หน้าที่ 3 จากทั้งหมด 3 หน้า หน้าแรกหน้าแรก 123
กำลังแสดงผล 21 ถึง 27 จากทั้งหมด 27

หัวข้อ: รวม พืชผักต่างๆ ที่คุ้นเคยครับ

  1. #21
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197
    เห็นผักอีเลิศ เป็นตาแกงอ่อมน้อ

    อ้อ บักแข้งอีก แกงเผ็ดเนื้อ ใสบักแข้ง โอ้ยสุดยอด
    ทอดปลากุเลาเค้ม ด้วย ยิ่งแซบ

    ว่าแล้วน้ำลายชักไหลแล้ว อยากกินแล้วเน๊าะ
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #22
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ กำลังใจ
    วันที่สมัคร
    Mar 2007
    กระทู้
    1,529
    บล็อก
    1
    ผักบางอย่างก็ไม่รู้จักจ้า

  3. #23
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ ๛หนุ่มบ้านไกล๛
    วันที่สมัคร
    Apr 2009
    กระทู้
    764
    บล็อก
    8
    ฮู้จัก เกือบหมด คับ แต่ว่า บ่คุ้น ผักนี้เลย



    บ่รู้ว่ามันคือผักอีหยัง อาจสิเคยเห็นแต่ว่าเอิ้นบ่คือกัน

  4. #24
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ GROOPPY
    วันที่สมัคร
    Nov 2009
    ที่อยู่
    Loei Thailand
    กระทู้
    663

    พบปะพูดคุย

    กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ ๛หนุ่มบ้านไกล๛
    ฮู้จัก เกือบหมด คับ แต่ว่า บ่คุ้น ผักนี้เลย



    บ่รู้ว่ามันคือผักอีหยัง อาจสิเคยเห็นแต่ว่าเอิ้นบ่คือกัน

    นี่ละครับใบเป้าครับ ของแท้แน่นอน บ่แม่นผักดอกครับ 555 เอาไว้ย่างคนรถล้ม เอาใบมาห่อข้าวหย่ำอิแม่ไปหมก ห๊อมหอม อิอิอิ :l-

  5. #25
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ konudorn
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    udorn
    กระทู้
    99
    อันนี่แหม่นดอกมันปลาบ่ครับท่านห้วยสีทน



