ายกย่องว่าเป็น ?วีรบุรุษเพื่ออิสรภาพของประเทศพม่า? ถูกลอบสังหารเมื่อ วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 บทบาทของนายพลอองซานในการนำการต่อสู้กับญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักรที่เข้ามายึดครองพม่า ทำให้สหภาพพม่าได้รับอิสรภาพเป็นรัฐเอกราชเมื่อ วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2491





  9. #9
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ auddy228
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    ที่อยู่
    THAILAND
    กระทู้
    1,176
    บล็อก
    1

    วันนี้ในอดีต 9 สิงหาคม

    วันนี้ในอดีต / 9 สิงหาคม
    เหตุการณ์ในประเทศไทย.


    9 สิงหาคม2498
    แยกการรถไฟเป็นองค์การอิสระ เป็นรัฐวิสาหกิจ เพื่อความคล่องตัวในการบริหาร สนับสนุนเศรษฐกิจและการทหารในยามสงคราม



    9 สิงหาคม2514
    เริ่มกิจการ "ลูกเสือชาวบ้าน"
    ลูกเสือชาวบ้าน เป็นกลุ่มของชาวบ้าน ที่มาทำประโยชน์ให้แก่สังคม ผ่านทางกิจการลูกเสือ โดยที่มีการทำงานหรือการเข้าค่ายต่างๆ คล้ายกับลูกเสือที่มีการเรียนการสอนตามโรงเรียนทั่วๆไปนั่นเอง เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2512 โดยตำรวจตระเวนชายแดน ได้ฝึกสอนให้ชาวบ้านรู้จักดูแลความปลอดภัยในหมู่บ้าน การป้องกันจนเอง ตลอดจนการสอดแนมรักษาความปลอดภัยตามแนวชายแดนเป็นอันดับต้น (เพื่อป้องกันการคุกคามของพรรคคอมมินิสต์แห่งประเทศไทย) โดยการฝึกได้นำเอาหลักในการฝึกวิชาลูกเสือมาเป็นแนวทางปฏิบัติ ภายหลังได้รับการขยายไปสู่ทั่วทุกภูมิภาคและทุกจังหวัดของพื้นที่ประเทศไทย เนื่องจากเป็นองค์กรที่สามารถเสริมสร้างให้ประชาชนได้มีความผูกพัน เสริมสร้างความรักความสามัคคีในหมู่คณะได้เป็นอย่างดี จึงเป็นเหตุให้มีผู้ใช้ชื่อของลูกเลือชาวบ้านเข้าไปร่วมในการเคลื่อนไหวทางสังคมอยู่บ่อยครั้ง เฃน กรณีของเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 หรือกรณี 6 ตุลาคม 2519 เป็นต้น


    วันนี้ในอดีต / 9 สิงหาคม
    เหตุการณ์ในต่างประเทศ.

    ? พ.ศ. 1716 (ค.ศ. 1173) - การก่อสร้างหอเอนเมืองปิซาเริ่มต้นขึ้น
    ? หอเอนเมืองปิซา (อิตาลี: Torre pendente di Pisa หรือ La Torre di Pisa, อังกฤษ: Leaning Tower of Pisa) ตั้งอยู่ที่เมืองปิซา ในจัตุรัสเปียซซา เดล ดูโอโม (Piazza Del Duomo) หอระฆังของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เป็นหอทรงกระบอก 8 ชั้น สร้างด้วยหินอ่อนสีขาว สูง 183.3 ฟุต (55.86 เมตร) น้ำหนักรวม 14,500 ตันโดยประมาณ มีบันได 293 ขั้น เอียง 3.97 องศา ยอดของหอห่างจากแนวตั้งฉาก 3.9 เมตร
    ? เริ่มสร้างเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ.1173 แต่การก่อสร้างหยุดชะงักเมื่อสร้างไปได้ถึงชั้น 3 เนื่องจากพื้นใต้ดินเป็นพื้นดินที่นิ่ม ทำให้ยุบตัว ต่อมาในปี ค.ศ.1272 โดย Giovanni di Simone สร้างให้เอนกลับไปอีกด้านหนึ่งเพื่อให้สมดุล แต่การก่อสร้างในครั้งนี้ ก็ต้องหยุดชะงักลงอีกครั้งเนื่องจากเกิดสงคราม ต่อมาก็มีการสร้างหอต่อขึ้นอีกและสร้างเสร็จ 7 ชั้น ในปี ค.ศ.1319 แต่หอระฆังถูกสร้างเสร็จในปี ค.ศ.1372 โดยใช้เวลาสร้างทั้งหมด 177 ปี
    ? หลังจากนั้น ในปี ค.ศ. 1990-2001 หอเอนปีซาได้รับการปรับปรุงฐานให้แข็งแรงยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้หอล้มลงมา

    9 สิงหาคม พ.ศ. 2517
    ริชาร์ด นิกสัน (Richard Milhous Nixon) เป็นประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกาที่ลาออกจากตำแหน่ง ก่อนที่สภาจะลงมติถอดถอน (Impeachment) เนื่องจากเขามีส่วนเกี่ยวข้องใน "คดีวอเตอร์เกต" (Watergate scandal) ซึ่งเขามีส่วนพัวพันในการดักฟังและขโมยเอกสารลับของพรรคเดโมแครต ในอาคารวอเตอร์เกต กรุงวอชิงตัน นิกสันเป็นประธานาธิบดีคนที่ 37 ของสหรัฐอเมริกา สังกัดพรรครีพับลิกัน (Republican Party) ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2512 ได้เป็นประธานาธิบดีถึง 2 สมัย ในช่วง สงครามเย็น (Cold War) เขาเป็นผู้ใช้วิธีทางการทูตเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดในช่วงสงครามเย็นโดยการเดินทางไปสร้างความสัมพันธ์กับสหภาพโซเวียตและจีน เขาเป็นผู้สั่งถอนกองทัพอเมริกันจากสงครามเวียดนาม หลังจากถูกนักศึกษาและประชาชนชาวอเมริกันเดินขบวนประท้วง นิกสันเป็นประธานาธิบดีคนแรกและคนเดียวที่ลาออกจากตำแหน่ง หลังจากนั้นในบั้นปลายชีวิตเขาพยายามกอบกู้ชื่อเสียงกลับคืนมา ด้วยการออกไปสร้างสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •