การละเล่นพื้นบ้านชื่อ
ลิเกฮูลู
ภาคใต้
จังหวัด นราธิวาส



ลิเกฮูลู หรือดิเกฮูลู มาจากคำว่า ลิเก หรือดิเก และฮูลู ท่านผู้รู้ได้กล่าวไว้ว่าลิเกหรือ ดิเกมาจากคำว่า ซี เกร์ หมายถึง การอ่านทำนองเสนาะ ส่วนคำว่าฮูลู แปลว่า ใต้หรือทิศใต้ รวมความแล้วหมายถึง การขับบทกลอนเป็นทำนองเสนาะจากทางใต้

วิธีการเล่น
วิธีการเล่น เริ่มแสดงดนตรีโหมโรงเพื่อเร้าอารมณ์คนดู สมัยก่อนมีการไหว้ครูในกรณีที่มีการประชันกันระหว่างหมู่บ้าน หรืออาจมีหมอผีของแต่ละฝ่ายปัดรังควานไล่ผีคู่ต่อสู้ก็มี ปัจจุบันสู้กันด้วยศิลปคารมอย่างเดียว เมื่อลูกคู่โหมโรงต้นเสียงจะออกมาร้องทีละคน เริ่มด้วยวัตถุประสงค์ของการแสดง หลังจากนั้นก็เริ่มเข้าสู่เรื่องราว อาจจะเป็นเหตุการณ์บ้านเมือง หรือความรักของหนุ่มสาว หรือเรื่องตลก ในกรณีที่มีการประชัน หรือบางครั้งก็เป็นเรื่องราวการกระทบกระแทก เสียดสีกัน หรือหยิบปัญหาต่าง ๆ มากล่าวเพื่อให้ผู้ชมชื่นชอบในคารมและปฏิภาณ

โอกาสและเวลาที่เล่น
แต่เดิมนิยมแสดงในงานพิธีต่าง ๆ เช่น เข้าสุหนัต งานแต่งงาน (มาแกปูโล๊ะ) ปัจจุบันลิเกฮูลูยังแสดงในงานเทศกาลต่าง ๆ ร่วมกับมหรสพอื่น ๆ บางท้องที่ก็แสดงในงานพิธีสำคัญ เช่น พิธีถวายพระพรวันเฉลิมพระชนมพรรษา เป็นต้น

คุณค่า แนวคิด สาระ
การแสดงลิเกฮูลูยังสามารถเผยแพร่รณรงค์ให้ประชาชนเข้าใจถึงภัยร้ายของยาเสพติด ยาบ้า ปัญหาโรคเอดส์ ความสะอาดและอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี ได้ทั้งความรู้และความสนุกสนาน