ช่วงแรกเกิด-3 ขวบปีแรก สมองมีการพัฒนาและเจริญเติบโตเร็วที่สุด หากคุณพ่อคุณแม่เข้าใจ ส่งเสริมอย่างถูกวิธี ก็เท่ากับได้กระตุ้นเซลล์สมองส่วนการเรียนรู้ให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น

วิธีการบริหารสมองส่วนการเรียนรู้
1. สบตาแล้วส่งยิ้มให้ลูกหรือทำหน้าตาให้ลูกเลียนแบบ เพื่อกระตุ้นความสนใจให้ลูกเรียนรู้เรื่องการสังเกตใบหน้าของคุณพ่อคุณแม่

2. ให้ลูกเรียนรู้การใช้สายตาในการสังเกตและมองสิ่งต่างๆ เมื่อลูกเริ่มโตขึ้น เช่น แสงแดดที่ส่องลงมายังต้นไม้ ทำให้เกิดเงาบางส่วน ก็สามารถช่วยให้ลูกเรียนรู้เข้าใจหลักการเรื่องเงา

3. การพูดคุย ร้องเพลงหรืออ่านหนังสือนิทาน (พร้อมท่าทางประกอบ) ของพ่อแม่ จะช่วยพัฒนาทักษะการฟังและภาษา เพราะข้อมูลเหล่านี้ จะถูกเก็บสะสมไว้ในสมอง และเชื่อมโยงเป็นเรื่องราว พัฒนาต่อไปในอนาคตได้เป็นอย่างดี

4. กระตุ้นความสนใจ ให้ลูกเรียนรู้ความแตกต่างเรื่องเสียงต่างๆ จากเสียงเหตุการณ์รอบตัว เช่น เสียงรถ, เสียงสัตว์, เสียงนาฬิกา หรือของเล่นมีเสียงที่บ้าน

5. การให้ลูกสัมผัส หยิบจับ วางซ้อนหรือต่อบล็อกผ้า, จิ๊กซอว์ (ชิ้นใหญ่) จะช่วยให้ลูกเรียนรู้เรื่องทิศทางการสังเกตได้ดี และยังช่วยฝึกฝนทักษะการใช้ประสาทสัมผัสและการมองเห็น ให้ทำงานประสานสัมพันธ์กันได้ดีด้วยค่ะ

6. เมื่อลูกกินอาหารได้หลากหลายแล้ว ควรใช้โอกาสนี้ ส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องรสชาติ ลักษณะอาหารแบบต่างๆ เช่น กล้วยสุก แตงกวาปลอกเปลือก หรือมะละกอ โดยหั่นเป็นชิ้นให้ลูกหยิบจับได้ง่าย

7. การเรียนรู้เรื่องกลิ่น ควรให้ลูกคุ้นเคยกับกลิ่นใกล้ตัวก่อน เช่น กลิ่นตัวของแม่ (ขณะที่อุ้มให้นม), กลิ่นอาหาร จากนั้นก็ค่อยๆ ให้ลูกเรียนรู้กลิ่นที่แตกต่าง เช่น กลิ่นดอกไม้ที่ไม่ฉุนเกินไป หรือกลิ่นปรุงแต่งของสารเคมี น้ำหอม

8. การอุ้มลูกพร้อมกับลูบไล้ตามแขนหรือลำตัวลูก เป็นการกระตุ้นประสาทสัมผัส เรียนรู้เรื่องความรู้สึกที่สำคัญ สัมผัสความรู้สึกนี้ยังส่งผลดีต่อจิตใจและอารมณ์ในทางบวกของลูกค่ะ

9. เกมสนุกที่คุณเล่นกับลูก ก็เป็นวิธีง่ายๆ ที่ช่วยให้ลูกเรียนรู้เรื่องต่างๆ ในหลายส่วนค่ะ เช่น ภาษาจากเกมสัมผัสอวัยวะ (พร้อมกับบอกชื่อ) เป็นต้น

10. การหาของเล่นในลักษณะต่างๆ เช่น สำลี, ผ้าขนหนู, น้ำ, ทราย, ดิน มาเป็นผู้ช่วย ให้หยิบจับ สัมผัสกับวัตถุนั้นๆ เพื่อให้ลูกเรียนรู้เรื่องผิวสัมผัส

ลูกเรียนรู้ได้ดี เพราะอะไร
สมองของลูกน้อยมีการทำงานอยู่ตลอดเวลา จึงส่งผลให้เซลล์ประสาทในสมองก็ทำงานด้วย และการที่สมองสามารถเรียนรู้ได้ดีนั้น ก็เกิดจากที่เซลล์สมองมีส่งผ่านข้อมูลซึ่งกันและกัน จนมีการสื่อสาร เชื่อมโยง แตกขยายเซลล์สมองออกไปเรื่อยๆ ดังนั้น ยิ่งเซลล์ประสาทได้รับข้อมูลมาก ยิ่งใช้มาก การเรียนรู้ของลูกน้อยก็เกิดได้เร็วและดีตามไปด้วย แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าจุดเชื่อมต่อของเซลล์ประสาทไม่มีการกระตุ้นให้ทำงาน (การกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 5) การแตกแขนงของเซลล์สมองก็จะค่อยๆ น้อยลงไป จนขาดหายไปในที่สุด

10 วิธีบริหารสมอง 'ส่วนการเรียนรู้' ของลูก ที่มา : นิตยาสาร Mother & care ฉบับเดือนพฤษภาคม 2553 10 วิธีบริหารสมอง 'ส่วนการเรียนรู้' ของลูก
10 วิธีบริหารสมอง 'ส่วนการเรียนรู้' ของลูก ขอขอบคุณ : ผู้จัดการออนไลย์ 10 วิธีบริหารสมอง 'ส่วนการเรียนรู้' ของลูก


เซื้อซาติแฮ้งอย่าเหม็นสาบกุยกัน
เกิดเป็นคนอีสานให้ฮักแพงกันไว้
ไผเฮ็ดดีให้ซ่อยยู้ ซอยซูอย่าย่านเหลิน
ไผเฮ็ดผิดให้ซอยเว้า ไขแก้ดอกซอยกัน ซันดอกหวา