กำลังแสดงผล 1 ถึง 3 จากทั้งหมด 3

หัวข้อ: นกกระเรียนไทย

  1. #1
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ กาฬสินธุ์ถิ่นไดโน
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    Menburi
    กระทู้
    164

    นกกระเรียนไทย

    นกกระเรียนไทยนกกระเรียนไทยนกกระเรียนไทย


    นกกระเรียนไทย


    ชื่อสามัญ : Sarus Crane
    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Grus antigone sharpie




    ลักษณะ


    เป็นนกขนาดใหญ่ รูปร่างคล้ายนกกระสา คอยาวขายาว จงอยปากตรงปลายเรียวแหลม ส่วนใหญ่ขนของลำตัวเป็นสีเทา แต่ขนปลายปีกสีค่อนข้างดำ คอตอนบนและหัว เป็นหนังเปลือยเปล่าสีแดง ไม่มีขน ตอนหน้าผากและตอนบนของหัว นั้นเป็นหนังสีเขียวอ่อน ๆ ข้างแก้มและท้ายทอย ปากสีดำแกมเขียว แข้งและนิ้วเท้าเป็นสีชมพูเรื่อ ๆ ขนาดลำตัวยาวประมาณ 1.52 เมตร สูงราว 1.5 เมตร มีน้ำหนัก ตัวประมาณ 5 - 12 กิโลกรัม เป็นนกที่สูงและใหญ่ที่สุดในประเทศไทย กว่า เวลาบินจะยืดคอตรงไปข้างหน้า แต่พวกนกกระยาง และ นกกระสา เวลาบินจะงอคอเข้าหาอก กระเรียนไทย เป็นนกที่มีขนาดใหญ่มากเพศเมีย มีลักษณะรูปร่าง และ สีขนเหมือนกัน เพียงแต่เพศผู้ สูงกว่าเพศเมียเล็กน้อย การแยกเพศ จึงต้อง อาศัยการสังเกตพฤติกรรม และ เสียงร้องเกี้ยวพาราสี ในช่วง ฤดูผสมพันธุ์ หากเป็นลูกนก ที่เกิดพร้อมกัน และ เลี้ยงไว้ด้วยกัน ก็ พอจะแยกเพศ โดยดูจาก ขนาด ได้


    นกกระเรียนไทย


    นิสัยนกกระเรียน


    นกระเรียนไทยเป็นนกที่กินอาหารได้หลายอย่าง ทั้งพืชและสัตว์ อาหารของนกกระเรียน ไทยมีทั้งเมล็ดข้าว ลูกไม้ รากพืชนุ่ม ๆ ยอดผัก ยอดหญ้าต่าง ๆ หนอน แมลง หอย ปู ปลา กบ เขียด สัตว์เลื้อยคลานตัวเล็ก ๆ และนกตัวเล็ก ๆ เป็นต้น ปากของนกกระเรียนไทย จึงไม่แหลม คมแบบนกกระสาหรือกระยาง ซึ่งเป็นสัตว์ที่กินสัตว์เป็นอาหาร (Carnivorous) แต่นกกระเรียน ไทยเป็นสัตว์ประเภทกินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ (Omnivorous) นอกจากนี้ อาหารของมันยังแตกต่างไปตามฤดูกาล คือ ฤดูไหนมีอาหารอุดมสมบูรณ์ ก็จะกินอาหารนั้น แต่บางครั้งก็ขึ้นอยู่กับความพอใจของมัน บางครั้งยังสามารถปรับตัวหากิน ในไร่นาของ มนุษย์ได้อีกด้วย นกกระเรียนไทยซึ่งเข้าใจว่าสูญพันธุ์ ไปจากประเทศไทย เป็นนกประจำถิ่นของ ประเทศ ไทย (Resident) เป็นนกที่ชอบไปไหนมาไหนเป็นฝูงใหญ่ ฝูงนกกระเรียนไทยจะบินเป็นแถว รูปตัววี (v) หรือบางทีก็เป็นแถวหน้ากระดาน โดยนกที่บินนำหน้าจะส่งเสียงร้อง เพื่อเตือนให้ นกตัวอื่น ๆ บินอยู่ในแถวหรือบินจับบกลุ่มไว้ เสียงร้องจะดังมาก ตามปกตินกกระเรียนไทย จะบินสูงมาก แต่สูงมากน้อยขนาดไหนนั้นขึ้นอยู่กับทิศทางของลม ในเวลาบินคอนกกระเรียน ไทยจะยืดยาวออกไปข้างหน้าและขายื่นไปข้างหลัง เช่นเดียวกับพวกนกกระสา ในบางครั้งมันก็พากันบินร่อนเป็นวงกลมอีกด้วย นกกระเรียนไทยจะกระพือปีกลงช้า ๆ สลับกับกระพือ ปีกขึ้นอย่างรวดเร็ว มันไม่ชอบร่อนนอกจากในเวลาที่จะลงพื้นดิน นกกระเรียนไทยมักจะร้องบ่อย ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ และในขณะบินข้ามถิ่น เสียงร้อง ดังก้องและได้ยินได้ในระยะไกล ในขณะบินเสียงร้องอันดังก้องนี้ จะเป็นตัวในการควบคุมนก แต่ละตัวให้บินได้โดยไม่แตกจากผูง ส่วนในเวลาที่มันกำลังหากินบนพื้นดิน บางครั้งก็ส่งเสียง ร้องเหมือนกัน นกกระเรียนไทยมีพฤติกรรมที่น่าดูยิ่งอีกอย่างหนึ่ง คือ การจับคู่เต้นรำ อันเป็น ลักษณะ เด่น ซึ่งเรียกว่า "ท่าเต้นรำนกกระเรียน"


    นกกระเรียนไทย


    แต่เดิมเข้าใจว่า เป็นวิธีเกี้ยวพาราสีในฤดู ผสมพันธุ์แต่ในปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่านกกระเรียน จับคู่เต้นรำกันตลอดทุกฤดูกาล พฤติกรรมในการครองคู่ของนกกระเรียนไทยนี้เป็นที่ล่ำลือกันมาก มีเรื่องเล่าว่า ชาวอินเดียถือกันอย่างเคร่งครัดที่จะไม่ฆ่าและหวงแหนมาก เนื่องจากตามปกติจะพบนกนี้เป็นคู่ ๆ ในขณะหากินไปไหนมาไหน นับเป็นนกคู่ผัวเมียที่น่าสรรเสริญเป็นอย่างยิง คือเป็นนกรักเดียว ใจเดียว เมื่อตัดสินใจครองคู่กับตัวไหนแล้วมันจะซื่อสัตย์ต่อกันมาก ชาวอินเดียนิยมเลี้ยง นกนี้ไว้ในสวนของตนเองคล้ายเป็นเครื่องเตือนใจในความซื่อสัตย์ของชีวิตการครองเรือน ชาวอินเดียจึงไม่ยิงและกินนกนี้ โดยเด็ดขาด
    พฤติกรรมทำนองเดียวกันนี้ จากหนังสือธรรมชาตินานาสัตว์ของนายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล เล่มที่ 2 ได้เล่าถึงพฤติกรรมของนกชนิดนี้จากประสบการณ์ที่ประสบด้วยตนเอง เมื่อครั้งเดินทางไปที่อำเภอสวี จังหวัดชุมพรเหตุการณ์ก็คือผู้ใหญ่บ้านที่นั่น ได้ไปพบนก กระเรียนคู่หนึ่งในท้องทุ่ง และได้ยิงนกตัวหนึ่ง แต่ยังไม่ตายทันที อีกตัวหนึ่งตกใจเสียงปืน จึงบินหนีไป แต่พอบินไปได้หน่อยหนึ่ง ไม่เห็นคู่ของตนบินตามมาก จึงบินกลับมาแล้ววิ่งคลอคู่ไปกับคู่ของตน เนื่องจากตัวที่บาดเจ็บวิ่งไปได้ช้าจึงอยู่ล้าหลัง จึงถูกยิงจากผู้ใหญ่บ้าน อีกนัดหนึ่งจนถึงแก่ความตายลง ตัวที่เป็นคู่ได้ยินเสียงปืนก็ตกใจจึงบนหนี แต่พอบินไป เมื่อไม่เห็นคู่ก็พยายามกลับมาหาคู่ของตน แต่เนื่องจากมีคนอยู่ที่ซากของนกอีกตัวหนึ่ง เพื่อเตรียมแบกกลับไปเป็นอาหาร เหตุการณ์ผ่านไป 2-3 วัน นกตัวที่เหลืออยู่ยังวนเวียน เพื่อหาคู่ของมันโดยไม่เป็นอันหากิน ผู้ใหญ่บ้านจึงได้นำเอาซากของนกที่ยิงได้ เป็นเครื่องล่อ แล้วเอาบ่วงไปดักนกที่เหลืออีกตัว ปรากฏว่านกติดบ่วง แต่ด้วยความสำนึกผิด ในพฤติกรรม ที่ตนได้ทำลายคู่ของมัน จึงได้นำเอานกตัวที่ดักได้ ไปถวายวัดแทนการนำมาเป็นอาหาร โดยทั่ว ๆ ไป นกกระเรียนไทย จะผสมพันธุ์กันในระหว่าง เดือนกรกฎาคม-กันยายน ซึ่งตรงกับฤดูฝน นกกระเรียนไทยเป็นนกที่หวงแหน แหล่งผสมพันธุ์ของมันมาก และจะกลับมา ยังแหล่งผสมพันธุ์เดิมของมันยกเว้นแหล่งผสมพันธุ์จะ ถูกทำลายจนหมดสภาพไปแล้ว


    นกกระเรียนไทย

    ฤดูสมพันธุ์

    ฤดูผสมพันธุ์ การจับคู่ผสมพันธุ์เริ่มเมื่ออายุ 2 - 3 ปีขึ้นไป และ เป็นการจับคู่แบบ ผัวเดียว เมียเดียว นกกระเรียนปกติจะจับคู่อยู่ด้วยกัน ตลอดชีวิต มีความผูกพันกับคู่สูงมาก แต่นกกระเรียน เป็นนกที่จับคู่ยากมาก หากนกทั้งสอง ไม่ยอม รับ ซึ่งกันและกัน มันก็จะไม่ยอมจับคู่ใหม่ จนกว่าจะพบคู่ที่พอใจ ฉะนั้นนกกระเรียนเพศเมียที่คู่เดิมตายไป จึงอาจอยู่ เพียงลำพัง เพราะหาคู่ใหม่ที่พอใจไม่ได้
    นกกระเรียนจะวางไข่ครั้งละประมาณ 2 ฟอง แต่บางครั้งฟองเดียว ไข่มีลักษณะยาว สีขาวแกมฟ้าหรือเขียวอ่อน ระยะเวลากกไข่ อยู่ในช่วงระหว่าง 28-30 วัน แม้จะวางไข่ครั้งละ 2 ฟอง แต่จะรอดตายเพียงตัวเดียว ลูกนกจะถูกเลี้ยงดูประมาณ 2-3 เดือน จึงเริ่มบินได้
    หลังจากผสมพันธุ์แล้ว นกทั้งสองจะช่วยกันสร้างรังตามกอพืชน้ำ โดยใช้พืชน้ำ เหล่านั้นมาเป็นวัสดุ ในการสร้างรังมีรูปร่างกลมแบนลักษณะคล้ายกระจาด และ จะอยู่สูงจากระดับน้ำประมาณ 3 - 25 ซม. นกจะใช้เวลาสร้างรังประมาณ 2 วัน จากนั้น ตัวเมียจะวางไข่ รังละ 2 ฟอง แต่ละฟอง มีระยะเวลา วางห่างกัน ประมาณ 48 ชั่วโมง ไข่มีผิวเรียบสีขาวแกมฟ้า เว้นแต่บริเวณส่วนป้านของไข่ จะมี จุดเล็กๆ สีม่วงหรือ สีน้ำตาล กระจายอยู่ทั่วไป ขนาดของไข่โดยเฉลี่ยกว้างยาวประมาณ 64.3 - 104.4 มม. น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 238 กรัม พ่อแม่ นกจะผลัดเปลี่ยนกันทำหน้าที่ฟักไข่ ในตอนกลางวัน เมื่อตัวหนึ่งฟัก อีกตัวหนึ่งจะออกไป หาอาหาร ส่วนกลางคืน แม่นก จะทำหน้าที่ฟักไข่ตลอดเวลา โดยมีพ่อนกยืนห่างจากรังเล็กน้อย นกกระเรียน ใช้เวลาฟักไข่ราว 30 -34 วัน และ ลูกนกจะฟักออกจากไข่ห่างกันประมาณ 36 ชม.


    นกกระเรียนไทย

    สถานะภาพของนก กระเรียนไทย

    หรือ Eastern Sarus crane ซึ่ง มีถิ่นกำเนิดไม่เพียงใน ประเทศไทย แต่ยังมีอยู่ในอินเดีย พม่า ลาย กัมพูชา เวียตนาม และ ออสเตรเลีย ซึ่งทั้งหมดก็ตกอยู่ในสภาวะ ใกล้ สูญพันธุ์ มีจำนวนเหลืออยู่ไม่มากนัก ด้วยถูกไล่ล่า และ สภาพแวดล้อมของแหล่งอาศัยหากิน อันเป็นบริเวณ พื้นที่ ชุ่มน้ำ ( Wetland ) ถูกทำลายเปลี่ยนสภาพอย่างรวดเร็ว จึงทำให้นกกระเรียนขาดแหล่งอาหาร และ แหล่งสร้างรังวางไข่ ไม่สามารถขยายพันธุ์ได้กว้างขวาง รายงานล่าสุด เมื่อปี พ.ศ. 2533 มีการสำรวจจำนวนนกกระเรียนพันธุ์ไทยทั่วโลก พบว่า เหลืออยู่ประมาณพันกว่าตัว เท่านั้นนายทรงกรด ภู่ทอง หัวหน้าสถานีวิจัยการเพาะเลี้ยงนกน้ำบางพระ

    นกกระเรียนเป็นสัตว์ป่าสงวนที่ กำลังจะสูญพันธุ์ มีอายุยืน 80 - 90 ปี ตามธรรมชาติ โดยสายพันธุ์ของไทยเป็นสายพันธุ์ Esaturn Sarus Crane มีส่วนสูงเฉลี่ยประมาณ 150 ถึง 160 เซนติเมตร และที่สถานีเพาะเลี้ยงนกน้ำบางพระมีตัวผู้ที่สูงเกือบ 180 เซนติเมตร น้ำหนักตัวของนกกระเรียนเฉลี่ยประมาณ 6 ถึง 7 กิโลกรัม และนกกระเรียนเป็นนกอพยพขนาดใหญ่ที่สามารถบินข้ามทวีป ได้ กินปลาเป็นอาหาร มีคู่แลวจะไม่ทิ้งคู่ตลอดชีวิต และจะผสมพันธ์เฉพาะในช่วงฤดูฝน ระหว่างเดือน กรกฎาคม ถึง กันยายน โดยในปี พ.ศ. 2552 ทางสถานีเพาะเลี้ยงนกน้ำบางพระ จะจัดทำโครงการนำนกกระเรียนที่เพาะเลี้ยงได้กลับคืนสู่ธรรมชาติอีกด้วย


    นกกระเรียนไทย

    เสี่ยงต่อการสูญพัน

    นับเป็นสิ่งที่น่าเสียดายว่า นกกระเรียนไทยได้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยนานมาแล้ว ปัจจุบันนกกระเรียนไทยได้ ถูกจัดให้เป็นสัตว์ป่าสงวน ตาม พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ซึ่งเป็นหนึ่งใน 15 ชนิดสัตว์ป่าสงวนของไทยทั้งนี้เพราะคนสมัยก่อน
    ได้ล่ายิง กันมาก รวมทั้งถิ่นที่อยู่อาศัยของมันก็ถูกคุกคาม จนกระทั่งไม่สามารถดำรงชีวิต และอาศัยอยู่ได้ โดยได้หายสาปสูญไปจากประเทศไทยกว่า 20 ปีมาแล้ว ปัจจุบันกรมป่าไม้ได้พยายามนำนกกระเรียนไทย กลับสู่ถิ่นเดิมของมันใน ประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง โดยความริเริ่มของมูลนิธิสากลเพื่อการอนุรักษ์นกกระเรียน (International Crane Foundation) หรือ ICF แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมกับกรมป่าไม้ โดยมีการศึกษาและขยายพันธุ์ตามโครงการอนุรักษ์นกกระเรียนที่ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำ บางพระ จังหวัดชลบุรี หากการศึกษาขยายพันธุ์ ได้นกกระเรียนเป็นจำนวนมาก กรมป่าไม้มี โครงการ นำนกกระเรียนไทย เหล่านั้นไปปล่อยตามแหล่งเดิม ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นแหล่งอาศัย และหากินตามธรรมชาติ เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ


    นกกระเรียนไทย


    นกกระเรียนไทย

    นกกระเรียนไทย

    นกกระเรียนไทย

    นกกระเรียนไทย

    นกกระเรียนไทย

    นกกระเรียนไทย

    นกกระเรียนไทย
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย กาฬสินธุ์ถิ่นไดโน; 26-05-2010 at 16:17.

  2. #2
    Moderators สัญลักษณ์ของ สหายพง
    วันที่สมัคร
    Mar 2009
    ที่อยู่
    ผมมากับรถผ้าป่า
    กระทู้
    1,369
    คือกันกับนกกระซุมบ้านข่อยยุแหมหัวกะล้านๆคือกันครับผม

  3. #3
    ฝ่ายเทคนิค และถ่ายทอดสด สัญลักษณ์ของ อาวอ้วนเมืองยศ
    วันที่สมัคร
    Apr 2010
    ที่อยู่
    เมืองบั้งไฟ
    กระทู้
    1,513
    ไม่แน่ใจว่าตอนนี้ใกล้สูญพันจากประเทศไทยหรือยังครับ

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •