กำลังแสดงผล 1 ถึง 7 จากทั้งหมด 7

หัวข้อ: บวชนาคช้าง บ้านตากลาง อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    บวชนาคช้าง บ้านตากลาง อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์

    บวชนาคช้าง บ้านตากลาง อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์

    ความศรัทธาในพระพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่ของชาวสุรินทร์





    ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=9Go8dhGz1Hk



    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ เซียงเหมี่ยงเมืองสุรินทร์
    วันที่สมัคร
    Dec 2008
    ที่อยู่
    สุรินทร์, ร้อยเอ็ด, และ สปป.ลาว
    กระทู้
    829
    บ้านตากลาง หรือ หมู่บ้านช้าง เข้าไปต้องผ่านบ้านเซียงเหมี่ยงก่อน...
    จากปากทางหนองตาด เข้าไปประมาณ ๒๐ กิโลเมตร บ้านเซียงเหมี่ยงฯ อยู่ระหว่างทางไปพอดีครับ ถ้ามีโอกาสได้ไปที่ยวบ้านซ้างกะแวะกินน้ำบ้านเซียงเหมี่ยงฯ ก่อนได้ครับ...
    ตอนเซียงเหมี่ยงฯ บวช กะบวชนาคซ้างคือกันครับ รวม ๆ ซ้างกว่า ๒๐ เชือกสำหรับงานอุปสมบทหมู่ ซ้างเต็มเดิ่นวัดเอาโลดครับ...
    เดี๋ยวถ้าหารูปเก่า ๆ เจอ สิเอามาฝากครับ ช่วงนั้นยังใช้กล้องฟิล์มอยู่ครับ บ่มีกล้องดิจิตอล...

  3. #3
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ ครูโนช
    วันที่สมัคร
    Sep 2007
    กระทู้
    290
    ผมไปมา 2 เทือแล้วครับ แต่บ่โทมงานนี้เลย

  4. #4
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ ๛หนุ่มบ้านไกล๛
    วันที่สมัคร
    Apr 2009
    กระทู้
    764
    บล็อก
    8
    เคยไปงานบวช หมู่ อยู่ จอมพระ กะจัดงานบวช แบบนี้ละ แห่อ้อมหมู่บ้าน หย่างจนว่าเหมื่อย

  5. #5
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ konudorn
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    udorn
    กระทู้
    99
    ผุได่บวชได่ขี่หลังช้างแห่นาค ผุนั่นถือหว่าได่บุญหลายกับการบวชในครั้งนี่ อันนี่คือความเชื่อของอำเภอท่าตูมของเฮาครับ แหม่นบ่น้องเซียงเหมี่ยง

  6. #6
    Banned

    วันที่สมัคร
    Jul 2008
    ที่อยู่
    Oil Field เพชรบูรณ์/กำแพงแสน
    กระทู้
    469

    ขอร่วมเป็นส่วน หนึ่งของความรัก ที่มีต่อ แผ่นดินเกิด

    "บวชนาคช้าง" จา พนม
    ยกเอากรณีงานบวชของ คุณ ทัชชกร ยีรัมย์ เป็นตัวอย่างครับ
    09.49 น. 28 พ.ค. 53 "จา" พนม ยีรัมย์ ดารานักแสดงชื่อดัง พร้อมนาครวม 35 คน ร่วมกันทำพิธีบายศรีสู่ขวัญนาคบริเวณใต้ถุนศาลาเอราวัณ ภายในวัดป่าอาเจียง บ้านตากลาง ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ ก่อนจะร่วมกันทำพิธีไหว้ศาลประกำเพื่อบอกกล่าวบรรพบุรุษตามความเชื่อของชาวกุยโบราณ ปลูกต้นโพธิ์ใบใหญ่ และต้นไทรใบหนา ภายในวัดดังกล่าว เพื่อเป็นสิริมงคลก่อนอุปสมบทหมู่ เพื่อเฉลิมพระเกียรติถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ปีที่ 60 ภายในวัดแจ้งสว่าง บ้านตากลาง

    ขอร่วมเป็นส่วน หนึ่งของความรัก ที่มีต่อ แผ่นดินเกิด

    โดยหลังจากทำขวัญนาคแล้ว จาพนม ยีรัมย์ ได้ขึ้นช้างพลายงาสวยชื่อว่าหนุ่มเสก ซึ่งเป็นช้างที่ร่วมแสดงในภาพยนตร์เรื่ององค์บาก 3 และแห่นาคช้างอย่างยิ่งใหญ่ มีช้างเข้าร่วม 100 เชือก พร้อมนาคที่เข้าร่วมอุปสมบทด้วย 34 คน ไปยังวัดแจ้งสว่าง หมู่บ้านช้างบ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ เพื่อที่จะเข้าอุโบสถบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ โดยมีพระธรรมโมลี เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ เป็นพระอุปัชฌา นอกจากนี้นับเป็นบุญของจาพนม ยีรัมย์ ที่บวชในครั้งนี้ ในโอกาสที่อัคคมหาบัณฑิต มหาสังฆนายก พระสังฆราชประเทศศรีลังกา นิกายอมระปุระนิกาย เดินทางมาเยี่ยมพระสงฆ์ในจังหวัดสุรินทร์ ท่านได้เข้าชมการรวมพิธีด้วย ซึ่งหลังจากเข้าอุปสมบทแล้วพระจาพนมได้ฉายาว่า กิติโสภโณ แปลว่า ผู้มีชื่อเสียงที่งดงาม

    ขอร่วมเป็นส่วน หนึ่งของความรัก ที่มีต่อ แผ่นดินเกิด

    สำหรับการบวชของพระจาพนม กิตกโสภโน ในครั้งนี้ นอกจากจะบวชเพื่อทดแทนบุญคุณพ่อแม่แล้ว จะถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสวันราชาภิเษกครบ 60 ปีด้วย...

    ขอร่วมเป็นส่วน หนึ่งของความรัก ที่มีต่อ แผ่นดินเกิด

    ในงานบวชครั้งนี้ มีพระธรรมโมลี เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานในพิธีอุปสมบท นอกจากนี้ ยังถือเป็นบุญของนาคจา ที่มีหลวงพ่อดาวุลเดนะ ญานิสสระ ซึ่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชของประเทศศรีลังกา ที่เดินทางมาเยือนจังหวัดสุรินทร์ ได้เข้าร่วมในพิธีอุปสมบท
    12.09 น. นาคจาพร้อมนาคทั้ง 35 คนได้ขึ้นนั่งบนหลังช้าง โดยนาคจามีบิดาคือนายทองดี ยีรัมย์ นั่งคู่บนหลังช้าง ท่ามกลางประชาชนที่มาร่วมอนุโมทนาและเต้นรำทำเพลงไปกับขบวนกลองยาวที่แห่นำขบวนช้างอีก ๑๐๐ เชือกอย่างยิ่งใหญ่ โดยเคลื่อนขบวนแห่ไปอุปสมบทยังวัดแจ้งสว่าง ที่ตั้งอยู่ภายในบ้านตากลาง


    ขอร่วมเป็นส่วน หนึ่งของความรัก ที่มีต่อ แผ่นดินเกิด

    สำหรับพิธีบรรพชาอุปสมบทหมู่ครั้งนี้ จาพนม ยีรัมย์ ได้บวชเป็นนาคนำบวชเพื่อทดแทนคุณแผ่นดินบ้านเกิด บิดา มารดา และสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น ยกย่องเกียรติคุณบรรพบุรุษและช้างที่เพียรพยายามทุ่มเทให้กับผืนแผ่นดิน เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมจารีตประเพณี วิถีชีวิตคนกับช้างออกสู่สังคมภายนอก สนองตอบเจตนารมณ์บรรพบุรุษที่ทิ้งมรดกทางวัฒนธรรมในภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ให้ รักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีที่ดีงานแบบดั้งเดิมให้ยาวนาน อีกทั้งปลูกฝังจิตสำนึกในความรักสามัคคี และห่วงแหนศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมของตน ให้เห็นคุณค่าของช้าง อุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษ และช้าง ที่ล่วงลับไปแล้ว

    อนึ่งเนื่องจากช้างเป็นพาหนะคู่บารมีของพระพุทธองค์ในหลายวาระ เป็นสัญลักษณ์ของชาติไทย เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดสุรินทร์ เป็นส่วนประกอบสำคัญในครอบครัวชาว กวย(กูย) เลี้ยงช้าง เป็นสัญลักษณ์ ของนาค (ประเสริฐ) ที่จะนำพาปุถุชนสู่ความเป็นผู้ประเสริฐได้ จึงได้ชื่อว่า บวชนาคช้าง แต่อดีตกาลถึงปัจจุบัน


    อ้างอิง
    ภาพและเนื้อหาบางส่วนจาก นสพ. ไทยรัฐ, Nation Group
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย กะเม็งสะเร็น; 09-07-2010 at 17:39. เหตุผล: เพิ่มเติมเนื้อหา..

  7. #7
    Banned

    วันที่สมัคร
    Jul 2008
    ที่อยู่
    Oil Field เพชรบูรณ์/กำแพงแสน
    กระทู้
    469

    ไปดูงานบวชนาคช้างที่ จ.สุรินทร์

    ไปดูงานบวชนาคช้างที่ จ.สุรินทร์

    จังหวัดสุรินทร์ เป็นเมืองที่ได้รับขนานนามว่า "เมืองช้าง" มานานกว่า ๓ ทศวรรษแล้ว เนื่องจากการที่ได้ริเริ่มจัดการแสดงของช้างขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๐๓ และก็ได้จัดสืบทอดเป็นประเพณีมาจนกระทั่งทุกวันนี้

    ไปดูงานบวชนาคช้างที่ จ.สุรินทร์

    ในแต่ละปีนั้น ก็จะมีทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศให้ความสนใจเข้ามาชมกันเป็นจำนวนมาก ทำให้เศรษฐกิจของสุรินทร์เติบโตอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของภาคอีสานอีกเมืองหนึ่ง

    ไปดูงานบวชนาคช้างที่ จ.สุรินทร์

    นอกจากการแสดงของช้างที่ลือลั่นไปทั่วโลกแล้ว สุรินทร์ยังเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลาย เนื่องจากเป็นเมืองที่มีกลุ่มชาติพันธุ์อยู่รวมกันถึง ๓ กลุ่มด้วยกันคือ กูยหรือส่วย เขมร และลาว ซึ่งแต่ละกลุ่มก็มีขนบประเพณีที่แตกต่างกันออกไป และก็เป็นที่น่าสนใจและน่าอนุรักษ์ไว้สำหรับอนุชนรุ่นหลัง

    ไปดูงานบวชนาคช้างที่ จ.สุรินทร์

    ประเพณีงานบวชประจำปีที่หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ก็เป็นอีกประเพณีหนึ่งที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้อย่างยิ่ง ไม่เพียงแต่สำหรับจังหวัดสุรินทร์หรือประเทศไทยเท่านั้น แต่สมควรที่จะอนุรักษ์ไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลกเลยก็ว่าได้

    ไปดูงานบวชนาคช้างที่ จ.สุรินทร์

    หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง เป็นหมู่บ้านของชาวกูยที่เลี้ยงช้าง ซึ่งช้างจากหมู่บ้านช้างแห่งนี้นี่แหละที่ไปแสดงงานช้างของจังหวัดเป็นประจำทุกปี
    ชาวกูยบ้านแห่งตากลางดำเนินวิถีชีวิตด้วยการเลี้ยงช้างตามรอยบรรพบุรุษมานานนับศตวรรษ และที่แห่งนี้ก็เป็นทำเลที่เหมาะสำหรับการเลี้ยงช้างที่สุด กล่าวคือ อยู่บริเวณที่ราบลุ่มที่มีแม่น้ำมูลและแม่น้ำชีไหลมาบรรจบกัน กอปรกับยังมีสภาพป่าหลังเหลืออยู่บ้าง ซึ่งนับวันก็ถูกทำลายลงทุกที อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ต้องนำช้างออกไปเร่ร่อนตามเมืองใหญ่ๆ

    ไปดูงานบวชนาคช้างที่ จ.สุรินทร์

    ช่วงวันขึ้น ๑๓-๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา ชาวหมู่บ้านตากลางและหมู่บ้านใกล้เคียงที่มีบุตรชายอายุครบบวช ต่างพร้อมใจกันกันจัดงานบวชขึ้น โดยแต่ละบ้านที่จัดงานบวชก็จะมีการบายศรีสู่ขวัญนาค และจัดงานเลี้ยงคล้ายๆ กับงานบวชโดยทั่วๆ ไป

    ไปดูงานบวชนาคช้างที่ จ.สุรินทร์

    การบายศรีสู่ขวัญนาคของชาวกูยนั้น นิยมทำเป็นคู่เพื่อความเป็นสิริมงคล โดยจะจัดขึ้นในขึ้น ๑๓ ค่ำ ครั้นพอถึงวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ซึ่งถือเป็นวันแห่นาค ทุกบ้านก็จะให้นาคขึ้นช้างและแห่มารวมกันที่วัดบ้านตากลาง ก่อนที่ทั้งหมดจะเคลื่อนขบวนแห่ไปที่ลำน้ำมูล บริเวณที่เรียกว่า "ศาลเจ้าพ่อวังทะลุ" หรือเรียกในภาษากูย ว่า "หญ่าจู๊" เพื่อไปทำพิธีขอขมาและบอกกล่าวต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวกูยเคารพนับถือนอกจากศาลเจ้าพ่อที่บริเวณวังทะลุแล้ว ยังมีอีก ๒ แห่งคือที่ท้ายหมู่บ้านและท้ายวัด

    ไปดูงานบวชนาคช้างที่ จ.สุรินทร์

    ในการแห่ขบวนทั้งหมดไปยังบริเวณลำน้ำมูล คงจะคล้ายๆ กับประเพณีบวชนาคที่หาดเสี้ยวของจังหวัดสุโขทัย และประเพณีบวชนาคของหมู่บ้านช้าง บ้านตากลางนี้ ก็มีช้างเข้าร่วมขบวนนับร้อยเชือก ซึ่งนับได้ว่าเป็นขบวนแห่นาคที่ยิ่งใหญ่และหาดูได้ยากยิ่งในทุกวันนี้

    ไปดูงานบวชนาคช้างที่ จ.สุรินทร์

    ช้างแต่ละเชือกที่เข้าร่วมขบวนแห่นั้น เจ้าของหรือควาญก็ได้แต่งองค์ทรงเครื่องไม่แพ้กับนาคที่นั่งอยู่บนเจ้าตัวเท่าไดนัก บางเชือกก็มีการเขียนคำเท่ๆ ไว้ตามตัว ให้ผู้คนได้อ่าน
    กันคลายเครียดด้วยงานนี้ทั้งนาคทั้งช้างต่างก็ไม่ยอมแพ้กันในเรื่องความงาม

    ไปดูงานบวชนาคช้างที่ จ.สุรินทร์

    เมื่อขบวนแห่มาถึงบริเวณวังทะลุแล้ว ก็จะมีการเซ่นผีปู่ตาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตามธรรมเนียมของชาวกูยโดยทั่วไป การเซ่นปู่ตานั้นจะเป็นในลักษณะของการเสี่ยงทายด้วย โดยการดึงคางไก่ที่ใช้ในพิธีออกมาดู ซึ่งเป็นความเชื่อเช่นเดียวกับการเสี่ยงทายคางไก่ก่อนออกไปคล้องช้าง
    การเสี่ยงทายคางไก่ก่อนการบวชนี้ เพื่อทำนายดูว่าจะมีเหตุการณ์อะไรที่เป็นอุปสรรคต่อการบวชหรือไม่ สำหรับกระดูกคางไก่ที่ใช้เสี่ยงทายนั้น จะมีลักษณะเป็น ๓ ง่าม และดูจากส่วนตรงกลางของกระดูกถ้ามีลักษณะปลายตรงก็จะบวชได้นานแต่ถ้าเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งก็จะบวชได้ไม่นาน และถ้าปลายนั้นงองุ้มเข้าหาคอ แสดงว่าจะมีอุปสรรคทำให้ไม่สามารถบวชได้ เมื่อพิธีทุกอย่างเสร็จสิ้นก็จะมีพิธีอุปสมบทในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชาของทุกปี...

    ไปดูงานบวชนาคช้างที่ จ.สุรินทร์

    จากคำบอกเล่าของชาวกูยที่นี่ บอกว่าจัดมาไม่ต่ำกว่า ๒ ชั่วอายุคนแล้ว แต่ว่าไม่มีการประชาสัมพันธ์ไปสู่ภายนอกมากนักอาจเป็นเพราะชาวกูยเป็นกลุ่มที่รักความสงบ และก็เห็นเป็นประเพณีธรรมดาๆ แต่ว่าถ้าใครได้มาเห็นแล้ว รับรองเลยว่าไม่ธรรมดาแน่ๆ งานช้างที่ว่ายิ่งใหญ่แล้ว มาเจองานนี้เข้าก็ต้องอึ้งไปเหมือนกัน เพราะงานช้างถือว่าเป็นการแสดง แต่งานบวชนี้เป็นประเพณีที่เกิดก่อนงานช้างหลายสิบปี

    ไปดูงานบวชนาคช้างที่ จ.สุรินทร์

    หลังจากมีผู้คนไปพบเห็นและมีการบอกเล่าต่อๆ กันมา ทำให้ประเพณีดังกล่าวถูกส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสุรินทร์และในแต่ละปีก็จะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศแวะเข้ามาร่วมขบวนแห่กันอย่างคึกคัก ทำให้ประเพณีบวชของชาวกูยเริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น
    ถ้าหากท่านแวะมาร่วมชมประเพณีงานบวชแล้ว ท่านยังจะได้พบเห็นสภาพความเป็นอยู่ของชาวกูยเลี้ยงช้างซึ่งอาจจะแตกต่างกับการเลี้ยงช้างของทางภาคเหนือ คือที่นี่จะเลี้ยงช้างไว้ในอาณาบริเวณบ้าน คล้ายสัตว์เลี้ยงโดยทั่วไป ทำให้มีความผูกพันและยากที่คนอื่นจะเข้าใจ และหากได้พูดคุยกับพวกเขาท่านก็จะเข้าใจมากขึ้นว่า ทำไมพวกเขาจึงต้องนำช้างไปเร่ร่อนตามเมืองใหญ่

    ไปดูงานบวชนาคช้างที่ จ.สุรินทร์

    ทุกชายคาที่เลี้ยงช้างจะมีศาลปะกำ (เชือกที่ใช้คล้องช้าง ทำมาจากหนังควาย)ที่ชาว
    กูยถือว่าเป็นที่สิงสถิตของดวงวิญญาณบรรพบุรุษ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งปวงที่พวกเขานับถือ
    สำหรับการเดินทางมาที่หมู่บ้านช้าง จังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบันถือว่าสามารถเดิน
    ทางมาได้อย่างสะดวก ไม่ว่าจะเป็นรถโดยสาร รถยนต์ส่วนตัว หรือแม้กระทั่งการเดินทางโดยเครื่องบินมาลงที่สนามบินสตึก แล้วบอกว่าไป "หมู่บ้านช้าง" รับรองว่าไม่มีใครพาไปหลงแน่.

    ไปดูงานบวชนาคช้างที่ จ.สุรินทร์

    นอกจากงานประเพณีงานช้าง ประเพณีงานบวชของชาวกูยแล้ว หมู่บ้านช้างยังมีการจัดการแสดงของช้างเป็นประจำทุกวันหยุดสุดสัปดาห์อีกด้วย ซึ่งเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะทำให้ช้างและคนไม่ต้องออกไปเร่ร่อน อย่างไรก็ตาม การที่จะให้ชายกูยและช้างแห่งหมู่บ้านช้างสุรินทร์ มีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นนั้น ทุกฝ่ายจะต้องเร่งหาทางช่วยเหลือ

    หมายเหตุ เรื่องนี้เขียนเมื่อปี ๒๕๓๗
    "ไปดู...งานบวชที่หมู่บ้านช้างสุรินทร์"
    ลงพิพม์ครั้งแรกในสโมสรศิลปวัฒนธรรมหนังสือ " ศิลปวัฒนธรรม"
    ปีที่ ๑๕ ฉบับที่ ๑๒ เดือน ตุลาคม ๒๕๓๗ ปรับปรุงเพิ่มเติม ๓ มีนาคม ๒๕๔๓


    ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ ได้เข้ามามีบทบาทในการดูแลและส่งเสริมการท่องเที่ยวในหมู่บ้านช้าง ทำให้การเดินทางไปมาสะดวกมากขึ้น และชุมชนชาวกวยเลี้ยงช้างที่เข้าร่วมโครงการช้างคืนถิ่น ก็มีความเป็นอยู่สุขสบายกว่าเดิมครับผม
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย กะเม็งสะเร็น; 09-07-2010 at 17:43.

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •