กำลังแสดงผล 1 ถึง 3 จากทั้งหมด 3

หัวข้อ: พรหมวิหาร ๔

  1. #1
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ lungyai1123
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    3,644
    บล็อก
    63

    พรหมวิหาร ๔

    พรหมวิหาร ๔

    ตอนที่ ๕ เครื่องเตือนใจ - การเจริญพรหมวิหาร ๔

    พระธรรมประจำตอน วิชาจบในวิชา ๓ (อาสวักขยญาณ)
    ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณเธอย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาเหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็มีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้วกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรากล่าวว่า ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่มีความหิว ดับสนิทเป็นผู้เย็น เสวยแต่ความสุข มีตนเป็นดังพรหมอยู่ในปัจจุบัน.

    ข้อพิจารณาประจำตอน
    ๑.บาป คือความชั่วของจิต กิเลสที่ครอบงำจิต ความเศร้าหมองของจิต
    ๒.อุปาทาน คือความยึดมั่นถือมั่น ไม่ยอมละปล่อยวางบาปคือความชั่ว
    ๓.การพิจารณาเป็นธรรมด้วยอิทธิบาท ๔ ให้พิจารณาตามแนวนี้คือ
    ๑- ฉันทะ = ปฏิบัติได้แค่ไหนให้พอใจแค่นั้น อย่าให้ขาดทุน(สันโดษ)
    ๒- วิริยะ = ทำความเพียรให้ดีที่สุดในทางสายกลาง ไม่ตีงไปไม่หย่อนไป(ใช้พรหมวิหาร ๔ เป็นหลัก)
    ๓- จิตตะ = เอาจิตจดจ่อเป็นสมาธิอยู่กับพระธรรมนั้นๆอย่างต่อเนื่องระวังอย่าให้เรื่องอื่นเข้าแทรก
    ๔- วิมังสา = ใช้ปัญญาใคร่ครวญตามพระธรรมนั้นๆไปด้วยในเวลาเดียวกัน ในปัจจุปันนั้น

    การเริ่มลงมือปฏิบัติภาคต่อ การเจริญพรหมวิหาร ๔
    ๑.คราวที่แล้วพูดถึงหน้าตาและวิธีการระนิวรณ์ ๕ ไปแล้วคราวนี้มาพูดถึงเรื่องสุดท้ายก่อนเริ่ม
    ลงมือปฏิบัติพระกรรมฐานคือ เรื่องการเจริญพรหมวิหาร ๔
    ๒.การเจริญพรหมวิหาร ๔ ทำดังนี้
    ๑-แผ่เมตตา ความรักไปในทิศทั้ง ๔ โดยคิดด้วยบริสุทธิ์ใจว่าเราจะเป็นมิตรแก่คนและสัตว์ทั่วโลก
    จะไม่ทำร้ายใครให้เดือดร้อนด้วย กาย วาจา ใจ จะรักษาและเคารพสิทธิในบุคคลและสัตว์
    เสมอด้วยความรักตนเอง
    ๒-กรุณา จะสงสารหวังสงเคราะสัตว์และมนุษย์ทั้งปวง ทั่วในทิศทั้ง ๔
    ๓-มุทิตา จะไม่อิจฉาริษยาคนและสัตว์ทั้งหลายทั่วทิศทั้ง ๔ จะพลอยส่งเสริมเมื่อผู้อื่นมีโชค
    เมื่อได้ยินข่าวผู้อื่นได้ดีมีโชค ยินดีกับเขาทำความรู้สึกของตนเหมือนเป็นผู้ได้ดีมีโชคเอง
    ๔-อุเบกขา วางเฉยเมื่อผู้อื่นพลาดพลั้ง ไม่ซ้ำเติมให้ช้ำใจและตั้งใจหวังสงเคราะห์เมื่อมีโอกาส
    ๓.เมื่อท่านวางความกังวล รักษาศีลบริสุทธิ์ ระงับนิวรณ์ ๕ ไม่ให้รบกวนจิตใจและทรงพรหมวิหาร
    ได้ครบถ้วน อารมณ์จิตก็จะเป็นฌานเสื่อมยากเพราะพรหมวิหาร ๔ คอยอุ้มชู สมาธิก็จะตั้งมั่น
    วิปัสสนาญาณก็ผ่องใส รวมความพรหมวิหาร ๔ เป็นกำลังใหญ่ในการปฏิบัติสมณธรรมทุกระดับ




    เครดิต : lampang108.com

  2. #2
    ฝ่ายบริหารระดับสูง สัญลักษณ์ของ พล พระยาแล
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    6,430
    อืม จั่งซี่ไคแน....ไปเว่าเรื่องความรักพะนะ.....5555

    "กรุณา จะสงสารหวังสงเคราะสัตว์และมนุษย์ทั้งปวง ทั่วในทิศทั้ง ๔"

    ว่าง ๆ กะไปสงเคราะห์แนเด้อครับพ่อใหญ่ กำลังป่วยเป็นโรคทรัพย์จางอยู่ครับ...อิอิ

  3. #3
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ อ้ายพจน์
    วันที่สมัคร
    Mar 2012
    กระทู้
    263
    ธุจ้าเทิงเมาเทิงฟังธรรมลุงใหญ่ทราบซึ้งในรสพระธรรมขนาด:l-:l-

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •