เคยได้ยินไหมโรคนี้ โรคหนังเน่า



“โรคหนังเน่า” คือ Necrotizing Fasciitis
สาเหตุเกิดจากอะไร ดูอาการลักษณะ การรักษา เป็นอย่างไร
ติดตามได้ค่ะ




ความรู้เรื่องโรคหนังเน่า



โรคหนังเน่า(Necrotizing Fasciitis)

เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบเน่าอย่างรุนแรงของผิวหนัง
และเนื้อเยื่อของร่างกาย ลุกลามได้อย่างรวดเร็วและรุนแรง
มีอัตราการพิการและตายสูง


สาเหตุ

มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหลายชนิดร่วมกัน
ปัจจัยเสี่ยง


1. มีบาดแผลเล็กๆ น้อย นำมาก่อนเช่น มีดบาด ตะปูตำ หนามข่วน สัตว์ มดกัด เป็นต้น แล้วปล่อยปละละเลยทำให้แผลปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไป


2.มีภาวะเสี่ยงและภูมิต้าทานไม่ดี เช่น เบาหวาน ไตวาย หลอดเลือดผิดปกติ
มะเร็ง ให้ยาเคมีบำบัด คนสูงอายุ คนอ้วน กินยาชุดหรือดื่มเหล้าเป็นประจำ
เป็นต้น



การรักษา



ระยะแรกมีผิวหนังบวมแดง ปวด มีไข้และขยายไปเรื่อย 2-3
วันต่อมาจะปวดลดลงผิวหนังจะมีสีม่วงคล้ำ หรือมีตุ่มน้ำพองขึ้น
ไข้สูงขึ้นแผลจะขยายและบวมมากขึ้นถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษอาการจะแย่ลง
เรื่อยๆ มีไข้ พูดจาสับสน หรือซึมลงมาก แผลจะม่วงคล้ำขึ้น หายใจหอบ
ช็อกจนทำให้อวัยวะต่างๆ ล้มเหลวได้



ความรุนแรงของโรค



จากการศึกษาจำนวนมาก พบว่า หากปล่อยไว้นานเกิน 24 ชั่วโมง โดยไม่ได้รับการรักษา จะเพิ่มอัตราการตายสูง

โรคนี้จะมีอาการอักเสบติดเชื้อ และลุกลามอย่างรวดเร็ว กินลึกลงไปถึงชั้นกระดูก
ช่วงระยะเวลาที่พบบ่อย

- พบได้ตลอดทั้งปี
-พบมากในเดือน พฤษภาคม - กรกฎาคม
- พบปีละประมาณ 125 คน



เพศ


พบได้ทั้งชายและหญิงเท่าๆ กัน



ตำแหน่งที่เป็น


- ร้อยละ 79 พบที่ขา
- ร้อยละ 17 พบที่แขน
- ร้อยละ 4 พบที่อื่นๆ



ค่ารักษาพยาบาล



ค่ารักษาพยาบาล เฉลี่ยรายละ 30.249 บาท (3,000 - 140,000 บาท)



อัตราการตาย



9 - 64% แล้วแต่ระยะเวลาของโรคจะสูงมาก
ถ้ามีอาการถึงขั้นช็อกแล้ว ซึ่งความล่าช้าในการรักษา
จะทำให้อัตราตายเพิ่มสูงขึ้น


การรักษา


การรักษาที่จะช่วยชีวิตผู้ป่วยได้คือ การผ่าตัดให้เร็วที่สุด
เมื่อเตรียมสภาพผู้ป่วยพร้อมสำหรับการผ่าตัดแล้ว
รวมกับการให้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อหลายชนิดร่วมกัน


การผ่าตัดจะทำโดยการ
ตัดหนังที่ตายออกให้หมด เป็นบริเวณกว้าง
บางครั้งต้องผ่าตัดซ้ำอีกหลายครั้ง เพื่อตัดเนื้อเยื่อตายที่เพิ่มขึ้นออก
จนกว่าจะหมด แล้วทำแผลจนดีขึ้นประมาณ 3-4 อาทิตย์
จึงสามารถเอาผิวหนังบริเวณอื่น มาประกบซ่อมแซมบริเวณที่เป็นโรคได้
มีบางรายที่การอักเสบเน่ามาก จนเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อเน่าด้วย
ซึ่งจำเป็นต้องตัดอวัยวะส่วนนั้นเพื่อรักษาชีวิตไว้



การป้องกัน



1. ระวังอย่าให้มีบาดแผลเกิดขึ้น
2. ควรทำความสะอาดบาดแผล อย่าให้สิ่งสกปรกปนเปื้อนบาดแผล ถ้ามีไข้ บวม ปวดแผลมากขึ้นให้รีบปรึกษาแพทย์
3.เมื่อมีบาดแผลที่เกิดจากวัสดุที่สกปรก เช่นตะปู หนาม
ไม้ที่อยู่ในน้ำเป็นตน ควรกินยาปฏิชีวนะตั้งแต่แรก
รีบปรึกษาแพทย์หรือสถานพยาบาลใกล้บ้าน ตลอดจนทำความสะอาดแผล
และเฝ้าสังเกตอย่างใกล้ชิด ว่าจะมีอาการแผลอักเสบติดเชื้อตามมาหรือไม่
4. หมั่นรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ไม่กินยาชุด หรือหาซื้อยากินเองเป็นประจำ
5. รักษาความสะอาดของร่างกายเสมอ อาบน้ำทุกวันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หรือหลังจากทำไร่ หรือหลังขึ้นจากแหล่งน้ำสกปรก



รูปโรคหนังเน่า

เคยได้ยินไหมโรคนี้ โรคหนังเน่า






ขอบคุณ

1. http://www.kkkhosp.5u.com/know4.htm
2. http://www.textbookofbacteriology.net/medical.html