กำลังแสดงผล 1 ถึง 3 จากทั้งหมด 3

หัวข้อ: พระรัตนตรัย

Hybrid View

คำตอบที่แล้วมา คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป คำตอบถัดไป
  1. #1
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ ญา ทิวาราช
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    825
    บล็อก
    17

    สว่างใจ พระรัตนตรัย

    พระรัตนตรัย



    ความหมายของพระรัตนตรัย
    คำว่า “รัตนตรัย” มาจากคำว่า “รัตน” แปลว่า แก้วหรือสิ่งประเสริฐ กับคำว่า “ตรัย” แปลว่า สาม ฉะนั้นพระรัตนตรัย แปลรวมกันว่า แก้วสามดวง หรือ สิ่งประเสริฐสามสิ่ง ที่พุทธศาสนิกชนเคารพนับถือสูงสุดสามสิ่งนับเป็นองค์ประกอบของศาสนาพุทธ คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งจัดเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของศาสนา 3 อย่างใน 6 อย่าง อันได้แก่
    1. ผู้ให้กำเนิดศาสนา คือพระพุทธเจ้า
    2. คัมภีร์หรือหลักคำสอน คือ พระธรรม
    3. สาวกหรือผู้สืบทอดศาสนา คือพระสงฆ์
    4. พิธีกรรมทางศาสนาหรือการประกอบพิธีทางศาสนกิจตามความเชื่อ
    5. ศาสนสถานหรือวัตถุที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนา
    6. ศาสนิกชนหรือผู้เลื่อมใสในศาสนา
    พระพุทธ
    คำว่า พุทฺธ แปลว่า ผู้รู้แล้ว (รู้ในความเป็นไปในธรรมชาติทั้งปวง) ผู้ตื่นแล้ว (ตื่นจากความโง่เขลา ตื่นจากความงมงาย ) ผู้เบิกบาน ( ไม่มีสิ่งใดทำให้จิตใจเศร้าหมองอีกแล้ว )
    หมายถึงผู้ที่ตรัสรู้อริยสัจ คือความเป็นจริงที่ประเสริฐ 4 ประการ
    พุทธ จำแนกออกเป็น 3 ประเภทได้แก่
    1. ปัจเจกพุทธ หมายถึงผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเองแต่ไม่สามารถสอนให้ผู้อื่นตรัสรู้ตามได้ มี 5 พระองค์แห่งภัทรกัปป์ปัจจุบันนี้ คือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระโคดม และพระเมตเตยยะ (เรียกกันสามัญว่า พระศรีอาริย์ หรือ พระศรีอารยเมตไตรย)
    2. สัมมาสัมพุทธ หมายถึงผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเองแล้วสามารถสอนให้ผู้อื่นตรัสรู้ตามได้มีองค์เดียวเท่านั้นคือ สัมมาสัมพุทธเจ้า
    3. สุตตันตพุทธ หมายถึงผู้ตรัสรู้ตามคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า
    พระธรรม
    ธรรม มีเสียงพ้องกับคำว่า ทำ ในภาษาไทย ถ้าข้อความไม่ชัดเจนอาจเติมสระ อะ เป็นธรรมะ แต่จะใช้คำว่า ธรรมะ เฉพาะเมื่อหมายถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ธรรม (ทำ) หรือ ธรรมะ (ทำ-มะ) เป็นคำที่มาจากคำภาษาสันสกฤต ธรรม แปลว่าสิ่งที่แบกไว้ หมายถึง กฎหมาย หน้าที่ ยุติธรรม ความถูกต้อง คุณความดี คุณธรรม ธรรมชาติ เป็นต้น
    ในภาษาไทยใช้คำว่า ธรรม หรือ ธรรมะ หมายถึง คำสั่งสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า
    เนื้อหาสาระเรื่องราวที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนทั้งหมดทั้งสิ่งที่ดีและชั่วเรียกว่า ธรรม หรือ ธรรมะ เช่น ทรงสอนเรื่องอริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ทรงสอนเรื่องไตรลักษณ์ หรือ อนัตตลักขณสูตรสอนเรื่องกิเลส ก็เรียกว่า ทรงสอนธรรมเรื่องกิเลส หรือทรงสอนธรรมะเรื่องกิเลส
    ธรรมหมายถึงการประพฤติที่ดีที่ถูกต้องได้ เช่น ธรรมที่ประพฤติดีแล้วนำสุขมาให้ ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุข ใครๆ ก็สรรเสริญการกระทำที่เป็นธรรม
    ธรรม หมายถึง ความยุติธรรม เช่น ถ้าผู้ปกครองประเทศปกครองด้วยความเป็นธรรม ประชาชนก็เป็นสุข
    เมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการแล้ว ก็ทรงมีพระมหากรุณาปรารถนาจะให้สัตว์โลกพ้นทุกข์ จึงทรงสั่งสอนเหล่าสาวกและคนทั่วไปด้วยคำสอนต่าง ๆ คำสอนของพระพุทธเจ้านี้เรียกว่า พระธรรม
    พระธรรม คัมภีร์ ของพระพุทธศาสนา เรียกว่า พระไตรปิฎก ประกอบด้วย พระอภิธรรมปิฎก พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก
    อภิธรรมปิฎก หรือพระอภิธรรม หมายถึง ประมวลพระพุทธพจน์หมวดพระอภิธรรม หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นภาคทฤษฎีบท หลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักคำสอนล้วน ๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ เปรียบเสมือนวิชาวิทยาศาสตร์
    พระวินัยปิฎก หรือ พระวินัย หมายถึง ประมวลพุทธพจน์หมวดพระวินัย คือพุทธบัญญัติเกี่ยวกับความประพฤติ ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมและการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ เปรียบเสมือนวิชากฎหมาย
    พระสุตตันตปิฎก หรือ พระสูตร หมายถึง ประมวลพุทธพจน์หมวดพระสูตร คือ พระธรรมเทศนาคำบรรยายธรรมต่างๆ ที่ตรัสยักเยื้องให้เหมาะกับบุคคลและโอกาสตลอดจนบทประพันธ์ เรื่องเล่า และเรื่องราวทั้งหลายที่เป็นชั้นเดิมในพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้า สอนใคร สอนเรื่องอะไร สอนที่ไหนเปรียบเสมือนวิชาประวัติศาสตร์
    คำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงเทศนานั้นมีสาระสำคัญ 3 ประการ หรือ โอวาท 3
    คือ ให้ประพฤติดี ให้ละความชั่ว และทำจิตใจให้ผ่องใส
    นอกจากสาระสำคัญทั้ง 3 ประการนี้ พระพุทธเจ้า ได้ทรงชี้ให้เห็นถึงสาเหตุแห่งการเกิดทุกข์ การดับทุกข์ และวิธีปฏิบัติตนของพุทธบริษัท 4 เพื่อให้หลุดพ้นจากวัฏสังสาร วงจรของการเกิดดับ หลุดพ้นจากความทุกข์ต่าง ๆ ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป
    พระสงฆ์
    เรามักเรียกสมณเพศในพระพุทธศาสนาว่า “พระสงฆ์” แต่คำว่า “สงฆ์” นั้นหมายถึงองค์คณะของผู้เป็นสมณะมากกว่า แต่สมณะในพระพุทธศาสนาแต่ละรูปนั้นเรียกว่า “ภิกษุ” ซึ่งแปลตามรูปศัพท์ หมายถึง “ผู้ขอ” มีรากศัพท์เดียวกันกับคำว่า ภิกษาจาร พระสงฆ์ หมายถึง สาวกหรือนักบวชที่เป็นผู้ชายในพระพุทธศาสนา เป็น 1 ใน 4 ของพุทธบริษัท ซึ่งเดิมเรียกนักบวชผู้ชายในศาสนาพุทธว่า “ภิกขุ” ในภาษาบาลี “ภิกษุ” ในภาษสันสกฤต พระสงฆ์จัดว่าเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสืบทอดพระศาสนาเพราะเป็นศาสนทายาทผู้สั่งสอนพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวต่อไป พระสงฆ์จึงต้องประพฤติปฏิบัติตนให้ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติของพระสงฆ์ที่ดี ตามพุทธบัญญัติ
    พระสงฆ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
    1. พระอริยสงฆ์
    2. พระสมมุติสงฆ์
    พระอริยสงฆ์ พระสงฆ์ผู้บรรลุธรรมวิเศษ 4 ชั้นคือ
    1. พระโสดาบัน
    2. พระสกทาคามี
    3. พระอนาคามี
    4. พระอรหันต์
    พระอริยสงฆ์ 3 ชั้นแรกจัดเป็นเสขบุคคล ส่วนพระอรหันต์จัดเป็นอเสขบุคคล
    เสขบุคคลมี 3 ขั้น ได้แก่
    1.โสดาบัน 2. สกทาคามี หรือสกิทาคามี 3. อนาคามี ที่นับว่าเป็น “เสขบุคคล” เพราะผู้นั้น ยังต้องศึกษาต่อไปอยู่ ( เสข=ผู้ยังต้องศึกษา ) เนื่องจากยังไม่จบ “การศึกษา 3” (อธิศีลสิกขา-อธิจิตสิกขา-อธิปัญญาสิกขา) ผู้พัฒนาตนผ่าน “การศึกษา 3” บรรลุธรรมเป็น “อาริยชน” จึงนับเป็นผู้เข้าสู่ “เสขภูมิ” พื้นเพของพระเสขะ คือ เข้าสู่ชั้นอาริยชนแล้ว จะเป็นชั้นหนึ่งชั้นใดใน 3 ก็ตาม แต่ยังต้องศึกษาอยู่ ยังไม่จบถึง “อรหันต์” อันเป็นภูมิสุดท้าย ผู้ยังไม่บรรลุธรรมเข้าขั้น “อาริยะ” ยังไม่ได้ชื่อว่า “เสขบุคคล”
    พระอรหันต์ แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่
    1. พระสุกขวิปัสสก (ไม่มีญาณวิเศษใด ๆ นอกจากรู้การทำอาสวะให้สิ้นไป (อาสวักขยญาณ) อย่างเดียว)
    2. พระเตวิชชะ (ผู้ได้วิชชา 3 คือ รู้ระลึกชาติได้(บุพเพนิวาสานุสสติญาณ) รู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย(จุตูปปาตญาณ) รู้ทำอาสวะให้สิ้น(อาสวักขยญาณ)
    3. พระฉฬภิญญะ (ผู้ได้อภิญญา 6 คือ แสดงฤทธิ์ได้(อิทธิฤทธิ์) หูทิพย์(ทิพยโสต) รู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย(จุตูปปาตญาณ) ทายใจผู้อื่นได้(เจโตปริยญาณ) ระลึกชาติได้(บุพเพนิวาสานุสสติญาณ) และญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป(อาสวักขยะญาณ)
    4. พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา 4)
    ปฏิสัมภิทา ความแตกฉาน ความรู้แตกฉาน ปัญญาแตกฉาน มี 4 ขั้นได้แก่
    4.1 อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ ความแตกฉานสามารถอธิบายเนื้อความย่อของภาษิตโดยพิสดารและความเข้าใจ ที่สามารถคาดหมายผลข้างหน้าอันจะเกิดสืบเนื่องไปจากเหตุ
    4.2 ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม เห็นคำอธิบายพิสดาร ก็สามารถจับใจความมาตั้งเป็นหัวข้อได้เห็นผลก็สืบสาวไปหาเหตุได้
    4.3 นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในภาษา คือเข้าใจภาษา รู้จักใช้ถ้อยคำให้คนเข้าใจ ตลอดทั้งรู้ภาษาต่างประเทศ
    4.4 ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ความแตกฉานในปฏิภาณได้แก่ไหวพริบคือ โต้ตอบปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันท่วงที หรือแก้ไขเหตุการณ์ฉุกเฉินได้ฉับพลันทันการ
    พระสมมุติสงฆ์
    หมายถึงพระสงฆ์ที่กำลังศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย บ้างครั้ง เรียกว่า พระ, พระสงฆ์,ภิกษุ, พระภิกษุ, พระภิกษุสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ก็จะเป็นเหตุจูงใจประชาชนให้เกิดความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา คำว่า พระสงฆ์ โดยทั่วไปจึงมุ่งถึงชายที่บวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา ได้ปฏิบัติตามกฎหมายของสงฆ์ ที่เรียกว่า วินัยสงฆ์ ได้ศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วนำคำสอนนั้นไปถ่ายทอดแก่ประชาชนทั่วไป ไม่คำนึงว่าจะเป็นภิกษุรูปเดียว หรือเป็นคณะที่รวมตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป



    สงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าต้องเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติถูก สมควรที่เราจะเคารพบูชา อย่างนี้ คือ พระสงฆ์ แต่ถ้าไม่ปฏิบัติตามคำสั่งสอนหรือไม่ประพฤติปฏิบัติตามธรรมวินัยของพระพุทธองค์ก็ไม่ชื่อว่า ภิกษุสงฆ์




    ดังพระดำรัสของพระพุทธองค์

    โยโข ธมฺมํ ปสฺสติ โสมํ ปสฺสติ โย ธมฺมํ น ปสฺสติ โสมํ น ปสฺสติ

    บุคคลใดแลย่อมเห็นธรรม บุคคลนั้นชื่อว่า เห็นซึ่งเรา บุคคลใดไม่เห็นซึ่งธรรม บุคคลนั้นชื่อว่าไม่เห็นซึ่งเรา


    พุทธพจน์นี้ มีความหมายว่า ผู้ซึ่งมีปัญญาจักษุเห็นปรมัตถธรรม คือจิต เจตสิก รูป นิพพาน นี่แล้วจึงจะได้พบเห็น ซึ่งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อันแท้จริง เมื่อไม่มีปัญญาจักษุแล้ว ก็ไม่ได้เห็นพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อันแท้จริง เหมือนบุคคลผู้ตาบอดฉะนั้น

    เพื่อให้ได้ซึ่งปัญญาจักษุ ขอได้กระทำความเพียร ตามมหาสติปัฏฐาน คือ เจริญวิปัสสนากรรมฐานเถิด จะเกิดปัญญาจักษุ ถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ได้อย่างแน่นอน.




    __________________

    จงมองตนเองก่อนมองผู้อื่น ความสุขอยู่คู่กับความทุกข์เสมอ

    มีสติ รู้กาย รู้ใจ เป็นปัจจุบัน ด้วยใจที่ตั้งมั่น และเป็นกลาง

    ใครเห็นสรรพสิ่งว่าไม่จริง...นั้นคือ....ผู้รู้จริง


    นี้คือหัวใจ ของ การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน

    __________________






    ที่มา .sainampeung.ac.th
    จาก
    guru.google.co.th/guru/thread?tid=6cb186c49de4063f

  2. #2
    จงมองตนเองก่อนมองผู้อื่น ความสุขอยู่คู่กับความทุกข์เสมอ

    มีสติ รู้กาย รู้ใจ เป็นปัจจุบัน ด้วยใจที่ตั้งมั่น และเป็นกลาง

    ใครเห็นสรรพสิ่งว่าไม่จริง...นั้นคือ....ผู้รู้จริง



    ธุจ้า
    LET IT BE...

  3. #3
    พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
    ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
    สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
    ชะตาฟ้าลิขิต...แต่ชีวิตเป็นของข้า

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •