ชื่อ แห่นางแมว
ภาคเหนือ
จังหวัด สุโขทัย


พิธีแห่นางแมว ความเป็นมาประเพณีแห่นางแมวขอฝน

ช่วงเวลา ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม

ความสำคัญ
การประกอบอาชีพทางเกษตรในสมัยก่อน ต้องพึ่งพาสภาพดินฟ้าอากาศ ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ ถ้าปีไหนฝนดีข้าวกล้าในนาก็เจริญงอกงาม หากปีใดฝนแล้ง หรือฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าในนาก็จะเสียหาย ไม่มีน้ำจะทำนา ชาวบ้านไม่มีวิธีการอื่นใดที่จะช่วยได้ จึงพึ่งพาสิ่งเหนือธรรมชาติต่างๆ เป็นต้นว่าทำพิธีขอฝนโดยการแห่นางแมว เชื่อว่าหากกระทำเช่นนั้นแล้วจะช่วยให้ฝนตกลงมาได้

พิธีกรรม
นำชลอมมาตกแต่งให้สวยงาม ใส่แมวไว้ข้างในมัดผูกให้เรียบร้อยหลังใส่คานหามหัวท้ายสองคนแห่ไปรอบๆ หมู่บ้าน โดยมีกลองยาวนำขบวนพร้อมกับร้องเพลงแห่นางแมว ผ่านหน้าบ้านใคร เจ้าของบ้านก็จะเอากระบวยตักน้ำมาสาดรดแมว พร้อมทั้งให้รางวัลแก่พวกแห่ เช่น เหล้า ข้าวปลา หรือของกินอื่น ๆ แล้วเคลื่อนต่อไปเรื่อยๆ จนหมดเขตหมู่บ้านก็นำของนั้นมาเลี้ยงกัน กระทำดังนี้จนกว่าฝนจะตก เนื้อร้องเพลงแห่นางแมวมีดังต่อไปนี้
นางแมวเอย ขอฟ้าขอฝน ขอน้ำมนต์รดแมวข้ามั่ง
ค่าเบี้ยค่าจ้าง ค่าหาแมวมา ถ้าไม่ให้กินปลา ขอให้ปูกัดข้าว
ถ้าไม่ให้กินข้าว ขอให้ข้าวตาฝอย ถ้าไม่ให้กินอ้อย ขอให้อ้อยเป็นแมง
ถ้าไม่ให้กินแตง ขอให้แตงคอคอด ถ้าไม่ให้นอนกอด ขอให้มอดเจาะเรือน
ถ้าไม่ให้นอนเพื่อน ขอให้เรือนทลาย แม่ยายหอยเอย กะพึ่งไข่ลูก
ลูกไม้จะถูก ลูกไม้จะแพง ฝนตกพรำ ๆ มาลำกระแชง
ฝนตกเขาน้อย มาย้อยชายคา ฝนตกเขาหลวง เป็นพวงระย้า
ไอ้เล่ เหล เล่ ฝนก็เทลงมา เอ้า ฝนก็เทลงมา เอ้า ฝนก็เทลงมา ๆๆๆๆ

แห่นางแมวขอฝน

สรุปผลการวิจัยเรื่องการแห่นางแมวขอฝน

นานมาแล้วก่อนประวัติศาสตร์ มนุษย์เราต่างก็ตั้งบ้านแปลงเรือน อยู่กันเป็นกลุ่มๆตามเผ่า
พันธุ์ของแต่ละเชื้อชาติ แล้วแต่หัวหน้าเผ่าใดจะมีความสามารถหรือฉลาดเฉลียวที่จะรวบรวมผู้คนมาเป็สมัครพรรคพวกได้มากๆ แต่ละกลุ่มก็จะตั้งกฏระเบียบแบบแผนมาเป็นข้อบังคับให้ลูกบ้านใช้ยึดถือปฏิบัติ เพื่อให้ทุกคนอยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุข ถ้าผู้ใดละเมิดกฎที่ตั้งไว้ ผู้นั้นจะต้องได้รับโทษตามที่แจ้งไว้ในกฎของเผ่าพันธุ์นั้นๆ เมื่ออยู่ร่วมกันเนิ่นนานจากวันเป็นเดือน จากเดือนเป็นปี จึงทำให้ออกลูกออกหลานมากขึ้นจนเป็นชุมชนใหญ่โต ผู้คนก็มากขึ้นตามปกติ จึงทำให้เกิดต่างความคิดเห็นของแต่ละคนแต่ละกลุ่ม ความขัดแย้งเรื่องราวต่างย่อมเกิดขึ้น จึงพาสมัครพรรคพวกแยกจากกลุ่มใหญ่ไปหาที่ตั้งหลักแหล่งสร้างบ้าานแปลงเรือนทำมาหากินกันตามความพอใจของตน และผู้นำก็ต้องจัดระเบียบตั้งกฏขึ้นใช้ในการปกครองผู้คนในเผ่าของตนเช่นกันตลอดมา

เมื่อประชากรมากขึ้น ย่อมมีคนฉลาดมากขึ้น รู้จักคิดรู้จักพิจารนาดูดินฟ้าอากาศ หาพิธีเอา

ชนะธรรมชาติเพื่อให้ตัวเองอยู่รอด และเป็นผู้ที่เคารพเชื่อถือของคนทั่วไป สิ่งที่พยายามค้นคิดเฝ้าสังเกตฝนตก ว่ามันมักจะตกวันไหนบ่อยๆ สมัยก่อนไม่มีวันอาทิตย์ถึงวันเสาร์ แต่เขาจะนับวันกันตามจันทรคติ คือยึดเอาการหมุนเวียนของการโคจรรอบโลกของดวงจันทร์เป็นหลักเกณฑ์ ที่มาของระบบดังกล่าวนี้ ต้องขออภัยจริงๆที่ผู้เขียนไม่ได้ค้นคว้าหาเรื่องเติมมาเรียนให้ทราบวันที่ชาวบ้านชาวเมืองเขาใช้นับกันก็มีสองอย่างคือ ข้างขึ้นและข้างแรม ถ้าอยากจะทราบว่าข้างขึ้นหรือข้างแรมมันต่างกันอย่างไร ขอให้ผู้อ่านจงสังเกตดูเอาเอง ปัจจุบันนี้น้อยคนนักที่จะสนใจดูดวงจันทร์ จึงไม่ทราบว่าข้างขึ้นข้างแรมเป็นอย่างไร เวลาไปหาหมอดูเพื่อตรวจชะตาราศรี เขาถามข้อมูลวันคลอดเพื่อใช้ประกอบหลักการพยากรณ์ตามตำราต่างๆของหมอดู ก็บอกไม่ได้ อย่างนี้ขอบอบว่าอย่างไปหาหมอดูเลย ข้อมูลตัวเองก็บอกหมอไม่ถูกแล้ว เชื่อเถอะ อย่าว่าแค่หมอดูเลยต่อให้เทวดาก็ทำการพยากรณ์ชะตาชีวิตของท่านไม่สอดคล้องกับชะตาชีวิตจริงของท่านหรอก

มาเข้าเรื่องที่จะพูดเถอะ การนับวันตามจันทรคตินี้ เขาใช้กันมาก่อนสมัยพุทธกาลแล้ว พระพุทธเจ้าจึงได้กำหนดให้พระสาวกของพระองค์บงเกศาในวันโกนซึ่งก่อนวันพระหนึ่งวัน ท่านไม่ค่อยเข้าวัดเข้าวาเลย ดังนั้นผู้เขียนจะไม่บอกรายละเอียดเพื่อให้ท่านเป็นนักค้นคว้าบ้างหากลูกหลานถามจะได้ตอบได้

ตามธรรมชาติแรงดึงดูดของโลกและดวงจันทร์ จะทำให้อากาศแปรปรวน จึงทำให้เกิดความกดอากาศสูงบ้างต่ำบ้าง จึงทำให้ไอน้ำ ที่ชาวบ้านเขาเรียกว่าบนท้องฟ้าเกิดการรวมตัวกันมากขึ้น จึงทานน้ำหนักไม่ไหวแล้วตกลงมาเรียกว่าน้ำฝน สิ่งนี้เป็นกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ท่านหมอผีทั้งหลายไม่ทราบที่มาที่ไปว่าทำไมจึงเกิดเหตุดังกล่าวนั้นหรอก ได้แต่จดจำไว้ว่าเมื่อไรฝนมันจะตกลงมา แล้วเก็บข้อมูลไว้ เมื่อถึงหน้าฝนเกิดความแห้งแล้ง ฝนฟ้าไม่ตกชาวบ้านต้องการน้ำเพื่อหล่อเลี้ยงพืชผลทำมาหากินตามฤดูการ ก็พากันไปหาหมอผีมาทำพิธีขอฝนจากสิ่งที่คิดว่ามีอิทธิฤทธิ์ มีอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์ เช่น ผี,เทวดา,เทพเจ้าฯลฯ แล้วแต่ที่เขาเล่าเรียนสืบทอดกันมา

เมื่อตกลงกันดีแล้ว หมอก็จะกำหนดวันนัดทำพิธีการขอฝน โดยการเจาะจงลงไปเลยว่าวันโกน หรือวันพระที่จะถึงนี้นะ ให้เลือกเอาวันใดวันหนึ่ง แล้วผู้นำหมู่บ้านนั้นๆก็จะเรียกลูกบ้านมาประชุมเพื่อบอกกล่าวกันให้รู้ทั่วทั้งหมู่บ้าน แล้วแบ่งงานมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกันตามแต่ใครจะถนัดที่จะช่วย เช่นกลุ่มหนึ่งช่วยกันทำคานหาม (ปัจจุบันจะเห็นได้บ้างในงานแห่นาคไปอุปสมบท) ช่างที่มีฝีมือจะประดิษฐ์ตบแต่งได้สวยมาก แต่ที่ไม่มีฝีมือก็เอาเพียงแค่ใช้งานได้เท่านั้น อาจใช้ไม้ไผ่ท่อนเดียวความยาวสัก 4 ศอก ก็พอแล้ว สำหรับแขวนตะกล้าหรือชะลอมขังแมวตัวใหญ่ๆไว้ในนั้น ใช้คน 2 คนห้ามหัวท้าย แมวอยู่กลาง พอมองภาพออกนะ

เมื่อ ถึงกำหนดวันนัดชาวบ้านจะมีความตื่นเต้นกันมากโดยเฉพาะพวกเด็กๆนี่ใจจดใจจ่อ อยากเห็นขบวนแห่กันเต็มที กลุ่มหนุ่มสาวก็ใจเต้นระทึกอยากจะเห็นคู่รักของตนแต่งตัวชุดอะไร แต่ระบ้านที่เส้นทางขบวนแห่จะต้องผ่านมา เขาจะจัดเตรียมน้ำไว้เยอะๆ จะเอาน้ำไว้ทำอะไรเดี๋ยวค่อยทราบครับ ผู้ นำขบวนการจะจัดหาสุราปลาปิ้งมาเลี้ยงกันอย่างทั่วถึง สิ่งที่ขาดไม่ได้อีกอย่างคือเถิดเทิง (กลองยาว) ปี่,ฉิ่ง,กรับ,ฉาบ,ฆ้องและนักร้องประจำวง

ครั้น ได้เวลาบ่ายแก่ๆ ชาวบ้านเรียกแดดร่มลมตก หมอผีก็จะทำพิธีกรรมของเขาตามที่ถ่ายทอดกันมา เมื่อเสร็จเรียบร้อยก็สั่งจัดขบวนตั้งแถวคณะกลองยาวนำหน้าตามดัวยนางรำทั้ง ชายและหญิงแล้วก็มีสองคนช่วยกันหามแมวที่อยู่ในชะลอม จะมีผู้นำหมู่บ้านและหมอผีเดินเคียงข้างคนหามแมวอย่างใกล้ชิดเพื่อให้ชาวบ้านเกิดความศรัทธาเชื่อถือ

แผ่นดินที่แห้งแล้งเพราะไร้ฝนตกมานาน ถูกแดดเผามาตั้งแต่เช้าจนบ่ายแก่ ๆ จึงทำให้ร้อนระอุ ทางเดินเป็นฝุ่นฟุ้งขี้นประดุจหมอกควัญซึ่งเกิดจากฝ่าเท้าของฝูงชนในขบวนแห่นั้นเอง พอผ่านบ้านใดเขาก็จะเอาน้ำที่เตรียมไว้สาดลดใส่แมว น้ำที่ตกลงสู่ผืนแผ่นดินที่กำลังร้อนระอุ ทำให้เกิดปฏิกิริยาร้อนแรงขึ้นอีกทำให้ผู้คนในขบวนแห่กระโดดโลดเต้นแฝงไปด้วยความสนุกสนาน และด้วยอิทธิฤทธิ์ของ ส.ร.ถ.(สุราเถื่อน) จึงลืมความทุกข์ยากไปได้ชั่วขณะ ขบวนแห่จะดำเนินการไปจนทั่วทุกครัวเรือน ทำให้น้ำนองเจ่งไปทั่วทางเดิน เพราะชาวบ้านเอาน้ำมาราดลดแมวนั่นเอง ที่จริงน่าสงสารแมวตัวนั้นนะ ไม่รู้อีโหน่อีเหน่อะไรด้วยเลย มันคงหนาวใจแทบขาด แมวด้วยหนอมันถูกกันกับน้ำชะเมื่อไหล่ ถือเสียว่ามันใช้หนี้กรรมเก่าก็แล้วกัน เกิดชาติใดแสนใดอย่าได้เกิดเป็นแมวให้เขาแห่เลยเชียว ครั้นถึงยามค่ำคืน ความร้อนยิ่งเพิ่มเป็นทวีคูณ เพราะตามกฎของธรรมชาติ เมื่อพระอาทิตย์ตกดินไปแล้ว ผืนแผ่นดินก็จะคลายความร้อนขึ้นมาแล้วลอยขึ้นสู่ท้องฟ้า (ช่วงนี้จะเข้าสู่ทฤษฎีการทำฝนเทียมระดับหนึ่ง) เมื่อความร้อนลอยสูงขึ้นๆไปกระทบกลุ่มเมฆที่มีละอองน้ำเข้า ละอองน้ำก็จะลอยหนีความร้อนขึ้นสู่เบื้องบน จึง ไปกระทบความเย็นเข้าและเกาะจับรวมตัวกันมากขึ้นจึงทานน้ำหนักไม่ไหวทำให้ ต้องลอยต่ำลงมาแล้วกลายเป็นหยดน้ำที่เราเรียกว่าฝนตกนั่นแหละครับ

แหล่งอ้างอิง : http://www.meesook.com/02.htm