กำลังแสดงผล 1 ถึง 1 จากทั้งหมด 1

หัวข้อ: ที่มา อาณาจักรล้านนา

  1. #1
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ ญา ทิวาราช
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    825
    บล็อก
    17

    บ้านมหาโพสต์ ที่มา อาณาจักรล้านนา

    อาณาจักรล้านนา



    อาณาจักรล้านนาสมัยราชวงศ์มังรายตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าตั้งแต่ พ.ศ. 2101 เป็นต้นมา บางช่วงก็เป็นอิสระ บางช่วงก็ขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา นับเป็นเวลาที่ประชาชนพลเมือง ต่างก็ได้รับความเดือดร้อนนานาประการอันเกิดจากการกดขี่ข่มเหงของพม่า ซึ่งมีโป่อภัยคามินีแม่ ทัพปกครองเมืองเชียงใหม่ขณะนั้น เจ้าฟ้าชายแก้วบิดาของเจ้ากาวิละเป็นเจ้าเมืองลำปางใน ฐานะเมืองขึ้นของพม่า เจ้ากาวิละและเจ้าดวงทิพน้องชายถูกพม่าใช้ให้ยกกองทัพไปตีเมืองเวียง จันทน์ได้พร้อมกับนำธิดาเจ้าเมืองเวียงจันทน์ชื่อนางสามผิวไปถวายพระเจ้าอังวะ นับแต่นั้นมา เมืองลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ เชียงราย เชียงแสน หัวเมืองล้านนาทั้งหมดจึงตกอยู่ใต้อำนาจการปกครองของพม่า อยู่ระยะหนึ่ง

    ปี พ.ศ. 2312 โป่อภัยคามินี ถึงแก่กรรม พระเจ้าอังวะแต่งตั้งโป่มะยุง่วนมาครองเมือง เชียงใหม่เนื่องจากชอบใช้ผ้าขาวโพกหัวชาวเมืองจึงเรียกโป่หัวขาว พ.ศ. 2313 พม่าพยายาม อย่างยิ่งที่จะให้ชาวล้านนาตกเป็นทาสของพม่าทั้งด้านวัฒนธรรมด้วย จึงมีประกาศให้บรรดาหัว เมืองขึ้นล้านนา ให้ผู้ชายสักขาดำ (ตามความเชื่อว่า ข่าม หรือเหนียวในทรรศนะของชาวเงี้ยว และชาวม่านโบราณ)แล้วให้ผู้หญิงขวากหู ใส่ม้วนลาน ตามแบบลัทธิธรรมเนียมพม่า ในยุคนั้นพม่ากำลังเรืองอำนาจ เพราะสามารถรบชนะกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ.2310 ความเสียหายของกรุงศรีอยุธยาครั้งนั้นมากมาย จนเมื่อพระเจ้าตากสินกู้อิสรภาพคืนแล้วจะ บูรณะก็เหลือกำลังจึงย้ายเมืองไปตั้งอยู่ที่กรุงธนบุรี แม่ทัพสำคัญของพม่าที่ตีกรุงศรีอยุธยา คือ โป่เจียกหรือ โป่สุพลา ต่อมาได้ปกครองเมืองเชียงใหม่

    เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีกำจัดอำนาจของพม่าให้หมดไปจากแผ่นดินไทย จึงได้รับความร่วม มือจากผู้นำชาวไทยเป็นอย่างดีดังเช่น เจ้ากาวิละกับน้องชายทั้งหมด ซึ่งขณะนั้นอยู่ที่เมืองนคร ลำปางทำกลอุบายให้พม่าเชื่อว่าคนไทยสวามิภักดิ์ต่อพม่า แต่พม่าก็ไม่หลงเชื่อกลับจับตัวเจ้าฟ้า ชายแก้วผู้บิดาของเจ้ากาวิละและน้องทั้งหกพันธนาการและจำคุกไว้ หากปรากฏแน่ชัดว่าเจ้ากาวิ ละและน้องทั้งหกคิดทรยศก็จะประหารชีวิตเจ้าฟ้าชายแก้วเสีย กองทัพของเจ้ากาวิละพร้อมกับ กองทัพของพระเจ้าธนบุรี โดยการประสานความร่วมมือกับนายน้อยวิฑูรย์กับน้อยสมพมิตรชาว เชียงใหม่ ซึ่งอยู่กับพม่าเปิดประตูเมืองเชียงใหม่ให้กองทัพไทยเข้าตีเมืองเชียงใหม่ได้จากพม่า
    สำเร็จ เมื่อวันอาทิตย์ เพ็ญเดือน 5 เหนือ (เดือน 3 ใต้) ปีมะเมีย ฉศก ปี พ.ศ 2317 (จ.ศ.1136) ขณะนั้นเจ้ากาวิละอายุได้เพียง 32 พระชันษา

    ครั้งนั้นเมื่อเจ้ากาวิละสามารถขับไล่กำลังพม่าออกจากเมืองเชียงแสน ได้ไพร่พลมาถวายกษัตริย์ แต่ในปี พ.ศ. 2325 มีการผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน คือ เจ้าพระยาจักรีได้ปราบดาภิเษก เป็นปฐม กษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี พระเจ้าอยู่หัวทรงถือเป็นความชอบที่เจ้ากาวิละนำข้าวของและไพร่พล ถวาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเจ้ากาวิละซึ่งขณะนั้นอายุได้ 40 ปี เป็นพระยามัง ราวชิรปราการกำแพงแก้ว ครองเมืองเชียงใหม่ และในยุคนี้เรียกว่า ยุค "เก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่ เมือง" คือ ไปชักชวนหรือตีเมืองเล็กเมืองน้อยได้ก็นำไพร่พลเมืองมารวมกันที่เวียงป่าซางและ แบ่งผู้ คนไปไว้ตามที่ต่าง ๆ ที่เมืองร้าง เช่น ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ ในยุคนี้ตีได้ดินแดนกว้างไกล ไปถึงลุ่มแม่น้ำสาละวินและสิบสองปันนา โดยเฉพาะที่เคยเป็น "เขตน้ำหนังดินมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ"

    พระเจ้าบุเรงนองกรีธาทัพเข้ายึดเชียงใหม่ไว้ในอำนาจแล้ว เมืองเชียงใหม่จึงตกเป็นเมืองประเทศราชต้องส่งเครื่องราช บรรณาการแก่พม่าทุกปี ได้แก่ ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง ส่วยที่พม่าต้องการ ตลอดจนส่งเสบียงอาหารให้กองทัพพม่าในยามที่พม่ากระทำสงครามกับ เมืองอื่นและเพื่อแสดงความอ่อนน้อมภักดี เจ้าผู้ครองนคร จะต้องเดินทางไปแสดงความภักดีต่อกษัตริย์พม่าทุกปีอีกด้วย

    พระเจ้าบุเรงนอง ยังคงให้พระเจ้าเมกุฏิ ปกครองเมืองเชียงใหม่ต่อไป แต่ไม่มีอิสระในการปกครอง เพราะพม่าได้ส่งแม่ ทัพเข้ามาดูแลควบคุมการปกครองด้วย พระเจ้าเมกุฏิ พยายามแข็งขืน ต่อต้านเพื่ออิสรภาพแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะถูกพระเจ้าบุเรงนองยก กองทัพมาปราบปรามอีกครั้งหนึ่งเมื่อ พ.ศ.2107 ในครั้งนี้พระเจ้าบุเรงนองให้ถอดพระเจ้าเมกุฏิออกจากตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่
    เสีย แล้วให้นางพญาราชเทวี หรือ พระนางวิสุทธิเทวี มาปกครองแทน และนับตั้งแต่นั้นมา เมืองเชียงใหม่ก็ตกอยู่ใต้การปกครองของพม่ามาเป็นเวลานาน กว่า 200 ปี

    ในช่วงแห่งการอยู่ใต้การปกครองของพม่ากว่า 200 ปี นับตั้งแต่ พ.ศ.2107 ในสมัยของพระนางวิสุทธิเทวี (พ.ศ.2107- 2121) จนกระทั่งถึง พ.ศ.2317 พม่าได้แต่งตั้งเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่สืบต่อจากพระนางวิสุทธิเทวีอีก 17 องค์ ซึ่งแต่ละองค์ล้วนเป็นโอรสหรือ ขุนนางแห่งพม่าทั้งสิ้น เพื่อมิให้เชียงใหม่คิดต่อต้านแข็งเมือง อีกทั้งยังใช้เป็นฐานกำลังเพื่อการแผ่ขยายอำนาจ และปราบปรามอาณาจักรล้านช้าง ด้วย ขุนนางเมืองเชียงใหม่จะมีหน้าที่คอยประสานความเข้าใจในการปกครองกับราษฏรในทุกด้าน เช่น การปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ เพื่อเก็บไว้เป็นเสบียง อาหาร ตลอดจนการเกณฑ์ราษฏรไปร่วมรบในสงคราม โดยพม่าจะเป็นผู้ดูแลเอาใจใส่ในเรื่องสวัสดิการต่าง ๆ แก่ครอบครัวของราษฏรที่ไปรบ เป็นอย่างดี

    อย่างไรก็ตามชาวเมืองเชียงใหม่ก็มิได้มีความสุข ในการอยู่ใต้การปกครองของพม่า ทุกคนต้องการอิสรภาพและพยายามต่อต้าน แข็งข้ออยู่เสมอ พม่าต้องคอยส่งกำลังเข้ามาปราบปรามเป็นระยะและกวาดต้อนผู้คน ทรัพย์สินไปพม่าเป็นจำนวนมากเชียงใหม่จึงอ่อนแอ ไร้กำลัง ต่อต้านและตกอยู่ในฐานะเป็นเพียงเมืองสำหรับชุมนุมไพร่พลพม่า และแหล่งเสบียงอาหารสำหรับเตรียมพร้อมในการทำสงครามกับกรุงศรีอยุทธยา เท่านั้น

    ความพยามยามลิดรอนอำนาจขุนนางและ กำลังทหารเมืองเชียงใหม่ของพม่า ทำให้มักเกิดความขัดแข้งระหว่างกันเสมอ บางครั้งถึงกับเกิดการจราจลลุกลามเป็นศึกกลางเมืองขึ้นใน พ.ศ.2314 ขุนนางเมืองเชียงใหม่ นำโดยพญาจ่าบ้านและพญากาวิละ ก่อศึกกับ โปมะยุง่วนของพม่า แต่สู้กำลังของโปมะยุง่วนไม่ได้ จึงขอความช่วยเหลือไปยังกรุงศรีอยุธยา ในครั้งนั้นพระเจ้าตากได้นำกองทัพขึ้นมาช่วย เหลือสมทบกับพญากาวิละเข้าตีเมืองเชียงใหม่ขับไล่พม่าออกไปได้สำเร็จ เมื่อ พ.ศ.2317 เมืองเชียงใหม่จึงพ้นจากอำนาจของพม่าโดยสิ้นเชิง

    แล้วพระเจ้าตากก็โปรดให้พญาจ่าบ้านขึ้นครองนครเชียงใหม่สืบไป โดยได้พระนามว่า พระยาวชิรปราการ เมืองเชียงใหม่ จึงเป็นอิสรภาพและเป็นการสิ้นสุดยุคใต้การปกครองของพม่าแต่เพียงเท่านี้



    ที่มา.........เอกสารประกอบ ม.จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ญา ทิวาราช; 30-09-2009 at 18:34.

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •