ลักษณะภูมิประเทศ
ประกอบด้วย พื้นที่ราบ ป่าไม้ ภูเขา หาดทราย น้ำตก ถ้ำ ทะเลสาบ และกลุ่มเกาะในท้องทะเลทั้งสอง ฝั่ง มีเทือกเขาที่สำคัญได้แก่ เทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาภูเก็ต เทือกเขานครศรีธรรมราช โดยมีเทือกเขาสันกาลาคีรี เป็น พรมแดนกั้นระหว่างไทยกับมาเลเซีย รวมความยาวของเทือกเขา ภาคใต้ ทั้งหมดกว่า 1,000 กิโลเมตร มีแม่น้ำสายสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำพุมดวง แม่น้ำตาปี แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำท่าทอง แม่น้ำตะกั่วป่า แม่น้ำปากพนัง และแม่น้ำตรัง

ชายหาดทางฝั่งอ่าวไทยเกิดจากการยกตัวสูงขึ้น จึงมีที่ราบชายฝั่งทะเลยาวเรียบกว้าง น้ำตื้น ส่วนทางด้านทะเลอันดามัน เป็นลักษณะของชายฝั่งยุบต่ำลง มีที่ราบน้อย ชายหาดเว้าแหว่ง มีหน้าผาสูงชัน ชายฝั่งเป็นโขดหินและป่าโกงกาง สภาพ อากาศค่อนข้างร้อน แต่เนื่องจากได้รับอิทธิพลของลมมรสุม จึงทำให้มีฝนตกชุกตลอดทั้งปี โดยเริ่มจากเดือนพฤษภาคมถึง เดือนกันยายน เป็นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งจะทำให้เกิดฝนตกและคลื่นลมแรงทางฝั่งทะเลอันดามัน และอิทธิพลของ ลมมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ทางฝั่งทะเลอ่าวไทย ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป ภาค ใต้จึงมีเพียง 2 ฤดูคือ ฤดูร้อน และฤดูฝน

ตามหลักฐานทางโบราณคดี
ได้ระบุว่าแหลมมลายูเป็นศูนย์กลางการค้าขายมานาน และมีเมืองที่เจริญรุ่งเรืองหลายแห่ง เช่น ตักโกละ ลังกาสุกะ พานพาน ตามพรลิงค์ และศรีวิชัย


อาณาจักรศรีวิชัย มีราชธานีอยู่ในเกาะสุมาตรา (ในปัจจุบัน) เป็นอาณาจักรแรกที่มีเรื่องราวเกี่ยวพันกับดินแดนในแหลม มลายู โดยมีประเทศราชบนแหลมลายู หลายประเทศ คือ ปาหัง ตรังกานู กลันตัน ตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช) ครหิ (ไชยา) ลังกาสุกะ (อยู่ในประเทศมาเลเซีย) เกตะ (ไทรบุรี) กราตักโกลา (ตะกั่วป่า) และปันพาลา (อยู่ในประเทศพม่า) พลเมืองนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ซึ่งได้เผยแผ่มาในดินแดนแถบนี้ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 13

ภายหลังที่อาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมอำนาจลง เมืองตามพรลิงค์ ได้แยกตนเป็นอิสระโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่แคว้นนครศรี ธรรมราช มีอำนาจปกครองเมืองต่าง ๆ ได้แก่ สายบุรี ปัตตานี กลันตัน ปาหัง ไทรบุรี พัทลุง ตรัง ชุมพร บันไทสมอ สงขลา ตะกั่วป่า ถลาง และกระบุรี

ในสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ไทยได้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับแคว้นนครศรีธรรมราช ต่อมาเมื่อกรุงศรีอยุธยามีอำนาจขึ้น แทนสุโขทัย (พ.ศ. 1893) และได้เมืองปักษ์ใต้ทั้งหมดเป็นเมืองขึ้น จึงได้มอบอำนาจให้เมืองนครศรีธรรมราชปกครอง เมืองฝ่ายใต้ และหัวเมืองมลายูทั้งหมด

จากสภาพทางภูมิศาสตร์
ทำให้ ภาคใต้ มีความสัมพันธ์กับประเทศในเอเชียอาคเนย์มาโดยตลอด เช่น ค้าขายกับจีนมาตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 5 จนถึง 16 สินค้าที่ค้าขาย ได้แก่ ไข่มุก เครื่องแก้ว น้ำหอม อัญมณี และนอแรด ในกลางพุทธศตวรรษที่ 10-12 มีการติดต่อกับอินเดีย มีการเผยแผ่ศาสนาพุทธและพราหมณ์ ซึ่งมีอิทธพลทางด้านศิลปะเป็นอย่างมาก รวมทั้ง วรรณคดี ความเชื่อ ประเพณี และกฏหมาย จากนั้นในพุทธศตวรรษที่ 12-15 มีการค้าเครื่องเทศกับชาวเปอร์เซียและชาว อาหรับ ซึ่งได้นำศาสนาอิสลามมาสู่เกาะสุมาตรา จากนั้นได้ขยายสู่แหลมมลายูถึงประเทศอินโดนีเซีย และเลยมาถึงทางใต้ ของไทยในราวศตวรรษที่ 20 ทำให้ชาวพื้นเมือง ภาคใต้ บางส่วนนับถือศาสนาอิสลาม


นอกจากชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมแล้ว ยังมีกลุ่มชาวพื้นเมืองที่เรียกว่า "ชาวน้ำหรือชาวเล" อาศัยอยู่ตามริมฝั่งทะเล ในอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา หาดราไวย์ และเกาะสิเหร่ จังหวัดภูเก็ต และตามหมู่เกาะต่าง ๆ ของจังหวัดสตูล ชาวพื้น เมืองเหล่านี้เรียกตัวเองว่า "ชาวไทยใหม่" เชื่อว่าเป็นบรรพบุรุษของชนชาติมลายู

ชาวน้ำหรือชาวเล มีสีผิวคล้ำ ร่างกายแข็งแรง นิสัยรักสงบ นับถือภูตผีปีศาจ มีประเพณีบวงสรวงบรรพบุรุษและเจ้าเกาะ โดยมีพิธีลอยเรือสะเดาะเคราะห์ เป็นบทพิสูจน์ ความเชื่ออันนี้ ส่วนอาชีพหลักคือ การทำประมง

สำหรับชาวซาไก หรือที่เรียกว่า เงาะป่า นั้น เป็นชนพื้นเมืองอีกเผ่าหนึ่งที่อาศัยอยู่ทาง ภาคใต้ โดยเฉพาะที่อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง อำเภอบันนังสตา และอำเภอเบตง ในจังหวัดยะลา ชาวซาไกมีผิวพรรณและรูปร่างคล้ายชาวน้ำ แต่อาศัยอยู่ตามป่าเขา มีอาชีพหาของป่า และเก่งในการล่าสัตว์

อุปนิสัยของชาวใต้
ส่วนใหญ่จะอดทน เข้มแข็ง ฉลาด มีความมุ่งมั่นสูงและปราดเปรียว การแต่งกายจะแตกต่างไปตาม กลุ่ม คือ ชาวไทยเชื้อสายจีนแต่งกายเป็นแบบจีน ชาวไทยมุสลิม จะแต่งกายคล้ายชาวมาเลเซีย สตรีนุ่งผ้าปาเต๊ะ สวมเสื้อยา หยา เป็นเสื้อแขนกระบอก มีผ้าคลุมศีรษะ ผู้ชายนุ่งโสร่ง หรือกางเกง สวมเสื้อแขนยาว โพกศีรษะหรือสวมหมวก ปัจจุบัน มีการแต่งกายที่เป็นสากลมากขึ้น ส่วนภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยสำเนียงชาวใต้ แต่ผู้ที่อยู่ใกล้ชายแดนระหว่างไทยกับ มาเลเซียจะพูดภาษายาวี หรือภาษามาลายู


ถึงแม้ว่าอาหารของ ภาคใต้ จะมีรสจัดแต่ก็เป็นที่นิยมของคนทั่วไป ได้แก่ แกงเหลือง แกงไตปลา แกงส้ม น้ำยาปักษ์ใต้ น้ำพริกกุ้งเสียบ น้ำพริกกะปิ รับประทานกับผักสดหลายชนิด ข้าวยำ บูดูหลน ไก่กอและ รวมทั้งอาหารทะเล

ประชากรทาง ภาคใต้ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่กาแฟ มีสวนยางพารา สวนมะพร้าว สวนผลไม้ และมะม่วง หิมพานต์ ทำการประมงน้ำลึกและประมงชายฝั่ง การทำนากุ้ง เลี้ยงหอยมุก ส่วนผลงานด้านหัตถกรรม ได้แก่ ผ้าเกาะยอ ผ้าไหมพุมเรียง ผ้าทอเมืองนคร ผ้าบาติก เครื่องประดับเครื่องใช้ประเภทเครื่องเงิน เครื่องทอง ทองเหลืองและเครื่องถม งานฝีมือจักสานย่านลิเพา และเครื่องประดับที่ทำจากเปลือกหอย สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ ภาคใต้ ยังคงอยู่ใน ความสนใจของนักท่องเที่ยวนอกเหนือจากธรรมชาติที่สวยงาม