เทวภูมิ ๖ (สวรรค์ ๖)




เทวภูมิ ๖ (สวรรค์ ๖) แดนอันแสนดีเลิศล้ำด้วย กามคุณ ทั้ง ๕ โลกของ เทวดา ตามปกติหมายถึง กามาพจรสวรรค์


๑.จาตุมหาราชิการ (สวรรค์ชั้นที่ ๑) สวรรค์ที่ท้าวมหาราช ๔ องค์ ปกครอง



เทวภูมิ ๖ (สวรรค์ ๖)
ท้าวจาตุมหาราช


เทวภูมิ ๖ (สวรรค์ ๖)



เทวภูมิ ๖ (สวรรค์ ๖)



จาตุมหาราชิกา มีมหาราช ๔ องค์

๑. ท้าววธตรัฐะ มหาราช
เป็นผู้ปกครอง คันธัพพเทวดา ทั้งหมด อยู่ทาง ทิศตะวันออก


๒. ท้าวิรุฬหกะ มหาราช
เป็นผู้ปกครอง กุมภัณฑ์เทวดา ทั้งหมด อยู่ทาง ทิศใต้


๓. ท้าววิรูปักษ์ มหาราช
เป็นผู้ปกครอง นาคะเทวดา ทั้งหมด อยู่ทาง ทิศตะวันออก


๔. ท้าวเวสสุวรรณ มหาราช เป็นผู้ปกครอง ยักขเทวดา ทั้งหมด อยู่ทาง ทิศเหนือ
(ท้าวกุเวร หรือ เวสสวัณ)



ท้าวมหาราช ทั้ง ๔ องค์นี้ เป็นผู้รักษาโลกมนุษย์ด้วย จึงชื่อว่า ท้าวจตุโลกบาล หรือ ท้าวโลกบาล ๔

พระเจ้าพิมพิสาร เอง แม้จะเป็น พระโสดาบัน แต่ก็พอใจสวรรค์ชั้นนี้
ได้เกิดเป็นบริวารของ ท้าวเวสสุวรรณมหาราช


เทวดาที่อยู่ภายใต้อำนาจปกครองของ ท้าวจาตุมหาราช
๑. ปัพพตัฏฐเทวดา เทวดาที่ อาศัยภูเขาอยู่
๒. อากาสัฏฐเทวดา เทวดาที่ อาศัยอยู่ในอากาศ
๓. ขิฑฑาปโทสิกเทวดา เทวดาที่ มีความเพลิดเพลินในการเล่นกีฬา จนลืมบริโภคอาหาร แล้วตาย
๔. มโนปโทสิเทวดา เทวดาที่ ตายเพราะความโกรธ
๕. สีตวลาหกเทวดา เทวดาที่ ทำให้อากาศเย็นเกิดขึ้น
๖. อุณหวลาหกเทวดา เทวดาที่ ทำให้อากาศร้อนเกิดขึ้น
๗. จันทิมเทวปุตตเทวดา เทวดาที่ อยู่ในพระจันทร์
๘. สุริยเทวปุตตเทวดา เทวดาที่ อยู่ในพระอาทิตย์



ยักษิณี

ยักษ์
มีความหมายหลายอย่าง แต่ที่ใช้บ่อยหมายถึง อมนุษย์ พวกหนึ่ง เป็นบริวารของ ท้า
กุเวรตามที่ถือกันมาว่ามีรูปร่างใหญ่โตน่ากลัง มีเขี้ยวโง้ง ชอบกินมนุษย์กิสัตว์
โดยมีฤทธิ์ เหาะได้ จำแลงตัวได้


เทวดา
เทวดา หมู่ เทพ ชาว สวรรค์ เป็นคำรามเรียกชาว สวรรค์ ทั้งเพศชายและเพศหญิง


เทวดาตามที่อยู่อาศัย

๑. ภุมมัฎฐเทวดา
เทวดาที่อาศัยอยู่ตามพื้นดิน เช่น ภูเขา แม่น้ำ มหาสมุทร ใต้พื้นดิน บ้านเรือน ซุ้มประตู
เจดีย์ ศาลา เป็นต้น ถือว่าที่นั้น ๆ เป็นวิมานของตน

๒. รุกขเทวดา
เทวดาที่อาศัยอยู่ตามต้นไม้ มี ๒ จำพวก คือ

๒.๑ มีวิมานอยู่บนต้นไม้ ถ้าอยู่บนยอดต้นไม้ เรียก รุกขวิมาน ถ้าอยู่บนสาขาของต้นไม้เรียก สาขัฏฐวิมาน
๒.๒ อยู่บนต้นไม้แต่ไม่มี วิมาน (ที่อยู่ของเทวดา)

๓. อากาสัฏฐเทวดา เทวดาที่มีวิมานอยู่ในอากาศ
ในธรรมบทอรรถกถา พุทธวังสอรรถกถา แสดงเทวดาชั้น จาตุมหาราชิกา มี 2 จำพวก โดยจัด

รุกขะเทวดา อยู่ในจำพวก ภุมมัฎฐะเทวดา เทพารักษ์ เทวดาผู้ดูแลรักษาที่แห่งใดแห่งหนึ่ง


เทวดาที่มีใจโหดร้าย

๑. คันธัพโพ คันธัพพี ได้แก่ เทวดาคันธัพพะ ที่ถือกำเนิดภายในต้นไม้ที่มีกลิ่นหอม ที่เรียกว่า นางไม้ หรือแม่ย่านาง หรือ คนธรรพ ชอบรบกวนให้เกิดอุปสรรคต่าง ๆ เช่นทำให้เกิดเจ็บป่วย หรือ คนธรรพ์ ทำ อันตรายแก่ทรัพย์สมบัติของผู้อื่นที่นำไม้นั้นมาใช้สอย อยู่ในความปกครองของ ท้าวธตรัฏฐะ คันธัพพะเทวดา นี้สิงอยู่ในไม้นั้นตลอดไป แม้ใครจะตัดไปใช้สอยอย่างใด ๆผิดกับ รุกขเทวดา ที่อาศัยอยู่ตามต้นไม้ถ้าต้นไม้นั้นตายหรือถูกตัดฟัน ก็ย้ายจากต้นนั้นไปต้นอื่น

๒. กุมภัณโฑ กุมภัณฑีได้แก่ เทวดาภุมภัณฑ์ที่เรียกกันว่า รากษส เป็นเทวดาที่รักษาสมบัติต่างเช่นแก้วมณี และรักษาป่า ภูเขา แม่น้ำ ถ้ามีพวกล่วงล้ำ ก็ให้โทษต่าง ๆอยู่ในความปกครองของ ท้าววิรุฬหกะ

๓. นาโค นาคีได้แก่ เทวดานาคได้แก่เทวดานาค มีวิชาเวทมนต์คาถาต่าง ๆ ขณะท่องในโลกมนุษย์ บางทีก็เนรมิตเป็นคนสัตว์ต่าง ๆ ชอบลงโทษพวกสัตว์นรก อยู่ในความปกครองของ ท้าววิรูปักขะ

๔. ยักโข ยักขนีได้แก่ เทวดายักษ์ พอใจเบียดเบียนสัตว์นรก อยู่ในความปกครองของ ท้าวเวสสุวรรณ


***อาการเกิดของเทวดา ถ้าได้เคยสร้างบุญกุศลไว้มากพอ ก็ไปเกิดในวิมานของตนเองพร้อมกับมีบริวาร ไม่ต้องเป็นบุตรธิดาหรือเทวดารับใช้ของผู้ใดกล่าวไว้ในอรรถกถาบางแห่งเป็นพิเศษ


เทวบุตร คือ บุรุษ ที่เกิดบนตักของเทวดา


เทวธิดา คือ สตรี ที่เกิดบนตักของเทวดา



เทวดาสตรี

ถ้าเกิด ในที่นอน จัดเป็น ปริจาริก(นางบำเรอ)

ถ้าเกิด ข้างที่นอน จัดเป็น พนักงานเครื่องสำอาง

ถ้าเกิด กลางวิมาน จัดเป็น คนใช้





ขอบคุณ kanlayanatam.com/sara/