จับตา15กระแสใหม่ในการช้อปจับตา15กระแสใหม่ในการช้อป
จับตา15กระแสใหม่ "ซูเปอร์มาร์เก็ต"แห่งอนาคต

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป จะส่งผลให้ "ซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งอนาคต" ซึ่งเกี่ยว ข้องกับชีวิตประจำวันของคนทั่วโลกพลิกโฉมหน้าไปทางไหน วันนี้มีข้อมูลประเมินสถานการณ์บางส่วนมาบอกต่อ!
1. ขนาดเล็กลง
ในอนาคต ขนาดซูเปอร์มาร์ เก็ต หรือห้างค้าปลีกต่างๆ จะเล็กลง และมียักษ์ใหญ่หลายเจ้าเริ่มต้นเดินตามกลยุทธ์นี้แล้ว เพื่อเจาะ กลุ่มลูกค้าให้ชัดเจนขึ้นเช่น ห้างมาร์เก็ตไซด์ของวอล มาร์ต ห้างเดอะมาร์เก็ตของเซฟเวย์ ห้างเฟรชแอนด์อีซี่ของเทสโก้ ซึ่งเน้นขายผลิตภัณฑ์สดใหม่ รวม ถึงอาหารกล่องพร้อมรับประทาน และสินค้าเพื่อสุขภาพและเกษตรอินทรีย์เบื้องหลังความคิดนี้เพื่อเจาะตลาดลูกค้าในกลุ่มเมืองใหญ่ที่มีประชากรหนาแน่น และดึงให้มาใช้บริการจับจ่ายใช้สอยทุกวัน
2. เจาะกลุ่มเชื้อชาติ
การขายของแบบจับฉ่ายอาจเพิ่มต้นทุนสูงโดยไม่จำเป็น ซูเปอร์มาร์เก็ตในอนาคตจะเปิดเพื่อรองรับลูกค้ากลุ่มหนึ่งกลุ่มใดโดยเฉพาะตามจำนวนประชากรแต่ละเชื้อชาติในชุมชนที่เพิ่มขึ้น เช่น ในสหรัฐอเมริกา ห้างวอลมาร์ตลงทุนเปิดร้านซูเปอร์ เมอร์คาโดและพับลิกซ์เซเบอร์ วางจำหน่ายสินค้าสไตล์ละติน อเมริกาเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นข้าวปลาอาหาร เครื่องดื่ม เบเกอรี่ และมีพนักงานที่พูดภาษานั้นๆ ได้ คอยให้คำแนะนำ
3. เน้นอาหารชุด บริการจัด "อาหารชุด" ที่มีความสดใหม่จะเพิ่มความนิยมขึ้นตามลำดับเหมาะสำหรับซื้อไปอุ่นรับประทานที่บ้าน ซึ่งมีสมาชิก 6 คนขึ้นไป หรือจัดปาร์ตี้เล็กๆ และอาหารสำเร็จรูปแปลกๆ จะมีให้เห็นมากขึ้น อาทิ "ไก่กระป๋องทั้งตัว" ซึ่งต้มสุกแล้ว เปิดออกมาเทประกอบอาหารได้เลย
4. บรรจุภัณฑ์อัจฉริยะนักวิทยาศาสตร์หลายสำนักต่างให้ความสนใจพัฒนา "บรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ" ซึ่งแจ้งเตือน-บอกวันหมดอายุของสินค้าข้างในได้ถูกต้องในวันข้างหน้า บรรจุภัณฑ์เหล่านี้จะกลายเป็นมาตรฐานประจำซูเปอร์มาร์เก็ต เพื่อเพิ่มความอุ่นใจให้ผู้บริโภค ตัวอย่างของเทคโนโลยีนี้ เช่น ปัจจุบันนักวิจัยมหาวิทยาลัยโรดส์ไอส์แลนด์ และบริษัทไซราเทคโนโลยี สหรัฐ กำลังพัฒนา "บาร์โค้ด" บนกล่องสินค้าที่จะเปลี่ยนเป็น "สีแดง" เมื่อถึงวันหมดอายุและทำให้เครื่องเก็บเงินสแกนบาร์โค้ดไม่ได้
5. รถเข็นปลอดเชื้อในยุคสมัยที่ทั่วโลกสุ่มเสี่ยงต่อโรคระบาด มีธุรกิจหัวแหลมนำเสนอ นวัตกรรมใหม่แก่ผู้บริหารซูเปอร์มาร์เก็ตทั้งหลายนั่นคือ เครื่องทำความสะอาดรถเข็น "เพียวคาร์ต ซิสเต็มส์" ซึ่งเมื่อเข็นรถเข็นผ่านเข้าไป ตัวเครื่องจะพ่นน้ำ น้ำยาเพอร็อกไซด์ และน้ำส้มสายชูอ่อนๆ เพื่อฆ่าเชื้อระบบที่ว่านี้มีราคา 3.5 แสนบาท แต่ผู้ผลิตบอกว่าในระยะยาวคุ้มค่ากว่าการเสียเงินจ้างพนักงานคอยเอาน้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดรถทีละคัน และช่วยทำให้สร้างความรู้สึกว่าร้านค้าใส่ใจสุขภาพลูกค้ามากขึ้น
6. สินค้าใส่ใจโลกกระแสสินค้าพะยี่ห้อใส่ใจสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการรีไซเคิล และปลอดสารเคมี จะยิ่งได้รับความนิยม
ส่งผลให้ซูเปอร์มาร์เก็ตแต่ละค่ายต้องผลิตสินค้ากลุ่มนี้ออกมาจำหน่ายโดยเฉพาะในร้านตัวเองขณะนี้ร้านเซฟเวย์ของสหรัฐ ก็จำหน่ายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ทั้งน้ำยาซักผ้าสูตรธรรมชาติ และอาหารที่ผลิตตามมาตรฐานกระบวนการเกษตรอินทรีย์ เช่น ซีเรียล ซอส และขนมนมเนย
7. รถเข็นคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์ พร้อมระบบ สื่อสารไร้สาย จะกลายเป็นอุปกรณ์มาตร ฐานที่ติดตั้งอยู่กับรถเข็น
เวลาเข็นรถผ่านล็อกต่างๆ ข้อมูลโปรโมชั่น ณ จุดนั้น เช่น สินค้าลดราคาจะปรากฏบนหน้าจอคอมพิวเตอร์และกดค้นหาจุดวางสินค้า นอกจากนี้ ลูกค้ายังหยิบสินค้ามาสแกนดูราคา ตรวจสอบแหล่งที่มาวันผลิต วันหมดอายุ และรายละเอียดอื่นๆ โดยละเอียดคอมพิวเตอร์ยังจะประมวลราคาสินค้าที่ต้องการซื้อทั้งหมด ช่วยให้ขั้นตอนจ่ายเงินรวดเร็วขึ้น
8. "อี-คูปอง"คูปองลดแลกแจกแถมชนิดพิมพ์บนแผ่นกระดาษจะลดน้อยลง แต่จะโผล่มาปรากฏบนหน้าจอ "โทรศัพท์มือถือ" แทน หรือเรียกว่า "อิเล็กทรอนิกส์ คูปอง" (อี-คูปอง)เมื่อต้องการรับส่วนลดเพียงแสดงคูปองส่วนลดที่ส่งผ่านมือถือให้แคชเชียร์ดู
9. ตรวจสินค้าด้วยมือถือห้างค้าปลีกขนาดใหญ่บางแห่งในญี่ปุ่นและเยอรมนี เริ่มทดลองเปิดให้บริการสแกน-ตรวจสอบรายละเอียดสินค้าผ่านโทรศัพท์มือถือของลูกค้าเองวิธีการก็คือ ลูกค้านำกล้องมือถือ ซึ่งลงทะเบียนเปิดใช้บริการเรียบ ร้อยแล้วไปจ่อถ่ายภาพ "บาร์โค้ด" ของสินค้าในห้างที่ร่วมโครงการ จากนั้นระบบจะประมวลผลและแสดงข้อมูลให้รับทราบทันที
10. แท็ก "อาร์เอฟไอดี"ป้ายหรือแท็ก รับ-ส่ง คลื่นสัญญาณวิทยุอัจฉริยะ "อาร์เอฟไอดี" (RFID) จะช่วยให้การเช็กสต๊อกสินค้า รวมถึงการจำหน่ายสินค้าเป็นไปด้วยความรวดเร็วเพราะแท็กชนิดนี้ สามารถเพิ่มประสิทธิ ภาพการบริหารจัดการ "คลังสินค้า" ให้เป็นไปโดยอัตโนมัติ ลดเวลาการนับสินค้าและวางแผนสินค้ากำหนดจำนวนคงคลังอย่างแม่นยำด้วยการนำเอา "ยอดขาย" มาคำนวณเปรียบเทียบ
11. สังคมช็อปปิ้งออนไลน์ซูเปอร์มาร์เก็ตจำนวนมากเริ่มหันมาใช้ "เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์" อาทิ ทวิตเตอร์ และเฟซบุ๊ก รวมทั้งจัดตั้งเว็บล็อก ขึ้นมาทำการตลาดโดยเฉพาะ เพื่อสร้าง "ฐานสมาชิก" ในโลกอินเตอร์เน็ตเมื่อเข้ามาในเว็บเหล่านี้ ผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องเดินทางไปถึงร้าน แต่รับทราบข้อมูลโปรโมชั่นใหม่ๆ ตลอดเวลา และยังสามารถอ่านกระทู้ วิพากษ์วิจารณ์คุณภาพสินค้าที่คนอื่นๆ เขียนทิ้งไว้ได้ด้วย เว็บที่โดดเด่นในกลยุทธ์นี้มากในสหรัฐ คือ Zeer | Find ingredients, nutrition info and gluten free foods
อีกไม่ช้าไม่นาน สังคมช็อปปิ้งออนไลน์นี้จะยิ่งทวีความนิยม เมื่อรุกคืบเข้าสู่โทรศัพท์มือถือ
12. ผลิตภัณฑ์สัตว์เลี้ยงในขณะที่อาหาร-สินค้าสำหรับคนต่างต้องตัดราคา แข่งกันทำยอดแต่ตลาด "ผลิต ภัณฑ์เพื่อสัตว์เลี้ยง" กลับส่อแววไปได้ดี โดยเฉพาะอาหารสุนัขและแมว ซึ่งผลิตตามขั้นตอนธรรม ชาติ ไม่ปรุงแต่งด้วยสารเคมี
13. โฆษณาบนสายพานอีกปรากฏการณ์ที่ลูกค้ามีแนวโน้มจะพบเห็นในซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วโลกบ่อยขึ้นตามลำดับ ได้แก่
ป้ายโฆษณาที่พิมพ์ติดอยู่กับ "สายพาน" ตรงเคาน์เตอร์คิดเงิน ซึ่งง่าย ต่อการมองเห็น และบรรดาซูเปอร์มาร์เก็ตย่อมไม่ปล่อยให้พื้นที่เด่นนี้อยู่ว่างๆ โดยไม่ สร้างรายได้
14. สินค้า"โต"ระหว่างขนส่งความคลั่งไคล้สินค้าจำพวก "ใหม่สดเสมอ" ทำให้นักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยวาเคนนิงเกิ่น ประเทศเนเธอร์แลนด์ พัฒนาวิธีการขนส่งสินค้าประเภท "พืชผัก" ชนิดใหม่ออกแบบให้ผักต่างๆ เช่น เห็ด ค่อยๆ เจริญเติบโตไประหว่างขั้นตอน การขนส่งเมื่อไปถึงจุดขายก็โตเต็มที่เหมาะแก่การบริโภคพอดี อย่างไรก็ตาม ต้องลุ้นกันต่อไปว่าจะต่อยอดให้แนวคิดนี้เป็นจริงในทางปฏิบัติได้หรือไม่
15. ซูเปอร์ฯ สีเขียวกระแสตื่นตัวอยากมีส่วนร่วมแก้ปัญหาวิกฤต "โลกร้อน" ส่งผลให้ ผู้บริโภคเลือกเสพ-เลือกซื้อหาสินค้าจากองค์กรและธุรกิจที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ซูเปอร์มาร์เก็ตเองจึงพยายามปรับตัวให้เข้ากับค่านิยม ดัง กล่าว
ไม่ว่าจะติดตั้งแหล่งกำเนิดพลังงานแสงอาทิตย์ เลือกใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟ รณรงค์ให้ประชาชนใช้ถุงผ้า ไปจนถึงออกแบบโครง สร้างอาคารด้วยวัสดุไม่ทำลายสภาพแวดล้อมนับเป็นทิศทางที่ดี และบีบให้เจ้าของธุรกิจจำต้องแสดงสำนึกดูแลสังคมส่วนรวมสูงขึ้นกว่าในอดีตเนื้อหาจากบทความเรื่อง

ที่มา : นสพ.ข่าวสด
"Grocery Store of the Future."
นิตยสารบิสสิเนสวีก สหรัฐอเมริกา