กำลังแสดงผล 1 ถึง 7 จากทั้งหมด 7

หัวข้อ: บรรยายเรื่อง ศีล ๕ จาก พระวิทยากร พระมหาประเยา ชีวรโต

  1. #1
    หนุ่ม เกินร้อย
    Guest

    สว่างใจ บรรยายเรื่อง ศีล ๕ จาก พระวิทยากร พระมหาประเยา ชีวรโต

    ธุจ้า ตั้งนะโม 3 จบ นบพุทธะ อารธนะศีลห้ามาใส่หัว ปฏิบัติ ตั้งใจมั่น ไม่มันมัว มงคลตัวมงคลตนกุศลการ

    ความหมายของ “ศีล” แปลว่า “ ปกติ” คื่อสิ่งหรือกติกาที่บุคลจะต้องระวังรักษาตามเพศและฐานะ ศีลมีหลายระดับ คือ ศีล ๕ ศีล ๘ และศีล ๒๒๗
    คนมีศีล ห้าข้อ บริสุทธิ์
    เป็นมนุษย์ ดีเลิศ งามเฉิดฉาย
    ่ย่อมมีสุข ยั่งยืน มิคืนคลาย
    ทรัพย์มากมาย เกิดมี บริบูรณ์

    คำว่า “ มนุษย์ “ นั้น คือผู้ที่มีใจอันประเสริฐ คุณธรรมที่เป็นปกติของมนุษย์ ที่จะต้องทรงไว้ให้ได้ตลอดไป ก็คือ ศีล ๕ บุคคลที่ไม่มีศีล ๕ ไม่เรียกว่ามนุษย์ แต่อาจจะเรียกว่า “ คน “ ซึ่งแปลว่า “ ยุ่ง “ ในสมัยพุทธกาล ผู้คนมักจะมีศีล ๕ ประจำใจกันเป็นนิจ ศีล ๕ จึงเป็นเรื่องปกติของบุคคลในสมัยนั้น และจัดว่าเป็น “ มนุษย์ธรรม”
    เป็นมนุษย์ เป็นได้ เพราะใจสูง เหมือนหนึ่งยูง มีดี ที่แววขน
    ถ้าใจต่ำ เป็นได้ แต่เพียงคน ย่อมเสียที ที่ตน ได้เกิดมา
    ใจสะอาด ใจสว่าง ใจสงบ ถ้ามีครบ ควรเรียก มนุสสา
    เพราะทำถูก พูดถูก ทุกเวลา เปรมปรีดา คืนวัน ศุขสันติ์จริง
    ใจสกปรก มึดมัว และร้อนเร่า ใครมีเข้า ควรเรียก ว่าผีสิง
    เพราะพูดผิด ทำผิด จิตประวิง แต่ในสิ่ง นำตัว กลั้วอบาย
    คิดดูเถิด ถ้าใครไม่อยากตก จงรีบยก ใจตน รีบขวนขวาย
    ให้ใจสูง เสียได้ ก่อนตัวตาย ก็สมหมาย ที่เกิดมา อย่าเชือนเอยฯ

    การรักษาศีล เป็นการเพียรพยายามเพื่อระงับโทษทางกายและวาจา อันเป็นเพียงกิเลสหยาบ มิให้กำเริบขึ้นและเป็นการบำเพ็ญบุญ
    ศีลธรรม ความปกติ ตามธรรมชาติ ศีลธรรม ตามอำนาจ คนจัดสรร
    ศีลธรรม คือสุข-สะดวก บวกเข้ากัน ศีลธรรม คนทุกวัน หันหัวลง
    ศีลธรรม นำปุถุชน ดลอริยะ ศีลธรรม รวมฐานะ ที่พึงประสงค์
    ศีลธรรม ทุกทุกส่วน ล้วนเส้นตรง ศีลธรรม นำสูงส่ง ตรงต่อญาณ
    ศีลธรรม ปริยัติ จัดฐานราก ศีลธรรม มีวิบาก ล้วนสุขศานติ์
    ศีลธรรม สะอาด สว่าง สงบ บรรจบงาน ศีลธรรม ส่วนอวสาน นิพพานแล ฯ
    ธุจ้า

  2. #2
    หนุ่ม เกินร้อย
    Guest

    สว่างใจ

    ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี

    อย่าใจบาปหยาบช้าคร่าชีวิต พึงครุ่นคิดชีวิตเขากับเราหนา
    ต่างก็รักลุ่มหลงอย่าสงกา ต่างหลบหลีกปลีกหน้าให้พ้นภัย

    เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ในทางปฏิบัติหมายถึงความประพฤติหรือการดำเนินชีวิตของตนโดยไม่เบียดเบียนชีวิตร่างกายของผู้อื่นสัตว์อื่น แต่เป็นผู้มีใจประกอบด้วยเมตตากรุณา มีความรักความหวังดีต่อกันเป็นพื้นฐาน บุคคลผู้ที่จะล่วงหรือผิดศีลข้อที่ ๑ ที่ว่าศีลขาด นั้น ประกอบด้วยองค์ คือ ปาณาติบาตนี้มีองค์ ๔ คือ

    ๑ ปาโณ สัตว์มีชีวิต
    ๒.ปาณสญฺญิตา คนรู้อยู่ว่า สัตว์มีชีวิต
    ๓.วธกจิตฺตํ จิตคิดจะฆ่า
    ๔.เตน มรณํ สัตว์ตายด้วยความเพียรพยายามนั้น

    ( ๑ ) ผู้ที่รักษาศีลข้อ ๑ ด้วยการไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ด้วยเศษของบุญที่รักษาศีลข้อนี้ เมื่อน้อมนำมาเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะทำให้มีพลานามัยแข็งแรง ปราศจากโรคภัย ไม่ขี้โรค อายุยืนยาว ไม่มีศัตรูหรืออุบัติเหตุต่าง ๆ มาเบียดเบียนให้ต้องบาดเจ็บ หรือสิ้นอายุเสียก่อนวัยอันควร

    อย่ากักขังสร้างสถานทรมานสัตว์ สารพัดหาเป็นประโยชน์ไม่
    อิสระดีแน่รู้แก่ใจ อย่าสร้างกรรมก่อให้เกิดเวรา
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย หนุ่ม เกินร้อย; 18-11-2009 at 10:52.

  3. #3
    หนุ่ม เกินร้อย
    Guest

    สว่างใจ

    ๒.อทินนาทานา เวรมณี

    ไม่ลักวิ่งชิงปล้นเป็นโจรฉกาจ ไม่ฉ้อราษฎร์ฉ้อหลวงบ่วงตัณหา
    หาเลี้ยงชีพชอบธรรมด้วยปัญญา กระทำหน้าที่ตนเป็นคนดี

    เจตนางดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย ในทางปฏิบัติหมายถึงความประพฤติหรือการดำเนินชีวิตของคนโดยไม่เบียดเบียนทรัพย์สิน และไม่ละเมิดกรรมสิทธิ์ของผู้อื่นด้วยการลักขโมย เป็นต้น แต่การดำเนินชีวิตโดยมีอาชีพสุจริตยุติธรรมหาเลี้ยงชีพโดยชอบเรียกว่า “มีสัมมาอาชีวะ” ศีลข้อที่ ๒ นี้จะขาดได้ต้องประกอบด้วยองค์ คือ อทินนาทานมีองค์ ๕ คือ

    ๑. ปรปริคฺคหิตํ ขอนั้นมีเจ้าของหวงแหน
    ๒.ปรปริคฺคหิตสญฺญิตา ตรงก็รู้ว่าของมีเจ้าของหวงแหน
    ๓. เถยฺยจิตฺตํ จิตคิดจะลัก
    ๔. อปกฺกโม พยายามเพื่อจะลักให้ได้
    ๕. เตร หรณํ ได้ของนั้นมาด้วยความพยายามนั้น

    ( ๒ ) ผู้ที่รักษาข้อ ๒ ด้วยการไม่ถือเอาทรัพย์ของคนอื่นที่เจ่าของเขามิได้เต็มใจให้ ด้วยเศษของบุญที่นำมาเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมทำให้เกิดในตระกูลที่ร่ำรวย การทำมาหาเลี้ยงชีพในภายหน้า มักจะประสบช่องทางที่ดี ทำมาค้าขึ้น และมั่งมีทรัพย์ ทรัพย์สมบัติไม่วิบัติหายนะไปด้วยภัยต่าง ๆ เช่น อัคคีภัย วาตภัย โจรภัย ฯลฯ

    จงเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่สรรพสัตว์ ที่ข้องขัดเคืองแค้นให้สุขี
    เพื่อประโยชน์ส่วนรวมร่วมทวี ให้โลกมีสุขสันต์ตราบวันมรณ์

  4. #4
    หนุ่ม เกินร้อย
    Guest

    สว่างใจ

    ๓.กาเมสุ มิจฺฉาจารา เวรมณี

    ไม่ละเมิดลวนลามซึ่งของรัก ผูกสมัครรักใคร่ให้สำส่อน
    อันลูกเขาเมียใครได้สังวรณ์ จะเดือดร้อนเพราะตัณหาถ้าเมามัว

    เจตนาจดเว้นการประพฤติผิดในกาม มนทางปฎิบัติ หมายถึง ความประพฤติหรือการดำเนินชีวิตจองตนโดยไม่เบียดเบียนผู้อือทางด้านู่ครอง ไม่ละเมิดกรรมสิทธิ์ในบุคคลผู้เป็นที่รักของผู้อื่น รวมทั้งไม่ผิดประเวณีทางเพศ ไม่ประพฤตินอกใจคู่ครองของตนเองแต่มีใจมั่นคงในคู่ครองของตน สามารถควบคุมอารมณ์ในเรื่องเพศไ ด้ศีลข้อนี้จะขาดได้ต้องประกอบด้วยองค์ คือ กาเมสุมิจฉาจาร มีองค์ ๔ คือ

    ๑. อคมนียวตฺถุ หญิง- ชาย ต้องห้าม
    ๒. ตสฺมึ เสวนจิตฺตํ จิตคิดจะเสพ
    ๓. เสวนปฺปโยโค ประกอบการเสพ
    ๔. มคฺเคน มคฺคปฺปฎิปตฺติ มรรคจรดกัน

    ( ๓ ) ผู้ที่รักษาศีลข้อ ๓ ด้วยการไม่ล่วงประเวณีในคู่ครอง หรือคนในปกครองของผู้อื่น ด้วยเศษของบุญที่รักษาศีลข้อนี้ เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะประสบโชคดีในความรัก มักได้พบรักแท้ที่จริงจังและจริงใจไม่ต้องอกหัก อกโรย และอกเดาะ ครั้นเมื่อมีบุตรธิดา ก็ว่านอนสอนง่ายไม่ดื้อด้าน ไม่ถูกผู้อื่นหลอกลวงฉุดคร่าอนาจาร ไปทำให้เสียหาย บุตรธิดา ย่อมเป็นอภิชาตบุตร ซึ่งจะนำเกียรติยศชื่อเสียงมาสู่วงศ์ตระกูล

    จงสันโดษยินดีสิ่งมีอยู่ อย่าเจ้าชู้ชอบกามห่ามไปทั่ว
    ถ้าปล่อยใจตามตัณหานั้นน่ากลัว ย่อมเกลือกกลั้วมลทินสิ้นทั้งปวง

  5. #5
    หนุ่ม เกินร้อย
    Guest
    ๔. มุสสาวาทา เวรมณี

    ไม่กล่าวเท็จเพ็ดทูลผิดมูลเหตุ จะเกิดก่อกิเลสขึ้นใหญ่หลวง
    แม้นพูดเขียนเปลี่ยนกายเป็นกลลวง เท็จทั้งปวงจงจำเป็นสำคัญ

    เจนนางดเว้นจาการพูดเท็จในทางปฎิบัติหมายถึง ความประพฤติ หรือ การดำดนันชีวิตที่ปราศจากการเบียดเบียนผู้อื่นด้วยวาจาที่เป็นเท็จหลอกลวง อันเป้นสาเหตุตัดรอนหรือทำลายประโยชน์ของผู้อื่นแต่มีความซื่อสัต์ มีสัจจะรักษาสุจจะ พูดแต่คำจริง คำมีประโยชน์ คำสมานสามัคคี เป็นต้น ศีลข้อนี้จะขาดได้ต้องประกอบด้วยองค์คือ

    ๑. อตฺถํ วตฺถุ เรื่องไม่จริง
    ๒. วิสํวาทนจิตฺตํ จิตที่คิดจะพูดให้ผิด
    ๓. ตชฺโช วายาโม พยายามพูดออกไป
    ๔. ปรสฺสตทตฺถวิชานนํ คนอื่นเข้าใจเนื้อความนั้น

    ( ๔ ) ผู้ที่รักษาศีลข้อที่ ๔ ด้วยการไม่กล่าวมุสา ด้วยเศษของบุญที่รักษาศีลข้อนี้ เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์ จะทำให้เป็นผู้ที่มีสุ่มเสียงไพเราะพูดจามีน้ำมีนวลชวนฟัง มีเหตุมีผล ชนิดเป็น “ พุทธวาจา “ มีโวหารปฏิภาณไหวพริบในการเจรจา จะเจรจาความสิ่งใดก็มีผู้เชื่อฟังและเชื่อถือสามารถว่ากล่าวสั่งสอนบุตรธิดาและศิษย์ให้อยู่ในโอวาทได้ดี

    สัตย์ซื่อถือเที่ยงเป็นบรรทัด พึงขจัดโมโหอย่าหุนหัน
    ทั้งโลภะโทสะก็เหมือนกัน จงกีดกั้นอย่าให้เกิดประเสริฐนัก

  6. #6
    หนุ่ม เกินร้อย
    Guest

    สว่างใจ

    ๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฎฐานา เวรมณี

    อย่าดื่มเหล้าเมายามหานรก จะพาตกต่ำต้อยถอยยศศักดิ์
    ขาดสติริชั่วเชื่อคนชัก อันลูกเมียที่รักจะร้อนรน

    เจตนางดเว้นจากของมึนเมา คือ สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ในทางปฏิบัติ หมายถึง ความประพฤติหรือการดำเนินชีวิตที่ปราศจรากการเบียดเบียนตนเอง ด้วยการดื่ม สูบ ฉีด สิ่งที่เป็นพิษให้โทษแก่ร่างาย คือยาเสพติดทักประเภท อันเป็นเหตุให้เกิดความประมาทพลาดพลั้ง เกิดความมัวเมา เสียสติสัมปชัญญะ และทำให้เสียคุณภาพ ความเป็นคน แต่มีสติระวังตัวมิให้ติดสิ่งเสพติดเหล่านั้น ทั้งสามารถควบคุมใจ ควบคุมอารมณ์มิให้เป็นทาสของสิ่งเหล่านั้นด้วย ศึ๊ลขัอนี้จะขาดได้ต้องประกอบด้วยองค์ คือ

    1. มทนียํ น้ำเมา
    2. ปาตุกมฺมยตาจิตฺตํ จัตคิดจะดื่มน้ำเมา
    3. ตชฺโช วายาโม พยายามดื่มน้ำเมา
    4.ปีตปฺปเวสวนํ น้ำเมานั้นล่วงลำคอลงไป

    ( ๕ ) ผู้ที่รักษาศีลข้อ ๕ ด้วยการไม่ดื่มสุราเมรัย เครื่องมักดองของมึนเมา ด้วยเศษบุญนี้ที่รักษาศีลข้อนี้ เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมทำให้เป็นผู้ที่สมอง ประสาท ปัญญา ความคิดแจ่มใส จะศึกษาเล่าเรียนสิ่งใดก็แตกฉานและทรงจำง่าย ไม่หลงลืมฟั่นเฟือนเลอะเลือน ไม่เสียสติ วิกลจริต ไม่เป็นโรคสมอง โรคประสาท ไม่ปัญญาทราม ปัญญาอ่อน หรือปัญญานิ่ม

    อบายมุขทุกอย่างจงว่างเว้น อย่าลองเล่นเพราะเห็นไม่เป็นผล
    ถ้าแม้นใครเกลือกกลั้วชั่วทุกคน หลีกให้พ้นอย่าเมามัวชั่วนักเอย
    ธุจ้า

  7. #7
    หนุ่ม เกินร้อย
    Guest

    สว่างใจ

    เบญจศีล คือ ศีล 5 นี้ เป็นหลักควบคุมความประพฤติ หรือ พฤติกรรมเบื้องต้นของมนุษย์ เป็นหลักปฏิบัติเบื้องต้นสำหรับให้มนุษย์ตั้งอยู่ในคุณธรรมเพื่อให้ก้าวหน้าต่อไป ในการประพฤติความดีอย่างอื่นยิ่งๆ ขึ้นไป เหมือนคนเราจะเขียนหนังสือได้ดี ตรงปละสวยงาม เริ่มแรกจำต้องอาศัยเส้นบรรทัดเป็นหลักเขียนไปตามเส้นนั้นก่อน ตัวอักษรที่ปรากฏจะตรงดีและมีระเบียบเรียบร้อย หาไม่แล้วก็จะคดเคี้ยว ขาดความสวยงามแต่เมื่อชำนาญดีแล้วก็สามารถเขียนให้ตรงได้โดยไม่ต้องอาศัยเส้นบรรทัดได้ แม้การประพฤติธรรม การทำความดีก็ฉะนั้น เหมือนกัน กล่าวคือ เริ่มแรกจำเป็นต้องอาศัยอะไรสักอย่างเป็นหลัก เพื่อให้เกิดความมั่นคงและเป็นพื้นฐาน ศีล ๕ ประการนั้นสามารถเป็นหลักเช่นนั้นได้ หาไม่แล้ว จิตใจอาจไม่มั่นคงและคอยแต่จะเอนเอียงเข้าหาทุจริตได้ แต่เมื่อประพฤติเบญจศีลจนเป็นปกตินิสัยแล้ว ก็อาจประพฤติธรรมความดีอื่นๆ ได้ดี และยั่งยืนไม่ผันแปร
    เบญจศีลหรือศีล ๕ ประการนั้น เป็นข้อกำหนดความประพฤติอย่างต่ำที่สุดในหมู่มนุษย์ เป็นข้อกำหนดที่จำเป็น

    สมบัติของอุบาสก ๕ ประการ
    หนึ่ง “ประกอบ ด้วยศรัทธา” ปสาทะ เชื่อคำพระ พุทธองค์ ทรงสั่งสอน
    มีหลักศีลธรรม นำพา ใฝ่อาทร ไร้เดือดร้อน ทุกทิวา และราตรี
    สอง “มีศีล บริสุทธิ์” งามผุดผาด จิตสะอาด กายสะอ้าน ผ่านสุขศรี
    อยู่ที่ไหน ใจสุข ทุกข์ไม่มี ควรนารี บุรุษยึด ประพฤติกัน
    สาม “ไม่ถือ มงคล จนตื่นข่าว” ลือเรื่องราว ต่าง ต่าง อย่างน่าขัน
    คือเชื่อกรรม ไม่เชื่อมง- คลงงงัน
    สี่ “ไม่เสาะ บุญหลอก นอกศาสนา” มั่นศรัทธา เคารพ นบรัตน์สาม
    พุทโธวาท ประสาทยึด ประพฤติตาม สิ่งไม่งาม ทั้งหมด งดงมงาย ห้า “บำเพ็ญ บุญทาน การกุศล มุ่งกมล พุทธศาสน์” พิลาศหลาย
    ไม่ประพฤติ นอกทาง วางหลักตาย อยู่ในข่าย พุทธธรรม กรรมสายกลาง



    เพราะว่าบุญบาปนี้ เป็นคู่คือเงา เงาสิไปตามเฮา ซู่ยามบ่มีเว้น
    แม่นเฮาพามันหล่น พามันเต้นแล่น พามันแอะแอ่นฟ้อง เงานั้นกะแอ่นตา

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •