ดาวเทียมที่โคจรอยู่รอบๆ โลกเรานี้มีมากมายหลายประเภท และในแต่ละประเภทก็มีมากมากหลายร้อยดวง ดาวเทียมที่เราจะพูดถึง ก็คือดาวเทียมสื่อสาร

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับดาวเทียม

ดาวเทียมสื่อสารจะถูกยิงขึ้นไปเหนือเส้นศูนย์สูตร และส่งเข้าสู่วงโคจรในระดับความสูงที่เรียกว่า Clarke Orbit หรือตำแหน่งดาวเทียมค้างฟ้า โดยจะมีความสูงจากพื้นโลกโดยประมาณ 36,000 - 38,000 กิโลเมตร ในตำแหน่งนี้เองจะทำให้ดาวเทียมลอยค้างฟ้าอยู่ได้ และดาวเทียมจะโคจรไปพร้อมๆ กันกับโลก ด้วยแรงดึงดูดของโลกและแรงดึงดูดจากนอกโลก ถ้าเปรียบเทียบกับการมองไปจากพื้นโลกก็เปรียบเสมือนกับว่าดาวเทียมที่ลอยอยู่บนท้องฟ้านั้นลอยอยู่กับที่

ดาวเทียมสื่อสารทุกดวง จะโคจรอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร แต่จะอยู่ตรงไหนของเส้นศูนย์สูตรนั้น ก็แล้วแต่ตำแหน่งของดาวเทียมแต่ละดวง โดยตำแหน่งของดาวเทียมแต่และดวงนั้นจะกำหนดตามตำแหน่งของเส้นลองติจูด หรือเส้นแวง ยกตัวอย่างเช่น ดาวเทียมไทยคม 2 อยู่ที่ตำแหน่ง 78.5 องศาตะวันออก นั่นก็หมายความว่า ดาวเทียมไทยคม 2 ลอยอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ที่ตำแหน่งลองติจูดที่ 78.5 องศาตะวันออก นั่นเอง

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับดาวเทียม

ซึ่งถ้าเรามองจากแผนที่ เราจะพบว่าดาวเทียมไทยคมลอยอยู่เหนือมหาสมุทรอินเดีย บริเวณใต้ประเทศศรีลังกา และถ้าเรามองจากประเทศไทย ดาวเทียมไทยคมก็จะอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เราจึงพบว่าในพื้นที่ประเทศไทย จานดาวเทียมที่รับสัญญาณจากดาวเทียมไทยคมทุกใบจะหันหน้าจานไปทางทิสตะวันตกเฉียงใต้เสมอ แต่จะเงยขึ้นฟ้ามากหรือน้อยนั้นก็ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ของประเทศ โดยในพื้นที่ภาคใต้ หน้าจานจะเงยขึ้นมากกว่าพื้นที่ภาคเหนือ เนื่องจากพื้นที่ภาคใต้อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรมากกว่าภาคเหนือนั่นเอง