กำลังแสดงผล 1 ถึง 10 จากทั้งหมด 23

หัวข้อ: ลาบหมาน้อย

Threaded View

คำตอบที่แล้วมา คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป คำตอบถัดไป
  1. #1
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ บ่าวกุดชุม
    วันที่สมัคร
    Sep 2008
    ที่อยู่
    กุดชุม
    กระทู้
    584
    บล็อก
    3

    เรื่องฮิตน่าอ่าน ลาบหมาน้อย

    ลาบหมาน้อย วุ้นหมาน้อย แกงหมาน้อย น้ำพริกหมาน้อย แล้วแต่สิเอิ้นครับ
    ลาบหมาน้อย

    เครือหมาน้อย

    ชื่อสามัญ
    หมาน้อย (อีสาน) กรุงเขมา (นครศรีธรรมราช) วุ้นหม้อน้อย; ขงเขมา; พระพาย (กลาง); หมาน้อย; เครือหมาน้อย (อีสาน); ก้นปิด (ใต้); เปล้าเลือด (แม่ฮ่องสอน); สีฟัน (เพชรบุรี); อะกามินเยาะ (นราธิวาส)

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และเกษตร


    เป็นไม้เถาเลื้อยพัน ใบเดี่ยว (simple) รูปร่างใบเป็นรูปหัวใจ (cordate) โคนใบแบบก้นปิด (peltate) ใบกว้าง 5.6 – 6.6 เซนติเมตร ยาว 6.9 – 7.6 เซนติเมตร หน้าใบและหลังใบมีขนสีน้ำตาลยาวประมาณ 1 มิลิเมตร ปกคลุมหนาแน่น หลังใบมีขนปกคลุมหนาแน่นมากกว่าหน้าใบ ก้านใบมีขน ยาว 1.7 – 2.5 เซนติเมตร ดอกตัวผู้และตัวเมียเซนติเมตร ขอบใบเรียบ (entire) ใบเป็นมัน หน้าใบหลังใบไม่มีขน ยอดอ่อนสีน้ำตาลแดง ใบแก่สีเขียวเข้ม ก้านใบยาว 0.4 – 0.6 เซนติเมตร ออกดอกที่ยอดหรือปลายกิ่ง ช่อดอกมี 4 – 5 ดอก ยาว 6.0 – 6.5 เซ็นติเมตร ดอกย่อยแยกจากกัน มีขนาดเล็กสีเขียว เมล้ดโค้ง (เหมือนพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว) ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดหรือหน่อ

    แหล่งที่พบและเก็บรวบรวมพันธุ์

    พบขึ้นทั่วไปในที่รกร้างว่างเปล่า ในสวนป่า เช่น อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร (PC 537) อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี (SN 364) ที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 80 - 130 เมตร

    การใช้ประโยชน์
    เป็นอาหารสัตว์ โค กระบือ ชาวบ้านใช้ใบมาตำ ขยำกับน้ำ นำมาปรุงอาหาร ถ้าทิ้งไว้จะแข็งตัวเหมือนวุ้น สมุนไพร ราก มีรสหอมเย็น แก้ไข้ ดีซ่าน เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงอวัยวะเพศให้แข็งแรง แก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ใบ ใช้ทาแก้โรคผิวหนัง มีสารอัลคาลอยด์ เช่น Hayatinine; Hayatine; Beburine; Sepurine; Cissampeline; Pelosine Quercitol และ Sterol

    วิธีการทำอาหารประเภทหมาน้อย



    ลาบหมาน้อย
    เห็ดก่อ ไค ถ่าน ยาง กะได้

    ส่วนประกอบเพื่อให้อร่อย
    1. ใบหมาน้อย 1 กอบ (อุ้งมือ)
    2 ปลาช่อน กบ เขียด ปลาดุก ปลาเข็ง กะได้แล้วแต่สิป่นใส่
    3. เครื่องปรุงอาหารประภทลาบ เช่น ข้าวคั่ว ปลาร้า....
    4. ใบผักหอมแป (สระแหน่ใบแบนยาว) ผักใบมน (สระแหน่อีกอัน Mint)
    5.เห็ด

    วิธีการ
    1. หากคุณทำป่นปลาเป็น ก็ทำป่นปลา ขั้นตอนนี้ไม่ขออธิบาย
    แต่ว่าอธิบายเผื่อคนไม่รู้ดีกว่า
    - เอาปลาที่ได้มาทำการต้มจนสุก โดยน้ำต้มก็จะมีน้ำปลาแดก เพื่อให้ปลาหอมสักหน่อย
    - นำปลาที่ต้มสุกแล้ว มาแกะให้เหลือแต่เนื้อปลา
    - ตำปลาที่แกะแล้ว
    -นำเห็ดที่ต้มสุกป่นลงไปนำกัน
    - พอละเอียดแล้วใส่พริกผง (พริกป่น) น้ำปลา ผงชูรส เพื่อให้อร่อย

    ลาบหมาน้อย


    เสร็จการทำป่น

    ต่อไป

    2. นำใบหมาน้อยมายอง (ขยี้) จนใบหมาน้อยเหลือแต่เส้นใบ ทำคล้ายๆยอง(ขยี้) ย่านางใส่แกงหน่อไม้นั่นแหละ ยองจน 1 กอบ เหลือแต่ก่าง (เหลือแส้นใบ)

    3. นำไปกรองเอาก่างออกจากน้ำหมาน้อยให้หมด เหมือนแต่น้ำหมาน้อย
    4. นำเอาป่นปลาที่ได้ ใส่ลงไปในน้ำหมาน้อย
    5. ใส่หอมแป ผักใบมน คนให้เข้ากัน สะระหล่า
    6. ใส่ข้าวคั่ว หัวหอม ปลาแดก ถั่วฝักยาว ลำข่า และ เครื่องปรุงอื่นๆ เหมือนทำลาบ
    7. คนให้เข้ากัน
    8. ลองชิมดู ขาดอะไรก็เพิ่ม เพื่อให้อร่อย


    9. ขั้นตอนสำคัญ ที่จะบอกว่า ใบที่คุณนำเอามา เป็นหมาน้อยหรือไม่ คือ ขั้นตอนนี้
    - นำไปพักไว้สักครู่ ไม่ใช่ทิ้งไว้สักครู่นะ น้ำหมาน้อยจะเริ่มเปลี่ยนโมเลกุลของสารภายในที่อยู่อย่างอิสระ มารวมตัวกันเหมือนเยลลี่ เหมือนขนมปีโป้ จนเปลี่ยนจากคุณสมบัติของ "ของแหลว" กลายไปเป็น "ของแข็ง"


    เล็กๆๆน้อยๆๆ จากทีมงานครับ

    ขอบคุณ // www.kasedtakon.com ครับ ให้ข้อมูล หมาน้อย////
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย บ่าวกุดชุม; 31-08-2009 at 08:49.

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •