กำลังแสดงผล 1 ถึง 1 จากทั้งหมด 1

หัวข้อ: ที่มา.อาณาจักรเชียงรุ่งหรือสิบสองปันนา

  1. #1
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ ญา ทิวาราช
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    825
    บล็อก
    17

    บ้านมหาโพสต์ ที่มา.อาณาจักรเชียงรุ่งหรือสิบสองปันนา

    อาณาจักรเชียงรุ่งหรือสิบสองปันนา

    สิบสองปันนา หรือชื่อเต็มว่า เขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา มีความหมายคือ 12 เมือง มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองเชียงรุ่ง ซึ่งในอดีตเป็นเมืองของชาวไทลื้อ

    ภูมิประเทศ

    ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ทางใต้สุดมณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
    เป็นเขตปกครองตนเองพิเศษสิบสองปันนามีเนื้อที่ประมาณ 19,700 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดกับแขวงหลวงน้ำทา แขวงพงสาลี ของประเทศลาวและรัฐฉาน ของประเทศพม่า โดยมีแม่น้ำโขงไหลผ่านตอนกลาง
    ประวัติเมืองสิบสองปันนา
    เมืองสิบสองปันนานั้นได้เป็นราชอาณาจักรหอคำเชียงรุ่ง เมื่อประมาณ 830 ปีก่อน โดยพญาเจืองหรือสมเด็จพระเจ้าหอคำเชียงรุ่งที่ 1
    อาณาจักรสิบสองปันนาเริ่มเป็นปึกแผ่นและแผ่ขยายอาณาเขตมากที่สุดในยุคท้าวอินเมือง สามารถขยายอาณาเขตเข้าไปยึดถึงเชียงตุง เมืองแถน (เดียนเบียนฟู) เชียงแสน ล้านช้าง จึงเป็นเหตุให้การอพยพชาวไทลื้อจากเชียงรุ่งและอีกหลายหัวเมืองเข้าไปสู่ดินแดนดังกล่าว เพื่อเข้าไปตั้งชุมชนปกครองหัวเมืองประเทศราช
    สิบสองปันนาดำรงความมั่นคมเฟื่องฟูอยู่ 100 กว่าปี ก็ถูกรุกรานโดยชาวมองโกลและตกอยู่ในการปกครองของจีนในปี พ.ศ.1833 ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อจากชื่อภาษาไทลื้อมาเป็นภาษาจีนและเจ้าผู้ครองนครชาวไทลื้อถูกเรียกว่าเจ้าแสนหวีฟ้า
    หลังจากที่พม่าได้ก่อตั้งอาณาจักรตองอูและขยายอาณาเขตของตนไปทางตะวันออก พม่าได้ยึดเมืองสิบสองปันนา จากนั้นจึงได้แบ่งเมืองสิบสองปันนาออกเป็น 12 หัวเมือง ได้แก่ เมืองฮาย เมืองม้าง เมืองหุน เมืองแจ้ เมืองฮิง เมืองลวง เมืองอิงู เมืองลา เมืองพง เมืองอู่ เมืองอ่อง และ เมืองเชียงรุ่ง จึงเรียกเมืองเหล่านนี้รวมกันว่า สิบสองปันนา และในช่วงสมัยนี้เป็นช่วงเวลาที่วัฒนธรรมพม่าและพระพุทธศาสนาได้เข้าแผ่ขยายเข้าไปในเขตสิบสองปันนา
    สมัยรัตนโกสินทร์
    ในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หลังจากพระองค์ได้ส่งทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ และ อาณาจักรล้านนา จากพม่าแล้ว พระองค์ได้โปรดให้พระเจ้ากาวิละเป็นแม่ทัพยกไปตีเมืองเชียงรุ่งและกวาดต้อนพลเมืองชาวไทลื้อในสิบสองปันนา ไทลื้อเมืองพน เมืองหย่วน เมืองล่า ชาวไทขึนและชาวไทใหญ่จากเมืองเชียงตุง มาอยู่ที่เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา และน่านเป็นจำนวนมาก ซึ่งเรียกกันว่ายุค "เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง" อันเป็นวิธีฟื้นฟูอาณาจักรล้านนา เพราะในช่วงก่อนนั้นพม่าได้กวาดต้อนชาวล้านนาไปอยู่ที่ พุกาม และ มัณฑะเลย์ ไปจำนวนมาก
    เชียงรุ่งถูกยื้อแย่งดึงโดยอาณาจักรใกล้เคียงไปมาอยู่ไม่นาน กระทั่งยุคสมัยแห่งการล่าอาณานิคมในช่วงรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศส เข้ามาขีดเขตอำนาจของตนให้พม่าไปอยู่กับอังกฤษ สิบสองปันนาอยู่กับจีน เชียงตุงไปกับพม่า และฝรั่งเศสคุมลาว กัมพูชาและเวียดนาม
    ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมืองเชียงรุ่งถูกยุบจากเมืองหลวงเป็นแค่หัวเมืองและเจ้าปกครองนครทั้งหลายก็ถูกปลด ระบอบกษัตริย์ก็สิ้นสุดลง เชื้อพระวงศ์ต่างแตกกระสานกระเซ็นไปอยู่พม่าบ้าง สยามบ้าง เจ้าหม่อมคำลือ กษัตริย์องค์สุดท้ายต้องเปลี่ยนฐานะเป็นสามัญชนคนหนึ่งโดยทางการจีนให้ทำงานอยู่ในสถาบันชนชาติส่วนน้อยแห่งมณฑลยูนหนาน พระราชวังเวียงผาคราง ริมฝั่งแม่น้ำโขงเมืองเชียงรุ่งของกษัตริย์ไทลื้อถูกเผาทำลายลงจนราบคาบตำราทางพระพุทธศาสนาในสิบสองปันนาถูกเผาทำลายลงเป็นจำนวนมาก การปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาถูกสั่งห้ามโดยเด็ดขาด พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทที่เคยรุ่งเรืองในเชียงรุ่งต้องหยุดลงและขาดช่วงไปในที่สุด วิถีวัฒนธรรมของชาวไทลื้อที่เต็มไปด้วยสีสันถูกเข้มงวดกวดขัน การปฏิบัติตนตามวิถีวัฒนธรรมถูกลบล้างลงไปกับการปฏิวัติวัฒนธรรมอย่างน่าเสียดาย
    เชียงรุ้งในปัจจุบัน เชียงรุ่งวันนี้รุ่งเรืองทันสมัยสมชื่อ กลายเป็นถนนใหม่ที่ถนนหนทางเต็มไปด้วยรถมากมาย อาคารร้านค้าสองข้างทางล้วนทันสมัย มีโรงแรมระดับสี่ดาวมีความสะดวกสบายกว้างขวางไว้บริการ สาวเชียงรุ่งรุ่นใหม่เดินกันขวักไขว่มีทั้งสายเดี่ยว กระโปรงสั้น จนแทบจะมองไม่เห็นคนนุ่งซิ่นตามแบบฉบับของชาวไทลื้อเชียงรุ่ง เมืองศูนย์กลางแห่งสิบสองปันนาในวันนี้เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วไม่ต่างอะไรกับเมืองอื่นๆ ในประเทศจีน

    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ญา ทิวาราช; 24-10-2013 at 13:46.

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •