กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: คดีเชอร์รี่แอน ดันแคน ตอนที่ 2

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    คดีเชอร์รี่แอน ดันแคน ตอนที่ 2

    คดีเชอร์รี่แอน ดันแคน ตอนที่ 2

    คดีเชอร์รี่แอน ดันแคน ตอนที่ 2

    คดีเชอร์รี่แอน ดันแคน ตอนที่ 2



    เด็กสาววัยรุ่นลูกครึ่งเชื้อชาติ ไทย-อเมริกัน ถูกพบเป็นศพหลังจากมีผู้พบเห็นว่าถูกล่อลวงขึ้นรถแท็กซี่ไปจากหน้าโรงเรียน ฆาตกรใช้สายรัดคอจนขาดอากาศหายใจและนำศพไปทิ้งไว้บริเวณป่าแสมบางสำราญ และนำไปสู่การจับผู้ต้องหาถึง 5 คน ซึ่งในเวลา 6 ปีต่อมา ศาลจึงมีคำสั่งว่าพวกเค้าทั้ง 6 คนไม่มีความผิด จนเป็นคดีที่กล่าวขานในเรื่องของการจับแพะมากที่สุดคดีหนึ่ง


    ตอนที่ 2 จบ


    ลอกคราบเสี่ยวินัย...ปฐมเหตุแห่งความตาย

    จากการตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังของ เสี่ยวินัยพบว่า มีเส้นทางชีวิตที่ไม่ธรรมดา และจบการศึกษาในระดับที่ไม่น่าเชื่อว่าจะสวนทางกับพฤติกรรมที่แสดงออกเช่นนี้
    เสี่ยวินัย เกิดในครอบครัวที่จัดได้ว่าเป็นผู้มีอันจะกิน บิดาและมารดานับได้ว่าเป็นผู้มีฐานะและการเงินที่ดีครอบครัวหนึ่ง

    ในด้านการศึกษา เสี่ยวินัยสำเร็จการศึกษาวิชาออกแบบและสถาปัตย์ จากสหรัฐอเมริกา จากนั้นกลับมาทำงานในประเทศไทย ปี 2519 โดยประกอบอาชีพเกี่ยวกับการก่อสร้าง และได้มาพักอาศัยอยู่กับมารดาที่บ้านพักเยื้องตรงข้าม สน.ทุ่งมหาเมฆ ซอยสวนพลู เขตยานนาวา

    ต่อมาประมาณปี 2523 ได้เปิดภัตตาคาร ชื่อ 'สามก๊ก' ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านพักใน ซอยสวนพลู ได้รู้จักกับ น.ส.สุวิบูลย์หรือกุ้ง โดยการแนะของน้องสาวตนเอง และรู้จักกันได้เพียง 2 เดือน ก็ได้เสียมีสัมพันธ์ฉันท์สามีภรรยากับ น.ส.สุวิบูลย์ แต่ไม่ได้แต่งงานกันเพราะแม่ของฝ่ายหญิงไม่ชอบ

    ด้วยสัมพันธ์ที่มีต่อกันอย่างแน่นแฟ้นทั้ง 2 คน จึงได้ร่วมทุนกันสร้าง คอนโดมิเนียม ชื่อ 'ริเวอร์วิว คอนโดมิเนียม' เป็นอาคารให้เช่าพักจำนวน 8 ชั้น อยู่ แถวตลาดน้อย สัมพันธวงศ์ ในปี 2524

    อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่ร่วมดำเนินกิจการและมีสัมพันธ์ฉันท์สามีภรรยากับ น.ส.สุวิบูลย์อยู่นั้น ในปี 2528 เสี่ยวินัยได้ไปรู้จักกับ 'น.ส.เชอรี่แอน ดันแคน' อายุ 16 ปี ที่ร้านอาหาร 'พี.เจ.' สุขุมวิท 19 ซึ่งเป็นของบิดาและมารดาของเชอรี่แอน และเกิดหลงใหลได้ปลื้มในเรือนร่างของลูกครึ่งอเมริกันผู้นี้

    ในที่สุดความฝันของเสี่ยวินัยก็บรรลุผล เมื่อแม่ของเชอรี่แอนยินยอมให้เสี่ยวินัยพาไปเลี้ยงดูอุปการะและอยู่กิน โดยมีเรือนหออยู่ที่ห้องพักในริเวอร์วิว คอนโดมิเนียม ซึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้แม่ของเชอรี่แอนตัดสินใจเช่นนั้นเป็นผลมาจากความร้าวฉานที่เกิดขึ้นภายในครอบครัวเพราะผู้เป็นพ่อชาวอเมริกันมีพฤติกรรมที่ไม่พึงปฏิบัติในทำนองชู้สาวต่อลูกสาวในไส้หลายต่อหลายครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาเมา

    นอกเหนือจากการลงทุนร่วมกับ น.ส.สุวิบูลย์ในกิจการให้เช่าคอนโดมิเนียมแล้ว เสี่ยวินัยยังดำเนินกิจการอื่นๆ อีกมากมาย โดยในปี 2529 ได้ตั้ง 'ห้างหุ้นส่วนจำกัด คิวลิตี้ อาคิเทค แอนด์เมนเทนเม้นท์' หรือ 'คิว เอ เอ็ม' ประกอบธุรกิจก่อสร้างตกแต่งอาคาร ประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างและซ่อมแซมบ้าน โดยเปิดรับในระบบสมาชิก ที่ต้องเสียค่าสมาชิกเดือนละ 2,000 บาท


    พฤติกรรมเจ้าชู้ไม่เลือกหน้า

    สำหรับต้นตอปัญหาความขัดแย้งใน 'รักสามเส้า' ระหว่างเสี่ยวินัย-น.ส.สุวิบูลย์-น.ส.เชอรี่แอน ซึ่งกลายเป็นศึกชิงรักหักสวาทที่บานปลายใหญ่โตนำไปสู่คดีฆาตกรรม อันลึกลับซับซ้อนและโหดร้ายป่าเถื่อนในวันที่ 22 ก.ค. 2529 อีกทั้งยังสืบทอดความทุกข์ร้อนแสนเข็ญมาสู่บรรดากลุ่ม 'แพะรับบาป' ของคดีและทายาทจวบจนปัจจุบันอย่างไม่รู้จักจบสิ้นนั้น ถ้าจะกล่าวว่าเป็นผลมาจาก 'ความเจ้าชู้' ไม่รู้จักพอของเสี่ยวินัยก็คงจะไม่เกินเลยไปนัก

    เพราะขณะที่สังคมรับรู้ว่า เสี่ยวินัยอยู่กินกับ น.ส.สุวิบูลย์ ยังแอบเล็ดลอดไปหาความสุขกับหญิงอื่นอยู่ตลอดเวลา และมีผู้หญิงผ่านเข้ามาในชีวิตอย่างมากหน้าหลายตา กระทั่งสร้างความไม่พอใจให้กับ น.ส.กุ้ง ซึ่งเป็นผู้อุปถัมภ์ค้ำชูทางการเงินของเสี่ยวินัย

    เท่าที่สืบทราบนอกจาก น.ส.สุวิบูลย์ และน.ส.เชอรี่แอนแล้ว ก่อนหน้านั้นเสี่ยวินัยยังแอบลักลอบได้เสียกับ 'น.ส.ทิพย์วรรณ' หรือ 'น้อย' ซึ่งเป็น 'คนใช้' ในบ้านของแม่ตนเองอีกด้วย

    น.ส.ทิพย์วรรณได้เข้าเป็นคนใช้อยู่ที่บ้านแม่ของเสี่ยวินัยขณะที่มีอายุ 14 ปี โดยได้รับเงินเดือนในครั้งแรก 350 บาทต่อเดือน ต่อมาเมื่ออายุได้ 16 ปี ได้ตกเป็นภรรยาของเสี่ยวินัยอย่างลับๆ

    น.ส.ทิพย์วรรณเคยออกจากบ้านเสี่ยวินัยไปประกอบอาชีพเป็นสาวบริการในร้านอาหารญี่ปุ่น จากนั้นได้กลับมาประเทศไทยเมื่อเดือนเมษายน 2529 และเข้าพักอาศัยอยู่ที่บ้านเสี่ยวินัยเช่นเดิม และทราบเรื่องว่า น.ส.สุวิบูลย์มีความสัมพันธ์กับนายวินัยอย่างลึกซึ้ง



    ขอคืนดี 'กุ้ง' แต่ไร้ผล

    สำหรับเฉพาะกับ น.ส.สุวิบูลย์นั้น หลังเกิดคดีฆาตกรรม ในระหว่างที่เสี่ยวินัยหลุดจากคุกเป็นคนแรกๆ ปรากฏว่า แทนที่เสี่ยวินัยจะขัดแย้งกับ น.ส.สุวิบูลย์เพราะเป็นต้นเหตุให้ต้องกลายเป็นผู้ต้องหาและหวิดที่จะมีชะตาชีวิตเหมือนกับแพะทั้ง 4 คนเสี่ยวินัยกลับพยายามที่จะหาทางคืนดีกับ น.ส.สุวิบูลย์

    ไม่มีใครทราบได้ว่า เสี่ยวินัยมีวัตถุประสงค์อย่างไร แต่สามารถคาดเดาได้ว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องเงินๆ ทองๆ เป็นหลัก

    อย่างไรก็ตาม ความพยายามในการคืนดีกับ น.ส.สุวิบูลย์ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะมีอยู่วันหนึ่งเสี่ยวินัยไปหาน.ส.สุวิบูลย์ที่บ้านและพบเห็นกับตาตนเองว่า อดีตคู่ขาเก่าคนนี้มีความสัมพันธ์ลึกซึ้งกับ 'พ.ต.ท.ล้ำเลิศ ธรรมนิธา' รองผู้กำกับการสภ.อ.สมุทรปราการ ซึ่งเป็นหนึ่งในพนักงานสอบสวนคดีนี้

    เสี่ยวินัยกับ พ.ต.ท.ล้ำเลิศ เกิดมีปากมีเสียงกันจนมีการแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน โดยนายวินัยแจ้งความว่า พ.ต.ท.ล้ำเลิศขู่ฆ่า ส่วน พ.ต.ท.ล้ำเลิศแจ้งความว่าถูกเสี่ยวินัยพูดจาดูหมิ่นเจ้าพนักงาน




    สืบสวนคดีเชอรี่แอน ดันแคน ใหม่หมด

    ในชั้นแรกที่นายวินัย ถูกจับกุม และตั้งข้อกล่าวหานั้น เจ้าหน้าที่ตรวจแถลงข่าวว่า มูลเหตุสำคัญที่สุดที่เป็นเหตุจูงใจที่ทำให้นายวิชัย วางแผนฆ่า เชอรี่แอน เนื่องจากเขาจับได้ว่า เชอรี่แอนแอบมีชายหนุ่มคนใหม่ แถมยังพามาค้างที่คอนโดฯ ของเขาอีกด้วย พิษรักแรงหึงทำให้เขาใช้วิธีจ้างวานบริวารใกล้ชิด ให้อุ้มเชอรี่แอนไปเชือดด้วยความแค้น

    ผลสรุปเรื่องราวแห่งคดีฆ่านี้ทั้งหมดนี้พยานโจทย์ให้การว่า กลุ่มฆาตกรได้ทำการมอมยาผู้ตายให้สลบ อาจด้วยการโปะยาบนรถแท็กซี่ หลังจากนั้นจึงนำร่างเธอไปที่เกิดเหตุ โดยอาจปล่อยร่างของเธอค่อยๆ จมลงน้ำ จนขาดใจตายไปเอง อย่างที่เหตุการณ์ปรากฏ(อ้าวไหนตอนแรกบอกว่าบีบคอตายไง)

    แม้ว่าจำเลยทั้งหมด จะให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา มาตั้งแต่ถูกจับกุมและในชั้นสอบสวนก็ตาม แต่เมื่อความจริงเปิดเผยออกมา ทุกอย่างก็สายไปเสียแล้ว เพราะพวกเขา ทั้งถูกซ้อม ทรมานด้วยกลกรรมวิธีต่างๆ นานาสารพัดสารพัน จากคดีง่ายๆ กับกลายเป็นคดีซ้อนคดีในเรื่องราวกันจนแยกไม่ออก ระหว่างกลุ่มฆาตกร และแพะรับบาป

    หลังจากรู้ว่ากลุ่มฆาตกรที่จับมาเป็นแพะรับบาป เจ้าหน้าทีตรวจต้องสืบสวนใหม่หมด โดยเริ่มต้นจาก สภอ.สมุทรปราการ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น และกำลังเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ขนาดกองปราบปรามที่ถูกร้องเรียนจากนายวินัย ให้มาช่วยสืบสาวความเป็นจริง และความยุติธรรมที่จริงแท้ของคดีนี้ ให้กระจ่าง และนอกจากจะจับกลุ่มฆาตกรในคดีนี้แล้ว ยังต้องวางแผนจับกุมกลุ่มตำรวจแหกคอกไปพร้อมๆ กันอีกด้วย




    ฆาตกรตัวจริง

    เวลาล่วงเลยมาถึงพ.ศ.2538 เกือบ 10 ปีหลังการฆาตกรรม สาวน้อยเชอรี่แอน เจ้าหน้าที่กองปราบปราม ยังไม่ทิ้งคดีนี้เสียที่เดียว มีการรื้อสำนวน สอบปากคำพยาน และรวบรวมหลักฐานใหม่หมด ความลับและปริศนาในอดีตค่อยๆ กระจ่างออกมาที่ละปม จนกระทั้งชุดที่สืบสวนโชว์ผลงานจับกุมกลุ่มฆาตกรตัวจริงได้ โดยกลุ่มสืบสวนในตอนนั้นประกอบไปด้วย

    พ.ต.อ.อดิศร จินตนะพัฒน์ รอง ผกก.3 ป รองผู้กำกับการ 3
    พ.ต.ท.จตุรงค์ เนขขัมม์ รองผกก.3 ป รองผู้กำกับการ 3
    พ.ต.ท.โชคดี อนุภาพเดช ,ร.ต.อ.สมศักดิ์ พัฒนเจริญ (ยศและตำแหน่งในขณะนั้น)

    การรื้อฟื้นคดีที่ศาลพิพากษาตัดสินไปแล้ว ไม่ใช้เรื่องที่ทำกันง่ายๆ ในวงการยุติธรรมไทยในสมัยนั้น ทั้งสามฝ่าย คือเจ้าหน้าที่ตำรวจ อัยการ และผู้พิพากษา ต้องดำเนิน ทั้งตัวบทกฎหมาย ด้วยความยุ่งยากหลายขั้นตอน

    เป็นสองคดีที่ซ้อนขึ้นอย่างหลายเงื่อนในโจทย์เดียวกัน ทุกอย่างจึงรื้อฟื้นโดยเริ่มต้นจากศูนย์



    **************


    ความจริงที่ปรากฎออกมา

    เจ้าหน้าที่กองปราบพบว่า นอกจากนายวินัยจะมีความสัมพันธ์สวาทกับนางสาวเชอรี่แอนแล้ว เขายังมีผู้หญิงคนอื่นอีก หนึ่งในนั้นคือ นางสาวสุวิบูง พัฒน์พงษ์ พานิช หรือกุ้ง หุ้มส่วนธุรกิจของนายวินัย นอกจากนี้ยังมีผู้หญิงอีก 2-3 คน ในบริษัทก่อสร้าง ตำรวจสืบแกะรอย คู่ขาวินัยทุกคน

    หลังวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2538 ข่าวการฆาตกรรมเชอรี่แอน โด่งดังอีกครั้ง เมื่อเจ้าหน้าที่กองปราบจับกุมผู้ต้องหาคดีนี้เป็นคำราบสอง ประกอบไปด้วย นายสมใจและนายสมพงษ์ บุญญฤทธิ์ สองศรีพี่น้อง ที่เชื่อกันว่าเป็นคนสังหารเชอรี่แอนตัวจริง

    19 กุมภาพันธุ์ 2538 จับนายสมัคร ธูปบูชาการ และนายว่องไว ผู้ร่วมทีมสังหาร

    1 พฤศจิกายน 2538 นางสาวสุวิบูล เดินเข้ามามอบตัวในฐานะถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้จ้างวาน แต่ใช้หลักทรัพย์ 5,000,000 บาท ประกันตัวออกไปได้

    18 มกราคม 2539 ตัวรวจจับกุม นายประมวล พลัดโพชน์ คนขับรถสามล้อในข้อหาแจ้งความเท็จจนในที่สุดศาลตัดสินจำคุกเป็นเวลา 8 ปี

    ในชั้นศาล ตำรวจได้ประมวลเหตุการณ์ และหลักฐานต่างๆ สรุปส่งฟ้องศาล ดังต่อไปนี้

    นงสาวสุวิบูล เกิดความหึงหวง เชอรี่แอนขึ้นมา เมื่อสืบรู้ว่านายวินัย มีความสัมพันธ์สวาทกับเธอ อย่างลับๆ และได้นำเชอรี่แอนมาเลี้ยงดูจนออกหน้าออกตา ส่งเสีย ทั้งค่าใช้จ่ายต่างๆ

    ด้วยความแค้นและริษยา หึงหวง จึงจ้างวานให้คนอื่น อุ้มเชอรี่แอนไปฆ่าโดยไตร่ตรองและวางแผนไว้ก่อน โดยมี นายสมพงษ์และนายสมใจ สองมือฆ่า ซึ่งทั้งคู่เคยเป็นนักงานบริษัทของนายวินัยมาก่อน จึงรู้จักเชอรี่แอนพอสมควร อีกทั้งยังเคยรับส่งเชอรี่แอนอยู่บ่อยครั้ง และบางครั้งภรรยาของเขาทั้งสองก็เคยเป็นพี่เลี้ยงเชอรี่แอนมาก่อนเป็นบางครั้งที่นายวินัยติดธุระ แต่ภายหลังเกิดมีเรื่องบาดหมางกับนายวินัย จนต้องย้ายมาทำงานกับนางสาวสุวิมล

    ด้วยความแค้นที่ต่อนายวินัย ทั้งสองจึงรับปากกับนางสาวสุวิมลอย่างง่ายได้
    และด้วยความรู้จักสนิทสนมกับเชอรี่แอนจึงเป็นเรื่องง่ายที่จะหลอกเธอไปฆ่า

    นายสมัคร ธูปบูชาการ ก็มีความสนิทสนมกับกลุ่มฆาตกรกลุ่มนี้ด้วย
    นายพีระ ว่องไววุฒิ เป็นเพื่อนสนิทกับนายสมพงษ์ และนายสมใจ และเป็นโซเฟอร์แท็กซี่มรณะ หมายเลขทะเบียน 1ท-3992 กรุงเทพมหานคร ที่ไปรับส่งเชอรี่แอนที่หน้าประตูโรงเรียน จนพบจุดจบ แต่เจ้าหน้าที่กันตัวเขาไว้เพื่อเป็นพยานในคดีนี้

    แผนการฆ่าก็ง่ายๆ คือ เดินทางไปรับเชอรี่แอนที่โรงเรียนพระกุมารเยซูวิทยา ในซอยสุขุมวิท 101 โดยนายสมพงษ์ และนายสมใจ ใช้อุบายล่อหลอกเชอรี่แอนในเรื่องที่เกี่ยวกับนายวินัย จนเชอรี่แอนหลงเชื่อ วางใจจนยอมขึ้นรถไปด้วย ระหว่างทางที่ขับรถไปบางปู เธออาจรู้สึกตัวว่ามันมาผิดเส้นทางที่ควรจะเป็น เธอคงพยายามหนีออกจากรถ และอาจมีการต่อสู้และขัดขืนในแท็กซี่มรณะคันนั้น ด้วยรู้ล่วงแล้วว่าซะตาชีวิตจะเป็นอย่างไรในอีกไม่กี่นาทีข้างหน้า

    กลุ่มฆาตกรจำเป็นต้องบีบคอเธอจนเสียสติ จนถึงหลักกิโลที่ 43 ตำบลบางปูใหม่ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นป่าแสมรกชัฏและเปล่าเปลี่ยว กลุ่มฆาตกรนำร่างของเธอ ไปทิ้งไว้ในร่องน้ำจนจมน้ำตาย และชาวบ้านมาพบศพอีก 2 วันต่อมา



    ผลการตัดสิน


    นี้อาจเป็นผลการตัดสินที่ล้มมวยคนดูทั้งประเทศก็ได้

    6 สิงหาคม พ.ศ.2540 เกือบสองปีต่อมาหลังจากจับกุมกลุ่มฆาตกรและผู้จ้างวานตัวจริง ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ให้ตัดสินประหารชีวิตนางสาวสุวิบูล พัฒน์พานิช ผู้จ้างวาน รวมทั้งนายสมพงษ์ บุญญฤทธิ์ และนายสมัคร ธูปบูชการ สองมือฆ่า ก็ถูกพิพากษาให้ประหารชีวิตเช่นกัน

    ต้นปี พ.ศ. 2542 ศาลอุทรณ์พิพากศาลยืนตาม ศาลชั้นต้นให้ประหารีวิตโดยไม่ลดหย่อนผ่อนโทษ

    แต่....

    29 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ศาลฎีกา พลิกคำตัดสินจากสองศาลแรก โดยให้ปล่อยตัว นางสาวสุวิบูลไป เพราะหลักฐานไม่เพียงพอ แม้ว่าจะทำให้เชื่อว่า นางสาวสุวิบูลกิจ เป็นคนจ้างวานฆ่าเชอรี่แอนตัวจริงก็ตาม ส่วนสองมือฆ่า ศาลตัดสินให้จำคุกตลอดชีวิต

    ส่วนกลุ่มตำรวจชุดแรกของ สภอ. เมืองสมุทรปราการ ที่สืบสวนคดีนี้และปั้นพยานเท็จเพื่อจับแพะขึ้นมานั้น ทั้งหมดไม่ได้ถูกลงทัณฑ์แต่อย่างใด เพราะศาลตัดสินแล้วว่า กระทำลงไปตามขั้นตอนของการสอบสอน ตามกฎหมายทุกประการ ปัจจุบันบางคนก็ได้ดีในหน้าที่การงานด้วยซ้ำ


    ส่วนนายวินัยตัวต้นเหตุทุกวันนี้ยังไม่เลิกพฤติกรรมเดิม และนอกจากนี้ยังฟ้องร้องครอบครัวของแพะรับบาปในเรื่องการแบ่งฟ้องค่าสินไหมทดแทนคดีนี้อย่างไม่รู้จบจักสิ้น


    หลังจากนั้น

    ความตายของเชอรี่แอน กลายเป็นตำนานฆาตกรรมสะเทือนขวัญที่สุดในประเทศไทย ผลพวงของคดีนี้ที่ตามมาคือเกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการยุติธรรมมากมายทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ อัยการ และผู้พิพากษา

    พ.ศ. 2539 สำนักงานอัยการสูงสุด จัดเสวนาวิชาการเรื่อง "คดีเชอรี่แอนกระบวนการจะคุ้มครองเสรีภาพของผู้บริสุทธิ์อย่างไร"จากการเสวนาครั้งนั้นได้มีการปรับปรุงขั้นตอนยุติธรรมบางอย่าง ซึ่งมีผลใช้บังคับอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนี้ด้วย





    ขอบขอบคุณ
    คุณ Cammy จากเว็บ writer.dek-d.com/cammy/
    หนังสือตามรอยคดีฆ่า ของเจนจบ ยิ่งสุมล

    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ แจ่มใสยิ้มสวย
    วันที่สมัคร
    Mar 2009
    ที่อยู่
    USA
    กระทู้
    961
    บล็อก
    18
    ขนาดจับตัวคนร้ายได้ ก็ยังตัดสินว่า ไม่ผิด หลักฐานไม่เพียงพอ

    อนิจจา อัตตาจริงๆ ตัวกูของกู ถ้ายอมวางเสียบ้าง ก็คงไม่มีใครต้องตาย ไม่มีแพะ

    อะไรอะไร ก็ไปจับแต่แพะ แหละ

    ก็จับแพะมันง่ายนี่นา
    แบะๆๆๆๆๆ

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •