สุริยุปราคา 15 มกราคม 2553

สุริยุปราคาวงแหวนครั้งนี้ มีเส้นทางของแนวคลาสวงแหวนกว้างกว่า 300 กิโลเมตร และเป็นระยะทางยาวกว่า 12,900 กิโลเมตร ตลอดเส้นทางของแนวคราสใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง 45 นาที โดยแนวคราสดังกล่าวพาดผ่านผิวโลกคิดเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 0.87 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด บางส่วนของแนวคราสวงแหวนได้เริ่มต้นที่ทวีปแอฟริกา ผ่านประเทศชาด ประเทศสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ประเทศสาธรณรัฐประชาธิปไตยคองโก ยูกันดา เคนยาและโซมาเลีย แล้วออกจากทวีปแอฟริกาเข้าสู่มหาสมุทรอินเดีย และที่ตำแหน่งละติจูด 1 องศา 37 ลิปดาเหนือ ลองจิจูด 69 องศา 17 ลิปดาตะวันออก ในมหาสมุทรอินเดียจะเป็นตำแหน่งที่เกิดสุริยุปราคานานที่สุด คือ 11 นาที 8 วินาที หลังจากนั้นจะผ่านเข้าสู่ทวีปเอเชีย ผ่านบังกลาเทศ อินเดีย พม่าและเข้าสู่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน สำหรับปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วนสามารถมองเห็นได้เป็นบริเวณกว้างตามบริเวณที่เงามัวของดวงจันทร์พาดผ่าน เช่น ยุโรปตะวันออก ทวีปแอฟริกา เอเชียและประเทศอินโดนิเซีย
สุริยุปราคา 15 มกราคม 2553
การเกิดสุริยุปราคาครั้งนี้ เป็นผลมาจากที่โลกเข้ามาอยู่ในตำแหน่งใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด (perihelion) ในวันที่ 3 มกราคม ทำให้มองเห็นขนาดปรากฏของดวงอาทิตย์ใหญ่มากกว่าปกติ ในขณะเดียวกันดวงจันทร์ก็เคลื่อนไปอยู่ที่ตำแหน่ง***งจากโลกมากที่สุด (apogee) ในวันที่ 17 มกราคม ทำให้มองเห็นขนาดปรากฏของดวงจันทร์เล็กกว่าปกติ แล้วเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และโลกมาอยู่แนวเดียวกันในวันที่ 15 มกราคม 2553 ดวงจันทร์จึงมีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์และบังดวงอาทิตย์ไม่มิดทั้งดวง แต่จะมองเห็นดวงอาทิตย์สว่างเป็นวงแหวนโดยมีดวงจันทร์มืดอยู่ตรงกลาง จากปัจจัยหลายอย่างที่กล่าวมามีผลต่อลักษณะและความยาวนานของคราสที่พาดผ่านผิวโลกทั้งสิ้น
สุริยุปราคา 15 มกราคม 2553
รูปที่ 4 แผนที่แสดงปริมาณเมฆเฉลี่ย (คิดเป็น %) ในวันที่ 15 มกราคม 2553
(ที่มา : http://xjubier.free.fr/en/site_pages/solar_eclipses)

สำหรับประเทศไทยจะเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วน และสามารถเห็นได้ทุกภูมิภาค โดยแต่ละภูมิภาคจะเห็นปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นในเวลาที่แตกต่างกัน ที่กรุงเทพฯ นั้นดวงจันทร์จะเริ่มเคลื่อนเข้าสู่สัมผัสที่ 1 ในเวลาประมาณ 14.00 น. และสิ้นสุดเหตุการณ์ในเวลา 16.58 น. ปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วนในครั้งนี้จะเกิดนานที่สุดในภาคเหนือ คือ ประมาณ 3 ชั่วโมง 6 นาทีที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยดวงอาทิตย์จะถูกดวงจันทร์บดบังมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 77 ของพื้นที่ดวงอาทิตย์

ตารางแสดงเวลาที่เกิดสุริยุปราคาบางส่วนในประเทศไทย
15 มกราคม 2553
สุริยุปราคา 15 มกราคม 2553

สุริยุปราคา 15 มกราคม 2553

การชมปรากฏการณ์สุริยุปราคาอย่างปลอดภัย

การมองดูดวงอาทิตย์โดยตรงด้วยตาเปล่าหรือมองผ่าน viewfinder ของกล้องถ่ายรูป กล้องส่องทางไกล หรือกล้องดูดาว ต่างทำให้ตาบอดได้ทั้งสิ้น แม้จะเป็นเพียงเสี้ยวบางๆของดวงอาทิตย์หรือปรากฏการณ์ลูกปัดของเบลีย์ (Baily’s beads) ในช่วงที่เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงก็ตาม โดยร้อยละ 1 ของผิวดวงอาทิตย์ก็ยังมีความสว่างถึง 1 หมื่นท่าของความสว่างของดวงจันทร์วันเพ็ญ ดังนั้น การสังเกตการณ์สุริยุปราคาเป็นสิ่งที่ต้องกระทำด้วยความระมัดระวังเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพราะแสงจากดวงอาทิตย์ที่จ้าเกินไป อาจทำลายระบบการมองเห็นของเราจนกระทั่งตาบอดได้ เราจะสามารถมองดวงอาทิตย์ด้วยตาเปล่าได้เฉพาะขณะที่เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงแล้วเท่านั้น ส่วนในช่วงระหว่างที่กำลังจะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง หรือสุริยุปราคาแบบวงแหวน หรือสุริยุปราคาบางส่วน เราจะต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยในการสังเกตดวงอาทิตย์ อุปกรณ์เหล่านี้อาจเป็นอุปกรณ์ที่เราทำได้เองอย่างง่ายๆ ทั้งอุปกรณ์ที่ใช้สังเกตโดยอ้อมและโดยตรง อุปกรณ์ที่ใช้สังเกตโดยอ้อม เช่น การสังเกตสุริยุปราคาผ่านกล้องรูเข็มหรือการฉายภาพดวงอาทิตย์จากกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ลงบนฉากรับภาพ

ข้อมูลจาก :กรมอุตุนิยมวิทยา