กำลังแสดงผล 1 ถึง 8 จากทั้งหมด 8

หัวข้อ: ลักคำสอนพุทธศาสนา

  1. #1
    Banned

    วันที่สมัคร
    Jan 2010
    ที่อยู่
    ว่างงาน
    กระทู้
    46

    หลักคำสอนพระพุทธศาสนา

    หลักคำสอนพระพุทธศาสนา
    หลักคำสอนที่สำคัญของพระพุทธศาสนา
    อริยสัจ 4 แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ หรือความจริงของท่านประเสริฐ หรือจะ แปลว่าความจริงที่ทำให้บุคคลประเสริฐได้
    อริยสัจ ๔ ประการ ได้แก่
    ๑. ทุกข์ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ ที่ชื่อว่าทุกข์เพราะทนได้ยาก
    ๒. สมุทัย เหตุเกิดทุกข์ ได้แก่ตัณหา คือความทะยานอยาก
    ๓. นิโรธ ความดับทุกข์ ได้แก่ดับตัณหาให้สิ้นเชิง
    ๔. มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่อริยมรรค ๘ ประการ
    ธุจ้า
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สวบ; 29-01-2010 at 08:27.

  2. #2
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ นรินทร์ หนุ่มพอกะเทิน
    วันที่สมัคร
    Aug 2009
    ที่อยู่
    ณ มุมหนึ่งในเมืองหลวง
    กระทู้
    79

    แก้ไขหน่อยครับ

    c06: ลักคำสอนพุทธศาสนา >>> ต้องเป็น หลักคำสอนพระพุทธศาสนา c06:

  3. #3
    Banned

    วันที่สมัคร
    Jan 2010
    ที่อยู่
    ว่างงาน
    กระทู้
    46
    หุหุต้องขออภัยด้วยจ้า

  4. #4
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ บ่าวเมืองลำดวน
    วันที่สมัคร
    Sep 2009
    กระทู้
    598
    สาธุ สาธุ สาธุ แต่ว่าแก้ไขแหน่ยุหน้าบ้านงงขนาดลักแบบได๋น้อคำสอนพระพุทธศาสนา

  5. #5
    Banned

    วันที่สมัคร
    Jan 2010
    ที่อยู่
    ว่างงาน
    กระทู้
    46
    โอ้ยน่อ มาววววววหั่งกะส่วงตาลาย

  6. #6
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ หนุ่มน้อย
    วันที่สมัคร
    Mar 2009
    กระทู้
    549
    บล็อก
    21
    ขออนุญาตเสริม ข้อ 4 ครับเพื่อความรอบรู้ เพื่อจะได้นำมาต่อสู้กับกิเลสเจ้าของ
    มรรค (ภาษาสันสกฤต : มรฺค; ภาษาบาลี : มคฺค) คือ หนทางถึงความดับทุกข์ เป็นส่วนหนึ่งของอริยสัจ (เรียกว่า มัคคสัจจ์ หรือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ) และนับเป็นหลักธรรมสำคัญอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยหนทาง 8 ประการด้วยกัน เรียกว่า "มรรคมีองค์แปด" หรือ "มรรคแปด" (อัฏฐังคิกมรรค) โดยมีรายละเอียดดังนี้

    1 สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาเห็นชอบ หมายถึงเห็นถูกตามความเป็นจริงด้วยปัญญา
    2 สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ หมายถึง การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม
    3 สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ หมายถึงการพูดสนทนา แต่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ดีงาม
    4 สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติดีงาม ทางกายหรือกิจกรรมทางกายทั้งปวง
    5 สัมมาอาชีวะ คือ การทำมาหากินอย่างสุจริตชน
    6 สัมมาวายามะ คือ ความอุตสาหะพยายาม ประกอบความเพียรในการกุศลกรรม
    7 สัมมาสติ คือ การไม่ปล่อยให้เกิดความพลั้งเผลอ จิตเลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปกติ
    8 สัมมาสมาธิ คือ การฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ สงัด จากกิเลศ นิวรณ์อยู่เป็นปกติ
    อริยมรรคมีองค์แปด เป็นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) คือทางที่นำไปสู่การพ้นทุกข์ ที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

    มรรคมีองค์แปด สามารถจัดเป็นหมวดหมู่ได้เป็น ศีล สมาธิ ปัญญา

    ข้อ 3-4-5 เป็น ศีล (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ)
    ข้อ 6-7-8 เป็น สมาธิ (สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ)
    ข้อ 1-2 เป็น ปัญญา (สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ)

    (ข้อมูล จาก วิกิพีเดีย)

  7. #7
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ หนุ่มน้อย
    วันที่สมัคร
    Mar 2009
    กระทู้
    549
    บล็อก
    21
    มาอ่านต่อไป น้อครับ คราวที่แล้วเผิ่นว่าเรื่อง อริสัจ 4 แล้วก็ มรรคมีองค์ 8
    มรรค 8 ประการ ผู้ปฏิบัติจะเกิดมี ศีล สมาธิ และ ปัญญา
    เรื่องของศีล ครับ บัดนี้ ถ้าคนเฮาขาดศีลแม้แต่ข้อเดียวกะสิทำให้ชีวิตด่างพร้อยลง
    อ้าว มาอ่านเบิ่งครับ (คัดมาจาก ธรรมะไทยดอตโออาร์จี ครับ)


    ศีล หมายถึง ข้อบัญญัติที่กำหนดเป็นแนวทางการปฏิบัติของกาย และวาจา ทางพระพุทธศาสนา

    ศีลมีอยู่ 5 ประเภท คือ
    1. ภิกขุศีล มี 227 ข้อ
    2. ภิกขุณีศีล มี 311 ข้อ
    3. สามเณรศีล มี 10 ข้อ
    4. คฤหัสถ์ศีล มี 5 ข้อ
    5. อัฏฐศีล มี 8 ข้อ

    สำหรับศีลของผู้ครองเรือนนั้น โดยเฉพาะเบญจศีล เป็นการรักษาเจตนาที่จะควบคุมกาย และวาจาให้เป็นปกติ คือ ไม่ทำบาป ด้วยการละเว้น 5 ประการ คือ
    1. ปาณาติบาต คือ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ และการเบียดเบียนสัตว์ ทุกประเภท
    2. อทินนาทาน คือ ละเว้นจากการลักขโมย ปล้นจี้ ฉกชิง วิ่งราว เป็นต้น
    3. กาเมสุมิจฉาจาร คือ ละเว้นจากการประพฤติผิดในกามด้วยการล่วงละเมิด ลูก เมีย ผัวคนอื่น
    4. มุสาวาท คือ ละเว้นจากการพูดปด หรือโกหกหลอกลวง พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ พูดเหลวไหล พูดส่อเสียด พูดคำลามก เป็นต้น
    5. สุราเมระยะ คือละเว้นการเสพของมึนเมา เพราะจะเป็นที่มาของการผิดศีลในข้ออื่น ๆ

    และเบญจศีลทั้ง 5 ข้อนี้จะเกิดขึ้นมาได้ก็เพราะบุคคลผู้นั้นมีเบญจธรรมประจำตัวเท่านั้น คือ.
    1. เมตตา คือบุคคลใดที่มีเมตตาย่อมไม่ฆ่า หรือเบียดเบียนสัตว์ด้วยรู้ดีว่าทุกชีวิตย่อมมีความรักตัว และกลัวตายเช่นเดียวกับเรา ทำให้ไม่ผิดศีลในข้อปาณาติบาต
    2. สัมมาอาชีพ คือประกอบอาชีพที่สุจริต มีรายได้ รู้จักใช้จ่าย และที่สำคัญรู้จักคำว่าพอดีและมีหิริโอตตัปปะคือ ความละอาย และเกรงกลัวต่อผลของบาป จึงทำให้ไม่ผิดศีลข้ออทินนาทาน
    3. ความสำรวมอินทรีย์ คือระมัดระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ทำให้ความใคร่ในกามคุณ คือการติดใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ลดน้อยลง เมื่อความสำรวมเกิดขึ้น การล่วงเกินผู้อื่นก็ไม่มี
    4. สัจจะ การพูดความจริง เป็นสิ่งที่ทำให้ไม่เกิดการมุสาวาท
    5. สติ การรู้สึกตัว ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายกุศล ทำให้ชีวิตไม่ประมาท เพราะรู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว ทำให้ไม่เกลือกกลั้วกับสิ่งที่จะทำให้ชีวิตตกต่ำ

    เบญจศีลและเบญจธรรมนี้เอง เป็นธรรมที่นำให้เกิดเป็นมนุษย์ ดังนั้นความเป็นมนุษย์จึงวัดกันด้วยความมีศีล นั่นคือ
    ผู้ใดมีศีลครบ 5 ข้อ จัดว่าเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ 100 %
    ผู้ใดมีศีลเพียง 4 ข้อ จัดว่าเป็นมนุษย์เพียง 80 %
    ผู้ใดมีศีลเพียง 3 ข้อ จัดว่าเป็นมนุษย์เพียง 60 %
    ผู้ใดมีศีลเพียง 2 ข้อ จัดว่าเป็นมนุษย์เพียง 40 %
    ผู้ใดมีศีลเพียง 1 ข้อ จัดว่าเป็นมนุษย์เพียง 20 %

    ผู้ใดที่ไม่มีศีลก็ไม่จัดว่า เป็นมนุษย์ การรักษาศีลคือ การควบคุมกายวาจา ไม่ให้ผิดปกติ คือไม่ให้ทำบาป ฉะนั้นขณะใดเป็นผู้อยู่ในศีลควบคุมความปกติไว้ได้ ขณะนั้นบุญก็เกิดขึ้น บาปก็เกิดไม่ได้ เช่น ขณะที่เรานั่งฟังธรรมะ ขณะนั้นเราเป็นผู้มีศีลครบ เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ แต่เพราะความไม่เข้าใจ บางครั้งจึงทำให้ชีวิตขาดทุน เช่นการอาราธนาศีล และรับศีลจากพระ บางคนไม่กล้ารับศีลบางข้อ เช่น ผู้ชายที่มักดื่มเหล้าจะไม่กล้ารับศีลข้อ 5 ทั้ง ๆ ที่ขณะนั้นเขาไม่ได้ดื่ม แสดงว่าขณะนั้นเขาไม่ได้ทำผิดศีลในข้อนั้น ชีวิตของเขาจึงขาดทุน เพราะขณะนั้นแทนที่จะเกิดบุญ กลับเกิดบาปแทน ก็เพราะความคิดที่ว่าเราไม่สามารถทำได้ในข้อนี้เท่ากับขณะนั้นระลึกว่าเราบาป

    บุญกิริยาวัตถุในข้อทานมัย อันเป็นการทำความดีด้วยการสงเคราะห์คนอื่นด้วยวัตถุนั้น เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว

    ส่วนสีลมัย ซึ่งเป็นกิริยาวัตถุที่ต้องควบคุมความประพฤติทางกาย และวาจานั้น จะต้องมีตลอดเวลาโดยอาศัยพื้นฐานของเบญจธรรม ดังตัวอย่างเช่น การทำทุจริตทางกายที่เกิดขึ้นได้เป็นเพราะผู้นั้นขาดเมตตา และมีกิเลส เช่นแม่ค้าที่ฆ่าปลา ฆ่าไก่ ก็เพราะต้องการเงิน ย่อมทำให้เกิดบาป (ทุจริต) ที่เกิดจากการฆ่าสัตว์ หรือการประทุษร้ายคนอื่นเพื่อต้องการทรัพย์ ย่อมทำให้เกิดบาป ที่เกิดจากการลักทรัพย์ เป็นต้น ฉะนั้นเมตตาเมื่อมีอยู่ตราบใด การที่เราจะนำกาย วาจา ไปทำความชั่วให้ผู้อื่นเดือดร้อนย่อมไม่มี พระพุทธองค์แสดงว่า ศีล คือการเว้นปาณาติบาต, เว้นอทินนาทาน, เว้นกาเมสุมิจฉาจาร, เว้นมุสาวาท, และเว้นจากการเสพของมึนเมา ทุกประเภท เมื่อทำได้อย่างนี้ ถือว่าเป็น "มหาทาน" คือเป็นทานอันเลิศ เพราะเป็นทานที่หาค่าประมาณมิได้

    สำหรับอัฏฐศีล คือศีล 8 นั้น คฤหัสถ์ที่มีเจตนารักษาศีลในข้อนี้ มักจะไม่อยู่ประจำหรือนอนค้างที่วัด บางครั้งจึงเรียกศีล 8 นี้ว่า "อุโบสถศีล" ซึ่งการรักษาศีลในข้อนี้ ไม่เพียงควบคุมความปกติทางกาย วาจาเท่านั้น แต่เป็นการควบคุมทางใจด้วย โดยเฉพาะความยึดมั่นจากความยึดติดที่คิดว่าเป็นบ้านเรา ด้วยการไปค้างที่วัด และแม้ตัวเราซึ่งเคยดูแล ตกแต่งร่างกายให้ดูสวยงามด้วยเครื่องประดับ และของหอม ก็ต้องละออก ศีลชนิดนี้จึงมีข้อที่งดเว้น ละ มากขึ้น อานิสงส์ก็ย่อมมากขึ้นด้วย

    อานิสงส์ของการรักษาศีล
    1. ทำให้มีความสุขกาย สุขใจ
    2. ทำให้เกิดทรัพย์สมบัติมากขึ้นได้
    3. ทำให้สามารถใช้สอยทรัพย์นั้นได้เต็มอิ่ม โดยไม่ต้องหวาดระแวงภัย
    4. ทำให้ไม่ต้องหวาดระแวงว่าจะมีใครมาทวงทรัพย์คืน
    5. ทำให้เกียรติคุณฟุ้งขจรขจายไป ทำให้ผู้อื่นเกิดความเคารพเชื่อถือ
    6. ทำให้ชีวิตนั้นแกล้วกล้าองอาจท่ามกลางชุมนุมชน
    7. ทำให้ไม่เป็นคนหลงลืมสติ
    8. ตายแล้วย่อมไปเกิดในสุคติภูมิ

    ดังกล่าวแล้วว่า ศีลเป็นมหาทาน คือทานอันเลิศ เพราะความมีน้ำใจ ไม่มีเวรภัยกับสัตว์ทั้งหลาย ผลที่เกิดขึ้นในชาติต่อ ๆ ไปจึงมีแต่ความสุขกาย สบายใจ เพราะทานจึงเกิดโภคทรัพย์ เป็นทรัพย์ที่ได้มาด้วยความสุจริต จึงไม่ต้องระแวงที่จะใช้ หรือจะมีใครมาทวง ผู้ที่มีศีลย่อมมีความเชื่อมั่น และที่สำคัญศีลนั้นจะนำไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์……

  8. #8
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ หนุ่มน้อย
    วันที่สมัคร
    Mar 2009
    กระทู้
    549
    บล็อก
    21
    เรื่องสมาธิ ครับ
    สมาธิ ในความหมายของพจนานุกรม แปลว่า ที่ตั้งมั่นแห่งจิต แต่สมาธิในความหมายของการฝึกปฏิบัติ คือการทำใจให้นิ่ง ซึ่งต่างจากร่างกายที่ยิ่งเคลื่อนไหวยิ่งแข็งแรง แต่จิตใจนั้นตรงกันข้าม คือจิตใจหวั่นไหวย่อมอ่อนแอ แต่หากหยุดนิ่งเฉยได้แล้วจะยิ่งมีพลัง เหมือนการรวมโฟกัสของแสงให้เป็นจุดเดียวกัน ย่อมมีพลังที่จะจุดไฟให้ติดได้

    การทำสมาธิ ไม่ต้องคอยให้ใจสงบ สามารถทำได้ทุกที่ ทุกเวลา แต่ถ้าต้องการความต่อเนื่องยาวนาน และให้ได้ผลการปฏิบัติที่ดีนั้น มีหลักการเบื้องต้นและขั้นตอนดังนี้

    1 อาบน้ำ ให้เรียบร้อย เตรียมร่างกายให้สะอาด
    2 หามุมสงบ ไม่เสียงดัง ไม่อึกทึก ไม่มีการรบกวนจากภายนอกได้ง่าย มีอุณหภูมิพอดีๆ
    3 นั่งขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย หรือวางมือตามสะดวกที่อื่นๆ จะเป็นที่หน้าตักก็ได้
    4 หลับตาเบาๆ ให้ขนตาชนกัน แต่อย่าเม้มตา
    5 ขยับท่าทางให้รู้สึกว่าสบาย
    6 สังเกตตัวเองว่ามีการเกร็งไหม ถ้ายังมีให้ทำข้อ 5 ใหม่
    7 เมื่อสบายดีแล้ว ให้ภาวนาในใจ
    8 จะใช้คำบริกรรมว่า ว่า พุท เมื่อหายใจออกให้กำหนดว่า โธ ก็ได้ หรือจะใช้คำบริกรรมอื่นๆ เช่น สัมมา-อรหัง นะมะ-พะธะ ก็ได้เช่นกัน (วิธีการเหล่านี้ เป็นวิธีการของโบราณจารย์)
    9 จะใช้ความรู้สึกจับกับลมหายใจ หายใจเข้าสั้นก็รู้ หายใจออกสั้นก็รู้ หายใจเข้ายาวก็รู้ หายใจออกยาวก็รู้ โดยไม่ต้องใช้คำบริกรรมก็ได้
    10 ทำใจให้โล่ง โปร่ง เบา สบาย
    11 ในระหว่างการปฏิบัติธรรม จะมีเรื่องฟุ้งซ่านเข้ามาเป็นระยะ อย่าสนใจ เมื่อได้สติ ก็ทำข้อ 7 8 9 ใหม่
    12 เมื่อใจเริ่มสงบดีแล้ว จะมีความรู้สึกแปลกๆ ก็ให้ทำเฉยๆไปเรื่อยๆ
    13 บางทีคำภาวนาจะหายไป ก็ไม่เป็นไร ให้ทำใจเฉยๆไปเรื่อยๆ
    14 เมื่อใจนิ่งได้ระดับนึง จะเริ่มเห็นความสว่างจากภายใน เป็นการเห็นด้วยใจ ก็ให้ทำใจเฉยๆต่อไป
    ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น หรือสงสัยอะไร ให้ทำใจเฉยๆอย่างเดียว
    15 หากมีข้อสงสัย หรือมีคำถาม หรือมีภาพ มีสิ่งผิดปกติ ให้ทำตามข้อ 14
    ข้อแนะนำ คือ ต้องทำให้สม่ำเสมอเป็นประจำ ทำเรื่อยๆ อย่างสบายๆ ไม่เร่ง ไม่บังคับ ทำได้แค่ไหนให้พอใจแค่นั้น ซึ่งเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความอยากจนเกินไป จนถึงกับทำให้ใจต้องสูญเสียความเป็นกลาง

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •