กำลังแสดงผล 1 ถึง 3 จากทั้งหมด 3

หัวข้อ: กุศล

  1. #1
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ ญา ทิวาราช
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    825
    บล็อก
    17

    สว่างใจ กุศล

    กุศล


    "กุศลที่เจริญขึ้นจนถึงขั้นที่สามารถรู้แจ้งอริยสัจจธรรม"

    ซึ่งต้องประกอบด้วย ความดีประการต่าง ๆ นั่นเอง


    เพียงแค่วันนี้...ดีหรือยัง...ดีอะไรบ้าง.?

    เป็นบารมีหรือเปล่า...ประกอบด้วยปัญญาหรือเปล่า.?

    มีความเห็นที่ถูกต้องหรือเปล่า.?


    เพราะว่าถ้าเป็นแต่เพียงความดีที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา

    ความดีที่กระทำนั้น ก็ไม่สามารถเจริญขึ้นจนกระทั่งดับกิเลสที่ไม่ดีได้.!

    ถึงแม้ว่า บางขณะ...เป็นโอกาสที่จะได้กระทำความดี (กุศลกรรม)

    แต่ก็มีหลาย ๆ ขณะ...ที่เป็นโอกาสของ อกุศลกรรม


    เพราะฉะนั้น ถ้าพูดสั้น ๆ ว่า

    "บารมี" คือ ความดีที่ถึงพร้อม ที่จะเป็นปัจจัยทำให้รู้แจ้งอริยสัจจธรรม

    และ ดับกิเลสได้ เป็นสมุจเฉท


    ก็คงจะเข้าใจได้...แต่ต้องเป็นไปตามปกติ ในชีวิตประจำวันด้วย.
    กุศลใดๆ ก็ตามที่จะเป็นบารมีนั้น ต้องเป็น " กุศลที่กระทำไปเพื่อการขัดเกลาอกุศล

    ธรรม ให้ถึงการดับอกุศลธรรมนั้นเป็นสมุจเฉท "

    ในชีวิตประจำวันทุกท่านก็เห็นแต่ละท่าน บางท่าน

    ก็มีบารมีมาก ความดีมาก กระทำบุญมาก กระทำบุญน้อย

    ต่างๆ ...แต่ว่าจะเป็นบารมีหรือไม่เป็นบารมี...แล้วแต่แต่ละ

    บุคคล ถ้าเป็นบุคคลที่เพียงทำดีโดยไม่รู้เรื่องของสภาพ

    ธรรม ไม่ได้เป็นผู้ที่ฟัง ไม่ได้เข้าใจธรรม ไม่ได้อบรมเจริญ

    สติปัฏฐาน ก็ยังไม่ได้เป็นบารมี เพราะกุศลใดๆ ก็ตามที่

    จะเป็นบารมีนั้น ต้องเป็น " กุศลที่กระทำไปเพื่อการ

    ขัดเกลาอกุศลธรรม ให้ถึงการดับอกุศลธรรมนั้นเป็น

    สมุจเฉท " และสำหรับผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐานแล้ว ถ้า

    ยังไม่เห็นคุณของบารมีทั้ง ๑๐ นี้ ก็ย่อมไม่สามารถที่จะดับ

    กิเลสได้เป็นสมุจเฉท เพราะไม่มีกำลังพอที่จะต้านทาน

    อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นเนืองๆ บ่อยๆ

    เพราะฉะนั้น อกุศลธรรมก็ย่อมมีกำลังมาก เมื่ออกุศล

    ธรรมมีกำลังมาก การที่จะละการยึดถือสภาพธรรมที่เป็น

    สัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน ...ก็ย่อมเป็นไปไม่ได้

    ... พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ...



    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โรค ๒ อย่างนี้

    โรค ๒ อย่างเป็นไฉนคือ ...

    โรคกาย ๑ โรคใจ ๑

    ปรากฏอยู่ว่าสัตว์ทั้งหลายผู้ยืนยันว่า ...

    ไม่มีโรคทางกายตลอดเวลา ๑ ปีก็มี

    ยืนยันว่า ... ไม่มีโรคทางกายตลอดเวลา ๒ ปีก็มี

    ๓ ปีก็มี ๔ ปีก็มี ๕ ปีก็มี ๑๐ ปีก็มี ๒๐ ปีก็มี ๓๐ ปีก็มี

    ๔๐ ปีก็มี ๕๐ ปีก็มี ๑๐๐ ปีก็มี ยิ่งกว่า ๑๐๐ ปีก็มี

    แต่ว่าผู้ที่จะยืนยันว่าไม่มีโรคทางใจ

    แม้เพียงเวลาครู่เดียวนั้น...หาได้ยากในโลก

    เว้นแต่พระขีณาสพ



    ถ้าท่านได้พิจารณาและสำรวจตนเองทราบว่า ยังไม่มีกำลังเรี่ยวแรง

    พอที่จะเดินทางไปสู่ทิศที่ปลอดภัยนั้นได้ทันที ยังไม่มีกำลังพอที่จะต่อสู้

    กับกิเลสในแต่ละวัน ซึ่งมักจะพ่ายแพ้อยู่เสมอ ก็ขอให้ท่านได้สะสมกำลัง

    ซึ่งก็คือ “บารมี ๑๐” อันเป็นธรรมเครื่องระงับยับยั้งกิเลส และเป็นธรรม

    ที่เป็นกำลังทำให้ถึงซึ่งฝั่ง คือ พระนิพพาน ดังที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    และเหล่าพระอริยสาวกได้ทรงดำเนินมาแล้ว

    กุศลใดที่จะเป็นบารมีนั้น ต้องเป็นกุศลที่ประกอบด้วยปัญญา เป็นผู้ที่ฟังและเข้าใจ

    พระธรรม และเป็นผู้ที่อบรมเจริญสติปัฎฐานเพื่อขัดเกลากิเลส เพื่อการดับอกุศล-

    กรรมเป็นสมุจเฉท กุศลนั้นจึงจะเป็นบารมี

    การให้ทานเพื่อขัดเกลาความตระหนี่ เพื่อสละกิเลส เป็นบารมี แต่ถ้าให้เพื่อได้ไปเกิด

    บนสวรรค์ไม่ใช่บารมี หรือเมื่อรู้ว่าผลของทานมีจริง ให้แล้วเราจะได้รวยก็ไม่ใช่บารมี
    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 571

    คำตอบมีดังต่อไปนี้ :- บารมีคืออะไร ? บารมี คือ คุณธรรมทั้งหลาย

    มีทาน เป็นต้น กำหนดด้วยความเป็นผู้ฉลาดในอุบาย คือ กรุณาอันตัณหา

    มานะ และทิฏฐิไม่เข้าไปกำจัด.

    บารมีเพราะอรรถว่ากระไร ? พระมหาสัตว์พระโพธิสัตว์เป็นผู้ยอดยิ่ง

    เพราะสูงกว่าสัตว์ด้วยการประกอบคุณวิเศษมีทานและศีลเป็นต้น ความเป็น

    หรือการกระทำของพระโพธิสัตว์เหล่านั้นเป็นบารมี กรรมมีการบำเพ็ญ เป็นต้น


    ก็เป็นบารมี.

    อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า ปรม เพราะอรรถว่าบำเพ็ญ ชื่อว่า โพธิสัตตะ


    เพราะอรรถว่าเป็นผู้บำเพ็ญและเป็นผู้รักษาคุณทั้งหลายมีทานเป็นต้น. คุณ

    ดังกล่าวมานี้ เป็นบารมีของผู้บำเพ็ญ. ภาวะก็ดี, กรรมก็ดีเป็นบารมีของ

    ผู้บำเพ็ญ. กรรมมีการบำเพ็ญทานเป็นต้น ก็เป็นบารมีของพระโพธิสัตว์



    ผู้บำเพ็ญ.

    อีกอย่างหนึ่งบารมีย่อมผูกสัตว์อื่นไว้ในตนด้วยการประกอบคุณวิเศษ.

    หรือบารมีย่อมขัดเกลาสัตว์อื่นให้หมดจดจากมลทินคือกิเลส. หรือบารมีย่อม

    ถึงนิพพานอันประเสริฐที่สุดด้วยคุณวิเศษ หรือบารมีย่อมกำหนดรู้โลกอื่นดุจ

    รู้โลกนี้ด้วยคุณวิเศษคือญาณอันเป็นการกำหนดแล้ว หรือบารมีย่อมตักตวง

    คุณมีศีลเป็นต้นอื่นไว้ในสันดานของตนเป็นอย่างยิ่ง. หรือบารมีย่อมทำลาย

    ปฎิปักษ์อื่นจากธรรมกายอันเป็นอัตตา. หรือหมู่โจรคือกิเลสอันทำความ

    พินาศแก่ตนนั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า ปรมะ. สัตว์ใดประกอบด้วยปรมะ

    ดังกล่าวมานี้ สัตว์นั้นชื่อว่า มหาสัตว์. คำเป็นต้นว่า ปรมสฺส อยํ ดังนี้

    ก็พึงประกอบตามนัยที่กล่าวมาแล้ว. หรือบารมีย่อมขัดเกลาคือย่อมบริสุทธิ์

    ในฝั่งคือพระนิพพาน และยังสัตว์ทั้งหลายให้หมดจด. หรือบารมีย่อมผูก

    ย่อมประกอบสัตว์ทั้งหลายไว้ในพระนิพพานนั้น. หรือบารมีย่อมไปย่อมถึง

    ย่อมบรรลุถึงพระนิพพานนั้น. หรือบารมีย่อมกำหนดรู้ซึ่งพระนิพพานนั้นตาม

    ความเป็นจริง. หรือบารมีย่อมตักตวงซัดสัตว์ไว้ในพระนิพพานนั้น.หรือบารมี

    ย่อมกำจัดข้าศึกคือกิเลสของสัตว์ทั้งหลายไว้ในพระนิพพานนั้น.ฉะนั้น จึงชื่อ

    ว่าบารมี. บุรุษใดบำเพ็ญบารมีดังกล่าวมานี้ บุรุษนั้นชื่อว่ามหาบุรุษ.
    ควรทราบตามความเป้นจริงว่าที่สมมุติกันว่าเป็นคนเป้นสัตว์ เป็นคนวิกลจริตก็คือ จิต

    เจตสิก รูปที่ประชุมรวมกันจึงบัญญัติว่าเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นบุคคลต่างๆ คนวิกลจริตก็

    มี จิต เจตสิก รูป เพียงแต่คนวิกลจริตนั้นมีอกุศลคือโมหมูลจิตที่ประกอบด้วยความ

    ฟุ้งซ่านเกิดบ่อยมากจนทำให้เป็นคนวิกลจริต

    ประเด็นเรื่องการทำอกุศลกรรม เช่น การฆ่าสัตว์ เบียดเบียน เป็นต้น กรรมคืออะไร

    กรรมคือเจตนา กุศลกรรมก็คือเจตนาที่เป็นไปในทางกุศล อกุศลกรรมก็คือเจตนาฝ่าย

    อกุศล เจตนาเเกดกับจิตทุกดวง แต่ขณะใดที่มีความตั้งใจที่เป็นไปในกุศลหรืออกุศล

    ทางกาย วาจาก็เป็นกุศลกรรมและอกุศลกรรม คนวิกลจริตนั้นก็มีจิต เมื่อมีจิตก็ต้องมี

    เจตนาเจตสิกด้วย ขณะที่คนวิกลจริตมีการฆ่า เบียดเบียน ต้องมีเจตนาที่จะฆ่าหรือ

    เบียดเบียนด้วย เพราะเจตนาเจตสิกเกิดกับจิตทุกดวง เพราะฉะนั้นเมื่อมีการทำ

    อกุศลกรรมแล้ว ผลก็ต้องมีเมื่อเหตุปัจจัยพร้อมก็ต้องได้รับผล เช่นเดียวกับบุคคลอื่น

    ไม่ว่าจะเป็นใครหากทำอกุศลกรรมแล้วก็ต้องได้รับผลเมื่อเหตุปัจจัยพร้อม
    อธิบายเรื่องแม้คนผู้ไม่รู้ก็สามารถทำอกุศลกรรมคือการฆ่าสัตว์ได้ เพระอาศัยความไม่รู้

    นั่นแหละเป็นปัจจัยให้ทำการฆ่า ขณะที่มีการฆ่า ต้องมีเจตนาฆ่า เพระฉะนั้นก็ต้องได้รับ

    ผลวิบาก เมื่อเหตุปัจจัยพร้อม

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 557

    ในจำนวนอกุศลธรรมทั้ง ๓ อย่างเหล่านั้น โลภะ ชื่อว่าเป็นอกุศลมูล เพราะตัวมันเอง

    เป็นทั้งอกุศล เพราะอรรถว่า มีโทษและมีทุกข์เป็นวิบาก เป็นทั้งรากเหง้าของอกุศล

    ธรรมเหล่านี้ มีปาณาติบาตเป็นต้นเพราะอรรถว่า เป็นสภาพแห่งสัมปยุตธรรของอกุศล

    บางเหล่า และเพราะอรรถว่า เป็นอุปนิสสยปัจจัยของอกุศลธรรมบางอย่าง. สมจริง

    ตามคำที่ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า คุณ ผู้กำหนัดมากแล้ว ถูกราคะครอบงำแล้ว มี

    จิตถูกราคะรึงรัดแล้ว ย่อมฆ่าสัตว์มีชีวิตได้ ดังนี้เป็นต้น แม้ในการที่โทสะและโมหะ

    เป็นอกุศลมูล ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

    ชีวิตของแต่ละบุคคลที่ดำเนินไป เป็นความเป็นไปของสภาพธรรม กล่าวคือ จิต

    เจตสิก รูป เกิดดับอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นแต่เพียงสภาพธรรมแต่ละอย่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

    ตามเหตุตามปัจจัย แล้วก็ดับไป เมื่อกล่าวถึงบุคคลผู้วิกลจริต (หรือเป็นบ้า) นั้น

    เป็นเครื่องเตือนให้เกิดการระลึกได้หรือไม่? เป็นเครื่องเตือนให้เป็นผู้ไม่ประมาทได้

    หรือเปล่า? เพราะถ้าได้ศึกษาพระธรรมมีความเข้าใจไปตามลำดับแล้ว ก็จะทราบว่า

    ขณะที่อกุศลจิตเกิดขึ้นนั้น ประกอบด้วยความไม่รู้ ประกอบด้วยความฟุ้งซ่าน ทุกครั้ง

    รวมถึงอกุศลเจตสิกอื่น ๆ ตามสมควรแก่ประเภทของอกุศลจิตนั้น ๆ ด้วย ควรหรือไม่ที่

    จะเป็นผู้ที่ไม่รู้ต่อไปด้วยการสะสมอกุศลมากขึ้นในชีวิตประจำวัน เพราะเหตุว่าเมื่อ

    สะสมอกุศลมากขึ้น ๆ จนกระทั่งมีกำลังมาก ย่อมสามารถล่วงออกมาเป็นทุจริตกรรม

    ประการต่าง ๆ เบียดเบียนผู้อื่นได้เดือดร้อนได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นคนที่สมมติกันว่า

    ไม่บ้าคือเป็นคนปกติ หรือ คนที่สมมติกันว่าเป็นบ้า ก็ตาม

    ธรรม เป็นเรื่องจริง ตรง ไม่มีการเปลี่ยนแปลง อกุศล เป็นอกุศล ไม่ว่าจะเกิดกับ

    ใครก็ตาม กุศลก็เป็นกุศล ไม่ว่าจะเกิดกับใคร เกิดกับคนที่ตนเองรักใคร่ พอใจ

    หรือ เกิดกับคนที่ไม่เป็นที่รัก ก็เป็นกุศล และ เมื่อถึงคราวที่กุศลให้ผล ก็ทำให้ได้รับ

    แต่สิ่งที่ดี ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เท่านั้น ไม่มีทางเลยที่กุศล จะให้ผลใน

    ทางที่ไม่ดี ส่วนในทางตรงกันข้าม เมื่ออกุศลกรรมที่ได้กระทำแล้ว ถึงคราวให้ผล

    ก็ทำให้ได้รับแต่สิ่งที่ไม่น่าปรารถนาประการต่าง ๆ (ไม่เว้นใครเลย ตามกรรม) ซึ่งไม่มี

    ใครทำให้เลย ถ้าหากว่าไม่ได้กระทำเหตุที่ไม่ดีไว้ ผลที่ไม่ดี ก็ย่อมไม่สามารถจะเกิด

    ขึ้นได้อย่างแน่นอน

    เพราะฉะนั้นแล้ว ควรอย่างยิ่งที่จะเป็นผู้ไม่ประมาทในชีวิต และไม่ประมาทกำลัง

    ของกิเลส พึ่งเป็นผู้ศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม อบรมเจริญปัญญา เพื่อความเข้าใจ

    ถูกเห็นถูกในสภาพธรรมตามความเป็นจริง ซึ่งจะเป็นที่พึ่งในชีวิตได้อย่างแท้จริง
    ตราบใดที่ยังวนเวียนอยู่ในวัฏฏะ โอกาสที่จะเป็นอย่างนั้น ก็ย่อมจะมีได้ (ไม่ว่าใคร

    ก็ตาม) เพราะยังเป็นผู้เต็มไปด้วยความหลง ความไม่รู้ (อวิชชา) สังสารวัฏฏ์ ก็จะยืด

    ยาวต่อไปอีก ยากที่จะพ้นไปได้ เพราะฉะนั้นแล้ว จึงเป็นผู้ประมาทไม่ได้เลยจริง ๆ

    เมื่อได้เกิดมาเป็นมนุษย์ มีอะไรที่ครบทุกอย่าง ทั้งตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ควรจะ

    เป็นผู้แสวงหาประโยชน์จากการที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ในภพนี้ชาตินี้ให้มากที่สุดเท่าที่

    จะมากได้ (กระทำที่พึ่งให้แก่ตน) ด้วยการศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม อบรมเจริญ

    ปัญญาต่อไป เพื่อความเข้าใจในพระธรรมที่ถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริง เรื่องของ

    คนอื่นก็เป็นเรื่องของคนอื่น แต่เรา ควรที่จะทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด
    สภาพธรรมที่เป็นสังขารธรรมคือที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งเป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นและ

    ดับไป จิตเป็นสังขารธรรมเป็นสภาพธรรมที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งจึงเกิดขึ้น จิตจึงเป็น

    สภาพธรรมที่เกิดขึ้นและดับไป ซึ่งเกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็วมาก เพียงชั่วลัดนิ้ว

    มือเดียว จิตเกิดดับนับไม่ถ้วน ขณะนี้กำลังเห็น เห็นดับไปนานแล้วนาน จิตอื่นๆเกิดต่อ

    อย่างรวดเร็ว แต่ที่ยังเห็นอยู่ทั้งๆที่สภาพเห็นดับไปแล้วเพราะจิตเห็นดวงใหม่เกิดขึ้น

    และเพระความไวของการเกิดดับของจิตจึงยังเห็นว่า สภาพเห็นไม่ดับไปเลยทั้งๆที่

    สภาพธรมต้องเกิดขึ้นและดับไปตลอดเวลาครับ ซึ่งการที่จะรู้ว่าจิตเกิดดับจริงๆนั้นต้อง

    เป็นปัญญาระดับสูงที่เป็นระดับวิปัสสนาญาณ การอบรมปัญาขั้นต้นนั้นจะต้องรู้ก่อนว่า

    เป็นธรรมไม่ใช่เรา เป็นนามธรรมและรูปธรรม โดยเริ่มจากการฟังให้เข้าใจในเรื่องของ

    สภาพธรรมที่มีในขณะนี้
    สำหรับปุถุชน ในสังสารวัฏฏ์มี่ผ่านมาในฝ่ายอกุศลกรรมแล้วย่อมสามารถเป็นผู้ที่ทำ

    อกุศลกรรมได้ทุกอย่าง แม้แต่อนันตริยกรรมก็ทำได้เพราะความหวั่นไหวในความเป็น

    ปุถุชน

    สำหรับปุถุชนในฝ่ายกุศลธรรม ย่อมเป็นผู้ทำกุศลได้เกือบทุกอย่าง ตั้งแต่กุศลขั้นทาน

    จนถึงอรูปฌานที่ทำให้เกิดในพรหมโลก แต่ผู้ใดยังเป็นปุถุชนจนถึงวันนี้ ก็ยังไม่ได้ทำ

    กุศลธรรมที่เป็นกุศลระดับโลกุตตระอันเป็นไปเพื่อดับกิเลสประการต่างๆแน่นอน

    พาลปุถุชนอันเป็นผู้มีความเห็นผิดอย่างมาก ย่อมไม่ได้มีโอกาสทำกุศลที่มีความเห็น

    ถูก เพราะเป็นผู้มีความเห็นผิดและไม่มีทางถึงกุศลที่เป็นระดับโลกุตตระอันเป็นไปเพื่อ

    ดับกิเลสได้เลย

    เพระฉะนั้นสิ่งใดผ่านไปแล้วก็เป็นอันผ่านไปแล้ว เริ่มเหตุปัจจุบันขณะนี้ สะสมสิ่งที่

    ดีคือความเข้าใจพระธรรม อันเป็นปัจจัยที่จะไม่ต้องทำ ไม่ต้องทุกข์ในสังสารวัฏฏ์อีกต่อ

    ไป

    ความเห็นผิดมีโทษมาก ความเห็นผิดมีโทษมาก สามารถทำบาปได้ทุกอย่างเพราะมี

    ความเห็นผิดเป็นปัจจัย ความเห็นผิดที่ดิ่ง มี 3 อย่างคือ

    นิยตมิจฉาทฎฐิ ๓ ได้แก่

    - อเหตุกทิฎฐิ เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นเองเป็นเอง ไม่อาศัยเหตุปัจจัยให้

    เกิดให้มีขึ้น ไม่เชื่อในเหตุ

    - นัตถิกทิฎฐิ เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ผลอันเนื่องมาแต่เหตุผล

    ของการทำดีทำชั่ว ไม่มีโลกนี้โลกหน้า สัตว์บุคลไม่มี เป็นแต่ธาตุประชุมกันตายแล้ว

    สูญไม่เกิดอีก เชื่อว่าไม่มีอะไรทั้งนั้น

    - อกิริยทิฎฐิ เห็นว่าการกระทำใดๆ ไม่ชื่อว่าเป็นอันกระทำ ผลบาปบุญไม่มี

    แก่ผู้ทำกระทำแล้วก็เป็นอันแล้วกันไป ปฏิเสธการกระทำโดยประการทั้งปวง

    มิจฉาทิฏฐิที่ดิ่งเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิ มีโทษมากกว่าอนันตริยกรรม(ฆ่า บิดา มารดา

    (เป็นต้น) เพราะอนันตริยกรรมยังพอกำหนดอายุที่จะไปอบายได้ เช่น ไปนรก 1 กัป

    ดังเช่น พระเทวทัตทำสังฆเภท(ทำสงฆ์ให้แตก) ซึ่งเมื่อครบกำหนดอายุกรรมแล้วก็

    สามารถไปเกิดในสุคติภูมิและบรรลุธรรมภายหลังได้ ดังเช่น พระเทวทัต ภายหลัง

    ท่านก็ได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าในอนาคตกาล แต่ว่ามิจฉาทิฏฐิไม่สามารถออกจาก

    วัฏฏะได้เลย(ตอวัฏฏะ)และยังเป็นเหตุให้ที่ทำบาปกรรมต่างๆมากมายด้วย มีการทำ

    อนันตริยกรรม เป็นต้น จึงไม่สามารถไปสุคติภูมิได้และไม่มีทางบรรลุมรรคผล จึงมี

    โทษมากดังนี้

    ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรามองไม่เห็น

    ธรรมอย่างหนึ่ง อันอื่นที่มีโทษมาก เหมือน

    อย่างมิจฉาทิฏฐิเลย กระบวนโทษทั้งหลาย

    มิจฉาทิฏฐิมีโทษอย่างยิ่ง.

    ดังนั้นเราไม่สามารถจะช่วยใครได้หมดเพราะผู้ที่มีความเห็นผิดที่ดิ่งมากตามที่กล่าวมา

    แม้พระพุทธเจ้าก็ไม่สามารถจะช่วยได้ สำคัญที่เรา เมื่อเรามีความเข้าใจพระธรรม กาย

    วาจาก็ดีขึ้น ก็เป็นประโยชน์กับคนรอบข้าง ที่สำคัญสำหรับผู้ที่ดับกิเลสแล้วก็ย่อมมี

    ประโยชน์ กับคนรอบข้างแค่ไหน ทั้งเป็นเนื้อนาบุญและได้เข้าใจพระธรรม สำหรับคน

    ที่สะสมความเข้าใจมา การดับกิเลสจึงไม่ใช่การตัดช่องน้อยแต่พอตัวแต่อย่างใด แต่

    เป็นประโยชน์กับคนอื่นมากมาย มีพระอรหันตสาวกเป็นตัวอย่าง ปัญญาของใครก็ของ

    คนนั้น พระพุทธองค์ย่อมประกอบด้วยพระมหากรุณาสูงสุด แต่ทรงเว้นคนที่ไม่ได้สะสม

    อุปนิสัยมาเพราะไม่สามารถช่วยเขาได้นั่นเอง เป็นต้น

    คำว่าโชคร้าย โชคดี ลางร้าย ลางดีอันเกิดจากสิ่งที่ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่นในสิ่งต่างๆ

    เป็นเพียงเรื่องสมมติในทางโลกเท่านั้นที่สมมติขึ้นมาว่า ถ้าเห็นสิ่งนี้เป็นโชคดี ลางดี

    ถ้าเห็นสิ่งนี้เป็นโชคร้าย ลางร้าย ได้ยิน....โดยทำนองเดียวกัน ก็สมมติขึ้นมา แต่ใน

    ความเป็นจริงแล้ว สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆตน การจะได้รับสิ่งที่ดีหรือไม่ดี

    (ผลของกรรม) ขึ้นอยู่กับการทำเหตุที่ดีหรือไม่ดีมาคือการทำกุศลกรรมและอกุศลกรรม

    ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเห็นสิ่งใด ได้ยินสิ่งใด(เห็นกามาเกาะ..)เพราะขณะเห็นเป็นผลของ

    กรรม เป็นผล ไม่ใช่เป็นเหตุให้ได้รับผลในสิ่งที่ดีหรือไม่ดี เหตุคือขณะที่ทำกุศลกรรม

    หรืออกุศลกรรมอันจะทำให้เกิดผลคือได้รับสิ่งที่ดีหรือไม่ดี
    มังคลชาดก

    ว่าด้วยการถือมงคลตื่นข่าว

    "ผู้ใดไม่ถือมงคลตื่นข่าว ไม่ถืออุกกาบาต

    ไม่ถือความฝัน ไม่ถือลักษณะดีหรือชั่ว ผู้นั้น

    ชื่อว่าล่วงพ้นโทษแห่งการถือมงคลตื่นข่าว

    ครอบงำกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ

    ที่เป็นเครื่องกั้น ย่อมไม่กลับมาเกิดอีก".

    บุคคลที่เกิดมาแล้ว ล้วนมีความตายเป็นที่สุดด้วยกันทั้งนั้น ไม่มีใครรอดพ้นจาก

    จากความตาย ได้เลย เกิดมาแล้ว ต้องตายทุกคน (ที่กล่าวว่าตาย นั้นว่าโดยสภาพ-

    ธรรมแล้ว คือ จุติจิต เป็นจิตขณะสุดท้ายที่เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่เคลื่อนจากความเป็น

    บุคคลนี้ในชาตินี้ ไม่สามารถกลับมาเป็นบุคคลนี้ได้อีก และที่สำคัญ จุติจิต เป็นผล

    ของกรรม ไม่เกี่ยวกับกาเลยแม้แต่นิดเดียว จะมีกามาร้อง หรือ ไม่มาร้อง จะได้ยินเสียง

    กา หรือ ไม่ได้ยิน ก็สามารถตายได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นบุคคลใดก็ตาม)

    สำหรับบุคคลผู้ยังมีกิเลส ความหวั่นไหว ความกลัวต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ นั้น เป็น

    เรื่องธรรมดา เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร แต่ถ้า

    เป็นผู้เห็นประโยชน์ของการศึกษาพระธรรม มีการศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม อบรม

    เจริญปัญญาในชีวิตประจำวัน สะสมปัญญาซึ่งเป็นความเข้าใจถูกเห็นถูกในพระธรรม

    ไปตามลำดับ เมื่อปัญญาเจริญขึ้น ความหวั่นไหว ความกลัวก็จะน้อยลง ตามระดับขั้น

    ของปัญญา ด้วย

    ในเมื่อเกิดมาแล้ว ต้องตาย สิ่งที่ควรทำที่สุด คือ ประพฤติธรรม ไม่ประมาทใน

    การเจริญกุศลทุกประการ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม เพราะเหตุว่า ไม่มีใครสามารถ

    ทราบได้ว่าความตายจะมาถึงเมื่อไหร่ ความเป็นผู้ไม่ประมาทนั้น ดีที่สุด ควรอย่างยิ่ง

    ที่จะฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม และ เจริญกุศลประการต่าง ๆ เท่าที่จะสามารถจะ

    กระทำได้ ก่อนที่วันตายจะมาถึงซึ่งไม่มีใครทราบได้











    ที่มา
    จาก พลังจิต คอม
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ญา ทิวาราช; 16-01-2010 at 17:05.

  2. #2
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ นา ดอกจาน
    วันที่สมัคร
    Mar 2009
    ที่อยู่
    FL,USA
    กระทู้
    229
    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิธุจ้าธุจ้าธุจ้า

  3. #3
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ เเมงสะดิ้ง
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    ที่อยู่
    ที่ชอบ
    กระทู้
    1,025
    บล็อก
    24
    อ่านได้เคิ่งหนึ่ง อีกเคิ่งหลังมาต่อช่วงบ่าย
    เพราะต้องใช้พลังงานในการอ่านไปนำ
    บึ๊ย...
    อ่านไปพ้อมทำควมเข้าใจไปนำ
    หม่องได๋จ่ะของปึก กะบ่ฮุ้เรื่อง

    ++++++++++++++++++
    สาธุ
    ขอบคุณที่แบ่งบุญ
    สะดิ้งคือน้องได้ยินเสียงฆ้องกะแล่นตำ

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •