กำลังแสดงผล 1 ถึง 8 จากทั้งหมด 8

หัวข้อ: เชิญมาลงทะเบียนรับกล้าไม้สักมงคลสายพันธุ์เสาซิงซ้า ฟรี ฟรี ซ้าอาจสิเบิดเด้อ

  1. #1
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ หนุ่มขอนแก่น
    วันที่สมัคร
    Jun 2009
    ที่อยู่
    Pathumthani
    กระทู้
    7

    เชิญมาลงทะเบียนรับกล้าไม้สักมงคลสายพันธุ์เสาซิงซ้า ฟรี ฟรี ซ้าอาจสิเบิดเด้อ

    c06:

    http://www.klasakmongkol.org

    ลงทะเบียนแล้วกะอย่าลืมไปเอาเด้อ ไปเอามาแล้ว กะอย่าสิลืมปลูกเด้อ พี่น้องป้องปาย :em01)

  2. #2
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ บ่าวอิง
    วันที่สมัคร
    Aug 2007
    กระทู้
    877
    ขอบคุณหลายๆคับเดี๋ยวผมจะลองเข้าไปเบิ่งว่าจองแบบได่

  3. #3
    นักการภารโรง สัญลักษณ์ของ บ่าวคนเดิม
    วันที่สมัคร
    Jan 2006
    ที่อยู่
    Amphoe Det Udom
    กระทู้
    3,148

    บ้านมหาโพสต์ ความเป็นมาของสักมงคลสายพันธุ์เสาชิงช้า

    ความเป็นมาของสักมงคลสายพันธุ์เสาชิงช้า

    ปี พ.ศ. 2547 กรุงเทพมหานครเตรียมการตกแต่งโบราณสถานในพื้นที่ และได้ตรวจพบเสาชิงช้ามีสภาพชำรุดทรุดโทรดตามอายุ เนื้อไม้ผุกร่อน มีร่องรอยปลวกทำลายโครงสร้างไม้เสาชิงช้า จึงได้ประสานทำงานร่วมกับกรมศิลปากร มีความเห็นตรงกันว่า ความชำรุดครั้งนี้อยู่ในขั้นวิกฤต การซ่อมบูรณะโบราณสถานของชาติจึงเกิดขึ้นในช่วง พ.ศ. 2548 – 2549 ปีที่เสาชิงช้าอายุครบ 222 ปี และกรุงเทพมหานครมีอายุ 224 ปี ซึ่งกรุงเทพมหานคร ในฐานะหน่วยงานหลักในการดูแลรับผิดชอบโบราณสถานทั่วพื้นที่ มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการบูรณเสาชิงช้ากรุงเทพมหานครมีผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร (นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน) เป็นประธานกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษา 5 ท่าน ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 20 ท่าน รวม 25 ท่าน เพื่อดำเนินการบูรณะเสาชิงช้าให้ถูกต้องตามหลักวิธีปฏิบัติแห่งราชประเพณี นิยม ประวัติและรูปแบบเดิมทุกประการ โดยแบ่งการทำงานเป็นส่วนการบูรณะ ซ่อมแซมและการหาไม้เพื่อนำมาทดแทนเสาเดิมที่ทรุดโทรมและผุพังลงตามกาลเวลา ด้วยเทคนิคทางวิศวกรรม


    สำนัก ผังเมือง กรุงเทพมหานคร ได้รับมอบหมายให้เตรียมซ่อมแซมรอยต่อรอบแตกของไม้ เสา รวมทั้งโครงสร้างเสาชิงช้าทั้งหมด และเมื่อได้เข้าทำงานในสถานที่ตรวจสอบโดยละเอียดพบความเสียหายมากกว่าเมื่อ ตรวจพบขั้นต้น จึงปรับเปลี่ยนวิธีซ่อมโดยเทคโนโลยีใหม่ใช้วัสดุสังเคราะห์ประเภทคาร์บอนไฟ เบอร์ (Carbon Fiber) และอิพ็อกซี่ (Epoxy) ที่ มีความเหนียวและแข็งแรงเพียงพอจะรับน้ำหนักและแรงกระทำต่อโครงสร้างเสา ชิงช้า มีการตกแต่งผิวเนื้อไม้ทั้งต้นอย่างพิถีพิถันใช้เวลารวมทั้งสิ้น 60 วัน จึงแล้วเสร็จ เสาชิงช้ามีความมั่นคงแข็งแรงและกรุงเทพมหานครได้จัดพิธีบวงสรวงเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 โดยพระราชครูวามเทพมุนี เป็นผู้ประกอบพิธีพราหมณ์ ณ บริเวณลานเสาชิงช้า

    นอก จากการซ่อมบูรณะ คณะกรรมการอำนวยการบูรณะเสาชิงช้า กรุงเทพมหานครยังได้เตรียมการจัดหาไม้มาทดแทนเสาชิงช้าตามลักษณะ ขนาด และรูปแบบเดิม โดยหารือกับหน่วยงานที่มีความชำนาญในเรื่องพันธุ์ไม้ ขณะที่สำนักผังเมืองกรุงเทพมหานครดำเนินการบูรณะเสาชิงช้าอยู่นั้น คณะอนุกรรมการสืบค้นหาไม้ก็เริ่มดำเนินงานโดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงาน และสถานบันการศึกษาต่าง ๆ ดำเนินงานในภูมิภาคได้แก่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ออกค้นหาต้นสักที่มีลำต้นตรง ไม่มีตำหนิขนาดใช้จริงยาวประมาณ 20 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางปลายเสาประมาณ 40 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางโคนต้นประมาณ 80 เซนติเมตร เป็นอย่างต่ำ และไม้ก่อนการตัดแต่งสูง 25 เมตร ตามแหล่งไม้สักทั่วภาคเหนือและภาคกลาง เดินทางไปสืบค้นในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี สุโขทัย ตาก เพชรบูรณ์ และจังหวัดแพร่ ฯลฯ โดยมีอาจารย์จากคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมเดินทางไปค้นหาใช้หลักวิชาตรวจสอบต้นสักที่อยู่ในข่ายการคัดเลือกทุก แห่ง จนในที่สุด สามารถพบไม้สักสำคัญทั้ง 6 ต้นตามกำหนด จากป่าภาคเหนือรวม 3 แห่ง ในท้องที่อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ที่ยังคงสามารถรักษามรดกธรรมชาติของท้องถิ่นไว้สืบต่อมรดกวัฒนธรรมของชาติ โดยรวม นอกจากนี้ยังมีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดแพร่ ธนารักษ์พื้นที่แพร่ แขวงการทางแพร่ กรมทางหลวง ให้ความอนุเคราะห์มอบไม้ให้กรุงเทพมหานครรับไปดำเนิน



    ต้นหลักที่ 1 อายุ 99 ปี อยู่บริเวณหน่วยประสานงานป้องกันและรักษาป่า (นปป.)
    จังหวัดแพร่ หมู่ที่ 2 ตำบลไทรย้อย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เส้นรอบวง
    ที่ระดับอก 366 เซนติเมตร ความสูงรวมจากโคนถึงยอดไม้ 36.8 เมตร
    ความสูงที่ทำเป็นสินค้าได้ 26.1 เมตร อยู่ในพื้นที่ราชพัสดุในการดูแลของ
    ธนารักษ์พื้นที่แพร่

    ความเป็นมาของสักมงคลสายพันธุ์เสาชิงช้า

    ต้นหลักที่ 2 อายุมากกว่า 120 ปี อยู่บริเวณไหล่ทางหลวงหมายเลข 101
    (สายเด่นชัย-ศรีสัชนาลัย) หลักกิโลเมตรที่ 104+066 หน้าบ้านเลขที่ 26/1 หมู่ที่ 2
    ตำบลไทรย้อย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เส้นรอบวงที่ระดับอก 347 เซนติเมตร
    ความสูงรวมจากโคถึงยอด 36.2 เมตร ความสูงที่ทำเป็นสินค้าได้ 20.1 เมตร
    อยู่ในเขตควบคุมรับผิดชอบของ แขวงการทางแพร่
    ความเป็นมาของสักมงคลสายพันธุ์เสาชิงช้า


    ต้นรองที่ 3-6 อยู่ในพื้นที่สวนป่าห้วยไร่ (หน้าวัดบ้านห้วยไร่) แปลงปี 2488
    หมู่ที่ 2 ตำบลห้วยไร่ อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ จำนวน 4 ต้น ทั้งหมด
    อยู่ในเขตควบคุมรับผิดชอบของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    ต้นรองที่ 3 (1) อายุ 61 ปี อยู่ในพื้นที่สวนป่าห้วยไร่ (บริเวณหน้าวัดห้วยไร่)
    มีความโตทางเส้นรอบวงที่ระดับอก 225 เซนติเมตร ความสูงทั้งหมด 32.5 เมตร
    ความสูงที่ทำเป็นสินค้าได้ 20.9 เมตร

    ความเป็นมาของสักมงคลสายพันธุ์เสาชิงช้า

    ต้นรองที่ 4 (2) อายุ 61 ปี อยู่ในพื้นที่สวนป่าห้วยไร่ (บริเวณหน้าวัดห้วยไร่)
    มีความโตทางเส้นรอบวงที่ระดับอก 222 เซนติเมตร สูงทั้งหมด 33.1 เมตร
    ความสูงที่ทำเป็นสินค้าได้ 21.65 เมตร
    ความเป็นมาของสักมงคลสายพันธุ์เสาชิงช้า

    ต้นรองที่ 5 (3) อายุ 61 ปี อยู่ในพื้นที่สวนป่าห้วยไร่
    (บริเวณหน้าวัดห้วยไร่) มีความโตทางเส้นรอบวง
    ที่ระดับอก 253 เซนติเมตร สูงทั้งหมด 31.8 เมตร
    ความสูงที่ทำเป็นสินค้าได้ 18.0 เมตร

    ความเป็นมาของสักมงคลสายพันธุ์เสาชิงช้า

    ต้นรองที่ 6 (4) อายุ 61 ปี อยู่ในพื้นที่สวนป่าห้วยไร่
    (บริเวณหน้าวัดห้วยไร่) มีความโตทางเส้นรอบวง
    ที่ระดับอก 237 เซนติเมตร สูงทั้งหมด 35.1 เมตร
    ความสูงที่ทำเป็นสินค้าได้ 19.30 เมตร

    ที่มา http://www.klasakmongkol.org/lowHis.html

  4. #4
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ กะแยงนา
    วันที่สมัคร
    Apr 2009
    กระทู้
    211
    บล็อก
    2
    งานวันข้าราชการพลเรือน ปี 2553 วันที่ 1-3 เมษายน ที่สนามบินดอนเมือง กรมป่าไม้เพิ่นกะแจกค่ะ ทั้งหมด 1,999 กล้า ไปรับได้เด้อจ้า

  5. #5
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ บ่าวผู้ดี
    วันที่สมัคร
    May 2009
    กระทู้
    247
    ผมจองไปแล้วครับ ขอบคุณหลายๆครับ

  6. #6
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ บ่าวจัย
    วันที่สมัคร
    Jun 2008
    กระทู้
    2,872
    ขอบคุณครับอ้าย ผมจองไปแล้วครับ อยากได้มาด่นแล้ว
    แต่ว่ายามได๋สิได้กล้าไม้น้อครับด่นบ้อ
    หล่อคืออ้าย กินข้าวบายกบตั๋วะหล่า

  7. #7
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ หนุ่มขอนแก่น
    วันที่สมัคร
    Jun 2009
    ที่อยู่
    Pathumthani
    กระทู้
    7
    บ่าวจัย ไปเบิ่งในเว็ปนั่นล่ะ ข่อยกะลืมมื้อคือกัน

  8. #8
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ เซียงเหมี่ยงเมืองสุรินทร์
    วันที่สมัคร
    Dec 2008
    ที่อยู่
    สุรินทร์, ร้อยเอ็ด, และ สปป.ลาว
    กระทู้
    829
    จองแล้วเผิ่นสิออกใบจองให้ เซียงเหมี่ยงฯ อยู่ร้อยเอ็ด ไปรับกล้า อยู่ สารคามครับ...
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เซียงเหมี่ยงเมืองสุรินทร์; 06-04-2010 at 07:18.

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •