ประวัติศาสตร์ชาติไทย ตอน 3

๑๑ แพ้ทั้งอาและหลาน ..... ปีพศ.๒๑๒๗ หลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพได้ ๗ เดือน พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงจึงจัดทัพสองทัพให้ยกมาตีไทย ทัพแรกมีพระยาพสิม (เป็นพระเจ้าอาของพระเจ้าหงสาวดี)คุมกำลังสามหมื่นโดยยกมาทางด่านเจดีย์สาม องค์ ทัพที่สองมีเจ้าเมืองเชียงใหม่ชื่อมังนรธาช่อราชอนุชา ยกทัพบกและเรือมา จากเชียงใหม่มีกำลังพลหนึ่งแสน กองทัพพระยาพสิมยกเข้ามาถึงเมืองกาญจนบุรี(ถึงก่อนทัพเจ้าเมืองเชียงใหม่) สมเด็จพระนเรศวรทรงให้พระยาจักรียกทัพเรือไปยิงปืนใหญ่ดักข้าศึกแถวๆเมือง สุพรรณบุรี ทัพพม่าถูกปืนใหญ่แตกพ่ายหนีไปอยู่บนเขาพระยาแมน เจ้าพระยาสุโขทัยยกทัพไปเขาพระยาแมน เข้าตีทัพพระยาพสิมแตกพ่ายหนี กระเจิง เจ้าพระยาสุโขทัยจึงสั่งให้ตามบดขยี้ข้าศึกจนถึงชายแดนเมืองกาญจนบุรี หลังจากทัพพระยาพสิมแตกพ่ายหนีกลับไปได้สองอาทิตย์ กองทัพพระยาเชียงใหม่ได้เดินทัพมาถึงชัยนาท โดยที่ไม่ทราบข่าวการพ่ายแพ้ของพระยาพสิมจึงส่ง แม่ทัพและทหารจำนวนหนึ่งมาตั้งค่ายที่ปากน้ำบางพุทรา ทางสมเด็จพระนเศวรทรงรับสั่งให้พระราชมนูยกทัพไปตีข้าศึกที่ปากน้ำบางพุทรา เมื่อไปถึงพระราชมนูเห็นว่ากำลังน้อยกว่ามาก(พม่ามีอยู่หนึ่งหมื่นห้าพันคน ไทยมีสามพันสองร้อยคน) จึงแต่งกองโจรคอยดักฆ่าพม่าจนเสียขวัญถอยกลับไปชัยนาท สุดท้ายทัพพม่าจึงถอยกลับไป

๑๒ พระแสงดาบคาบค่าย ........ ปีพศ.๒๑๒๙ สมเด็จพระนเรศวรทรงสร้างวีรกรรมอย่างชายชาติทหารที่มีความ กล้าหาญเหนือฝ่ายพม่าหลายครั้ง เนื่องด้วยทางพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงยังไม่เข็ดหลาบในความพ่ายแพ้ จึงประ ชุมกองทัพจำนวนสองแสนห้าหมื่นคนยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ในช่วงต้นเดือนยี่ ข้าวในนายังเกี่ยวไม่เสร็จ สมเด็จพระนเรศวรจึงรับสั่งให้เจ้าพระยากำแพงเพชร ยกทัพออกไปป้องกันชาวนาที่กำลังเกี่ยวข้าว พอทัพพม่าของพระมหาอุปราชยก ทัพมาถึงก็ให้ทัพม้าเข้าตีจนทัพเจ้าพระยากำแพงเพชรแตกพ่ายหนีเข้าเมือง สมเด็จพระนเรศวรทรงพิโรธอย่างมาก เพราะไทยไม่เคยแตกพ่ายแพ้ต่อข้าศึก อาจทำให้ทหารขวัญเสีย พระองค์และสมเด็จเอกาทศรถทรงเสด็จลงเรือพระที่นั่งออกไปรบทันที (สมเด็จพระเอกาทศรถทรงถูกกระสุนปืนแต่ไม่เป็นอะไร เพียงแค่ฉลองพระองค์ขาดเท่านั้น) ผลปรากฏว่าทรงยึดค่ายคืนมาได้ สมเด็จพระนเรศวรทรงรับสั่งประหารชีวิตเจ้าพระยากำแพงเพชร แต่โชคดีที่พระบิดาสมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงขอชีวิตเอาไว้ การศึกครั้งนี้พม่าหมายหมั้นจะตีกรุงศรีอยุธยาให้ได้ แต่ด้วยความแข็งแกร่งของทหารไทยจึงรักษาที่มั่นเอาไว้ได้เสมอ วีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรในการศึกมีดังนี้ ทรงเสด็จออกปล้นค่ายพม่าซึ่งเป็นทัพหน้าของหงสาวดี ข้าศึกแตกพ่ายถอยหนี พระองค์จึงไล่ตีมาจนถึงค่ายหลวงของพระเจ้าหงสาวดี ทรงเสด็จลงจากม้าคาบพระแสงดาบแล้วนำทหารปีนบันไดขึ้นกำแพงข้าศึก แต่ถูกพม่าใช้หอกแทงตกลงมาข้างล่างหลายครั้ง จึงทรงเสด็จกลับพระนคร พระแสงดาบนี้มีนามว่า “ พระแสงดาบคาบค่าย ” ในพงศาวดารกล่าวว่า พระเจ้าหงสาวดีทรงทราบการกระทำอันห้าวหาญของสมเด็จพระนเรศวร จึงทรงตรัสว่าถ้าพระนเรศวรออกมาอีกจะต้องจับพระองค์ ให้ได้ถึงแม้ว่าจะใช้ทหารมากมายเพียงใด จึงวางแผนให้ลักไวทำมูนำทหารจำนวนหนึ่งหมื่นคนไปดักจับ แน่นอนสมเด็จพระนเรศวรทรงออกไปปล้นค่ายหลวงพม่าอีก พม่าจึงใช้ทหารจำนวนน้อยเข้าล่อให้พระองค์ไล่ตี เข้ามาจนถึงบริเวณที่ ลักไวทำมูซุ่มรออยู่ ลักไวทำมูจะเข้ามาจับพระองค์ สมเด็จพระนเรศวรจึงใช้พระแสงทวนแทงลักไวทำมูตายทันที แต่พระองค์ยังถูกล้อมอยู่และสู้กับทหารพม่า จำนวนมากนานร่วมชั่วโมง จนทัพไทยตามมาทันจึงเสด็จกลับพระนครได้ สุดท้ายกองทัพหงสาวดีบอบช้ำจากการสู้รบกับไทยอย่างมาก จึงถอยทัพกลับไปเช่นเดิม นี่เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงพระบารมีและทรงพระปรีชายิ่งทางด้านการรบของสมเด็จพระนเรศวร

๑๓ สงครามยุทธหัตถี ..... ปีพศ.๒๑๓๓ สมเด็จพระมหาธรรมราชาพระบิดาสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรทรงขึ้นครองราชย์มีพระชนมายุ ๓๕ พรรษา ทางพระเจ้านันทบุเรงยังคิดจะปราบปรามไทยให้ได้ จึงจัดทัพให้พระมหาอุปราชายกทัพหลวงมีกำลังพลสองแสนคน ยกทัพมาทางด่านเจดีย์สามองค์ สมเด็จพระนเรศวรทราบข่าวจึงทรงใช้กลศึกในการรบเพราะมีทหารน้อยกว่ามาก สั่งให้กองทัพซุ่มรออยู่แล้วแต่งทัพน้อยออกไปล่อข้าศึก ทางฝ่ายพระมหาอุปราชาเห็นดังนั้นจึงประมาทยกทัพเข้าไล่ตีจนมา ถึงบริเวณที่ทัพไทยซุ่มรออยู่จึงได้รบพุ่งกันด้วยสามารถจนถึงขั้นตะลุมบอน ทัพพม่าแตกพ่ายหนีกระเจิดกระเจิง ทัพไทยไล่ตามมาติดๆเกือบจะจับพระมหาอุปราชาได้ เหตุการณ์ครั้งนั้นสร้างความอัปยศอดสูให้พระเจ้านันทบุเรงอย่างมาก เพราะว่ายกทัพไปหลายแสนยังแพ้กลับมา จึงทรงให้แก้ตัวใหม่อีกครั้งคราวนี้พระมหาอุปราชานำกองทัพทหารจำนวนสองแสนสี่หมื่นคนหมายจะชนะศึกครั้งนี้ ประมาณปลายปี พศ.๒๑๓๕ เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงทราบว่าพม่าจะยกทัพใหญ่มาตีไทยอีกแล้ว จึงทรงเตรียมไพล่พลมีกำลังหนึ่งแสนคน เดินทางออกจากบ้านป่าโมกไปสุพรรณบุรีข้ามน้ำตรงท่าท้าวอู่ทอง และตั้งค่ายหลวงบริเวณหนองสาหร่าย รุ่งเช้าของวันจันทร์เดือนยี่ แรม ๒ ค่ำ ปีมะโรง พศ.๒๑๓๕ สมเด็จพระนเรศวร และสมเด็จพระเอกาทศรถทรงพระองค์เครื่องพิชัยยุทธ สมเด็จพระนเรศวรทรงช้างนามเจ้าพระยาไชยานุภาพเป็นคชาสาร ทางสมเด็จพระเอกาทศรถทรงช้างนามเจ้าพระยาปราบไตรจักรเป็นคชาสาร ช้างทรงของทั้งสองพระองค์นั้นเป็นช้างชนะงาที่กำลังตกมัน ในระหว่างการรบจึงวิ่งไล่ตามพม่าหลงเข้าไปในแดนพม่า จะมีเพียงทหารรักษาพระองค์และจตุลังคบาลเท่านั้นที่ติดตามไป ช้างทรงของสองพระองค์หลงเข้าไปลึกประมาณร้อยเส้น และ ตกอยู่ในวงล้อมข้าศึก ด้วยพระปฏิพาณไหวพริบของสมเด็จพระนเรศวรทรงเห็นว่าเป็นการเสียเปรียบข้าศึก จึงได้ทรงท้าทายให้พระมหาอุปราชาออกมาชนช้างทำยุทธหัตถี เพื่อเป็นเกียรติในการรบแก่ไพล่พล พระมหาอุปราชาได้ยินดังนั้นจึงทรงช้างพลายพัทธกอเข้าชนเจ้าพระยาไชยานุภาพเสียหลัก พระมหาอุปราชาทรงฟันด้วยพระแสงของ้าว แต่สมเด็จพระนเรศวรทรงเบี่ยงหลบทันจึงฟันถูกพระมาลาหนังขาด จากนั้นเจ้าพระยาไชยานุภาพชนพลายพัทธกอเสียหลักสมเด็จพระนเรศวรทรงฟันด้วยพระแสงของ้าวถูกพระมหาอุปราชา เข้าที่ไหล่ขวาสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง ( เป็นการชดใช้กรรมสมัยที่พระเจ้าแปรฟันพระแสงของ้าวถูกพระสุริโยทัยสิ้นพระชนม์ชีพ ) ส่วนสมเด็จพระเอกาทศรถก็ทรงฟันเจ้าเมืองจาปะรีเสียชีวิตเช่นกัน ทหารพม่าเห็นว่าแพ้แน่แล้วจึงใช้ปืนยิงใส่สมเด็จพระนเรศวรทรงได้รับบาดเจ็บ ทันใดนั้นทัพหลวงไทยตามมาช่วยทันจึงรับทั้งสองพระองค์กลับพระนคร พม่าก็ยกทัพกลับไป
( สถานที่ทำยุทธหัตถี ปัจจุบันคือ ต.ดอนเจดีย์ ห่างจากหนองสาหร่าย ๑๐๐ เส้น จ.สุพรรณบุรี )
ช้างเจ้าพระยาไชยานุภาพได้รับพระราชทานนามว่า เจ้าพระยาปราบหงสาวดี
พระแสงของ้าวได้พระราชทานนามว่า เจ้าพระยาแสนพลพ่าย
พระมาลาหนังที่ถูกฟันขาดได้พระราชทานนามว่า พระมาลาเบี่ยง
สมเด็จพระนเรศวรทรงรับสั่งให้สร้างเจดีย์ใหญ่ชื่อ “ เจดีย์ชัยมงคล ” ในวัดใหญ่ชัยมงคล จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศที่ทรงทำยุทธหัตถีชนะ
๑๔ พระสุพรรณกัลยาณี ..... คงยังจำกันได้ที่มีการแลกองค์ประกันระหว่างสมเด็จพระนเรศวรกับพระสุพรรณกัลยาณีพระพี่นางประมาณปีพศ.๒๑๑๒ หลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรทรงทำยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชาแล้ว พระเจ้านันทบุเรงได้ทราบข่าวว่าโอรสสิ้นพระชนม์ก็พระพิโรธอย่างมาก ได้ลงโทษทัณฑ์แก่แม่ทัพนายกอง และพระสุพรรณกัลยาณี ดังหลักฐานจากพงศาวดารดังนี้

คำให้การขุนหลวงหาวัด (พระเจ้าอุทุมพร) “ พระเจ้านันทบุเรง(เดิมชื่อมังไชย สิงหราช) รับสั่งให้เพชรฆาตนำเสนามอญรวมทั้งเจ็ดชั่วโคตร เอาไม้ลำทำตับเข้าแล้วปิ้งไฟให้ตายทั้งเจ็ดชั่วโคตร ยังไม่หนำใจ พระเจ้านันทบุเรงเสด็จเข้าวัง เห็นพระพี่นางสุพรรณกัลยาณีบรรทมให้พระโอรสเสวยนมอยู่ ด้วยความเหี้ยมโหดผิดมนุษย์ จึงฟันด้วยพระแสงถูกพระพี่นางและโอรส และลูกในครรน์อีกหนึ่งพระองค์สิ้นพระชนม์ทันที ”

คำให้การจากชวกรุงเก่า “ พระเจ้านันทบุเรงรับสั่งให้นำตัวแม่ทัพนายกองที่ไปรบครั้งนั้นมาใส่ย่างไฟให้ตายทั้งเป็น (โหดผิดมนุษย์จริงๆ) แล้วเข้าพระตำหนักของพระพี่นางสุพรรณกัลยาณีใช้พระแสงฟันพระพี่นางกับพระธิดาสิ้นพระชนม์คามือ ”

ก่อนที่พระพี่นางสุพรรณกัลยาณีจะถูกปลงพระชนม์ ได้ทรงมีรับสั่งให้พระองค์จันทร์ช่วยนำพระเกศาของพระพี่นางไปมอบให้สมเด็จพระนเรศวร และไม่นานลางสังหรณ์ของพระพี่นางก็เป็นจริง หลังจากที่พระพี่นางทรงสิ้นพระชนม์แล้ว พระองค์จันทร์ได้แอบหนีจากเมืองหงสาวดีพร้อมด้วยทหารมอญคนหนึ่ง ( ทางหงสาวดีได้จัดพิธีศพให้พระพี่นางอย่างสมเกียรติ และปิดข่าวการสิ้นพระชนม์ไม่ให้ไทยทราบ ส่วนพระเจ้านันทบุเรงผู้เหี้ยมโหดก็เป็นบ้าเสียสติไป ) พระพี่นางมีพระชันษา ๔๑ พรรษาขณะสิ้นพระชนม์ องค์จันทร์ทรงหนีมาทาง อ.ปายและหยุดพักที่กระท่อมแห่งหนึ่ง ทหารพม่าตามมาทันจึงเผากระท่อมและฆ่าผัวเมียเจ้าของกระท่อมผู้ให้ที่พักพิงตายทั้งคู่ พม่าคิดว่าองค์จันทร์คงจะตายในกองเพลิงแล้วจึงกลับเมือง องค์จันทร์และทหารมอญใช้เวลาเดินทางจากกรุงหงสาวดีจนถึงกรุงศรีอยุธยารวมเวลา ๓ เดือนเศษ ครั้นถึงพระนครก็กราบทูลเรื่องการสิ้นพระชนม์ของพระสุพรรณกัลยาณีให้ทราบ บรรยากาศในราชวังแห่งกรุงศรีอยุธยามีแต่ความโศกเศร้ายิ่งนัก สมเด็จพระนเรศวรทรงพระพิโรธอย่างมากทรงมีรับสั่งให้เตรียมไพล่พลเพื่อยกทัพไปตีกรุงหงสาวดีจับตัวนันทบุเรงเจ้าผู้โหดเหี้ยม ตัดหัวแล้วนำเลือดมาล้างตีน เซ่นสรวงดวงวิญญาณพี่กู หลังจากที่พระแม่เจ้าพระวิสุทธิกษัตริย์(พระมารดของสมเด็จพระนเรศวร ) ได้ทรงทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ของพระพี่นางก็ทรงโศกเศร้าและประชวรลง ไม่เกิน ๓ เดือนก็ทรงสวรรคต

สมเด็จพระนเรศวรทรงรับสั่งให้สร้างพระเจดีย์บรรจุพระอัฐิพระสุพรรณกัลยาณี พระพี่นางที่วัดน้ำฮู อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน พร้อมทั้งสร้างพระพุทธรูปองค์หนึ่งนามว่า พระพุทธรูปอุ่นเมือง เพื่ออุทิศส่วนกุศลถวายให้พระพี่นาง
๑๕ ตีกรุงหงสาวดีล้างแค้น ..... หลังจากจัดการถวายพระเพลิงพระบรมศพพระแม่เจ้า สมเด็จพระนเรศวรทรงยกทัพไปตีกรุงหงสาวดีในปี พศ.๒๑๓๘ ทรงนำกำลังพลประมาณหนึ่งแสนสองหมื่นคนเข้าไปล้อมเมืองหงสาวดีเอาไว้นาน ๓ เดือนยังตีไม่ได้ ทรงทราบข่าวว่า พระเจ้าแปร พระเจ้าอังวะ และพระเจ้าตองอูยกทัพมาช่วยกรุงหงสาวดี สมเด็จพระนเรศวรจึงยกทัพกลับพระนคร ผ่านมา ๔ ปี พศ.๒๑๔๒ สมเด็จพระนเรศวรทรงจัดกองทัพเตรียมยกไปตีกรุงหงสาวดีอีกครั้งทางเมืองยะไข่และตองอูทราบจึงเข้ามาสวามิภักร แต่กลับมีพระรูปหนึ่งชื่อมหาเถรเสียมเพรียมได้ยุยงให้พระเจ้าตองอูกบฏต่อไทย โดยเข้าตีหงสาวดีก่อนแต่ตีไม่สำเร็จจึงล้อมเมืองเอาไว้ ทางหงสาวดีทราบข่าวว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงปราบกบฏมอญได้ จึงเปิดประตูเมืองรับพระเจ้าตองอูพร้อมทั้งมอบ อำนาจในการปกครองและบัญชาการรบให้ด้วย พระเจ้าตองอูจึงคิดจะหาพรรคพวกโดยยกราชธิดาของพระเจ้าหงสาวดีให้พระเจ้ายะไข่เพื่อให้กองทัพยะไข่ช่วย ต่อสู้กับกองทัพไทย(ไร้สัจจะเหมือนสมัยพระเจ้าบุเรงนอง) จากนั้นพระเจ้าตองอู จึงนำตัวพระเจ้าหงสาวดีไปไว้ยังเมืองตองอู สมเด็จพระนเรศวรทรงยกทัพมาถึงหงสาวดี ทรงทราบว่าพระเจ้าหงสาวดีหนีไป อยู่เมืองตองอูก็ทรงผิดหวังมาก จึงสั่งให้เผาเมืองหงสาวดีทิ้งเสียแล้วยกกองทัพไปล้อมเมืองตองอู เนื่องจากตองอูเป็นเมืองใหญ่มีป้อมปราการแข็งแกร่ง ซ้ำมีคู เมืองที่กว้างและลึกอีกต่างหาก พระองค์ทรงตรัสว่า “ หากกูตีตองอูแล้วจับไอ้นันทบุเรงมาเซ่นดวงวิญญาณของพี่กูไม่ได้ ก็จะไม่เข้าพระนคร ” ทรงล้อมเมืองอยู่ ๒ เดือนเสบียง อาหารเริ่มหมด ไข้ป่าก็มาก ทหารเจ็บป่วยหลายคนจึงทรงสั่งถอยทัพ และพระองค์ก็มิได้เสด็จเข้าไปในพระบรมมหาราชวังนานร่วม ๓ ปี
๑๖ การทำศึกครั้งสุดท้ายของสมเด็จพระนเรศวร ..... ในปีพศ.๒๑๔๗ พม่าเกิดการแตกแยกขึ้นเมื่อโอรสพระเจ้าตองอู(นัดจินหน่อง) ลอบวางยาพิษให้พระเจ้าหงสาวดีสิ้นพระชนม์ เมืองอังวะจึงยกทัพมาตีหัวเมืองที่อยู่ทางเหนือของไทย สมเด็จพระนเรศวรทรงขัดเคืองเป็นยิ่งทรงจัดกองทัพใหญ่ มีกำลังพลหนึ่งแสนคนยกไปตีอังวะ ทรงให้พระอนุชาสมเด็จพระเอกาทศรถยก ทัพไปทางเมืองฝาง ส่วนพระองค์ยกทัพมาทางเมืองหาง ฤ จะสิ้นบุญบารมีจอมกษัตริย์นักรบ สมเด็จพระนเรศวรทรงพระประชวรเป็นฝีหัวระลอกขึ้นบริเวณพระพักตร์รามเป็นบาดทะพิษ ทรงรับสั่งให้ทหารไปเชิญเสด็จ พระอนุชาสมเด็จพระเอกาทศรถมาเฝ้าพระองค์ได้ ๓ วัน สมเด็จพระนเรศวรก็ ทรงสวรรคต ณ.เมืองหาง

รวมเวลาที่พระองค์ทรงตรากตรำการศึกสงครามเพื่อ กอบกู้ชาติบ้านเมืองเป็นเวลา ๒๐ ปี (ตั้งแต่ พศ.๒๑๒๗ - ๒๑๔๗ ) เราชาวไทย ซึ่งเป็นลูกหลาน เหลน ของพระองค์ท่านจึงควรภาคภูมิใจที่ได้เกิดมาเป็นลูกไทยชาตินักรบ
๑๗ คิดรุกรานไทยกรรมจึงตามสนอง ..... ในปีพศ.๒๓๐๐ พม่าถูกมอญเข้ายึดครองอยู่ใต้อำนาจถึง ๗ ปี แต่มีพรานป่าชาวพม่าชื่อมังอองไจยะ รบชนะมอญและยึดเมืองคืน มังอองไจยะจึงตั้งตนขึ้นเป็น กษัตริย์พม่าชื่อ พระเจ้าอลองพญา ประมาณปี พศ.๒๓๐๒ ด้วยความชอบรุกรานบ้านเมืองผู้อื่นพระเจ้าอลองพญาจึงจัดทัพมาตีไทย (เพราะทราบว่ากำลังทหารของ ทยช่วงนั้นอ่อนแอ) ทางด่านสิงขร ประจวบฯ เพชรบุรี กาญจนบุรี มุ่งเข้าสู่กรุงศรี อยุธยา ทางพม่าเลยได้ใจที่จะตีเอากรุงศรีอยุธยาให้ได้ พระเจ้าอลองพญาสั่งให้ ตั้งปืนใหญ่ยิงเข้ามาในพระนคร โดยเป็นคนจุดไฟยิงปืนใหญ่เองแต่ปืนใหญ่ระเบิด ถูกพระเจ้าอลองพญาอาการสาหัส(กรรมสนอง) พม่าจึงถอยทัพกลับมาทางด่าน แม่ละเมา และพระเจ้าอลองพญาสิ้นพระชนม์ที่เมืองตาก

ในปีพศ.๒๓๐๖ เมื่อพระเจ้ามังระได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระบิดาที่สิ้นพระชนม์จากปืนใหญ่ ด้วยสายเลือดของผู้รุกรานจึงจัดทัพมาตีไทย ให้แม่ทัพมังมหานรธา ยกทัพมาตีทวาย ตะนาวศรี ระนอง ชุมพร ประจวบฯ จนถึงเพชรบุรี แต่ทัพไทย นำโดยพระยาตากสินหรือพระเจ้ากรุงธนบุรี และพระยาพิพัฒน์โกษาได้ต่อสู้กับพม่าเป็นสามารถจนทัพพม่าแตกพ่ายหนีกลับไป

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : Thai - History ประวัติศาสตร์ชาติไทย