  6. #26
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ konudorn
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    udorn
    กระทู้
    99
    เพิ่มเติมครับ
    ต้นกันเกรา (มันปลา)
    มันปลา ภาคกลางเรียกว่า กันเกรา ในภาคอื่น ๆ ของประเทศไทย อาจเรียกแตกต่างกันไป ภาคอีสานและภาคเหนือ เรียก มันปลา
    ชื่อวิทยาศาสตร์ Fagraea fragrans Roxb.
    วงศ์ Loganiacaca
    ชื่อสามัญ Anan
    ต้นมันปลาเป็นไม้ดอกขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งที่ดอกหอมทนนาน ในข่วง
    ปลายฤดูร้อนที่แสนร้อนระอุของดอนแดนอีสานถึงต้นฤดูฝน หรือประมาณปลายเดือนเมษายน ต้นเดือนมิถุนายน พื้นที่ใดเป็นดงมันปลาในช่วงเวลาดังกล่าวจะหอมตลบอบอวน ผสมผสานกับเสียงหึ่งของหมู่ผึ้ง ผีเสื้อต้นฤดูฝนและแมลงต่าง ๆ น่าดูน่าชมยิ่งนัก
    ที่เรียกว่า มันปลา ได้รับการเล่าขานสืบต่อกันมาจากผู้เฒ่าผู้แก่ว่า ไม้มันปลามีเนื้อไม้แข็งและเหนียว สีเหลืองปนขาวคล้ายไม้สัก มีน้ำมันหล่อเลี้ยงเนื้อไม้คล้ายทาด้วยน้ำมันจากปลา ในปลาเป็นไม้ขนากกลางสูง 20-25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลเข้มแตกเป็นร่องลึกเนื้อเปลือกนอกเป็นเส้นเล็ก ๆ แข็งผสมกับเนื้อเปลือกสีเหลืองอ่อน ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามรูปรีกว้างประมาณ 2.5-3.5 ซม. ยาวประมาณ 8-11 ซม. โคนและปลายใบแหลม ใบหนาช่อคล้ายดอกเข็ม กลีบดอก 5 กลีบ เชื่อมกันคล้ายรูปแจกัน บานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-2 ซม. เกสรตัวผู้ 5 อัน ออกจากกลางดอก ดอกจะทยอยร่วงจนหมดช่อดอกปลายกิ่งเป็นช่อ 15-20 วัน พร้อมกับมีผลเล็ก ๆสีเขียวแทนดอกสีเหลืองที่หลุดร่วงไป ผลแก่จะเป็นสีเขียวคล้ำ สีส้มและแดงเลือดนกเมื่อสุก ส่วนเมล็ดอ่อนไม่มีเปลือกหุ้ม มีอัตราการงอกน้อยมากจึงแพร่พันธุ์ได้ยากมาก เราจึงมักจะไม่ค่อยเห็นป่ามันปลาเป็นกลุ่มล้วนๆ เหมือนกับไม้บางชนิดที่เมล็ดมีอัตราการงอกสูง
    ไม้มันปลาเป็นไม้ที่พบได้ในป่าภาคอีสานและภาคเหนือโดยทั่วไป เป็นไม้เนื้อแข็งเนื้อเรียบและละเอียดทนแดดทนฝนและทนน้ำ ชาวบ้านนิยมให้ทำเสารั้วเสาบ้านหรือ เสาเถียงนาเสาต้อน (ที่ดักปลา) หรือการก่อสร้างที่ต้องตากแดดตากฝนหรือฝังลงดิน เพราะไม่มันปลามีน้ำมันหล่อเลี้ยง ปลวกไม่เจาะมอดไม่ไม่กินและผุง่าย นอกจากนั้นชาวอีสานยังถือว่าไม้มันปลาเป็นไม้มงคล จึงนิยมใช้แกะสลักพระพุทธรูปไม้และทำเครื่องรางของขลังอื่น รวมทั้งก่อสร้างสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ปัจจุบันมีผู้นิยมนำไม้มันปลาไปแกะสลักพระเครื่องไม้ เมื่อแกเออกมาแล้วจะมีและลายเหมือนงาช้าง ชาวอีสานเชื่อว่าต้นมันปลาเป็นต้นไม้ที่สำคัญ ที่สักกล่าวถึงในพระเวสสันดรชาดก ในงานบุญผะเหวดหรือบุญมหาชาติ จึงนิยมไปเทศน์ผะเหวด และอัญเชิญพระเวสสันดรกลับเมือง ที่ ณ บริเวณป่าที่มีต้นมันปลากำลังออกดอกเต็มต้น หอมตลบอบอวนและถือโดกาสเหน็บดอกมันปลาแห่พระเวสสันดรกลับเข้าเมือง (วัด) แล้วนำดอกมันปลาไปบูชาไว้ที่หอพระพุทธรูปในวัด ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นพระพุทธรูปไม้มันปลา
    ไม้มันปลาเป็นไม้มงคลอีกชนิดหนึ่งที่ชาวอีสานใกล้จะเหลือไว้ให้ลูกหลาน ได้พบเห็นในวัด ในดอนเจ้าปู่หรือตามหัวไร่ปลายนาแต่ไม่นอยมปลูกในบริเวณ
    ต้นกันราหรือต้นมันปลานี้ยังให้ประโยชน์ทางสมุนไพรอีกด้วย โดยในตำรายาโบราณ กล่าวว่า แก่น มีรสมัน เฝื่อน ฝาด ขม บำรุงไขมันร่างกาย บำรุงธาตุเป็นยาอายุวัฒนะแพทย์ชนบทบางจังหวัดใช้ไข้จับสั่น แก้หืด ไอ ริดสีดวง ท้องมาน ลงท้อง มูกเลือด แน่นอก บำรุงม้าม แก้เลือด พิษ และขับลม
    ปัจจุบันต้นกันเกราหรือต้นมันปลาเป็นต้นไม้และดอกไม้ประจำจังหวัดนครพนม โดย นายสุจริต ปัจฉิมนันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมเป็นผู้ริเริ่ม
    ไม้มันปลาเป็นไม้มงคลอีกชนิดหนึ่งที่ชาวอีสานมักจะเหลือไว้ให้ลูกหลานพบเห็นในวัด ในดอนเจ้าปู่หรือตามหัวไร่ปลายนาแต่ไม่นิยมปลูกในปริเวณบ้าน


    ขอบคุณ http://www.sawasdeenakhonphanom.com/...owledge&id=122 ครับ

  7. #27
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ ๛หนุ่มบ้านไกล๛
    วันที่สมัคร
    Apr 2009
    กระทู้
    764
    บล็อก
    8
    แม่นแล้วคับ อ้าย เขาเอิ้นว่าดอกกันเกรา หรือว่า ดอกมันปลา ภาษาเขมร เรียกว่า ปกาสตราว ที่จำได้เพราะว่า เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดสุรินทร์ ที่ทำงานเก่าปลูกไว้หน้าสำนักงาน มี 2 ต้น ต้นใหญ่ ออกดอกสุ ปี ครับ หอมหลาย

    เพิ่มเติมอีกจักน้อย เวลาดอกร่วงเหมิด สิมีหน่วยเวลาสุกสีแดง ๆ เป็นพวง ๆ แต่บ่รู้ว่ากินได้บ่ เคยลองขบเบิ่ง กะคือสิเป็นแนวกินบ่ได้ เหอๆๆ

    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ๛หนุ่มบ้านไกล๛; 02-04-2010 at 19:34.

หน้าที่ 3 จากทั้งหมด 3 หน้า หน้าแรกหน้าแรก 123

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •