กำลังแสดงผล 1 ถึง 10 จากทั้งหมด 17

หัวข้อ: สมบัติผู้ดี

Hybrid View

คำตอบที่แล้วมา คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป คำตอบถัดไป
  1. #1
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ auddy228
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    ที่อยู่
    THAILAND
    กระทู้
    1,176
    บล็อก
    1

    สว่างใจ สมบัติผู้ดี

    สมบัติผู้ดี


    สมบัติผู้ดี


    เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี


    นามเดิมของท่านคือ ม.ร.ว. เปีย มาลากุล เกิดเมื่อ พ.ศ. 2414 เริ่มรับราชการเป็นเสมียนในกรมศึกษาธิการ ต่อมาได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นหลวงไพศาลศิลปศาสตร์ และได้รับตำแหน่งอธิบดีกรมศึกษาธิการ ท่านเป็นผู้ที่ได้รับการศึกษา ในด้านภาษาไทยมาเป็นอย่างดี มีความรู้แตกฉาน และได้แต่งหนังสือไว้หลายเล่มด้วยกัน ที่รู้จักกันดีคือ "สมบัติผู้ดี" ซึ่งยังประโยชน์แก่กุลบุตรกุลธิดา ได้ยึดถือเป็นตำราที่มีคุณค่ามาจนทุกวันนี้ ท่านถึงแก่อสัญญกรรม เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2459

    หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล เกิดเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2410 เป็นบุตรของ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงษ์ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ (พระโอรสใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ต้นราชสกุลมาลากุล ประสูติจากหม่อมกลีบ) และหม่อมเปี่ยม หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล

    หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล เข้ารับราชการในกรมศึกษาธิการ ได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ เป็น หลวงไพศาลศิลปศาสตร์ จากนั้นย้ายมารับราชการอยู่ที่กระทรวงมหาดไทย เป็น พระมนตรีพจนกิจ ท่านได้รับการไว้วางพระราชหฤทัยจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เป็นผู้อภิบาล พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตพิเศษไทยประจำอังกฤษและยุโรป ระหว่าง พ.ศ. 2440-2442

    จากการที่ท่านได้เห็นการศึกษาของนักเรียนไทยในต่างประเทศเป็นเวลาหลายปี ท่านได้กราบทูลเสนอให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปรับปรุงระบบการศึกษาของไทย ร่างเป็น "โครงแผนการศึกษาในกรุงสยาม" เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2441 และโครงการสร้างสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษา เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2453
    ท่านได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ เป็น พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ ดำรงตำแหน่ง ปลัดทูลฉลองกระทรวงธรรมการ (ปัจจุบันคือ กระทรวงศึกษาธิการ) และได้เลื่อนเป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมการ ในสมัยรัชกาลที่ 6

    พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี เมื่อปี พ.ศ. 2456 และถึงแก่อสัญกรรมในอีก 3 ปีต่อมา เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2459


  2. #2
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ auddy228
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    ที่อยู่
    THAILAND
    กระทู้
    1,176
    บล็อก
    1

    สว่างใจ สมบัติผู้ดี ๒

    ชีวิตครอบครัว



    เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี สมรสกับท่านผู้หญิงเสงี่ยม มาลากุล (วสันตสิงห์) มีบุตร-ธิดา 8 คน คือ
    • หม่อมหลวงปก มาลากุล
    • หม่อมหลวงปอง มาลากุล สมรสกับ หม่อมเจ้าสุรวุฒิประวัติ เทวกุล
    • หม่อมหลวงเปนศรี มาลากุล
    • หม่อมหลวงเปนศักดิ์ มาลากุล
    • หม่อมหลวงป้อง มาลากุล
    • หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล สมรสกับ ท่านผู้หญิงดุษฏี มาลากุล
    • หม่อมหลวงเปี่ยมสิน มาลากุล
    • หม่อมหลวงปานตา มาลากุล สมรสกับ นายเมืองเริง วสันตสิงห์
    สมรสกับคุณเจียร ลักษณะบุตร มีธิดาคือ
    • หม่อมหลวงนกน้อย มาลากุล
    สมรสกับคุณเลื่อน ศิวานนท์ มีบุตรคือ
    • หม่อมหลวงประวัติ มาลากุล


  3. #3
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ auddy228
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    ที่อยู่
    THAILAND
    กระทู้
    1,176
    บล็อก
    1

    สว่างใจ สมบัติผู้ดี ๓

    ผลงานด้านการศึกษา

    เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล)ได้จัดทำหลักสูตรโรงเรียนเบญจมบพิตร หรือ โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตรในปัจจุบัน ตามพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

    เพลงสรรเสริญพระบารมี

    แต่เดิม การร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี มีการแยกเนื้อร้องที่ใช้สำหรับ ทหารเรือหรือพลเรือนร้อง นอกจากนี้ยังมีการแบ่งแยกเนื้อร้องบางวรรคบางตอน สำหรับชาย และหญิงร้องต่างกัน ทำให้เกิดความลักลั่น เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2445 พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ได้ออกคำสั่ง กำหนดให้เพลงสรรเสริญพระบารมีมีเพียงเนื้อร้องเดียว เหมือนกันหมด

    เพลงสามัคคีชุมนุม

    พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ เป็นผู้ประพันธ์คำร้องภาษาไทยของเพลง สามัคคีชุมนุม โดยใช้ทำนองเพลง โอลด์แลงไซน์ ท่านได้รับการยกย่องว่า สามารถใส่เนื้อร้องภาษาไทยเข้าไปให้สอดคล้องกับทำนองเดิมได้อย่างเหมาะเจาะ สามารถร้องเนื้อภาษาไทยไปพร้อมๆกับเนื้อภาษาเดิมของเพลงได้อย่างไม่ขัดเขิน เนื้อเพลงมีความหมายลึกซึ้ง ให้ความรู้สึกถึงความสามัคคีเป็นอันดีต่อหมู่คณะ .

    สมบัติผู้ดี

    พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ ได้แต่งหนังสือไว้หลายเล่ม เล่มหนึ่งที่มีชื่อเสียงคือ สมบัติผู้ดี ซึ่งกล่าวถึงหลักปฏิบัติ 10 ประการของผู้ที่มีกาย วาจา ใจ อันสุจริต ท่านได้เรียบเรียงไว้เมื่อ พ.ศ. 2455 [4]


    อ้างอิง1. ^ เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี โดย สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย
    2. ^ หนังสือสมบัติผู้ดี



  4. #4
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ auddy228
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    ที่อยู่
    THAILAND
    กระทู้
    1,176
    บล็อก
    1

    สว่างใจ สมบัติผู้ดี ๔

    สมบัติผู้ดี

    “ผู้ดี หมายถึง บุคคลผู้มีความประพฤติดี มีจรรยามารยาทที่ดีทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ เช่น ย่อมรักษาความเรียบร้อยมีกิริยาอันเป็นที่รัก ไม่ทำอุจาดลามก ใจดี มีสัมมาคารวะ ไม่เห็นแก่ตัว ปฏิบัติการงานดี ซื่อสัตย์สุจริต

    ผู้ดี มิใช่เกิดจากบุคคลที่มีชาติตระกูลสูง หรือร่ำรวยด้วยทรัพย์สินเงินทองแต่ประการใด แต่ผู้ดีเกิดจากการฝึกฝนอบรมมาดีทางด้านการกระทำ การพูด ระบบการคิด จรรยามารยาท รู้จักมีกาลเทศะ รวมทั้งมีศีลธรรมและจริยธรรม

    ลักษณะของผู้ดี คือ จะทำ จะพูด หรือจะคิดสิ่งใดก็ตามจะไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน เมื่อทำ เมื่อพูด เมื่อคิดแล้วผู้รู้ทั้งหลายก็ไม่ติเตียนสิ่งเหล่านั้นในภายหลัง

    ดังนั้น ผู้ดี จึงมีคุณลักษณะแห่งความดีที่สามารถมองเห็นได้ด้วยความประพฤติ หรือจริยาได้ ๓ ทาง คือ

    กายจริยา คือ การทำดีทางกาย หมายถึง มีลักษณะการยืน เดิน นั่ง นอนที่ดี มีความสุภาพเรียบร้อย ชวนมอง

    วจีจริยา คือ การทำดีทางวาจา หมายถึง มีลักษณะการพูดจาปราศรัยที่อ่อนหวาน นุ่มนวล ชวนฟัง

    มโนจริยา คือ การทำดีทางใจ หมายถึง มีลักษณะของความนึกคิดทางใจที่ออกมาในความนึกคิดที่ดี ประกอบด้วยมีความเมตตากรุณา มีความปรารถนาดีต่อผู้อื่น



  5. #5
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ auddy228
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    ที่อยู่
    THAILAND
    กระทู้
    1,176
    บล็อก
    1

    สว่างใจ สมบัติผู้ดี ๕

    ลักษณะสมบัติของผู้ดีนั้น สามารถแยกประเภทออกได้เป็น ๑๐ หมวด ดังนี้
    ๑. ผู้ดีย่อมรักษาความเรียบร้อย
    ๒. ผู้ดีย่อมไม่ทำอุจาดลามก
    ๓. ผู้ดีย่อมมีสัมมาคารวะ
    ๔. ผู้ดีย่อมมีกิริยาเป็นที่รัก
    ๕. ผู้ดีย่อมเป็นผู้มีสง่า
    ๖. ผู้ดีย่อมปฏิบัติการงานดี
    ๗. ผู้ดีย่อมเป็นผู้ใจดี
    ๘. ผู้ดีย่อมไม่เห็นแก่ตัวฝ่ายเดียว
    ๙. ผู้ดีย่อมรักษาความสุจริตซื่อตรง
    ๑๐. ผู้ดีย่อมไม่ประพฤติชั่ว”

  6. #6
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ auddy228
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    ที่อยู่
    THAILAND
    กระทู้
    1,176
    บล็อก
    1

    สว่างใจ สมบัติผู้ดี ๖

    บทที่๑ ผู้ดี ย่อมรักษา ความเรียบร้อย


    - กายจริยา

    ๑) ย่อมไม่ใช้กิริยาอันข้ามกรายบุคคล
    ๒) ย่อมไม่อาจเอื้อมในที่ต่ำสูง
    ๓) ย่อมไม่ล่วงเกินถูกต้องผู้อื่น ซึ่งไม่ใช่หยอกกันฐานเพื่อน
    ๔) ย่อมไม่เสียดสี กระทบกระทั่งกายบุคคล
    ๕) ย่อมไม่ลุกนั่งเดินเหินพรวดพราด โดนผู้คนหรือสิ่งของแตกหักเสีย
    ๖) ย่อมไม่ส่งของให้ผู้อื่น ด้วยกิริยาอันเสือกไสผลักโยน
    ๗) ย่อมไม่ผ่านหน้าหรือบังตาผู้อื่น เมื่อเขาดูสิ่งใดอยู่ เว้นแต่เป็นที่เฉพาะ
    ๘) ย่อมไม่เอิกอึง เมื่อเวลาผู้อื่นทำกิจ
    ๙) ย่อมไม่อื้ออึง ในเวลาประชุมสดับตรับฟัง
    ๑๐) ย่อมไม่แสดงกิริยาตึงตัง หรือพูดจาอึกทึกในบ้านแขก


    - วจีจริยา

    ๑) ย่อมไม่สอดสวนวาจาหรือแย่งชิงพูด
    ๒) ย่อมไม่พูดด้วยเสียงอันดังเหลือเกิน
    ๓) ย่อมไม่ใช้เสียงตวาด หรือพูดจากระโชกกระชาก
    ๔) ย่อมไม่ใช้วาจาอันหักหาญดึงดัน
    ๕) ย่อมไม่ใช้ถ้อยคำอันหยาบคาย


    - มโนจริยา

    ๑) ย่อมไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านกำเริบหยิ่งโยโส
    ๒) ย่อมไม่บันดาลโทสะให้เสียกิริยา


กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •