กำลังแสดงผล 1 ถึง 3 จากทั้งหมด 3

หัวข้อ: จิบน้ำชา บรรเลงพิณ

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    จิบน้ำชา บรรเลงพิณ

    จิบน้ำชา บรรเลงพิณ



    จิบน้ำชา บรรเลงพิณ



    จิบน้ำชา บรรเลงพิณ



    จิบน้ำชา บรรเลงพิณ




    เสียงพิณก้อง ทำนอง ของพิณจีน
    ฟังพิณผิน จีบน้ำชา ถ้วยน้อยน้อย
    ฟังพิณเพลง บรรเลง เสียงแผ่วคอย
    น้ำชาน้อย ค่อยจิบ เลิศอุรา

    ถ้วยน้ำชา อุ่นอุ่น ครุ่นคะนึง
    เพลงดีดซึ้ง ค่อยค่อย เสพหรรษา
    รสพิณพร้อย น้ำชาพลอย เลิศโอชา
    สุขใดหนา จะเท่า สุขในใจ


    คนดีดพิณ บรรจง ก้มหน้าซึ้ง
    ครุ่นคะนึง เพลงคลอ เสียงใสใส
    มองดูคน จิบน้ำชา ยิ้มที่ให้
    พิณปลอบใจ เคล้าคลอ ด้วยพิณใจ

    ซึ้งแสนซึ้ง รำพึง ถึงคนดีด
    ยามแนบชิด เพลงประสานคลายหมองไหม้
    พิณเพลงกล่อม ทิ้งระทม ให้หมดไป
    สุขฤทัย เอื้อไมตรี มีให้กัน


    ไม่ต้องมี แสงสี ยามเงียบเหงา
    ละความเศร้า ห่มเพลง หฤหรรษ์
    ทุกข์ผ่อนคลาย ดนตรีคล้าย กล่อมชีวัน
    ต่างสุขสันต์ เสียงพิณคลอ หยอกล้อใจ

    เสียงพิณก้อง ทำนอง ของพิณจีน
    ฟังเพลงพิณ จีบน้ำชา ถ้วยน้อยใส
    เสียงพิณก้อง กล่อมให้ ระเริงใจ
    ทุกข์สุขคล้าย ดนตรี มีขึ้นลง


    ชีวิตคน มองคล้าย เสียงพิณก้อง
    มองดูไป ชีวิต มีโลภหลง
    เสียงพิณแผ่ว แว่วค่อย คล้ายจบลง
    เราก็คง มีน้ำใจ คล้ายเสียงพิณ


    ………………………………………………..
    จิบน้ำชา บรรเลงพิณ


    รู้จักกับพิณจีน

    กู่ฉิน กับ กู่เจิง

    คุณน้า : หนูเล่นดนตรีจีนหรอจ๊ะ คุณน้าช๊อบชอบ หนูเล่นเครื่องอะไรนะจ๊ะ
    ข้าน้อย: กู่ฉินครับ
    คุณน้า : ใช่มั้ยจ๊ะ ตัวใหญ่ๆเนาะ สายเยอะๆ เสียงเพร๊าเพราะ ที่ฟ้าหญิงองค์เล็กเล่นใช่มั้ยจ๊ะ ทรงบรรเลงได้ไพเราะมากเลย
    ข้าน้อย: เอ่อ... คุณน้าครับ นั่นกู่เจิงครับ
    คุณน้า : อ้าวหรอจ๊ะ มันต่างกันยังหรอจ๊ะ คุณน้าเห็นรูปร่างคล้ายๆกัน คุณน้าแยกไม่ออก

    …………………………………………


    จิบน้ำชา บรรเลงพิณ


    จากบทสนทนาข้างต้นนี่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้น
    เพราะว่ากู่ฉินนั้นยังไม่เป็นที่รู้จักในประเทศไทยเท่าไรนัก
    (ที่จริงคนจีนก็ยังไม่แน่ใจว่าอะไรคือกู่ฉินกู่เจิง)
    ส่วนใหญ่จะรู้จักกู่เจิงกันมากและในละครจีนกำลังภายใน
    ส่วนใหญ่เราจะเห็นกู่เจิงกันมากกว่า
    (หรือบางทีภาพในละครเป็นกู่ฉิน แต่เปิดเสียงกู่เจิงก็มี)
    อีกทั้งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
    ทรงพระปรีชาสามารถทรงกู่เจิง และได้ทรงร่วมบรรเลงกับวงดนตรี
    ออกสู่สายตาสาธารณชนหลายต่อหลายครั้ง
    จึงทำให้ในสายตาของคนไทยถ้าพูดถึงพิณจีน ยาวๆ มีสายเยอะๆ
    ก็คงนึกถึงกู่เจิงเป็นอย่างแรก


    จิบน้ำชา บรรเลงพิณ



    ใครรู้แล้วว่าตัวไหนคือกู่ฉิน ตัวไหนคือกู่เจิง?
    ถ้าบอกว่าตัวแรกคือกู่เจิง ถูกต้องนะคะ

    เรามาพูดถึงรายละเอียดความแตกต่างในส่วนต่างๆกันเลยดีกว่า
    เริ่มที่ขนาด มองปร๊าดเดียวรู้เลย
    กู่เจิงมีความยาวประมาณ 160 กว่าเซ็นติเมตรค่ะ
    ส่วนกู่ฉินนั้นยาวเพียง 120 เซ็นติเมตร

    ต่อมาเรื่องของจำนวนสายค่ะ
    กู่เจิงมีสายมากถึง 21 สาย แต่
    กู่ฉินมีเพียง 7 สายเท่านั้นค่ะ

    และสุดท้ายสิ่งที่กู่เจิงมีแต่กู่ฉินไม่มี
    และสิ่งที่กู่ฉินมีและกู่เจิงไม่มี

    ลองสังเกตุดูที่รูปกู่เจิงนะค่ะ จะเห็นเป็น
    บล้อคไม้ 21 อัน (หรือเรียกว่า หย่อง) ค้ำสายทุกสาย เรียงกันลงมาอย่างสวยงาม

    ส่วนกู่ฉินนั้นจะเป็นสายเปล่าๆ รั้งจากหัวไปท้ายสุดเลย ไม่มีอะไรค้ำค่ะ
    ต่อมาลองดูที่รูปกู่ฉินค่ะ จะเห็นว่าด้านบนสายหนึ่ง(สายนอกสุด)
    จะมีจุดขาวๆ เรียงกันไปถึง 13 จุดโดยปกติมักทำจากเปลือกหอยหรือโลหะค่ะ

    ......................................

    กู่ฉินและระบำตุนหวง
    บรรเลงนำโดย อ. หลี่เสียงถิง


    [yflash]http://www.youtube.com/v/q7zO3LZOpdQ&hl=en&fs=1[/yflash]

    เป็นการแสดงในชื่อ ระบำตุนหวง
    เนื่องในโอกาศวันตรุษจีนปี 2009 ค่ะ

    ตุนหวงเป็นชื่อสถานที่แห่งหนึ่ง
    ซึ่งเป็นถ้ำที่รักษาวัตถุโบราณสมัยราชวงศ์ถังไว้ได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด
    ศิลปะในถ้ำตุนหวงจะให้ความรู้สึกแบบเป็นอาหรับนิดๆ
    เพราะว่าสมัยนั้นจีนได้รับอิทธิพลจากเปอร์เซียค่อนข้างมาก

    ดังนั้นถ้าสังเกตุภาพวาดสมัยนั้นจะเห็นว่าผู้หญิงจะแต่งตัวเซ็กซี่มาก
    ซีทรู โชวน์เนื้อหนัง เป็นเพราะว่าสมัยถังจีนเปิดกว้างมาก
    ผู้หญิงมีฐานะทางสังคมพอๆกับผู้ชายเลยทีเดียว
    หาคู่อิสระ ขี่ม้า ไปไหนมาไหนได้อย่างไม่มีปัญหา

    .........................................................


    กู่ฉินกับเพลง 醉鱼唱晚 (ประมงเมายามเย็น) สำเนียงใต้หวัน

    [yflash]http://www.youtube.com/v/nS8TJc3jZS4&hl=en&fs=1[/yflash]


    ...........................................................


    กู่ฉินกับกู่ฉินสมัยราชวงศ์ถังในเพลง 梅花三弄 (ดอกเหมยสามท่อน)
    บรรเลงโดยศาสตราจารย์หลี่เสียงถิง


    [yflash]http://www.youtube.com/v/Nzx3oegftwM&hl=en&fs=1[/yflash]

    .............................................................

    จิบน้ำชา บรรเลงพิณ


    ...........................................................

    ขอบขอบคุณ
    bloggang.com/viewdiary.php?



    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 18-09-2009 at 05:48.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ กำลังใจ
    วันที่สมัคร
    Mar 2007
    กระทู้
    1,529
    บล็อก
    1
    ภาพสวยมากๆ เลยจ้า

  3. #3
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197
    :heart::heart::heart::heart::heart:

    เพียงความสุข สงบ ของจิตใจ
    พิณเสียงใส บรรเลง เพลงหวานหวาน
    กล่อมจิตใจ ด้วยดนตรี กวีกาล
    เสียงพิณหวาน ส่งสุข สงบใจ

    เคยร้าวราน มาก่อน จนหม่นหมอง
    ฤทัยตรอม ขมขื่น สะอื้นไห้
    ความรักทำ ช้ำตรม ระทมใจ
    เคยหวนไห้ ใจช้ำ ระกำทรวง


    วันที่วาง ภาระ จากทุกสิ่ง
    วันที่วาง ดวงจิต ที่คร่ำหวน
    วันที่วาง ทุกสิ่ง มิหวนทวน
    เคยคร่ำครวญ ไม่ย้อน อ้อนหัวใจ

    เป็นความสุข สงบ เมื่อพบจาก
    เคยจำพราก มองดู เมื่อสูญหาย
    สงบจิต ไม่คิด จิตสบาย
    เลือดในกาย อบอุ่น ชุ่มร่มเย็น


    เพลงพิณฟัง กล่อมใจ ให้สงบ
    คล้ายได้พบ สัจธรรม พร่างพราวเห็น
    คลื่นสมอง คลอเคล้า เร้าเพลงเป็น
    สงบเย็น เป็นที่ตั้ง ธรรมในใจ

    มองคนดีด พิณเพลง บรรเลงพบ
    ฟังสงบ พบธรรม อันสุขใส
    บรรเลงเพลง พริ้วเพลิน เพริศพริ้มใจ
    คนตรีคลาย กล่อมเคล้า พราวเสียงพิณ




    :heart::heart::heart::heart:




    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 18-09-2009 at 06:29.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •