กำลังแสดงผล 1 ถึง 5 จากทั้งหมด 5

หัวข้อ: กินส้มตำปลาร้าดิบ และปลาดิบ รู้แล้วจะหนาว

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    กินส้มตำปลาร้าดิบ และปลาดิบ รู้แล้วจะหนาว

    กินส้มตำปลาร้าดิบ และปลาดิบ ได้อะไรกลับไปบ้าง



    ปลาดิบ-ปลาร้า มีพยาธิหรือไม่


    ดูรูปพยาธิในร่างกายมนุษย์ขยาย แล้วจะหนาว....

    กินส้มตำปลาร้าดิบ และปลาดิบ รู้แล้วจะหนาว



    สัมตำปลาร้าดิบจานโปรด

    กินส้มตำปลาร้าดิบ และปลาดิบ รู้แล้วจะหนาว


    -พยาธิในปลาร้า-

    ปลาที่นำมาทำปลาร้า เช่น ปลาขาวนา ปลาสร้อยขาว ปลากระสูบจุด และปลาอื่นๆ ในจำพวกปลาตะเพียน เป็นกลุ่มปลาที่เป็นที่อยู่อาศัยของพยาธิหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นพยาธิใบไม้ลำไส้และพยาธิใบไม้ตับ

    โดยเฉพาะพยาธิใบไม้ตับซึ่งพบระบาดมากในประเทศไทย และมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี หากรับประทานปลาเหล่านี้แบบสุกๆ ดิบๆ ก็มีโอกาสติดพยาธิและเป็นโรคมะเร็งได้

    จากงานวิจัยพบว่า พยาธิจะสามารถอาศัยอยู่ในเนื้อปลาได้ 10-20 วัน หากเก็บเนื้อปลาไว้ในตู้เย็น หรือ ผ่านการหมักด้วยเกลือ 10 กรัม ต่อปลา 3 กรัม แล้วเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 26 องศาเซลเซียส พยาธิจะมีชีวิตอยู่ประมาณ 5-15 วัน

    ดังนั้นจึงพอจะสรุปได้ว่าการรับประทานปลาร้า ปลาจ่อม ปลาส้ม ที่ผ่านการหมักไม่นานและความเค็มน้อย ก็มีโอกาสติดพยาธิสูงมาก แต่หากหมักด้วยเกลือและใช้เวลาหมักนานเป็นเดือน ก็พอจะปลอดภัยจากพยาธิ

    อย่างไรก็ตาม หากรับประทานปลาร้าดิบก็ถือว่ายังมีความเสี่ยง เพราะถึงแม้จะไม่ติดพยาธิ แต่ก็มีโอกาสติดเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ ได้ ดีที่สุดคือการรับประทานปลาสุก สะอาด และถูกหลักอนามัย ก็จะปลอดภัยจากพยาธิและเชื้อโรคต่างๆ


    -พยาธิในปลาดิบ-

    ปลาดิบที่นำมาประกอบอาหารญี่ปุ่นมักจะทำมาจากปลาน้ำเค็ม คนส่วนใหญ่คิดว่าปลาน้ำเค็มไม่มีพยาธิ แต่ที่จริงแล้ว ในปลาน้ำเค็มนั้นอาจพบตัวอ่อนของพยาธิชนิดหนึ่งที่เรียกว่า พยาธิอะนิซาคิส (Anisakis simplex)



    พยาธิอะนิซาคิส เป็นพยาธิที่พบในปลาทะเล ในประเทศไทยตรวจพบตัวอ่อนของพยาธิชนิดนี้ในปลาหลายชนิด เช่น ปลาดาบเงิน ปลาตาหวาน ปลาสีกุน ปลาทูแขก ปลากุแลกล้วย และปลาลัง เป็นต้น ส่วนในต่างประเทศจะพบในปลาจำพวกปลาคอด ปลาแซลมอน และปลาเฮอร์ริ่ง


    ระยะตัวอ่อนที่ติดต่อสู่คนจะอยู่ในอวัยวะภายในช่องท้องของปลา พยาธิชนิดนี้มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีขนาดยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร ตัวโตเต็มวัยมีขนาดประมาณ 1-5 เซนติเมตร บริเวณปากจะมีหนามเล็กๆ ที่ปลายหางจะมีส่วนแหลมยื่นออกมา ซึ่งเอาไว้ใช้ในการไชผ่านเนื้อเยื่อต่างๆ


    หนามแหลมที่ปากและปลายหางของมันจะทำให้เกิดแผลขนาดเล็กขณะที่ไชผ่านกระเพาะอาหารและลำไส้ของคน และอาจทำให้มีเลือดออกในกระเพาะอาหารได้ ผู้ที่มีพยาธิชนิดนี้ในกระเพาะอาหารและลำไส้ จะมีอาการปวดท้อง แน่นท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน อาการมักคล้ายกับอาการของโรคกระเพาะอาหาร บางรายอาจมีอาการท้องเสียหรือถ่ายอุจจาระเป็นเลือดถ้ามีแผลในกระเพาะขนาดใหญ่


    การวินิจฉัยและการรักษาทำได้โดยการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร ถ้าพบตัวอ่อนของพยาธิ ก็จะใช้กล้องคีบตัวพยาธิออก พยาธิชนิดนี้จะไม่ออกมากับอุจจาระ เนื่องจากมันจะเกาะติดแน่นกับกระเพาะอาหารและลำไส้


    ปัจจุบันยังไม่มียารักษาพยาธิชนิดนี้ แต่จากการศึกษาในประเทศญี่ปุ่นพบว่า วาซาบิมีฤทธิ์ฆ่าพยาธิชนิดนี้ได้ แต่ปริมาณการใช้ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษา


    ถึงแม้จะพบพยาธิอะนิซาคิสไม่บ่อยนัก แต่เนื่องจากการวินิจฉัยนั้นค่อนข้างยาก บางครั้งอาจเข้าใจผิดคิดว่าเป็นโรคกระเพาะอาหาร จึงก่อให้เกิดปัญหาได้

    มีคำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการให้สุ่มตรวจเนื้อปลาโดยการส่องเนื้อปลาด้วยโคมไฟ เพื่อมองหาตัวอ่อนของพยาธิ ผู้บริโภคทั่วไปก็ทำได้เช่นกันโดยการพกไฟฉายไปส่องดูเนื้อปลาก่อนรับประทาน แต่ก็ไม่ใช่วิธีที่มีประสิทธิภาพมากนัก และคงไม่มีใครทำ


    องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาแนะนำว่า ควรจะลวกปลาทะเลที่อุณหภูมิอย่างน้อย 60 องศาเซลเซียส อย่างน้อย 5 นาที แต่หากอยากกินปลาดิบจริงๆ เนื้อปลานั้นควรได้รับการแช่แข็งที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง คือต่ำกว่า -35 องศาเซลเซียส อย่างน้อย 15 ชั่วโมง หรือต่ำกว่า - 20 องศาเซลเซียส อย่างน้อย 7 วัน จะทำให้พยาธิชนิดนี้ตายได้


    อย่างไรก็ตาม ปลาดิบส่วนใหญ่ได้มาจากเรือจับปลาทะเลน้ำลึก ซึ่งเมื่อจับแล้วต้องรีบแช่แข็งทันที เพื่อให้เนื้อปลามีคุณภาพและรสชาติที่ดีที่สุด กว่าเรือประมงเหล่านี้จะเข้าฝั่ง ปลาก็มักจะถูกแช่แข็งมานานเกิน 7-15 วัน พยาธิจึงมักจะตายไปแล้ว โอกาสติดพยาธิจากปลาดิบจึงน้อยมาก


    อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องระวังคือการนำปลาน้ำจืดมาทำปลาดิบ ซึ่งจะทำให้เกิดโรคพยาธิตัวจี๊ด พยาธิใบไม้ตับ หรือพยาธิใบไม้ลำไส้ ซึ่งพบได้มากกว่าและอันตรายกว่าพยาธิอะนิซาคิสในปลาทะเลมาก


    นอกจากนี้ ปัญหาที่พบได้นอกจากพยาธิในปลาดิบ ก็คือ แบคทีเรียบางชนิด ดังนั้นหากคิดจะรับประทานปลาดิบ ควรดูให้แน่ใจก่อนว่าขั้นตอนการประกอบอาหารสะอาดถูกหลักอนามัย เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อโรค ซึ่งพบได้บ่อยกว่าพยาธิเสียอีก
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 31-10-2009 at 11:56.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ anna
    วันที่สมัคร
    Jun 2008
    กระทู้
    112
    ขอบคุณคะ แอนนาขอยืนยันและนั่งยันว่า ปลาทะเลมีพยาธิจริงๆๆ
    คือว่า มันเป็นเรื่องบังเอิญที่ชวนอ๊วก หรือหลอนก้ไม่ทราบได้

    แอนนาเป็นแม่ครัวในร้านอาหาร ที่อังกฤษ เป็นร้านเล็กๆไม่ใหญ่นะคะ
    เหตุเกิดก้หลายปีมาแล้วจ้า
    วันนั้น เจ้านายบอกให้ แอนนาไปซุปเปอร์มาเก็ต ของฝรั่งนะคะ
    และซื้อปลาคอดมาสัก 2 กิโล เพื่อที่จะเอาเนื้อปลามาผสมกับ
    ปลากลายทำ ทอดมันปลา พอแอนนาซื้อมา แอนก้เลยเอาออกจากถุง
    ใส่จานไว้ ตั้งใว้ที่โต็ะในครัวแหละ พึ่งว่างั้นเถอะ
    แล้วแอนนา ก็ไปทำอาหารอย่างอื่นต่อไป แล้วก้ไม่ได้สนใจปลาสัก 2ชั่งโมง
    แล้วแอนนก้มาเตรียมเครื่งที่จะทำ ทอดมัน

    แอนนาก็มานั่งครงโต๊ะที่วางปลา เจ้านายบอกว่าพัก กินข้าวเย็นก่อนที่แขกจะเข้าร้าน
    เลยนั่งรวมกัน จานปลาก้วางใว้ข้างๆๆ นั่งรอกินข้าว นาก้เลยดูปลาที่ซื้อมา
    โอ๊ย แม่เจ้าตัวอะไร ขาวๆ ในเนื่อปลา กำลังโผล่หัวออกมา
    แอนก้เลยเรียก เจ้านายมาดู แล้วเอาเหล้กคีบมาคีบออก
    มันเป็นพยาธิ ในเนื้อปลาคอด ตัวแดงเชียว ยาวประมาณ 3 เชนติเมตร

    ตรงลงวันนั้น ไม่มีใครกินข้าวเลย คือภาพมันติดตามาก ความเชื่อที่ว่า
    อาหารทะเลไม่มีพยาธิ ได้ทำให้ ทุกคนได้รู้ได้เห็นแล้ววันนั้น
    แอนไม่ซื้อปลาสดอีกเลย เอาแบบแช่แข็งแน่นอนกว่า คริคริ

    นี่ละคะประสบการณ์ในต่างแดนc06:

  3. #3
    ท่องเวบ สัญลักษณ์ของ pui.lab
    วันที่สมัคร
    Jul 2006
    ที่อยู่
    โสดไม่มีใครเอา หรือว่าเราไม่เอาใคร
    กระทู้
    8,954
    บล็อก
    9
    องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาแนะนำว่า ควรจะลวกปลาทะเลที่อุณหภูมิอย่างน้อย 60 องศาเซลเซียส อย่างน้อย 5 นาที แต่หากอยากกินปลาดิบจริงๆ เนื้อปลานั้นควรได้รับการแช่แข็งที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง คือต่ำกว่า -35 องศาเซลเซียส อย่างน้อย 15 ชั่วโมง หรือต่ำกว่า - 20 องศาเซลเซียส อย่างน้อย 7 วัน จะทำให้พยาธิชนิดนี้ตายได้


    ตรงนี้อีหลีทางสหรัฐชอบซื้อปลาแช่แข็ง และก็บ่ค่อยมักกินปลาทอใดดอก จากที่เห็นมา
    บ้านมหาดอทคอม เว็บไซต์ส่งเสริม ศิลปะ วัฒนธรรมไทย ศิลปิน ความรู้ออนไลน์
    st1: มิตรภาพและรอยยิ้ม กับดีเจคนไกลบ้าน st1:

  4. #4
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ แจ่มใสยิ้มสวย
    วันที่สมัคร
    Mar 2009
    ที่อยู่
    USA
    กระทู้
    961
    บล็อก
    18
    คุณผู้ชาย ก็บ่อ กินปลา นางแจ๋ว ก็กินผู้เดี๋ยวตลอด

    อ้อ ความเย็น มันทำให้พยาธิ หนาวตาย ใช่ไหมค่ะ อื่มเพิ่งรู้

  5. #5
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ sompoi
    วันที่สมัคร
    Mar 2007
    ที่อยู่
    japan
    กระทู้
    5,708
    บล็อก
    23
    ที่ญี่ปุ่น ปลาทะเลบางชนิดก็จะย่างก่อนเช่นกันค่ะ(เช่น ปลาคาสึโอะ) ย่างสุกเฉพาะภายรอบนอกข้างใน เวลาหั่นก็ยังเห็นแดงๆด้านใน คล้ายกับการย่างสเต๊กเลย คงเพราะจากประสบการณ์ของชาวประมงจะรู้ว่า ปลาชนิดไหนเสี่ยงต่อพยาธิ ระบบความปลอดภัยเรื่องนี้เค้าเข้มงวดมาก เพราะอาหารประเภทซาซิมิ หรือซูชิ เป็นอาหารประจำชาติและเป็นหน้าเป็นตาแก่ประเทศที่สุด
    มองต่าง..อย่างปลง

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •