พงศาวดารเมืองสกลนคร

เมื่อปี พ.ศ.2400 พระสุนทรธนศักดิ์ ปลัดมณฑลอุดรซึ่งมาทำหน้าที่ข้าหลวงเมืองสกลนคร ในสมัยนั้น ได้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ รอบรู้เรื่องเมืองสกลนครขึ้นคณหนึ่ง เพื่อตรวจค้น ตำนาน นิทาน พงศาวดารเมืองสกลนคร ในการเขียนส่งไปให้กระทรวงมหาดไทยที่กรุงเทพฯ รวบรวมเป็นหนังสือ คณะกรรมการชุดนี้ ประกอบด้วย อำมาตย์โท พระยาประจันตประเทศธานี ( โง่นคำ พรหมสาขา ณ สกลนคร ) อดีตเจ้าเมืองสกลนครอายุ 79 ปี รองอำมาตย์เอกพระยาอนุบาลสกลเขต ( เมฆ พรหมสาขา ณ สกลนคร )
ปลัดเมืองสกลนคร อายุ 68 ปี รองอำมาตย์โทพระยาอนุบาลศุภกิจ ( คำสายศิริขันธ์ ) กรมการผู้ รักษาเจดีย์เชิงชุม อายุ 68 ปี กรมการคณะนี้ได้ ช่วยกันเขียนพงศาวดารเมืองสกลนครขึ้นเพื่อมอบให้ข้าหลวง เมืองสกลนคร จากคำบอกเล่าของ นายประพันธ์ จันทะ กล่าวว่า คณะกรรมการชุดนี้ได้ประชุมกันที่ศาลากลางเมือง สกลนคร กลางสนามมิ่งเมืองในปัจจุบันได้ใช้เวลาประมาณ 3-4 วัน ให้ช่วยกันเล่าเหตุการณ์หรือ อ้างจากบันทึกคนอื่นที่จดมา โดยพระบริบาลศุภกิจ ซึ่งเป็นผู้เขียนหนังสือไทยที่คล่องที่สุด เป็นผู้จดและเรียบเรียง ส่วนพระยาประจันตประเทศธานี ( โง่นคำ ) เนื่องจากเคยดำรงตำแหน่ง เจ้าเมืองมาก่อนจึงเป็นผู้ที่ให้ข้อมูลได้มากที่สุด เมื่อมีการจดบันทึกแล้วเสร็จ กรรมการทั้ง 4 คน ก็ลงชื่อในฉบับที่ให้ เจ้าเมืองเป็นหลักฐาน ในวันที่ 26 ตุลาคม 2460 เพื่อส่งให้กระทรวงมหาดไทย ณ บ้านเลขที่ 601 ถนนกำจัดภัย อ.เมือง จ.สกลนครต่อไป และกรรมการแต่ละคนก็ได้คัดลอกเป็นของตนไว้คนละฉบับ ฉบับของพระยาบริบาลศุภกิจในเวลาต่อมา คุณเดิม วิภาคยัพจนกิจ ได้นำมาปรับปรุงเป็นส่วนหนึ่งของหนังสือฝั่งขวา แม่น้ำโขงและเปลี่ยนชื่อเป็นหนังสือประวัติศาสตร์อีสาน ในส่วนฉบับของพระยาประจันตประเทศธานี ( โง่น คำ พรหมสาขา ณ สกลนคร ) ได้มีการเขียนเพิ่มเติมจากฉบับร่างส่งกรุงเทพฯ โดยได้เขียนด้วยดินสอดำลงในกระดาษฟุลส์แก็ป ความยาว 89 หน้า เป็นเรื่องราวของเมืองสกลนครตั้งแต่ยุคตำนาน จนถึงรัชสมัยรัชกาลที่ 6 จึงยุติ เมื่อศูนย์วัฒธรรมจังหวัดสกลนคร ได้รับต้นฉบับมาจากทายาทพระยาประจันตประเทศธานี จึงอ่านและแปลข้อ ความทั้งหมดส่งโรงพิมพ์โดยสมาคมไลออนสกลนคร เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการพิมพ์ ในปี พ.ศ.2523 เนื่องจากพงศาวดารฉบับนี้ เนื้อหาบางส่วนได้เพิ่มเติมโดยพระยาประจันตประเทศธานีมีหลายตอนที่ แตกต่างจากฉบับของพระยาศุภกิจ และยังนำเนื้อเรื่องในส่วนที่เป็นตำนานที่มีอยู่ในอุรังคนิทานมาเป็นส่วนหนึ่งของเอกสารฉบับนี้ ฉนั้นจึงเรียกชื่อเอกสารนี้ว่า ตำนานพงศาวดารเมืองสกลนครฉบับพระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคำ -พรหม สาขา ณ สกลนคร) โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ตอน ดังมีใจความโดยสรุปดังนี้
ตอนที่ 1 แยกวงศ์ตระกูลมาจากกรุงอินทปัฐนคร (เขมร)
กล่าวถึงกำเนิดเมืองหนองหารหลวง โดยขุนขอมราช บุตรเจ้าเมืองอินทปัฐนคร ได้พาครอบครัว บ่าวไพร่มาสร้างเมืองขึ้นที่ริมหนองหารตรง ท่านางอาบ ในปัจจุบันขุนขอมมีราชบุตรชื่อ พระยาสุรอุทกกุมาร ในเวลาต่อมาเมื่อเจริญวัยไปกครองบ้านเมืองได้ทะเลาะวิวาทกับธนมูลนาคจำทำรบ พญานาคมีความโกรธแค้นจึงแปลงร่างเป็นฟานเผือก และถูกนายพรานได้ยิงลูกดอกอาบยาพิษจนธนมูลนาคนาคจำทำรบถึงแก่ชีวิต ก่อนตาย ธนมูลนาคจำทำรบได้สาปแช่งให้ผู้ที่กินเนื้อตน วิบัติฉิบหาย และฝูงพญานาคได้มาทำลายบ้านเมืองให้ล่มจม รวมทั้งพระยาสุรอุทกก็ถึงแก่ความตาย เมื่อเมืองหนองหารล่มไปนั้น เจ้าภิงคาร เจ้าคำแดง ได้พาไพร่พลว่ายน้ำข้ามฝั่งมา ตั้งเมืองใหม่ในบริเวณไม่ห่างจากวัดพระธาตุเชิงชุม สถาปนาเมืองหนองหารขึ้นใหม่ ครั้งนี้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเจ้าได้เสด็จจากเมืองศรีโคตรบูรมาฉันข้าวที่ภูกำพร้า แล้วเสด็จมาที่คูน้ำลอดเชิงชุม ท่ามกลางการต้อนรับ จากพระยาสุวรรณภิงคาร พระนางเจงเวง และเจ้าคำแดง ทรงพยากรณ์เหตุการณ์ในอนาคตว่าจะมี สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาประทับรอยพระ บาทอีกในอนาคตรวมถึง 5 พระองค์ เหตุการณ์หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปเถระได้พาพระอรหันต์ 500 รูป ได้เดินทางผ่านเมืองหนองหารหลวงเพื่อไปสร้างที่ประดิษฐานอุรังคธาตุที่ภูกำพร้า ชาวหนองหารหลวงจึงได้แข่งขันสร้างอุโมงค์เจดีย์ 2 แห่ง คือ พระธาตุภูเพ็ก และพระธาตุเจงเวง เพื่อขอแบ่งอุรังคธาตุ แต่ได้เพียงพระอังคารมาบรรจุที่พระธาตุเจงเวงเท่านั้น
ตอนที่ 2 แยกตระกูลมาจากเมืองกาฬสินธุ์
เนื้อหาสาระในช่วงนี้จะกล่าวถึงเหตุการณ์ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นซึ่งมีอุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ อพยพครอบครัว มารักษาพระธาตุเชิงชุมอยู่ หลายปี พระเจ้าแผ่นดินสยามจึงได้ตั้งให้ อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์เป็นพระธานี เปลี่ยนนามจากเมืองหนองหาร เป็นเมืองสกลทวาปี ในปีพุทธศักราช 2370 เจ้าเมืองเวียงจันทน์เป็น กบฎต่อกรุงเทพ จึงโปรดให้ยกทัพหลวงขึ้นมา ปราบปราม แต่เจ้าเมืองสกลทวาปีไม่ได้เตรียมกำลังทหารกระสุนดินดำเป็นการกระทำที่จัดขึ้น อำนาจอาญาศึก จึงเอาตัวพระธานีเจ้าเมืองไปประหารชีวิตที่หนองไชยขาว ไพร่พลจึงอพยพกลับเมืองกาฬสินธุ์ ส่วนเมืองสกลทวาปีจึงร้างจาก ผู้ปกครองเมืองชั่วคราว
ตอนที่ 3 แยกวงค์ตระกูลมาจากเมืองนครพนม
ข้อความในตอนนี้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่าง พระหรหมราชา (ม้ง) เจ้าเมืองนครพนม เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ และกลุ่มพี่น้องเมืองมหาไชยกองแก้วซึ่งเป็นกลุ่มสัมกับเจ้าอนุวงค์ หนีการจับกุมไปอาศัยอยู่ในเขตเมืองญวน ในการปราบกบฎของพระยาราชสุภวดี ในเวลาต่อมาอุปฮาดติเจา (คำสาย) ราชวงค์ (คำ) และท้าวอิน น้องชายราชวงค์ (คำ) ได้เข้ามอบตัวขอพึ่งบรมโพธิสมภาร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอย่หัว จึงแต่งให้ราชวงค์ (คำ) เป็นพระประเทศธานี เจ้าเมืองสกลนครคนแรก เมื่อเจ้าเมืองสิ้นชีวิตลง จึงโปรดเกล้าแต่งตั้งพระยาประเทศธานี (ปิด ) เป็นเจ้าเมืองคนต่อมา ส่วนราชวงค์ ( คำ) ผู้มีความดีความชอบในการส่งเสบียงอาหารช่วยสงครามปราบฮ่อได้โปรดเกล้าฯ ให้ เป็นเจ้าเมืองคนสุดท้ายเป็นพระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคำ) เป็นต้นตระกูลพรหมสาขา ณ สกลนคร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
กล่าวโดยสรุป ในช่วงที่ 3 จะเป็นการบันทึก เหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างย่อ ๆ เรียง ตามลำดับเหตุการณ์นั้น ๆ ปีที่เกิดเหตุการณ์ นับว่ามีประโยชน์ต่อความเข้าใจเหตุการณ์ใน อดีตของเมืองสกลนครได้ดีพอสมควร ซึ่งปัจจุบัน สภาพของเอกสารอยู่ในสภาพชำรุดไปตามกาลเวลาโดยเฉพาะตัวอักษรที่เขียนด้วยดินสอดำเลือนลางมาก ส่วนสถานที่เก็บเอกสารจะเก็บไว้ที่ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฎสกลนคร

พงศาวดารเมืองสกลนครพงศาวดารเมืองสกลนคร
พงศาวดารต้นฉบับและฉบับพระยาประจันตประเทศธานี ( โง่นคำ พรหมสาขา ณ สกลนคร )

แหล่งที่มา
ขอขอบคุณ สมาคมชาวสกลนคร

เซื้อซาติแฮ้งอย่าเหม็นสาบกุยกัน
เกิดเป็นคนอีสานให้ฮักแพงกันไว้
ไผเฮ็ดดีให้ซ่อยยู้ ซอยซูอย่าย่านเหลิน
ไผเฮ็ดผิดให้ซอยเว้า ไขแก้ดอกซอยกัน ซันดอกหวา