ประวัติความเป็นมา1

มหากาพย์ “รามายณะ” เป็นที่นิยมแพร่หลายในดินแดนต่าง ๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นยอดแห่งวรรณคดีเรื่องหนึ่งที่มีต้นกำเนิดมาจากวัฒนธรรมอินเดีย เนื่องมาจากความแพร่หลายของรามายณะ ผู้คนจึงพัฒนา “เครื่องมือ” ที่ใช้ในการสื่อความหมายหรือเผยแพร่มหากาพย์อันศักดิ์สิทธิ์นี้ให้กว้างขวาง
หนังตะลุงและมหากาพย์รามายณะนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ไม่เพียงแต่ทั้งคู่ต่างก็เป็นงานทางศิลปะที่เป็นผลผลิตทางวัฒนธรรมอินเดียเท่านั้น หากยังมีความเกี่ยวเนื่องกันในลักษณะที่ว่า การแสดงหนังตะลุงหรือหนังเงาเป็นเครื่องมือในการสื่อสารหรือบอกเล่าเนื้อหาของมหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่แพร่หลายแก่คนทั่วไป เพราะในอดีตนั้นความรู้เกี่ยวกับการอ่านการเขียนนั้นจำกัดอยู่แต่เฉพาะในราชสำนักและเมืองหลวงเป็นส่วนใหญ่ การแสดงหนังตะลุงที่มักจะแสดงเรื่อง “รามายณะ” เป็นหลัก จึงเป็นการเผยแพร่ ตีความหมายให้ความรู้ที่แฝงไว้ด้วยคติธรรมทางศาสนา และคติทางโลกรวมทั้งความบันเทิงแก่ผู้ชมในระดับกว้างได้เป็นอย่างดี
หนังตะลุงและมหากาพย์รามายณะ ถูกเผยแพร่และกระจายมายังแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ในราวต้นปีทางคริสตศักราช

หนังตะลุงในประเทศไทย
หนังตะลุงหรือหนังเงาของไทย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามขนาดและลักษณะการแสดงเป็นเกณฑ์ ได้แก่ หนังตะลุงและหนังใหญ่ โดยหนังทั้งสองประเภทมีลักษณะสำคัญที่แตกต่างกัน คือ ตัวหนังตะลุงมีขนาดเล็กกว่าหนังใหญ่ และเป็นที่นิยมแพร่หลายไปตามหัวเมืองต่าง ๆ มากกว่า แต่การแสดงทั้งสองอย่างก็เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมอินเดียที่แพร่กระจายมายังดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และยังพบว่าเรื่องมหากาพย์รามายณะหรือรามเกียรติ์เป็นเรื่องที่นิยมในการแสดงอย่างแพร่หลาย
หนังตะลุงของไทยเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในทุกภูมิภาคของไทย แต่เชื่อกันว่าเริ่มต้นพัฒนามาจากหัวเมืองทางใต้ แต่เมื่อหนังตะลุงกลายเป็นศิลปการแสดงประจำถิ่นของแต่ละภาค ที่มีการปรับปรุงและดัดแปลงอย่างมากเพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะของแต่ละท้องถิ่นนั้น:l-

หนังตะลุงภาคอีสาน
มีลักษณะเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองและกลายมาเป็นมหรสพประจำถิ่น
หนังตะลุงในภาคอีสาน มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันไปหลายชื่อ2 เช่น
1. หนังปราโมทัย สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า “ปราโมทย์” ซึ่งหมายถึง ความบันเทิงใจ ความปลื้มใจ
2. หนังปะโมทัย คำว่า ปะโมทัย มีผู้ให้ความเห็นว่า อาจจะเป็นชื่อคณะหนังตะลุงที่มีชื่อเสียงก็ได้
3. หนังบักตื้อ คำว่า บักตื้อ หรือ ปลัดตื้อ เป็นชื่อรูปตลกที่สำคัญรูปหนึ่ง ซึ่งจะเป็นรูปที่ออกมาประกาศเรื่องที่จะแสดงในคืนนั้น ๆ ให้ผู้ชมทราบ
4. หนังบักป่องบักแก้ว นำมาจากชื่อตัวตลก คือ บักป่อง บักแก้ว
จากการศึกษารวบรวมของนักวิชาการ พบว่า การแพร่กระจายของหนังตะลุงภาคใต้มายังภาคอีสาน เป็นเรื่องของการติดต่อทางวัฒนธรรมระหว่างชาวบ้านต่อชาวบ้านล้วน ๆ จากการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ของตนเองทั้งจากภาคใต้และภาคกลาง และผ่านการปรับเปลี่ยนจนเป็นที่ยอมรับของคนในพื้นที่ โดยคำว่าหนังประโมทัยนั้น คือการนำหมอลำกับหนังตะลุงมารวมกัน หรือ หนังประโมทัยก็เหมือนกับหมอลำ เพียงแต่เอารูปหนังมาเชิดแทน เพื่อให้สอดคล้องและกลมกลืนกับค่านิยมและบรรทัดฐานของสังคมอีสาน
จากงานเขียนของ มิลเลอร์ และ เจริญชัย ชนะไพโรจน์ ได้กล่าวว่า อุบลราชธานี เป็นศูนย์กลางแห่งแรกของหนังประโมทัย มีคณะหนังที่เก่าแก่ที่สุดคือ คณะฟ้าบ้านทุ่ง ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2469 ปาง สะดุน ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะหนังประโมทัยคณะหนึ่งในอุบลราชธานี กล่าวว่า หนังประโมทัย ใน จ.อุบลราชธานี ได้รับความนิยมมากในระหว่าง พ.ศ. 2469-2472 หลังจากปี 2472 ความนิยมเริ่มลดลง เพราะมีลิเกจากภาคกลางเข้ามาแสดงในภาคอีสาน หนังประโมทัยกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ร่วมกันอนุรักษ์ครับพี่น้องอย่าให้หายไปจากอีสานบ้านเฮ้า เด็กน้อยรุ่นหลังบ่อฮู้จักหนังบักตื้อจั๊กคน

<img src="http://www.cvpic.com/uploads/eb17d2beb9e2d3c1e548fad9253b9d11.jpg">

บักแอว หรือ สีสะแอว รูปร่างค่อนข้างเล็ก จมูกแหลม คางสั้น ชอบส่ายเอวอยู่เสมอ จะสวมกางเกงขาสั้น สวมเสื้อกล้าม เอาเข้าข้างในกางเกง นิสัยเอาจริงเอาจัง มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ซื่อสัตย์ จะทำอะไรมักไตร่ตรองเป็นอย่างดีเสียก่อน

<img src="http://www.cvpic.com/uploads/b9da510be063eca2235cfcf6b7fc69f9.jpg">

ปลัดตื้อ ตัวตลกที่มีรูปร่างลักษณะ ก้นงอน พุงยื่น จมูกโด่ง ปากยื่น ถือขวานเป็นอาวุธ สวมเสื้อคอกลมแขนสั้น ใส่กางเกงขายาว สวมรองเท้าหุ้มส้น เป็นคนอารมณ์ดี หัวเราะอยู่เสมอ ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ทำหน้าเที่เป็นพัศดีเรือนจำเป็นทหารของฝ่ายพระราม

ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.lib.ubu.ac.th/localinform.../pramothai.pdf