กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: ที่มา อาณาจักรเมืองเชียงแสน

  1. #1
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ ญา ทิวาราช
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    825
    บล็อก
    17

    บ้านมหาโพสต์ ที่มา อาณาจักรเมืองเชียงแสน

    อาณาจักรเมืองเชียงแสน

    เมืองประวัติศาสตร์ที่ผสมผสานระหว่างอดีตกับปัจจุบันในเขตจังหวัดเชียงรายที่สำคัญ ได้แก่ เมืองเชียงแสน เนื่องจากมีประวัติความเป็นมาค่อนข้างชัดเจน และยังปรากฏร่องรอยโบราณวัตถุโบราณสถานหลายแห่ง จากหลักฐานโบราณคดีสันนิษฐานว่า การสร้างเมืองคงเริ่มขึ้นระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เป็นต้นมา ตามที่ระบุไว้ในชุนกาลมาลีปกรณ์ และพงศาวดารโยนก เพราะศักราชดังกล่าวใกล้เคียงกันใกล้เคียงกันมาก รวมทั้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องกันมาสัมพันธ์กับรูปแบบ อายุสมัยของของโบราณวัตถุสมัยประวัติศาสตร์ที่สร้างขึ้นทั้งในและนอกตัวเมืองซึ่งมีอายุหลังกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ลงมาทั้งสิ้น

    นอกจากนี้ ชื่อเมืองเชียงแสนยังปรากฏอยู่ในศิลาจารึกหลักที่ ๒ จารึกวัดศรีชุม ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๔ กล่าวถึงอาณาเขตของพ่อขุนศรีนาวนำถมว่า … เบื้องตะวันตกเถิงละพูนเบื้องพายัพเถิงเชียงแสน พยาว… ลาว… หากข้อความที่กล่าวถึงนี้เป็นจริงเมืองเชียงแสนน่าจะสร้างขึ้นต้นแต่ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๘ แต่เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์แล้ว จะเห็นว่าสุโขทัยไม่ได้มีอำนาจทางการเมืองปกครองขึ้นไปถึงหัวเมืองฝ่ายเหนือที้งสามเมืองตามที่ได้กล่าวอ้างไว้ อีกทั้งในช่วงเวลาดังกล่าว แคว้นหริภุญไชย ( ลำพูน) แคว้นโยนก ( หิรัญนครเงินยาง) และแคว้นพะเยา ต่างเป็นอิสระต่อกันมิได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของผู้หนึ่งผู้ใด และการสุดท้ายจารึกนี้นี้สร้างโดยพระมหาเถรศรีศรัทธาจุฬามุนี ระหว่างปี พ. ศ. ๑๘๘๔– ๑๙๑๐ ข้อความส่วนใหญ่ เป็นการยกย่องบรรพบุรุษของตนแลเคุณความดีที่ตนได้กระทำไว้ช่วงเวลาที่สร้างจารึกน่าจะหลังจากการสร้างเมืองเชียงแสน ๑๓– ๑๔ ปี อนึ่ง สถานะของเมืองเชียงแสนในขณะนั้นเปรียบได้กับเมืองหลวงของแคว้นล้านนา จนสิ้นพระชนม์ เมืองเยงแสนย่อมเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป พระมาหาเถรศรีศรัทธาจุฬามุนีอาจอ้างเอาเมืองเชียงแสนเป็นอาณาจักรของสุโขทัยในสมัยพ่อขุนศรีนาวนำถมเพื่อเสริมสร้างฐานะของบรรพบุรุษ ซึ่งในสมัยพ่อขุนศรีนาวนำถมครองสุโขทัยเมืองเชียงแสนยังมิได้สร้าง

    เชียงแสนเป็ฯเมืองโบราณที่สำคัญยิ่วเมืองหนึ่วทางประวัติศาสตรของอาณาจักรล้านนา ในบริเวณภาคเหนือตอนบนตลอดระยะเวลาร่วม ๕๐๐ ปี นับแต่พระเจ้าแสนภูพระราชนัดดาชองพญามังรายทรงสร้างขึ้น เพื่อเป็นที่มั่นใจการควบคุมดูแลหัวเมืองต่าง ๆ ในเขตโบนกมาตั้งแต่เมื่อปี พ. ศ. ๑๘๗๑ เป็นต้นมา

    พระเจ้าแสนภูปกครองเมืองเชียงแสนอยู่ถึง พ. ศ. ๑๘๗๘ ในชินกาลมาลีปกรณ์กล่าวว่า พระองค์ทรงสร้างวังขึ้นที่บริเวณหัวเกาะดอนแท่น ถึง พ. ศ. ๑๘๗๘ จึงเสด็จทิวงคตที่บนเกาะดอนแท่น พระบรมศพตั้งไว้ที่วังบนเกาะดอนแท่น แล้วบรรดาอำมาตย์เมืองเชียงแสนเชิญเสด็จพระเจ้าคำฟูผู้ครองเมืองเชียงใหม่ มาครองเมืองเชียงแสน พระเจ้าคำฟูจึงยกราชสมบัติในเมืองเชียงใหม่ให้ทาวผายูราชโอรสปกครอง แล้วจึงเสด็จมาครองเมืองเชียงแสน อัญเชิญพระบรมศพพระเจ้าแสนภูไปประดิษฐานไว้ที่เมืองเก่าเหนือปากแม่น้ำกก โดยให้ขุดหลุมใหญ่แล้วสร้างปราสาทครอบหลุมนั้น

    อาณาเขตของเมืองเชียงแสนในระเริ่มนั้น ในพงศาวดารโยนกกล่าวว่ามีพื้นทึ่ครอบคลุมบริเวณที่ราบลุ่มเชียงแสนทั้งหมด รวมเรียกว่า แคว้นเชียงแสนเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับเมืองกายสามท้าว ทิศใต้ติดกับเมืองเชียงรายที่ตำบลแม่เติม ทิศตะวันออกถึงตำบลเชียงชี ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับชายแดนฮ่อที่ตำบลหลวงพ่อแร่ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับเมืองฝางที่กิ่วคอสุนัข หรือกิ่วสะโต การปกครองในระยะแรกแบ่งการปกครองเป็นแขวงและพันนา รวมทั้งหมด ๖๕ พันนา

    ครั้นถึง พ. ศ. ๑๘๘๓ พระเจ้าคำฟูได้ชักชวนพระยากาวน่านให้ร่วมมือกันติเมืองพะเยา กองทัพพระเจ้าคำฟูเข้าเมืองพะเยาได้ก่อนจึงเอาทรัพย์สินในในเมืองไปหมด พระยากาวน่านจึงยกทัพมาตีทัพพระเจ้าฟู พระเจาคำฟูต้องล่าทัพกลับเมืองเชียงแสน พระยากาวน่านจึงยกไปติเมืองฝางไว้ได้อีกเมืองหนึ่ง พระเจ้าคำฟูยกทัพใหญ่ไปตีพระยากาวน่านที่เมืองฝางพระยากาวน่านล่าทัพกลับเมืองน่าน

    พ. ศ. ๑๘๘๓ พระเจ้าคำฟูยกทัพไปติเมืองแพร่ แต่ไม่สำเร็จจึงลากทัพกลับมาทางเมืองลำปาง มาประทับทีเมืองเชียงใหม่ พ. ศ. ๑๘๙๙ เสด็จไปเยี่ยมพระสหายชื่อวัวหงที่เมืองเชียงคำ ได้ลอบเป็นชู้กับเมียของงัวหง อยู่ต่อมาได้เจ็ดวันพระคำฟูถูกเงือกคาบไปสิ้นพระชนม์ เสนาอำมาตย์เชิญพระศพกลับเมืองเชียงแสน แล้วจึงทูลเชิญเสด็จพระเจ้าผายูมาจัดการพระรมศพพระเจ้าคำฟู นำไปบรรจุไว้ที่วัดพระสิงห์เมืองเชียงใหม่ ส่วนเมืองเชียงแสนให้ท้าวกือนาพระราชบุตรครองต่อมา

    พ. ศ. ๑๙๑๐ พระเจ้าผายูสวรรคต ท้าวกือนาเสด็จมาครองเมืองเชียงใหม่ โปรดฯให้ท้าวมหาพรหม พระอนุชาครองเมืองเชียงราย เมืองเชียงแสน และเมืองฝาง ท้าวมหาพรหมก็เสด็จไปประทับที่เมืองเชียงแสน พ. ศ. ๑๙๑๓ ฮ่อมาท้ายิงธนู ที่เมืองเชียงแสน ลูกขุนหมายนาผู้หนึ่งสามารถเอาชนะฮ่อได้ ท้าวมหาพรหมจึงทูลต่อพระเชษฐาให้ตั้งลูกขุนหมายนาผู้นั้น เป็นพระยาศรีสิทธิมหาชัยสงคราม กินเมืองเชียงแสน ส่วนท้าวมหาพรหมไปครองเมืองเชียงราย เมืองเชียงแสนเป็นเมืองเชียงแสนเป็นเมืองที่มีความสำคัญความสำคัญทางยุทธศาสตร์ในชั้นแรก เมื่อพม่าเข้ามาปกครองอาณาจักรล้านนา ก็ได้จัดส่งเจ้านายหรือขุนนางมาคอยกำกับ

    ดูแลเมืองเชียงแสนตลาดเวลา เพราะที่ตั้งเมืองเชียงแสนที่ภูมิประเทศที่เหมาะแก่การตั้งมั่นทำสงครามกับอยุธยา อึกทั้งการส่งกำลังบำรุงมายังทัพพม่าที่เมืองเชียงใหม่ก็ทำได้ง่าย

    ต่อมาในช่วงกรุงธรบุรี เมืองเชียงใหม่และหัวเมืองอื่น ๆ ทางภาคเหนือได้พากันแข็งเมืองต่อต้านพม่า พระเจ้าการวิละและพระยาจ่าบ้าน ( วิเชียรปราการ) ได้รับลกลังสนับสนุนจากกรุงธนบุรีเข้าตีเมืองเชียงใหม่แตกใน พ. ศ. ๒๓๑๗ โป่มะยุงง่วนแม่ทัพพม่า ได้ออกมาตั้งมั่นที่เมืองเชียงแสน และพยายามตีเมืองเชียงใหม่อยู่เสมอแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ

    พ. ศ. ๒๓๔๗ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ กรมหลวงเทพหริรักษ์, พระยายมราช ยกกองทัพร่วมกับเจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทน์ เจ้าอุปราชเมืองเชียงใหม่ เจ้าเมืองคนคลำปาง และเจ้าเมืองนครน่าน ยกทัพมาปิดล้อมเมืองเชียงแสนเป็นเวลา ๕ เดือน จึงเข้าตีเมืองได้สำเร็จ เจ้าอุปราชเมืองเชียงใหม่จึงสั่งให้รื้อกำแพงเมืองและเผาบ้านเรือนแสีย เพื่อไม่ให้เป็นที่มั่นของพม่าอีก กับสิ่งให้กวาดต้อนผู้คนประมาณ ๒๓, ๐๐๐ ครัวเรือน แบ่งออกเป็น ๕ ส่วน แยกไปไว้ตามหัวเมืองต่าง ๆ ทางภาคเหนือ ได้แก่ เวียงจันทน์ ลำปาง เชียงใหม่ และน่าน ส่วนที่เหลือให้กวาดต้อนลงมากรุงเทพ ฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งบ้านเรือนที่ตำบลเสาให้จังหวัดสรรบุรี และที่ตำบลคุบัว จังหวัดราชบุรี จนถึงปัจจุบัน

    ต่อมาในปี พ. ศ. ๒๓๕๒ พวกเงี้ยวได้เข้ามาตั้งมั่นอยู่ที่บ้านสายเมือง ( แม่สาย) ในเขตเมืองเชียงแสน พระเจ้าเมืองเชียงใหม่ ( เจ้ากาวิละ) จึงให้เจ้าอินตะศิริคุมพล ๑๐๐ คนเศษยกไปปราบได้เชลยเงี้ยวมาเป็นจำนวนมาก

    ครั้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ในพ. ศ. ๒๔๑๒ ทางเชียงใหม่ได้แจ้งข้อราชการไปยังกรุงเทพฯ ว่ามีพวกพม่า ไทลื้อและไทเขิน จากเมืองเชียงตุงอพยพ ครอบครัวชายหญิงประมาณ ๓๘๐ คน รวม ๓๓๓ ครัวเรือน มาตั้งบ้านเรือนในเมืองเชียงแสน และตั้งตัวเป็นอิสระ ไม่ยอมอยู่ภายใต้การปกครองของไทย ดังนั้น ใน พ. ศ. ๒๔๑๗ เจ้าอินทวิช- ยานนท์ เจ้าเมืองเชียงใหม่ ได้ปรึกษากับพระนรินทรเสนีข้าหลวงให้เกณฑ์ชาวเมืองเชียงใหม่ ๑, ๐๐๐ คน มีพระยาอุตรกาลโกศลเป็นผู้นำ มีนายเทพวังและนายหน่อเมืองเป็นแม่ทัพ ยกทัพไปสมทบกับทัพเมืองลำพูนที่มีกำลัง ๕๐๐ คน มีนายมหายศเป็นแม่ทัพ และทัพเมืองลำปางที่มีกำลังพล ๑, ๕๐๐ คน มีเจ้าราชบุตรกับนายสุริยะเป็นแม่ทัพรวมพลได้ ๒, ๕๐๐ คน ทั้งสามทัพร่วมกันขับไล่พวกพม่า ไทลื้อ ไทเขิน ออกจากเมืองเชียงแสนได้สำเร็จ เป็นเหตุให้เมืองเชียงแสนถูกทิ้งร้างไปอีกช่วงระยะเวลาหนึ่ง

    ต่อมาใน พ. ศ. ๒๔๒๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้นายอินต๊ะ ( บุตรเจ้าบุญมา เจ้าผู้ครองนครลำพูน) นำชาวลำพูนประมาณ ๑, ๕๐๐ ครัวเรือนไปอยู่ที่เมืองเชียงแสน แต่ถูกชาวเชียงตุงยกทัพมาขับไล่ เจ้าอินต๊ะจึงต้องนำผู้คนไปอยู่ที่เมืองจนถึง พ. ศ. ๒๔๒๒ เมืองเชียงใหม่ส่งนายน้อยอุตมะกับพระยาค้าวไปเจรจากับเมืองเชียงตุง เจ้าอินต๊ะ จึงนำไพร่พลกลับมาอยู่ที่เมืองเชียงแสนอีกครั้งหนึ่ง

    เจ้าอินต๊ะในพ. ศ. ๒๔๒๕ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นพระยาราชเดชดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองนครเชียงแสน ปกครองเมืองเชียงแสนอยู่จนถึงแก่กรรมในปี พ. ศ. ๒๔๔๐ ทางราชการไม่ได้ตั้งผู้ใดเป็นเจ้าเมืองแทน คงมีนายน้อยไชยวงศ์ นายคำตัน นายต้อยหลวง นายน้อยเลาแก้ว และพระยาราชบุตร( คำหมื่น) ปกครองเมืองอยู่

    พ. ศ. ๒๔๔๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้นายน้อย ไชยวงศ์ เป็นที่พระยาราชเดชดำรงค์ ให้นายน้อยคำตันเป็นพระยาอุปราช ให้นายต้อยหลวง เป็นที่พระยาบุรีรัตน์ นายน้อยเลาแก้วเป็นพระยาราชวงศ์ และนายคำหมื่นเป็นพระยาราชบุตร ช่วยกันปกครองเมืองเชียงแสน ในระยะนี้มีโจรกลุ่มของพระยาศรีสองเมือง กับสล่าทวี สล่าทุ เมืองอ๊อต พวกเงี้ยวยกกลุ่มโจรเงี้ยวหนีมาจากเมืองแพร่มาปล้นเมืองเชียงแสน แต่พระยาราชเดชดำรงค์และญาติพี่น้องพาไพร่พลออกมาขับไล่อยู่หลายครั้ง จนปี พ. ศ. ๒๔๔๓ เวลากลางคืน พวกโจรเงี้ยวได้ลอบโจมตีคนในเมืองโดยไม่รู้ตัวและวางเพลิงที่ว่าการแขวงและบ้านเรือนราษฎร พวกเจ้าเมืองและชาวบ้านต้องหลบหนีเอาตัวรอดเพราะพวกเงี้ยวมีจำนวนมากกว่า พวกเงี้ยวยกไปปล้นเมืองเชียงราย ต่อมาทางราชการจึงให้กองทหารมาตั้งอยู่ที่เมืองเชียงแสน

    พ. ศ. ๒๔๔๔ สล่าทุเมืองอ๊อต และสล่าป๊อกพาพวกเงี้ยวมาปล้นเมืองเชียงแสนอีก แต่ตัวหัวหน้าถูกยิงตาย พวกเงี้ยวที่เหลือถูกขับไล่ไปหมด หลังจากนั้นพวกโจรผู้ร้ายก็ลดลง พระยาราชเดชดำรงค์ ( น้อย ไชยวงศ์) ปกครองเมืองเชียงแสนจนถึงแก่กรรม ในพ. ศ. ๒๔๕๓ และในพ. ศ. ๒๔๕๓ นั่นเอง ทางราชการได้จัดการปกครองขึ้นใหม่ เรียกว่า การปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล มีเจ้าพระยาสุรสีห์วิศิษฐศักดิ์เป็นรัฐมนตรี และองคมนตรีประจำมณฑลภาคพายัพ พระภักดีณรงค์เป็นข้าหลวงเมืองเชียงราย หรือผู้ว่าราชการเมืองเชียงราย โดยเชียงแสนมีฐานะเป็นแขวง( อำเภอ) และมีนายแขวงปกครองต่อมา

    พ. ศ. ๒๔๘๒ ทางราชการเปลี่ยนชื่ออำเภอเชียงแสนเป็นแม่จัน และย้ายที่ทำการไปอยู่ที่แม่จันห่างจากที่ว่าการอำเภอเดิมประมาณ ๓๐ กิโลเมตร ตำบลที่ตั้งที่ว่าการอำเภอนี้เรียกว่าเชียงแสนใหม่ หรือเชียงแสนแม่จัน ส่วนเมืองเชียงแสนนั้นมีฐานะเป็นกิ่งอำเภอ ต่อมาในปี พ. ศ. ๒๕๐๐ จึงยกฐานะเป็นอำเภอเชียงแสน และรัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการฟื้นฟูบูรณะอำเภอเชียงแสนขึ้น โดยมอบหมายให้กรมศิลปากรดำเนินการฟื้นฟูบูรณะและอนุรักษ์โบราณสถานที่สำคัญในเมืองเชียงแสน ตั้งแต่พ. ศ. ๒๕๐๐ เป็นต้นมา

    ปัจจุบันร่องรอยของโบราณสถานในอำเภอเชียงแสนที่หลงเหลือให้เห็น มักเป็นซากปรักหักพังของสิ่งก่อสร้างในพุทธศาสนา ได้แก่ พระเจดีย์ และพระวิหาร ซึ่งส่วนใหญ่มีรายชื่อปรากฏอยู่ในพงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน และมีวัดอยู่ทั้งสิ้น ๑๔๐ วัด แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม ได้แก่วัดในเมือง ๗๖ วัด และวัดนอกเมือง ๖๕ วัด การเรียกชื่อวัดต่าง ๆ ได้ยึดถือจากตำแหน่งที่ระบุไว้ในพงศาวดารล้านนาซึ่งเขียนขึ้นภายหลัง

  2. #2
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ auddy228
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    ที่อยู่
    THAILAND
    กระทู้
    1,176
    บล็อก
    1
    เรื่องราวน่าสนใจ...แล้วนำมาเสนออีกนะ..จะคอยอ่าน



กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •