ความสำคัญ....ของอาหารเช้า
โดย...คุณปิยนุช ยอดสมสวย



วิถีชีวิตของคนในสังคมเมืองที่มีความเร่งรีบส่งผลให้พฤติกรรม สุขภาพของเราเปลี่ยนไป โดยเฉพาะคนวัยทำงาน นักศึกษาหรือนักเรียน ที่ต้องเร่งรีบออกจากบ้านแต่เช้าเพื่อไปให้ถึงที่ทำงาน หรือสถานศึกษาให้ทันเวลา และมีคนบางกลุ่มให้เหตุผลว่าการงดอาหารเช้าเป็นการลดความอ้วนวิธีหนึ่ง และไม่ให้ความสำคัญกับอาหารมื้อเช้าโดยการละเลยอาหารมื้อดังกล่าวไป ทำให้ได้รับพลังงานจากอาหารเช้าไม่เพียงพอในแต่ละวัน ซึ่งในความจริงแล้วอาหารเช้าเป็นมื้อที่จำเป็นที่สุดของวัน เพราะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้เรามีพลังงานในการทำงานและทำกิจกรรมต่างๆ หลังจากที่เราอดอาหารมาตลอดคืน ร่างกายจะอยู่ในภาวะขาดน้ำตาลกลูโคสซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญ เมื่อตื่นนอนตอนเช้า ระดับน้ำตาลในเลือดจึงต่ำ ต้องได้รับพลังงานจากอาหารเช้าเพื่อให้สามารถทำงานหรือใช้สมองได้อย่างปกติ ผู้ที่ไม่กินอาหารเช้าจะขาดสมาธิ โดยเฉพาะถ้าเป็นเด็ก จะไม่มีสมาธิในการเรียน ความตั้งใจในการเรียนลดลง คิดอะไรไม่ออก สับสน หงุดหงิด เพลีย และง่วงนอน บางคนอาจปวดศีรษะหรือปวดท้องจนอาจส่งผลกระทบต่อการเรียนในระยะยาวได้ และมีผลงานวิจัยจากต่างประเทศ ระบุว่า ผู้ที่กินอาหารเช้าทุกวัน จะมีโอกาสเกิดภาวะอ้วน และโรคเบาหวานน้อยกว่า ผู้ที่ไม่กินอาหารเช้าถึง 35-50 เปอร์เซ็นต์ โดยผลวิจัยล่าสุดที่ได้เผยแพร่ในวารสาร American Journal of Clinical Nutrition ชี้ว่า การงดกินอาหารเช้า นอกจากจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน และโรคเบาหวานแล้ว อาจก่อให้เกิดโรคหัวใจได้ และการงดกินอาหารเช้าเป็นประจำ เป็นเวลานานนั้น น่าจะส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มจนอาจเกิดภาวะอ้วนได้ นอกจากนั้น ยังอาจเพิ่มโอกาสเกิดโรคเบาหวาน จากการที่ร่างกายลดการตอบสนองต่อฮอร์โมน อินซูลินอีกด้วย ซึ่งมีสาเหตุจากน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ปริมาณโคเลสเตอรอลที่มากขึ้น และโรคเบาหวานนั้น ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด จึงเป็นไปได้ว่า การงดกินอาหารเช้าเป็นประจำ น่าจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดได้
ความสำคัญ....ของอาหารเช้า
ข้อมูลจากสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ยืนยัน
ว่าอาหารเช้าเป็นอาหารมื้อแรกที่สำคัญที่สุดของวัน อาหารเช้าจะ
ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัว กระปรี้กระเปร่า มีสมาธิทั้งในการเรียน
และการทำงาน และอาหารเช้าที่เหมาะสมนั้น ควรมีค่าพลังงาน และ
สารอาหารอย่างน้อย 1 ใน 4 หรือ 25 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณที่ควร
จะได้รับตลอดวัน ส่วนการกระจายพลังงานในมื้อกลางวัน และมื้อเย็น
ควรอยู่ที่ 35 และ 30 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และที่เหลือเป็นพลังงาน
จากอาหารว่างอีก 10 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตามคนส่วนใหญ่มัก
ละเลยอาหารเช้า หรือได้รับพลังงานจากอาหารเช้าไม่เพียงพอ
ในแต่ละวัน
ความสำคัญ....ของอาหารเช้า
ความสำคัญ....ของอาหารเช้า
กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำหนังสือคู่มือธงโภชนาการ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลการกำหนดอาหาร
มื้อเช้าที่ถูกหลักโภชนาการ ประกอบด้วย
1. โจ๊กหมู ส้มเขียวหวาน
2. เกี้ยมอี๋ ลำไย นมสด
3. ข้าวต้ม ผัดผักบุ้ง ไข่เจียว มะละกอ
4. ข้าวสวย ต้มจืดเลือดหมูใบตำลึง ไก่ทอด ชมพู่
5. ข้าวสวย ต้มจับฉ่ายกระดูกหมู ยำปลากระป๋อง ฝรั่ง
6. ซุบมะกะโรนี มะละกอ
7. ข้าวสวย กะหล่ำปลีตุ๋น ปลาช่อนผัดคึ่นช่าย
8. ข้าวต้มปลากะพง/ไก่/กุ้ง เงาะ
9. ข้าวสวย มะระสอดไส้หมู ไข่ตุ๋น
10. ขนมปัง ไข่ดาว มะเขือเทศ น้ำส้มคั้น เป็นต้น

ความสำคัญ....ของอาหารเช้า
ความสำคัญ....ของอาหารเช้า
ความสำคัญ....ของอาหารเช้า
ความสำคัญ....ของอาหารเช้า
ความสำคัญ....ของอาหารเช้า
ความสำคัญ....ของอาหารเช้า
ความสำคัญ....ของอาหารเช้า
ข้อมูลข้างต้นเป็นตัวอย่างอาหารที่เหมาะสม
ในการเลือกรับประทานเป็นอาหารในมื้อเช้า และหาก
เราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ให้
ความสำคัญกับมื้อเย็นน้อยลงและใส่ใจกับอาหารมื้อ
เช้าให้มากขึ้น เราก็จะได้เริ่มต้นวันใหม่ด้วยความ
กระปรี้กระเปร่า มีสมาธิในการเรียน การทำงาน
ตลอดจนการทำกิจกรรมต่างๆ ได้มากขึ้นกว่าเดิม
นอกจากนั้นการรับประทานอาหารมิใช่เพียงอาหาร
อะไรก็ได้ที่ทำให้รู้สึกอิ่ม แต่ควรพิจารณาถึงประโยชน์
และปริมาณของอาหารที่เหมาะสมด้วยเพื่อสุขภาพและ
ร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ
ความสำคัญ....ของอาหารเช้า