กำลังแสดงผล 1 ถึง 3 จากทั้งหมด 3

หัวข้อ: อาณาจักรตะโกลา

  1. #1
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ ญา ทิวาราช
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    825
    บล็อก
    17

    บ้านมหาโพสต์ อาณาจักรตะโกลา

    เมืองท่าโบราณในดินแดนสุวรรณภูมิ



    ในสมัยโบราณนั้นชาวอินเดียตอนใต้ จากแคว้นกลิงคราษฎร์ เมืองมัทราช ได้พากันเดินทางเข้ามาทำการค้าขายทางทะเลทางเส้นทางนี้ เมื่อประมาณ ๑,๔๐๐ – ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว โดยขึ้นบกที่เมืองตักโกลา ข้ามเข้าด้านหลังเมืองแล้วล่องมาตามลำน้ำตะกั่วป่า แม่น้ำคีรีรัฐ แล้วตั้งเมืองที่เมืองที่เมืองไชยยา ต่อมาก็ย้อนลงมาข้าแม่น้ำหลวง (แม่น้ำตาปตีหรือตาปี) พวกหนึ่งและอีกพวกหนึ่งแยกลงไปทางใต้ตั้งเมืองที่หาดทรายแก้วชื่อเมืองตามพรลิงค์

    เมืองตักโกลา หรือ กราตักโกลา ที่ปรากฏในศิลาจารึกกาลาสัน พ.ศ. ๑๓๒๒ นั้น คือ เมืองท่าสำคัญที่เป็นทำเลไปมาหาสู่ยังเมืองต่าง ๆ ทางตอนใต้ของสยามประเทศข้อสรุปใหม่ก็คือ เมืองตักโกลานี้น่าจะเป็นเมืองตรัง มากกว่าเมืองตะกั่วป่า นักประวัติศาสตร์ได้เข้าใจกันมาแต่เดิม

    เนื่องจากปรากฏว่า มีชื่อ เมืองตะโกลา (แปลว่ากระวาน) อยู่ทางฝั่งตะวันตกของประเทศไทย จึงข้อสันนิษฐานของเยรินีว่า ว่า ตะโกลานั้นเป็นเมืองตะกั่วป่า และเบอร์เทลลอตได้สันนิษฐานว่า ตะโกลานั้นเป็นเมืองตรัง เป็นข้อขัดแย้งกันอยู่

    สำหรับทำเลเมืองท่าโบราณชื่อ ตะโกลา นั้น เป็นเส้นทางที่มีความสำคัญต่อการเดินทางของวิทยาการต่าง ๆ ที่มาจากอินเดีย ดังนั้นสืบค้นได้ว่า

    ในคัมภีร์มิลินทะปัญหา (คัมภีร์นั้นขียนขึ้นจากที่พระเจ้ามิลินท์สวรรคตเกือบ ๑๐๐ ปี และก่อนที่ ปโตเลมี ทำการเขียนเส้นทางภูมิศาสตร์ ๒๐๐ปี) พระปิฎกจุฬาเถระ ได้รจนาไว้ เมื่อ พ.ศ. ๕๐๐ มีความว่าพระมหานาคเสนเถระที่ได้ยกขึ้นอุปมาถวายพรเจ้ามิลินท์ (พระเจ้าเมนันเอดร์) กษัตริย์ผู้ปกครองแคว้นคันธาระหว่าง พ.ศ. ๓๙๒ – ๔๑๓ และได้กล่าวถึงการแล่นเรือมหาสมุทรไปยังเมืองต่าง ๆ ซึ่งมีชื่อ ตักโกละอยู่ด้วย

    การเดินทางของสมัยโบราณนี้ เชื่อว่าเมื่อแชประมาณ ๑๔๐๐ – ๑๕๐๐ ปีชาวอินเดียตอนใต้จากแคว้นกลิงคราษฎร์ เมืองมัทราชนี้ พากันเดินทางเข้ามาค้าขายกันทางทะเลและขึ้นบกที่เมืองตักดกลา (เมืองตรัง หรือเมืองตะกั่วป่า) ข้ามเขาหลังเมืองและล่องมาตามน้ำตะกั่วป่า แม่น้ำคีรีรัฐ แล้วตั้งเมืองที่เองไชยา ต่อมาก็ย้อนข้ามลงมาข้าแม่น้ำหลวง (แม่น้ำตาปตีหรือคาปี) พวกหนึ่งและอีกพวกหนึ่งแยกลงไปทางใต้ตั้งเมืองที่หาดทรายแก้วชื่อเมืองตามพรลิงค์ (เมืองนครศรีธรรมราช)

    ในศิลาจารึกกาลาสัน พ.ศ. ๑๓๒๒ ที่มีความปรากฏว่า “อาณาจักรศรีวิชัยมีประเทศราชตั้งอยู่บนฝั่งทั้งสองของแหลมมลายูหลายประเทศ คือ ปาหัง ตรังกานู กบลันตัน ตามพรลิงค์ ครหิ ลังกาสุกะ เกตะ กราตักโกลา ปับผาสะ” นั้น

    ตักโกละ หรือตักโกลา นั้นมีข้อศึกษากับทางประวัติศาสตร์ว่า ไม่ใช่เมืองตะกั่วป่า จังหวัดพังงา แต่เป็น เมืองตรังนั้น มีข้อมูลและตุผลมาจากการสำรวจทางประวัติศาสตร์โบราณคดีว่า

    ๑. เส้นทางข้ามแหลมจากตะกั่วป่า (อำเภอตะกั่วป่า) มายังอ่าวบ้านดอน เป็นเส้นทางทุรกันดารไม่

    เหมาะสมกับการเดินทางค้าขายในสมัยโบราณ ที่ต้องลำเลียงสินค้าจำนวนมาก เส้นทางนี้ต้องเดินเท้าขึ้นเขาสกด้วย ไม่น่าเชื่ออเล็กซานเดอร์ พ้อค้าชาวกรีกจะเดินเรือมาขึ้นที่ตะกัวป่าแล้วขนสินค้าข้ามแหลมมาอ่าวบ้านดอนได้ และไม่พบวัตถุโบราณวัตถุที่ร่วมสมัยกับพระเจ้ามิลินท์ (พ.ศ. ๓๙๒ -๔๑๓) หรือพ่อค้าอเล็กซานเดอร์ พ่อค้าชาวกรีก (พ.ศ. ๖๘๓ ๗๐๘) ที่ปโตเลมีเขียนบันทึกไว้)

    ๒. มีเส้นทางทั้งทางน้ำและทางบกอีกหลายทางที่สามารถขนถ่ายสินค้าจากตะวันตกไปตะวันออกได้

    สะดวกกว่า และพบว่า เมืองตกโกลานี้เป็นศูนย์กลางการค้า อยู่ที่ จังหวัดตรัง บริเวณบ้านหูหนาน หรือกรุงธานี และแม่น้ำตรังก็คือ แม่น้ำไครโสนาส ในภูมิศาสตร์ของเปโตเลมี

    การมองทำเลเมืองท่าสำคัญของเมืองตักโกลา ว่าอยู่ที่เมืองตรังเป็นเมืองท่าที่มีอายุกว่า ๒,๐๐๐ ปีนี้ จึง

    สำคัญและเป็นข้อมูลที่ชี้ให้เห็นว่า ทำเลนี้สอดคล้องกับเส้นทางโบราณ ทำเลดังกล่าวนี้มีอายุเก่ากว่าอาณาจักรสุโขทัยและเป็นเรื่องที่เปลี่ยนข้อสันนิษฐานเดิมที่เชื่อกันว่า ตักโกลาคือ เมืองตะกั่วป่า

    สำหรับเมืองตรังในสมัยโบราณนั้นสามารถแบ่งความเจริญเติบโตของชุมชนเป็น ๓ ยุค กล่าวคือ

    · ยุคแรก ตัวเมืองตั้งอยู่เหนือเขาปินะอยู่ระยะหนึ่ง ริมฝั่งแม่น้ำตะวันออกมีปากคลองกะปาง ฝั่งตรงข้ามคลองกะปางเป็นบ้านหูหนาน ชาวบ้านเรียกกรุงธานี ปัจจุบันเป็สาวนยางพารา บ้านหูหนานหรือกรุงธานี นี้เป็นที่ตั้งเมืองตักโกลา (ตะโกลา) ในถ้าเขาปินะพบพระพิมพ์ดินดิบศิลปะสกุลคุปตะมีอายุราว พุทธศตวรรษ ที่ ๑๒-๑๓ จำนวนมาก

    · ยุคสอง ตัวเมืองย้ายมาตั้งใกล้คูเมืองลำภูรา เรียกว่า เมืองตรังปุระหรือ เมืองลำภูรา มีเขาลำภุรา ในถ้ามรชีภาพเขียนสี พบเครื่องมือหินใหม่กับหม้อดินเผาสีดำชาวบ้านเรียกว่า ถ้ำตรา ถัดตัวเมืองนี้ลงมามีหมู่บ้านอู่ตะเภา หรือ ทุ่งทัพเรือ เป็นที่ต่อเรือรบของเมืองตรังคปุระ เมืองนี้มีอายุประมาณสมัยสุโขทัย

    · ยุคสาม ตัวเมืองย้ายมาตั้งอยู่ข้างใต้หมู่บ้านอู่ตะเภา บริเวณบ้านาแขก เรียกว่าตรังนาแขก มีอายุสมัยกรุงศรีอยุธยา

    สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ได้บันทึกการเดินทางเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔ ไว้ว่า “ถึงบ้านท่าจีน
    พวกจีนฮกเกี้ยนอยู่ค้าขาย เรือเสาใบอย่างจีนใหญ่ ๆ จอดอยู่ ๘ ลำ และมีอู่ต่อเรือชนิดนั้นที่นั่นอีก ๒ แห่ง กำลังต่อเรืออยู่ทั้ง ๒ อู่ ..”

    สำหรับเส้นทางโบราณเป็นขอพิสูจน์ว่า เมืองโกตักลานั้นคือ เมืองตรัง แน่นอนนั้นคือ เส้นทางเดินเรือจากปากแม่น้ำตรังในสมัยโบราณ (ราวต้นพุทธศักราช) นั้น มีเส้นทางเดินผ่านตลอดไปถึงแม่น้ำตาปีที่อ่าวบ้านดอนใต้ โดยมีคลองโอ๊กกับคอลงมีนเป็นลำน้ำเชื่อมโยงถึงกันได้ เป็นการแล่นเรือผ่านไปตามไครเสเซอโสเนสส (เกาะทองหรือสุวรรณทวีป) จนไปถึงอ่าวบ้านดอน หลังจากนั้นสามารถแล่นเรือไปยังเวียดนามและจีนโดยไม่ต้องผ่านทางช่องแคบมะละกา ซึ่งเป็นทางอ้อมและมีโจรสลัดชุกชุม เมื่อมีการคมนาคมขนถ่ายสินค้าต่อเนื่องมาทุกสมัย จึงทำให้เกิดชุมชนที่เจริญรุ่งเรืองขึ้น เมืองต่างจึงเกิดขึ้นตามเกาะทองรวมทั้งเมืองตักโกลา (ตะโกลา) ด้วย

    นอกจากเส้นทางเดินเรือดังกล่าวแล้วยังมีเส้นทางบกในสมัยโบราณข้ามจากแถบตะวันตกไปจากฝั่งตะวันออกด้วย โดยอาศัยช้างและม้าบรรทุกสินค้ามาตามเส้นทางเดินจากตรังผ่านช่องแคบพับผ้าทางหนึ่ง ที่วัดคูหาสวรรค์ จังหวัดพัทลุงนั้นได้พบพระพิมพ์ดินดิบศิลปะคุปตะสมัยเดียวกันกับที่พบถ้ำแถบจังหวัดตรังด้วย อีกเส้นทางหนึ่งเดินทางจากบ้านหูหนานคือเมืองตรังกรุงธานี ผ่านกะปางไปออกทุ่งสง ไปปากแพรก ออกร่อน

    พิสูจน์ เข้าธงชัยไปศาลามีชัย สู่เมืองตามพรลิงค์ (เมืองนครศรีธรรมราช) พบหลักฐานทางโบราณคดีที่ตำบลเขาพระ อำเภอร่อนพิบูลย์ คือศิลาจารึกอักศรปัลลวะ มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๒ ที่เขาช่องคอย เป็นหลักฐานว่า บริเวณนั้นเป็นชุมชนโบราณมากกว่า ๑,๓๐๐ ปีแล้ว

    ในบันทึกของหลวงจีนอี้จึงเดินทางไปศึกษาคัมภีร์ทางศาสนาพุทธที่อินเดียนั้นได้เดินทางออกจากกวางตุงเมื่อปี พ.ศ. ๑๒๑๔ ด้วยเรือสำเภาของพ่อค้าชาวเปอร์เซีย เดินทาง ๒๐ วันถึงเมืองไชยา เรียนภาษาสันสกฤตที่ไชยา ๖ เดือน แล้วเดินทางผ่านช่องแคบมะละกา เมื่อศึกษาอยู่ที่อินเดียนานถึง ๑๔ ปี ก็เดินทางกลับมาทางลัดผ่านทางทับเที่ยง (ที่ตั้งอำเภอเมืองตรังในปัจจุบันนี้) เส้นทางกลับนี้เข้าใจว่า หลวงจีนอี้จิงเดินทางเรือมาขึ้นบกที่บ้านท่าจีน แล้วเดินทางบกต่อมาเส้นทางช่องเขาพับผ้า เข้าสู่เมืองพัทลุงและสทังพระ แล้วมุ่งตรงไปเมืองไชยา


    สรุปแล้วบ้านหูหนาน (กรุงธานี) และบ้านท่าจีน ของเมืองตรังจึงเป็นท่าเรือสำคัญ เป็นทำเลเมืองท่าโบราณที่มีอายุกว่า ๒,๐๐๐ ปีของเมืองตักโกลาหรือตะโกลา ไม่น่าจะเป็นเมืองตะกั่วป่า จังหวัดพังงาอย่างที่เข้าใจกันแต่เดิม

    เมืองสำคัญอีกแห่งหนึ่งใกล้กับเมืองพัทลุงนั้น คือ เมืองปะเหลียน (เมืองปะลันตา เป็นเมืองเก่าแก่อัชีเมืองหนึ่งตั้งมาพร้อมกับเมืองตะโกลา (เมืองตรัง) มีอายุไม่ต่ำกว่า ๑,๘๐๐ ปี มีชื่อปรากฏในบันทึกประวัติศาสตร์ปโตเลมีว่า ปะลันตา เมืองนี้มีแม่น้ำปะเหลียน เป็นแม่น้ำเคียงคู่ไปกับแม่น้ำตรัง ที่ใช้เป็นเส้นทางสำหรับขึ้นบกต่อไปไปเมืองพิทลุงได้ ในสมัยรัตนโกสินทร์ หลวงปะเหลียนโต๊ะกา ถูกเจ้าเมืองพิทลงใช้ให้ไปซื้ออาวุธปืนกระสุนดินดำ ปืนลินลาปากนก เป็นต้น จากพระยาราชกปิตัน (พรานซิส ไลท์) ที่เกาะปีนัง เมือพ.ศ. ๒๓๓๐ เพื่อมาใช้ต่อสู้กับพม่า

    เมืองปะเหลียนนั้นครั้งแรกอยู่ใกล้เมืองพัทลุง (คือ หมู่ที่ ๓ ต.ปะเหลียน ) ต่อมาพ.ศ. ๒๔๓๔ ได้ย้ายมาตั้งที่ตำบลท่าพญา เป็นอำเภอพญาขึ้นกับเมืองตรัง และเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอปะเหลียน ใน พ.ศ. ๒๔๔๐ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ อำเภอปะเหลียนได้ยุบเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดตรัง พระยาปริยันต์เกษตรานุรักษ์ (ทองขาว ณ พัทลุง) นั้นเป็นเจ้าเมืองปะเหลียนคนสุดท้าย ก่อนที่พยารัษฎานุประดิษฐ์ เจ้าเมืองตรังเข้ามาปกครอง พ.ศ. ๒๔๕๐ อำเภอปะเหลียนได้ย้ายมาตั้งอยู่ที่บ้านหยงสตาร์ประมาณ ๑๐ ปี จึงย้ายมาตั้งอยู่ที่ตลาดท่าข้าม วันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๐ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอหยงสตาร์ ในวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ จึงเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอปะเหลียน ตามเดิม เมืองปะเหลียน นี้ ไม่มีทำเลแน่นอนเลยสักสมัย จึงมีการเปลี่ยนแปลงทั้งชื่อที่ตั้งยู่เสมอ ทั้ง ๆ ที่เป็นเมืองโบราณเหมือนกัน

    สรุปแล้วพื้นที่เมืองตรังมีความเหมาะสมที่จะเชื่อว่าเป็น ตะโกลา ในสมัยโบราณและเป็นจุดที่ชาวอินเดียเดินทางไปยังเมือตามพรลิงค์ (เมืองนครศรีธรรมราช) เมืองครหิและเมืองไชยา (ยอรช เซเดส์ ว่าเป็นที่เดียวกัน) ซึ่งต่อเป็นชุมชนที่ชาวอินเดียนำวิทยาการที่เป็นอารยธรรมอินเดียโบราณเข้ามาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิครั้งแรก รวมทั้งเกิดศาสนาพราหมณ์ขึ้นที่ชุมชนเขาคา ด้วย


    ดินแดนสุวรรณภูมินั้น ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๙ เป็นต้นมา บริเวณตอนกลางนั้น บ้านเมือง

    ตั้งอยู่แถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีนนั้นมีความเจริญรุ่งเรืองมาก มีการตั้งชุมชนสำคัญ ๆ อยู่สองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา

    ชุมชนหรือบ้านเมืองด้านตะวันตกของแม่น้ำท่าจีนที่สำคัญนั้น คือ เมืองอู่ทอง ปรากฏว่าพบหลักฐานร่องรอยของเรือสินค้าชาวต่างชาติเดินทางไปมาและจอดหน้าเมืองได้

    หลักฐานที่คัญทางโบราณคดีชิ้นหนึ่งพบที่กลางป่าตำบลพลตึก อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี แถบต้นแม่น้ำแม่กลอง คือตะเกียงโรมสำริด สมัยพุทธสตวรรษที่ ๖ ซึ่งสร้างแบบเดียวกันกับตะเกียงที่หล่อขึ้นจากเมือวอะเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ ถือว่าเป็นหลักฐานที่แสดงถึง การติดต่อระหว่างโบราณสถานที่พงตึก กับเรือสินค้ากับชาวต่างประเทศในสมัยโบราณในแผนที่โบราณบางฉบับมีชื่อ พงตึก ปรากฏในแผนที่นั่นด้วย สันนิษฐานคำว่า “พงตึก” นั้น น่าจะเป็นสำเนียงถ้อยคำที่มาจากภาษาเขมร “ปวงตึ๊ก” ซึ่งแปลว่า “ท่าเรือ”


    ดังนั้นชาวอินเดียเดินทางมาค้าขายในดินแดนตะวันออกหรือดินแดนสุวรรณภูมิมากขึ้น จึงทำให้มีเส้นทางทะเลติดต่อกันเป็นประจำ ดังนั้นเมื่อสุวรรณภูมิมากขึ้น จึงทำให้มีเส้นทางบกและเส้นทะเลติดต่อกันเป็นประจำ ดังนั้นเมือวรรณกรรมต่าง ๆ ของอินเดียได้ถูกนำมาเผยแพร่ จึงมีการประพันธ์เรื่องราวที่กล่าวถึงดินแดนสุวรรณภูมิไว้ด้วย เช่น พระมหาชนก และเจ้าชายสุวรรณสาม นั้นได้มีความปรารถนาที่เดินทางไปยังสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นชื่อของอาณาจักรที่อยู่ในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คืออาณาจักรสยาม) และมีชื่อปรากฏในเอกสารและแผนที่โบราณ ซึ่งมีชื่อสถานสำคัญและมีเมืองอีกหลายเมืองที่กล่าวถึงนั้นด้วย



    ในบันทึกของปโตเลมี ชาวกรีก ได้เขียนบันทึกไว้เมื่อราว พ.ศ. ๗๐๐ นั้นมีชื่อเมือง คือ ตะโกลา ปรากฏอยู่ (สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นท่าเรือโบราณในเมืองตรัง ซึ่งเดิมเข้าใจว่าชื่อนี้เหมือนคำว่า ตะกั่วป่า จึงเข้าใจว่าเป็นอำเภอตะกั่วป่า บ้างว่าอยู่ที่ควนลูกปัด อ.ควนลูกปัด จ.กระบี่ สมัยนั้นท่าเรือนั้นเป็นตลาดกระวาน (คล้องกับคำว่า ตะโกลา) เกาะการบูร (กรรปูรทวีป) เกาะมะพร้าว (นาริเกทวีป) บอกลักษณะของสินค้าไปในตัว



    การเดินทางติดต่อไปมาค้าขายกับดินแดนสุวรรณภูมิดังกล่าวนั้น ทำให้พ่อค้าอินเดียโบราณบางคนได้ตั้งถิ่นฐาน (ประจำเมืองท่า) และมีครอบครัวกับหญิงพื้นเมือง ต่อมาได้สร้างตนขึ้นเป็นหัวหน้าชุมชนและมีอำนาจเหนือชาวพื้นเมือง สร้างระบบการครองเมืองตามแบบผู้ครองอย่างอินเดีย

    เส้นทางเดินของพ่อค้าชาวอินเดียภาคใต้นั้น น่าจะลงเรือสำเภาสินค้าเดินทางมาทางทะเลข้ามอ่าวเ

    บงกอล เข้ามาทางหมู่เกาะอันดามัน เกาะนิโคบาร์ และแหลมอฉินด้านเหนือของเกาะสุมาตรา มายังดินแดนทางฝั่งทะเลอินเดีย



    พ่อค้าอินเดียบางพวกเดินทางมาขึ้นบกที่ตะโกลา (ท่าเรือเมืองตรัง) แล้วเดินทางต่อมายังเมืองไชยา (ครหิ) และอ่าวบ้านดอน (พันพันหรือพุนพิน) แล้วเดินทางบกต่อไปยังตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช) และบางพวกก็เดินทางขึ้นบกที่เมืองไทรบุรี แล้วเดินตามเส้นทางบกต่อมายังเมืองสงขลา



    เส้นทางของพ่อค้าชาวอินเดียภาคกลางนั้น น่าจะแล่นเรือสำเภาสินค้าเลียบชายฝั่งมาขึ้นบกที่เมืองทวาย แล้วเดินบกมาทางด้านตะวันออก ผ่านเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ ค่านมะขามเตี้ยหรือด่านทับตะโก ลงเรือและเดินบกมาตามแม่น้ำแม่กลองเข้ามาทางลุ่มแม่น้ำแม่กลองเข้ามาทางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ติดต่อขึ้นไปทางอนาจักรทางเหนือได้ หรือลงเรือสินค้าขนาดใหญ่เดินทางข้ามอ่าวไทยต่อไปยังดินแดนของอนาจักรฟูนัน (เขมร) และอาณาจักรจามปา (ญวน) ก็ได้



    พ่อค้าอินเดียบางกลุ่มเดินทางโดยลงเรือที่เมืองละริดแล้วนั่งเกวียนหรือเดินช้างมาทางบกมาทางเมืองพริบพรี (เพชรบูรี) บางกลุ่มเดินทางเข้าทางด่านสิงขรมาทางจังหวัดประจวบคิรีขันธ์



    ส่วนเส้นทางของพ่อค้าชาวอินเดียทางภาคเหนือนั้นน่าจะเดินทางผ่านมาทางดินแดนพม่า เข้ามาทางชายแดนแม่ฮ่องสอน เข้ามาเมืองเชียงใหม่หรือเข้ามาทางเมืองมะละแหม่ง ผ่านด่านแม่ละเมาที่แม่สอด เข้ามายังเมืองตากที่อยู่ฝั่งแม่น้ำวัง แล้วลงเรือเดินทางมายังเมืองต่างๆในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในปัจจุบันนี้ยังมีการใช้เส้นทางนี้ ต้อนวัวจากบังคลาเทศให้เดินทางผ่านพม่ามายังไทย โดยเดินผ่านเข้ามาจังหวัดแม่ฮ่องสอนและอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก



    สำหรับชาวพื้นเมืองที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานั้นสามารถเดินทางไปยังเมืองต่างๆ ที่อยู่ลุ่มแม่น้ำโขงได้ โดยใช้เส้นทางเดินบกผ่านเมืองศรีเทพ (ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์)ผ่านด่านนครไทย(อ.นครไทย จ.พิษณุโลก)แล้วข้ามแม่น้ำโขงไปยังอาณาจักรศรีสตนาคนหุต (ลาว) และอาณาจักร ศรีโคตรบูรณ์

    (นครพนม) ได้



    เส้นทางเดินของพ่อค้าชาวอินเดียโบราณ ที่เข้ามายังดินแดนสุวรรณภูมินั้น ทำให้เกิดชุมชนสำคัญขึ้นและรับเอาอิทธิพลจากวัฒนธรรมต่างๆจากอินเดียไปใช่สร่างบ้านแปลงเมืองขึ้นดังจะเห็นว่ามีการพบจารึกอักษรปัลลวะรูปปั้นดินเผาในคติพราหมณ์ สถาปัตยกรรมของโบราณสถาน อยู่ในชุมชนต่าง

    สรุปสาระความรู้



    ชาวอินเดียและจีน นั้นเป็นชาติที่เดินทางติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับดินแดน

    สุวรรณภูมิมาก่อนสมัยราชวงศ์ ระหว่าง พ.ศ. ๔๐๐ – ๕๐๐ จีนได้ขยายเขตการค้าขายเข้ามาถึงประเทศดินแดนสุวรรณภูมิ ทำให้ดินแดนดังกล่าวนั้นได้กลายเป็นสินค้าดังกล่าว นั้นได้กลายเป็นศูนย์การค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าของประเทศตะวันตกคือ อินเดีย และประเทศตะวันออกคือจีน จนเป็นเหตุดินแดนสุวรรณภูมินั้นกลายเป็นแหล่งที่มีจำนวนสินค้า ซื้อขายแลกเปลี่ยนกันมากขึ้น จนทำให้ชาวต่างชาติมาติดต่อค้าขายด้วย และพากันเคลื่อนย้ายแหล่งค้าขายแหล่งค้าขายเข้ามาตั้งแต่ทำเลถาวร และแต่งงานกับคนพื้นเมืองกลายเป็นประชาชนขอซื้อของถิ่นนั้นไปการเคลื่อนย้ายทำเลค้าขายแลกเปลี่ยนนั้น ได้ทำเกิดเมืองท่าหรือสถานีการค้าทางทะเลสำคัญขึ้น ๒ แห่ง คือฝั่งทะเลตะวันตกนั้นมีท่าเรือตะโกลา อยู่ที่ตรัง บ้างว่าที่ ควนลูกปัด อำเภอคลองท่อม จ.กระบี่ ซึ่งอยู่ในอ่าวพังงา และทางภาคตะวันออกนั่นมีท่าเรือออกแก้ว หรือ ฟูนัน ตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำโขงในเวียดนาม



    สำหรับดินแดนสุวรรณภูมิซึ่งอ่าวไทยนั้น เดิมนั้นมีร่องลอยของทะเลเข้าไปในดินแดนแลดมีเมืองสำคัญ คือ เมืองอู่ทอง ตั้งอยู่ด้านตะวันตกของอ่าวไทย อยู่ระหว่างแม่น้ำแม่กลองกับแม่น้ำท่าจีน (แม่น้ำจระเข้สามพัน เจ้าเมืองกษัตริย์ของเมืออู่ทองนี้ ได้เลือกที่จะรับเอาพุทธศาสนาเข้ามาใช้ประโยชน์ในการปกครองจึงมีการสร้างสถูปเจดีย์ขึ้นเป็นแห่งแรก ต่อมาได้มีการสร้างสถูปเจดีย์เผยแพร่ไปยังที่อื่น เช่น เมืองศรีวิชัย (นครชัยศรี ) และ เมืองนครปฐมโบราณ เป็นต้น
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ญา ทิวาราช; 08-10-2009 at 17:39.

  2. #2
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ บ่าวเมืองลำดวน
    วันที่สมัคร
    Sep 2009
    กระทู้
    598
    ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆๆๆครับ

  3. #3
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197
    อ่านแล้วได้ข้อมูลค้นคว้า อย่างดีเลยนะคะ
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •