ประเพณีนิยมถือความลดหลั่นกันในทาง ชาติวุฒิ คุณวุฒิ และวัยวุฒิ ซึ่งแสดงว่าเป็นชาติที่มีความรู้สิกนึกคิดประณีต แสดงออกให้เห็นทางความประพฤติทั้งกายวาจาและใจ วาจาไพเราะหรือที่เรียกเป็นศัพท์ว่า ปิจะวาจานั้น ได้แก่ถ้อยคำที่เว้นจากวจีทุจริต วาจาไพเราะเป็นคุณสมบัติสำคัญในการพูด เพื่อความสงบสำเร็จประโยชน์ตนประโยชน์ท่านและย่อมยึดเหนี่ยวใจของผู้ฟังได้ให้เกิดความนิยมรักใคร่นับถือผู้พูดมารดาบิดาเจรจากับบุตรด้วยถ้อยคำอ่อนหวาน คำนั้นย่อมจับใจของบุตรธิดา ทำให้เกิดความรักใคร่นับถือและกตัญญูต่อบิดามารดายิ่งขึ้น บุตรธิดารู้จักพูด มารดาบิดาย่อมรักเอ็นดูมากขึ้น

ผู้มีมารยาทจะต้องระมัดระวังในการใช้วาจา คือ

1. ต้องระวังมิใช้วาจาเท็จ อันเป็นเหตุให้คนทั้งหลายคลายความเชื่อถือ เพราะความเท็จนั้นจะปรากฏขึ้นมิวันใดก็วันหนึ่ง ถ้ามีผู้จำได้ก็จะเห็นไปว่ากิริยาวาจาที่บุคคลพูดเท็จอย่างสุภาพเรียบร้อยนั้นเป็นเสมือน เปลือกที่หุ้มห่อร่างกายอยู่ภายนอก แต่ภายในไม่มีอะไรดีเลย เหมือนกับต้นกล้วยเรียบร้อยข้างนอก แต่ภายในไม่มีแก่น

2. ไม่ใช้วาจายุยงส่อเสียดให้ผู้อื่นแตกร้าว หรือระหองระแหงกัน ควรหลีกเสียอย่างเด็ดขาด การสนทนาที่ดีย่อมไม่กล่าวถึงใครในแง่ร้าย ให้กล่าวถึงเรื่องที่ไม่พาดถึงบุคคลในทางที่จะทำให้เขาเสียหาย ควรพูดนทนาในทาที่จะเกิดความรู้

3. ไม่กล่าววาจาหยาบคายเสียดสีดูถูก หรือขัดคอผู้อื่น จะทำให้ขัดเคืองกันและเป็นการน่าละอายสำหรับผู้ที่แสดงวาจาเช่นนั้นออกมา เพราะจะทำให้ผู้ได้ยอนได้ฟังรู้ไปถึงว่าผู้พูดมีการอบรมมาอย่างไร

4. ต้องพยายามใช้คำพูดที่เหมาะสมที่ควรและถูกหูผู้ที่เราพูดด้วย การพูดวาจาไพเราะย่อมเป็นที่นิยมชมชอบแก่ผู้ได้ยินได้ฟังมาก และยังให้ประโยชน์แก่ตนเองให้เป็นที่นับถือ
ของคนทั้งหลาย ถ้าเข้าใจพูดอาจยังผู้น้อยให้มีแก่ใจทำกิจการด้วยความจงรักภักดี

5. ย่อมไม่พูดเสียงดังจนเกินไป หรือพูดพลางหัวเราะพลางในกลุ่มคนที่ตนร่วมสนทนาด้วย จะทำให้ผู้พูดเสียบุคลิกลักษณะของสุภาพชน

6. คู่สนทนาที่ดีนั้นมิใช่จะเป็นผู้พูดอย่างเดียว หรือฟังอย่างเดียว จะต้องปฏิบัติให้พอดี คือรู้จักพูดให้ผู้ฟังพอใจและเป็นนักฟังที่สนใจ

7. สุภาพสตรีย่อมมีความสำรวมกายอยู่เป็นนิจ ไม่ส่งเสียอื้ออึง ไม่ทำสนิทหรือหยอกล้อกับบุรุษในที่ลับและที่เปิดเผย ไม่พูดจาหยาบคาย ไม่หัวเราะส่งเสียงดัง พูดดังเกินงามจนเป็นจุดเด่นให้คนอื่นหันมาจ้องมอง

การใช้วาจาที่สุภาพแบบไทย