หน้าที่ 2 จากทั้งหมด 2 หน้า หน้าแรกหน้าแรก 12
กำลังแสดงผล 11 ถึง 17 จากทั้งหมด 17

หัวข้อ: รู้ไมคะ ต้นไม้ประจำจังหวัดคุณต้นอะไร ?

  1. #11
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ บุญศรี
    วันที่สมัคร
    May 2009
    กระทู้
    108
    อยู่มหาสารคามแต่ไม่รู้จักต้นมะรุมป่าใครมีข้อมูลบอกด้วยขอบคุณครับ

  2. #12
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ maxwell007
    วันที่สมัคร
    Dec 2007
    ที่อยู่
    สามย่าน
    กระทู้
    474
    บล็อก
    14

    กระพริบตา

    พฤกษ์ หรือ มะรุมป่า


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Albizia lebbeck (L.) Benth.
    วงศ์ : Leguminosae
    ชื่อสามัญ : Indian Walnut
    ชื่ออื่น : มะขามโคก มะรุมป่า ซึก
    ลักษณะ : ไม้ต้น ผลัดใบสูง 15 – 25 เมตร เปลือกสีเทาเข้มหรือน้ำตาลอมเหลือง ขรุขระ เปลือกในสีแสด ใบ ประกอบแบบขนนก 2 ชั้น เรียงสลับ มีก้านแขนงออกตรงข้ามกัน 4 – 9 คู่ แผ่นใบย่อมเล็กรูปขอบขนาน เบี้ยวกว้าง 1 – 2.5 เซนติเมตร ยาว 2 – 4 เซนติเมตร ดอกเล็กสีขาวกลื่นหอมออกเป็นกลุ่มกลมที่ปลายก้าน ช่อฝักรูปขอบขนานแบนและบาง กว้าง 2 – 5 เซนติเมตร ยาว 10 –30 เซนติเมตร เมื่อแห้งสีฟางข้าว เมล็ด มี 4 – 10 เมล็ด
    นิเวศวิทยา : ขึ้นได้ดีในพื้นที่เสื่อมโทรม เป็นไม้เบิกนำที่ดี
    ออกดอก : มีนาคม – เมษายน เป็นฝัก กันยายน – ธันวาคม
    การขยายพันธุ์ : โดยเมล็ด
    ประโยชน์ : เนื้อไม้ใช้ทำสิ่งปลูกสร้าง เครื่องมือทางการเกษตร เปลือก ให้น้ำฝาดใช้กอกหนัง เปลือก มีรสฝาดใช้รักษาแผลในปาก ลำคอ เหงือก เมล็ด รักษาโรคผิวหนัง ใบ ใช้ดับพิษร้อนทำให้เย็น


    แหล่งข้อมูล : โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

  3. #13
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ กำลังใจ
    วันที่สมัคร
    Mar 2007
    กระทู้
    1,529
    บล็อก
    1
    นครปฐม ต้นจันหอม จ้า ขอบคุณหลายเด้อ ที่นำมาให้ทราบกัน

  4. #14
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ maxwell007
    วันที่สมัคร
    Dec 2007
    ที่อยู่
    สามย่าน
    กระทู้
    474
    บล็อก
    14

    กระพริบตา

    ต้นไม้ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด
    กระบก



    ต้นกระบก

    ชื่อวิทยาศาสตร์ : rvingia malayana Oliv. ex A.W. Benn.

    วงศ์ : Irvingiaceae

    ชื่อสามัญ : Kayu

    ชื่ออื่น : กระบก กะบก จะบก ตระบก (เหนือ), จำเมาะ (เขมร), ชะอัง (ซอง-ตราด), บก หมากบก (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), มะมื่น มื่น (เหนือ), มะลื่น หมักลื่น (สุโขทัย, นครราชสีมา), หลักกาย (ส่วย-สุรินทร์)

    ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูง 10 – 30 เมตร ผลัดใบ เปลือกสีเทาอ่อนปนน้ำตาล ค่อนข้างเรียบบางทีแตกเป็นสะเก็ด เรือนยอดเป็นพุ่มแน่นทึบใบ เดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปมนแกมรูปขอบขนานถึงรูปใบหอก กว้าง 2 – 9 เซนติเมตรยาว 8 – 20 เซนติเมตรผิวใบเกลี้ยง โคนใบมน ปลายใบทู่ถึงแหลม ดอกเล็ก สีขาวปนเขียวอ่อน ผลกลมรี เมื่อสุกสีเหลืออมเขียว เมล็ดแข็ง เนื้อในมีรสมัน

    นิเวศวิทยา : ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ แล้งและป่าดิบแล้งทั่วไป สูงจากระดับน้ำทะเล 150 – 300 เมตร

    การขยายพันธุ์ : โดยเมล็ด

    ประโยชน์ : เนื้อไม้ใช้เผาถ่านได้ถ่านดีให้ความร้อนสูง เนื้อไม้เสี้ยนตรงแข็งมากไม่ทนในที่แจ้ง ใช้ทำอาหาร สบู่เทียนไข ผลสุก เป็นอาหารพวกเก้ง กวางและนก

    สภาพที่เหมาะสม : สภาพดินทุกชนิด กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง

    ถิ่นกำเนิด : ตามป่าเบญจพรรณแล้งและป่าดิบ


    ที่มาของข้อมูล : โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

  5. #15
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ มะเหมี่ยว
    วันที่สมัคร
    Jan 2010
    ที่อยู่
    สุดประจิมที่ริมเมย
    กระทู้
    858

    พบปะพูดคุย

    ขอแจมนำเด้อจ้า ต้นไม้ประจำจังหวัดมหาสารคาม มะรุมป่า หรืออีกอย่างคือต้นมหาสาละ มีซือเป็นพาษาอังกฤษว่า (Albicia lebbek)ดอกไม้ประจำจังหวัดคือดอกลั่นทมขาว หรือลีลาวดี (plumeria albe)ตราประจำจังหวัด รูปต้นรังใหญ่ คำขวัญ ประจำจังหวัด พุทมลทลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักสิลานคร

  6. #16
    Super Moderator สัญลักษณ์ของ ไก่น้อย
    วันที่สมัคร
    Aug 2006
    ที่อยู่
    นครโคราช
    กระทู้
    4,928
    บล็อก
    8
    กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ บ่าวยางตลาด
    กาฬสินธุ์นี่น่าสิเป็นต้นมะหาด..ดอกไม้ประจำจังหวัดกะ ดอกพยอม..
    แม่นบ่พี่แฮ้ น้องไก่น้อย มาซ่อยยืนยันแน..ย่านขายหน้าเพิ่น..อิอิ
    ถูกต้องนะคร้าบ อ้ายดุลย์ สมัยไก่เรียนยุ กพส. มีต้นกะยอมใหญ่ยุหลังโรงเรียน ห๊อมหอม แต่ไก่ยังสังสัยดอกพะยอม กับดอกมันปลายุ มันอันเดียวกันบ่ฮึ 555+




    ดอกไม้ประจำจังหวัด กาฬสินธุ์, พัทลุง
    ชื่อดอกไม้ ดอกพะยอม
    ชื่อสามัญ Shorea white Meranti
    ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea talura Roxb.
    วงศ์ DIPTEROCARPACEAE
    ชื่ออื่น กะยอม (เชียงใหม่), ขะยอม (ลาว), ขะยอมดง พะยอมดง (ภาคเหนือ), แคน (ลาว), เชียง เซี่ยว (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), พะยอม (ภาคกลาง), พะยอมทอง (สุราษฎร์ธานี, ปราจีนบุรี), ยางหยวก (น่าน)
    ลักษณะทั่วไป พะยอมเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 15–20 เมตร ทรงพุ่มกลม ผิวเปลือกสีน้ำหรือเทา เนื้อไม้มีสีเหลืองแข็ง ลำต้นแตกเป็นร่องตามยาวมีสะเก็ดหนา ใบเป็นรูปมนรี ปลายใบแหลม โคนใบสอบมน ขอบใบเรียบ ด้านหลังใบมีเส้นใบชัด ดอกออกเป็นช่อ ใหญ่ส่วนยอดของต้น ดอกมีกลีบ 3 กลีบ โคนกลีบดอกติดกับก้านดอกมีลักษณะกลม กลีบดอกเรียบโค้งเล็กน้อย มีสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม
    การขยายพันธุ์ การเพาะเมล็ด
    สภาพที่เหมาะสม สภาพดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง สามารถปรับเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีมาก
    ถิ่นกำเนิด พบตามป่าผลัดใบ และป่าดิบ เป็นไม้พื้นเมืองของเอเชีย ไทย, พม่า, มาเลเซีย
    กระเบื้องจะฟูลอย น้ำเต้าน้อยจะถอยจม เมฆจะหล่นฟ้าปลาจะกินดาว ลาวจะครองเมือง ::)

  7. #17
    อุดรธานีบ่ถืกเด้ครับ มันต้องเป็น ต้นจาน (ทองกวาว)

หน้าที่ 2 จากทั้งหมด 2 หน้า หน้าแรกหน้าแรก 12

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •