กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: ประเพณีการเลี้ยงขันโตก

  1. #1
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ ญา ทิวาราช
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    825
    บล็อก
    17

    บ้านมหาโพสต์ ประเพณีการเลี้ยงขันโตก

    ชื่อ
    ประเพณีการเลี้ยงขันโตก
    ภาคเหนือ
    จังหวัด ลำพูน



    ความสำคัญ
    การเลี้ยงขันโตก เป็นประเพณีเลี้ยงอาหารร่วมกันหลายๆคน เป็นวัฒนธรรมและประเพณีของชาวเหนือที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันโดยเฉพาะที่เชียงใหม่ และลำพูน

    กิจกรรม
    การจัดสถานที่ในงานประเพณีการเลี้ยงขันโตก
    ๑. เตรียมลานกว้างให้เพียงพอกับจำนวนแขก เพราะนอกจากใช้เป็นที่นั่งรับประทานอาหาร ยังมีมหรสพแสดงด้วย
    ๒. ขัดราชวัติ หรือรั้วพิธี ทำด้วยไม้ไผ่จักเป็นตอก แล้วสานทำคร่าวที่ติดกับเสากั้นเขตนั้นทำทางเข้าไว้๒ หรือ ๔ ทาง เอาใบมะพร้าวมาผ่ากลาง ทำให้โค้งเป็นเหมือนประตูป่า
    ๓. ปักต้นไม้ เช่นต้นกล้วย ต้นอ้อย ต้นกุ๊ก (พืชตระกูลข่า) ไว้รอบราชวัติทำเหมือนเป็นเขาวงกตที่พระเวสสันดรพำนัก
    ๔. ด้ายสายสิญจน์ ใช้วงรอบราชวัติ ในกรณีที่การเลี้ยงขันโตกนั้นมีพิธีบายศรีสู่ขวัญด้วย
    ๕. ทำประทีปโคมไฟ โดยใช้เทียนขี้ผึ้ง หรือเทียนไข ปักรอบๆราชวัติ
    ๖. ตั้งคนโท(น้ำต้น) กระโถน และพานมูลีขี้โย (บุหรี่) และเมี่ยง
    ๗. วงดนตรีพื้นเมืองประกอบด้วย ซึง สะล้อ ขลุ่ย และกลองสำหรับบรรเลงในระหว่างเลี้ยงขันโตก
    ๘. มาลัยดอกมะลิสำหรับเจ้าภาพใช้คล้องคอให้แขกที่มาถึงบริเวณพิธี
    อาหารขันโตก
    ประกอบด้วย ข้าวนึ่งหรือข้าวเหนียว แกงอ่อม แกงฮังเล ไส้อั่ว แคบหมู น้ำพริกอ่อง ลาบ ผักต่างๆตลอดจนของหวานต่างๆ ซึ่งอาหารเหล่านี้จะตักใส่ถ้วยเล็กๆ วางไว้ในขันโตกจนครบ แล้วใช้ฝาชีครอบไว้จนกว่าพิธีแห่ขันโตกจะเสร็จ
    การแห่ขันโตก
    จัดเรียงลำดับดังนี้
    ๑. พานบายศรี
    ๒. ช่างฟ้อนเล็บ
    ๓. กลุ่มดนตรีกลองตึ่งโหน่ง (บางทีก็ให้อยู่นอกขบวน)
    ๔. ขันโตกเอก ขันโตกโทหรือขันโตกรอง
    ๕. กล่องข้าวใหญ่
    ๖. ขันโตกบริวาร
    ๗. กล่องข้าวเล็ก
    ๘. อาหารหวาน
    การนั่งในการเลี้ยงขันโตก
    ผู้ชายจะนั่งขัดสมาธิหรือที่ทางเหนือเรียกว่า "ขดตะหวาย" ส่วนผู้หญิงจะนั่งพับเพียบ ทางเหนือเรียกว่า"นั่งป้อละแหม้"
    การละเล่นในการเลี้ยงขันโตก
    นอกจากมีการจุดดอกไม้เพลิง (บอกไฟดอก) และตะไล (บอกไฟจักจ่า) แล้วจะมีชุดการแสดงต่างๆเช่น ฟ้อนเล็บหรือฟ้อนเทียน ฟ้อนดาบ ฟ้อนเจิง ฟ้อนสาวไหม ฟ้อนแม้ว ฟ้อนหริภุญไชย เป็นต้น

  2. #2
    Super Moderator สัญลักษณ์ของ หมูน้อย
    วันที่สมัคร
    Jul 2007
    ที่อยู่
    เหนือสุดในสยาม
    กระทู้
    1,977
    บล็อก
    17

    ขอเพิ่มเติมข้อมูลจ้า

    [B]การรับประทานอาหารในชีวิตประจำวันของชาวล้านนาในอดีตจะนำ”ถ้วยหรือจาน”
    ใส่ใน “ขันโตก” ที่ทำด้วยไม้ หวาย หรือไม้ไผ่ สมาชิกทุกคนในครอบครัวจะนั่งล้อมวง
    พูดคุยกันไปด้วย ขันโตกมีวิวัฒนาการมาเรื่อยๆ โดยนำเอาวัฒนธรรมการรับประทาน
    อาหาร ในชีวิตประจำวันมาเป็นประเพณีการจัดเลี้ยง โดยเริ่มจาก “คุ้มเจ้าเมือง” หรือ
    เจ้านายฝ่ายเหนือก่อน แล้วแพร่กระจายไปสู่การจัดเลี้ยงกันทุกระดับฐานะ ปัจจุบันนี้
    การเลี้ยงรับรองแขกในแถบจังหวัดภาคเหนือตอนบนนิยมจัดเลี้ยงแบบขันโตก พร้อมทั้ง
    มีดนตรีพื้นเมือง (สะล้อ ซอ ซึง) การแสดงพื้นเมืองต่างๆ เช่น ฟ้อนเทียน ฟ้อนสาวไหม
    รำกลองสะบัดชัย ฟ้อนกิงกระหรา

    ขอเพิ่มเติมข้อมูลจ้า

    ส่วนประกอบของเครื่องใช้ในขันโตกที่ใช้การจัดเลี้ยงในปัจจุบัน ยังมีอีกมากมาย
    หลายอย่าง เช่น น้ำต้นสำหรับใส่น้ำดื่ม ผ้าเช็ดมือ ขันน้ำล้างมือ ซึ่งมักจัดไว้เพียงอย่าง
    ละ 1 ชุดเท่านั้น ผู้บริโภคที่นั่งประจำโตกจะต้องใช้ร่วมกัน เมื่อแขกเดินทางถึงโตกที่จัด
    ไว้รับรอง จะมีฝ่ายต้อนรับ คอยมอบพวงมาลัยดอกไม้สดซึ่งร้อยจากดอกมะลิ สำหรับ
    คล้องคอ ทำให้มีกลิ่นหอมไปทั้งงาน และที่ขาดไม่ได้ คือ พานบุหรี่ ขี้โย และเมี่ยง
    สำหรับสูบหรืออมหลังอาหาร
    อาหารพื้นเมืองที่นิยมจัดลงในขันโตกมีมากมายหลายอย่าง เช่น ข้าวนึ่ง ซึ่งเป็นอาหาร
    หลักประจำโตก น้ำพริกอ่อง ไส้อั่ว น้ำพริกหนุ่ม แกงแค แกงฮังเล น้ำพริกข่า หมูนึ่ง
    เห็ดนึ่ง แคบหมู ผักสด อาหารพื้นเมืองมีส่วน
    ประกอบของเครื่องปรุงหลากหลาย อาหารบางชนิดอาจต้องปรับเปลี่ยนเครื่องปรุง
    บางอย่างให้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น ลาบเมือง แกงฮังเล น้ำพริกอ่อง อาหารแต่ละ
    ชนิดกว่าจะนำมาจัดลงในขันโตกต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน ขนมหวานที่นิยม
    จัดในขันโตก เช่นขนมปาด ขนมแตง ขนมเทียน มีขนมขบเคี้ยว เป็นข้าวแคบ
    ข้าวควบ ข้าวแตน

    การบริการจัดเลี้ยงอาหารแบบขันโตกมีทั้งที่จัดในสถานประกอบการ และนอก
    สถานที่ ในที่สาธารณะหรือพื้นที่โล่ง กลางสนาม แสงสว่างสลัวๆ ประกอบกับพื้นที่จัด
    เตรียมอาหารเพื่อจัดลงในขันโตกอาจจะไม่ถูกสุขลักษณะ การควบคุมสิ่งปนเปื้อนอาหาร
    ในได้ การจัดอาหารแบบขันโตกให้ปลอดภัย โดยการพัฒนาอาหารพื้นเมืองให้เป็นอาหาร
    เพื่อสุขภาพ รวมทั้งการศึกษาภูมิปัญญาการทำ วิถีการกิน ควบคู่ไปกับการให้ความรู้
    เรื่องกระบวนการผลิตอาหารแบบขันโตกให้ถูกสุขลักษณะจะเป็นการยกระดับและสร้าง
    มูลค่าการ จัดเลี้ยงขันโตกให้เป็นที่ยอมรับจากชาวไทย และชาวต่างชาติได้
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย หมูน้อย; 27-12-2009 at 10:25.
    "รัก" และ "กำลังใจ" ฉันมีไว้เพื่อแบ่งปัน

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •