กำลังแสดงผล 1 ถึง 7 จากทั้งหมด 7

หัวข้อ: ปาระมี 30 ทัส

  1. #1
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ ลูกสาวที่ราบสูง
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    176

    ปาระมี 30 ทัส

    ธรรมะเฮฮาสวัสดีเจ้าค่ะ..เรามาสวด"ปาระมี 30 ทัส "กันเถอะเจ้าค่ะ

    คำไหว้ปาระมี 30 ทัส


    ทานะ ปาระมี สัมปันโน , ทานะอุปะปาระมี สัมปันโน , ทานะปะรามัตถะปาระมี สัมปันโน , เมตตา ไมตรี กรุณา มุฑิตา อะเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

    สีละปาระมี สัมปันโน , สีละอุปะปาระมี สัมปันโน , สีละปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน , เมตตา กรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

    เนขัมมะปาระมี สัมปันโน , เนกขัมมะอุปะปาระมี สัมปันโน , เนกขัมมะปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน , เมตตา กรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

    ปัญญาปาระมี สัมปันโน , ปัญญาอุปะปารมี สัมปันโน , ปัญญาปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน , เมตตา กรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

    ขันตีปาระมี สัมปันโน , ขันตีอุปะปาระมี สัมปันโน , ขันตีปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน , เมตตา กรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

    สัจจะปาระมี สัมปันโน , สัจจะอุปะปาระมี สัมปันโน , สัจจะปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน , เมตตา กรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

    อะธิฏฐานะปาระมี สัมปันโน , อะธิฏฐานะอุปะปาระมี สัมปันโน , อะธิฏฐานะปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน , เมตตา กรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

    เมตตาปาระมี สัมปันโน , เมตตาอุปะปาระมี สัมปันโน , เมตตาปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน , เมตตา กรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

    อุเปกขาปาระมี สัมปันโน , อุเปกขาอุปะปาระมี สัมปันโน , อุเปกขาปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน , เมตตา กรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

    ทะสะปาระมี สัมปันโน , ทะสะอุปะปาระมี สัมปันโน , ทะสะปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน , เมตตา กรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ นะมามิหังฯ

    ****************************************************
    "
    ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น


    และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น "

    ครั้นได้ฟังธรรมนี้ สารีบุตรปริพาชกได้ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า


    " สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็นธรรมดา "

    --------------------------------------------------------------------------

    [WMA]http://www.fileden.com/files/2009/10/14/2602199/tana.mp3[/WMA]

  2. #2
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ ลูกสาวที่ราบสูง
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    176
    พระพุทธเจ้า ประกอบด้วยพระมหากรุณา ยังบารมีทั้งหลายให้เต็ม เพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ ทั้งหลาย

    อธิบาย บารมี 30 ทัศ

    การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ในชาตินั้นๆ บารมีที่บำเพ็ญนั้นคือ ทานบารมี เนกขัม

    มบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี และ

    อุเบกขาบารมี รวมเรียกว่าบารมี ๓๐ (๓ x ๑๐) โดยแบ่งเป็นบารมีชั้นธรรมดา ๑๐ (บารมี)

    บารมี ชั้นกลาง ๑๐ (อุปบารมี) และ บารมีชั้นสูง ๑๐ (ปรมัตถบารมี) รวมเป็นบารมี ๓๐
    ประการ

    ในอรรถกถาจริยาปิฎกพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ ได้จัดชาดกเรื่องต่างๆ ลงในบารมีทั้ง ๓๐ ประการ มีนัยโดยสังเขปที่น่าศึกษา ดังนี้

    ๑. ทานบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ยทานบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าสีวิ
    ราช (๒๗/๔๙๙) ทรงบำเพ็ญทานอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร
    (๒๘/๕๔๗) และทรงบำเพ็ญทานปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นกระต่ายป่าสสบัณฑิต (๒๗/๓๑๖)

    ๒. ศีลบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญศีลบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญาช้างฉัตทันต์เลี้ยงมารดา (๒๗/๗๒) ทรงบำเพ็ญศีลอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญานาคภูริทัต (๒๘/๕๔๓)

    ๓. เนกขัมมบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นอโยฆรราชกุมาร (๒๗/๕๑๐) ทรงบำเพ็ญเนกขัมมอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นหัตถิปาลกุมาร (๒๗/๕๐๙) และทรงบำเพ็ญเนกขัมมปรมัตถบารมี ในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าจูฬสุตโสม (๒๗/๕๒๗)

    ๔. ปัญญาบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญปัญญาบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นสัมภวกุมาร (๒๗/๕๑๕) ทรงบำเพ็ญปัญญาอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นอำมาตย์วิธุรบัญฑิต (๒๘/๕๔๖) และทรงบำเพ็ญปัญญาปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นเสนกบัณฑิต (๒๗/๔๐๒)

    ๕. วิริยบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญวิริยบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญากปิ (๒๗/๕๑๖) ทรงบำเพ็ญวิริยอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าสีลวมหาราช (๒๗/๕๑) และทรงบำเพ็ญวิริยปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระมหาชนก (๒๘/๕๓๙)

    ๖. ขันติบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญขันติบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นจูฬธัมมปาลราชกุมาร (๒๗/๓๕๘) ทรงบำเพ็ญขันติอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นธัมมิกเทพบุตร (๒๗/๔๕๗) และทรงบำเพ็ญขันติปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นขันติวาทีดาบส (๒๗/๓๑๓)

    ๗. สัจจบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญสัจจบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นวัฏฏกะ (ลูกนกคุ่ม (๒๗/๓๕) ทรงบำเพ็ญสัจจอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญาปลาช่อน (๒๗/๗๕) และทรงบำเพ็ญสัจจปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้ามหาสุตโสม (๒๘/๕๓๗)

    ๘. อธิษฐานบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญากุกกุระ (๒๗/๒๒) ทรงบำเพ็ญอธิษฐานอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นมาตังคบัณฑิต (๒๗/๔๙๗) และทรงบำเพ็ญอธิษฐานปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเตมิยราชกุมาร (๒๘/๕๓๘)

    ๙. เมตตาบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญเมตตาบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นสุวรรณสามดาบส (๒๘/๕๔๐) ทรงบำเพ็ญเมตตาอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นกัณหาทีปายนดาบส (๒๗/๔๔๔) และทรงบำเพ็ญเมตตาปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าเอกราช

    ๑๐. อุเบกขาบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญอุเบกขาบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นกัจฉปบัณฑิต (๒๗/๒๗๓) ทรงบำเพ็ญอุเบกขาอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญามหิส (๒๗/๒๗๘) และทรงบำเพ็ญอุเบกขาปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นโลมหังสบัณฑิต (๒๗/๙๔)
    หมายเหตุ เลขหน้าเป็นลำดับเล่มพระไตรปิฎก เลขหลังเป็นลำดับชาดก เช่น (๒๗/๒๗๓) หมายถึง พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ ชาดกเรื่องที่ ๒๗๓)

    * การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ในชาติหนึ่ง ๆ มิใช่ว่าจะทรงบำเพ็ญบารมีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ทรงบำเพ็ญทานบารมี หรือทรงบำเพ็ญศีลบารมีอย่างเดียวเท่านั้น แต่ในชาติเดียวกันนั้น ได้บำเพ็ญบารมีหลายอย่างควบคู่กันไป แต่อาจเด่นเพียงบารมีเดียว ที่เหลือนอกนั้นเป็นบารมีระดับรอง ๆ ลงไป เช่น ในชาติที่เป็นพระเวสสันดรทรงบำเพ็ญบารมีครบทั้ง ๑๐ บารมี

    การพำเพ็ญ บารมีนี่หนักหนาสาหัสมากเลยนะครับ พระพุทธเจ้าพำเพ็ญโดยยากลำบากเพื่อ
    สงเคราะห์สัตว์โลกให้ตื่น โดยพระองค์ยอมทุกข์แสนสาหัส ในหลายๆชาติ ยิ่งผู้ใด เข้าใจ
    เรื่องพระเวสสันดร จะเข้าใจว่า พระองค์ทรงเสียสละอย่างยิ่งใหญ่มากแค่ไหน




    มหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง

    พระพุทธเจ้า ประกอบด้วยพระมหากรุณา ยังบารมีทั้งหลายให้เต็ม เพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ ทั้งหลาย


    คัดลอกมาจากเวบสวดมนต์เจ้าค่ะ
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลูกสาวที่ราบสูง; 07-12-2009 at 22:10. เหตุผล: คำผิด

  3. #3
    Membership renewed สัญลักษณ์ของ บ่าวจ้ำ
    วันที่สมัคร
    Jan 2009
    ที่อยู่
    ขัวข้วมของหนองคาย
    กระทู้
    566
    บล็อก
    2

    ความเยือกเย็น จ้ำแจมจัง

    คำสวดปาระมี ๓๐ ทัส

    ถ้ามีคำแปลด้วยจะเยี่ยมมากเลยจ้า

    เพราะสวดแล้วเราได้รู้ความหมายด้วย

    จะเพิ่มความเข้าใจได้มากกว่าสักแต่สวดๆไปน่ะจ๊ะ

    ......สาธุ..ต่อธรรมทานนี้จ้า.........
    ..Dreams it, Believe it, Do it..

  4. #4
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ บ่าวเมืองลำดวน
    วันที่สมัคร
    Sep 2009
    กระทู้
    598
    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

  5. #5
    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ ธุจ้า ธุจ้า ธุจ้า

  6. #6
    ศิลปิน นักร้อง นักแสดง
    มิสบ้านมหา 2011
    สัญลักษณ์ของ ผู้ก่อการรัก
    วันที่สมัคร
    Feb 2006
    ที่อยู่
    HappyLand ดินแดนแห่งความสุข, Thailand
    กระทู้
    3,161
    ไปเหนือมารอบนี้ก็ได้ไปสวดบทนี้ตรงวัดเฉลิมพระเกียรติด้วยค่ะ
    ล้มแล้วฟื้นยืนสู้ชูช่อใหม่ เพราะต้นยังสดใสผลิใบเขียว
    ลุกขึ้นต้านลมฝนต้นเป็นเกลียว รากยึดเหนี่ยวซับซ้อนกับพื้นดิน



  7. #7
    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ ธุจ้า ธุจ้า ธุจ้า

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •