กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: ก่อนค้ำประกัน อ่านบทความนี้ก่อนนะคะ

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ก่อนค้ำประกัน อ่านบทความนี้ก่อนนะคะ

    ก่อนค้ำประกัน อ่านบทความนี้ก่อนนะคะ



    ช่วยค้ำประกันให้หน่อยจ้า..จะกู้เงินมาซื้อรถ ….
    ช่วยค้ำประกันให้หน่อย..จะกู้เงินมาซื้อบ้าน …
    ช่วยค้ำประกันให้หน่อย..จะกู้เงินมาซื้ออะไรต่างๆนานา ….


    เชื่อว่าคุณคงเคยเจอกับตัวเองมาบ้าง
    เมื่อเจ้าเพื่อนตัวดีของคุณเกิดอยากจะได้อะไรขึ้นมาซักอย่าง
    แต่เงินไม่มี จึงต้องกู้ยืม และทางเจ้าหนี้เค้าก็ให้กู้
    แต่มีเงื่อนไขว่า ต้องมีคนค้ำประกัน
    และคนนั้นจะเป็นใครไปได้ล่ะค่ะ นอกใจคนขี้ใจอ่อนอย่างคุณ…แม่น บ่...




    แล้วเคยได้ยินสำนวนไทยมั้ยค่ะ ที่บอกว่า
    อยากเป็นเจ้าให้เป็นนายหน้า
    อยากเป็นขี้ข้าให้เป็นคนค้ำประกัน


    สำนวนนี้ข้าพเจ้าอาจจะจำมาไม่ถูกต้องนัก แต่มันโดนใจ 100 % เต็ม
    เพราะมันเป็นอย่างนั้นจริงๆค่ะ
    มันเป็นเรื่องของคนที่เรียกว่า
    เนื้อไม่ได้กิน หนังไม่ได้รองนั่ง แต่เอากระดูกมาแขวนคอนั่นเอง

    แต่จะให้ทำยังไงได้ล่ะค่ะ ในเมื่อคนเราต้องมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น
    บางคนอาจเป็นคนขี้เกรงใจ ขี้ใจอ่อน
    ใครมาขอให้ช่วยอะไรก็ได้เสมอ
    โดยที่ไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่า ตัวเองจะต้องโดนอะไรบ้าง
    หากคนที่มาขอให้ช่วยไม่รับผิดชอบในสิ่งที่เค้าทำไว้


    มีเยอะแยะไปนะค่ะ ไม่ว่าจะเป็นพี่น้องกันแท้
    หรือเพื่อนที่สนิทกันมากก็ตาม


    บทเค้าจะเบี้ยวแล้วโยนภาระทั้งหมดมาให้เรา
    เค้าก็ทำได้หน้าตาเฉย และก็หายเข้ากลีบเมฆอย่างลอยนวล
    ปล่อยให้เราต้องชดใช้หนี้ที่ตัวเองไม่ได้ก่อขึ้นอย่างเดียวดายและขมขื่น….

    เอาล่ะค่ะ โม้มามากแล้ว ...อิอิ อรัมภบท มาเสียไกลลิบเลย



    คราวนี้มาเข้าเรื่องที่ว่า

    ก่อนจะลงนามค้ำประกันอะไรให้กับใครก็ตาม สิ่งที่คุณจะต้องรู้ก็คือ
    โดยมากแล้วสัญญาค้ำประกันจะทำโดยเจ้าหนี้
    และมักจะระบุให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม


    หมายความว่าอย่างไร ก็หมายความว่า เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ เ
    ค้าไม่ต้องวิ่งไปหาลูกหนี้ให้เมื่อยตุ้ม


    แต่มาทวงเอาจากผู้ค้ำประกันได้โดยตรง
    และส่วนใหญ่ก็จะไม่กำหนดวงเงินค้ำประกันไว้ ห
    รือกำหนดไว้ก็เท่ากับจำนวนเงินที่กู้นั่นเอง
    ซึ่งมันก็ไม่ต่างจากลูกหนี้ตรงไหนเลยละค่ะ...


    นอกจากนั้นแล้ว


    ความรับผิดยังไม่ได้หยุดอยู่แค่วงเงินที่กู้เท่านั้น
    แต่ยังรวมไปถึงดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายอย่างอื่น
    ค่าเสียหายที่เกิดจากการที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ด้วย


    เช่น ค่าทนายความ ค่าใช้จ่ายในการทวงถาม ค่าดำเนินการ
    ซึ่งก็หมายความว่า


    ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดอย่างไม่จำกัดวงเงินนั่นเอง
    และส่วนมากก็ยังมีเงื่อนไขไม่ให้ผู้ค้ำประกันเลิกสัญญาก่อน
    หมายความว่า อยากยกเลิกการเป็นผู้ค้ำประกัน ก็เลิกไม่ได้นั่นเอง


    ในบางกรณี เจ้าหนี้ยังอาจกำหนดเงื่อนไขอื่นๆไว้เช่น
    ยอมให้บริษัทของผู้ค้ำประกันหักเงินเดือนเพื่อชดใช้หนี้
    ในกรณีที่บริษัทคุณให้ความร่วมมือ กับเจ้าหนี้


    ทั้งนี้ สัญญาค้ำประกันเป็นสัญญามาตรฐาน
    ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้


    ถ้าคุณลงนามไปแล้วก็มีหน้าที่รับผิดอย่างเดียว
    ที่สำคัญ สคบ.(สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค)
    ก็ไม่ได้สนใจที่จะคุ้มครองผู้ค้ำประกันในกรณีที่ไปทำสัญญาค้ำประกัน
    ที่เอาเปรียบแต่อย่างใด



    สรุปว่า คุณพึงใครไม่ได้นั่นเอง

    ถึงตรงนี้แล้ว คงจะเข้าใจว่า
    ผู้ค้ำประกันมีความรับผิดตามกฎหมายอย่างไรบ้าง
    ทางที่ดี หากต้องลงนามค้ำประกันให้ใคร
    ก็ขอให้เป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างที่สุดจริงๆ แ
    ละอยู่ในขอบเขตที่เราสามารถรับผิดชอบได้ด้วย
    เพื่อจะไม่เกิดปัญหาในภายหลัง

    บางครั้ง การปฏิเสธอย่างนุ่มนวลก็เป็นทางออกที่ดีสำหรับคุณค่ะ…




    เมื่ออ่านบทความนี้จบลงแล้ว
    คุณจะเลือกเดินทางไปค้ำประกันใคร ... ก็ถือว่าเป็นการสมยอมกันเองนะคะ
    แต่ก่อนค้ำประกันใครก็ตาม ให้ระลึกเสมอว่า
    เมื่อเราค้ำประกันเขาไปแล้ว เราก็คือลูกหนี้ร่วมกับเขานั่นเองค่ะ






    ข้อมูลจาก

    http://www.lawyerthai.com/

    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย สัญลักษณ์ของ sert1964
    วันที่สมัคร
    Nov 2007
    กระทู้
    314

    เสริมอีกหน่อยครับ

    ค้ำประกัน…ควรหลีกเลี่ยง (Lisa ฉ.23/53)
    โดย อ.ประมาณ เลืองวัฒนะวณิช
    น.บ. , น.บ.ท. , น.ม.(กฎหมายมหาชน)
    ผมจำได้ว่าเมื่อผมยังเด็ก พ่อแม่ญาติพี่น้องมักจะพร่ำสอนอยู่เสมอว่า ต้องรู้จักเก็บออมเงินเอาไว้ใช้จ่ายในภายภาคหน้า ส่วนเรื่องที่ญาติๆ ย้ำอยู่เสมอว่าไม่ควรทำ นั่นก็คือ “การค้ำประกันผู้อื่น” ไม่ว่าจะค้ำประกันการกู้ยืมเงิน ค้ำประกันคนเข้าทำงาน ค้ำประกันสัญญาเช่าซื้อ ค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาครับ สมัยนั้นพี่สาวผมบอกว่ามันเหมือนเอามือของเราไปซุกที่หีบของชาวบ้าน (เขาจะเปิดจะปิดเมื่อไหร่...ขึ้นอยู่กับเขาเลยนะครับ) ขณะที่เป็นเด็กผมยังไม่ค่อยเข้าใจหรอกครับว่าคำพร่ำสอนของญาติพี่น้องจะเข้มข้นอย่างไร จวบจนกระทั่งมาเรียนวิชากฎหมาย โอ้โห...พระเจ้าช่วย การค้ำประกันผู้อื่นนี่...เสมือนหนึ่งไปร่วมหอลงโรงกับเจ้าตัวเขาเลยนะครับ

    ค้ำประกัน...คนค้ำรับเต็มๆ

    เนื่องจากหลักการของกฎหมายค้ำประกันคือการนำเอาบุคคลที่มีฐานะทางการเงิน ฐานะทางสังคม ตำแหน่งหน้าที่การงานที่ดีมาค้ำประกันลูกหนี้ซึ่งอาจเป็นผู้ที่มีฐานะด้อยกว่าในการประกอบธุรกรรมต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องของการกู้ยืมเงิน ซึ่งคนค้ำประกันอาจจะไม่เกี่ยวข้องหรือ ไม่ได้รับผลประโยชน์อะไรด้วยเลยก็ได้ แต่ ต้องมาร่วมรับผิดชอบร่วมกับลูกหนี้ตัวจริง เสียงจริง ถ้าลูกหนี้เบี้ยวไม่ยอมชำระหนี้ หรือลูกหนี้ตายหรือลูกหนี้ล้มละลาย หรือลูกหนี้หนี ผู้ค้ำประกันเต็มๆ เลยครับที่ต้องรับผิดชอบแทน

    สัญญาค้ำประกัน...อ่านให้ดี

    ก่อนที่คุณผู้อ่านจะลงลายมือชื่อเพื่อค้ำประกันให้กับใครก็ตาม คุณต้องตระหนักไว้เลยนะครับว่า ส่วนใหญ่สัญญาค้ำประกันมักจะร่างโดยเจ้าหนี้ และมักจะระบุให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชอบอย่างลูกหนี้ร่วม หมายถึงว่าเรารับผิดชอบเต็มๆ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะไม่กำหนดวงเงินค้ำประกันไว้ หรือกำหนดไว้ก็เท่ากับจำนวนเงินที่ลูกหนี้กู้ไป แน่นอนครับว่าความรับผิดชอบของคุณไม่ต่างจากลูกหนี้เลย หากเป็นไปได้คุณควรต่อรองความรับผิดชอบแค่ครึ่งหนึ่งของวงเงินกู้ หรือวงเงินตามความรับผิดชอบนั้น เช่น เขากู้เงิน 1 ล้านบาท คุณก็อาจจะต่อรองรับผิดชอบแค่ 5 แสน แบบนี้เป็นต้นนะครับ
    ยังต้องรับผิดชอบ...อย่างอื่นอีก

    การค้ำประกันเนี่ยเหมือนกับที่ภาษิตไทยโบราณว่าไว้จริงๆ ครับว่า “เนื้อไม่ได้กิน หนังไม่ได้รองนั่งยังต้องเอากระดูกมาแขวนคออีก” ใช่แล้วครับเพราะความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกันไม่ได้หยุดอยู่แค่วงเงินที่กู้เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงดอกเบี้ย ค่าใช้จ่ายอย่างอื่น เช่น ค่าทนายความ ค่าใช้จ่ายในการทวงถาม ค่าดำเนินการ รวมทั้งค่าเสียหายที่เกิดจากการที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ด้วย แปลว่า คนค้ำประกันจะต้องรับผิดอย่างไม่จำกัดวงเงิน (ถ้าสัญญาไม่ระบุเอาไว้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแบบนั้น) และส่วนมากก็ยังมีเงื่อนไขไม่ให้ผู้ค้ำฯ ยกเลิกสัญญาก่อนอีกด้วยนะครับ

    นอกจากนี้พอลูกหนี้ตายเราผู้ค้ำประกันก็ยังต้องรับผิดชอบนะครับ หรือถ้าเราชิงตายไปก่อน แต่ลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ ภาระหนี้ของเราก็เป็นมรดกตกทอดไปยังทายาทของเราต่อไป...ยาวครับ

    ค้ำประกันคนเข้าทำงาน...ก็มีสัญญา

    การค้ำประกันคนเข้าทำงานแบ่งเป็น 2 ประเภทของการค้ำประกันครับ ไม่ว่าจะเป็น 1) การใช้บุคคลค้ำประกัน และ 2) การค้ำประกันด้วยทรัพย์สิน ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการค้ำประกันคนเข้าทำงานประเภทใดก็ตาม ผู้ค้ำฯ สามารถค้ำประกันแบบไม่จำกัดวงเงิน หรือแบบจำกัดวงเงินก็ได้ ขึ้นอยู่กับความตกลงระหว่างนายจ้างกับผู้ตกลงประกันความเสียหายเป็นหลัก นอกจากนี้การประกันความเสียหายจากการทำงานของลูกจ้างก็อาจกำหนดระยะเวลาที่ต้องผูกพันรับผิดชอบไว้ก็ได้ เช่น อาจทำสัญญาค้ำประกันการทำงานมีกำหนดระยะเวลา 2 ปี หรือ 5 ปี ฯลฯ หากไม่ได้ตกลงกำหนดระยะเวลารับผิดไว้ก็ต้องถือว่า เป็นการตกลงประกันความเสียหายจากการทำงานตลอดเวลาที่ลูกจ้างยังคงทำงานเป็นลูกจ้างของบริษัทหรือหน่วยงานนั้นๆ ครับ

    เมื่อค้ำฯ ไว้อย่างไร...ก็ต้องรับผิดชอบตามนั้น

    เรื่องค้ำประกันคนเข้าทำงานก็เหมือนกับค้ำประกันอื่นๆ คือต้องปฏิบัติตามสัญญาเลยครับ โดยปกติจะเป็นความรับผิดชอบต่อการกระทำของบุคคลที่คุณค้ำฯไว้ ซึ่งไปสร้างความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับหน่วยงาน หรือแม้แต่เรื่องการฉ้อโกง การยักยอกทรัพย์ของบริษัทที่ผู้ประกันยอมรับชดใช้แทนลูกจ้างจนครบถ้วน นอกจากนี้คุณผู้อ่านต้องดูสัญญาด้วยนะครับว่าการค้ำประกันนั้น ค้ำประกันเฉพาะเจาะจงในตำแหน่งงานใดหรือไม่ เช่น รับประกันแค่ตำแหน่งพนักงานขาย ซึ่งแปลว่าหากพนักงานขายคนนี้เลื่อนระดับขึ้นเป็นผู้จัดการฝ่ายขาย แบบนี้คุณไม่ต้องรับผิดชอบในความเสียหายในตำแหน่งใหม่นะครับ เว้นเสียแต่ว่าในสัญญาค้ำประกันไม่มีข้อความกำหนดในลักษณะเฉพาะว่าค้ำประกันความเสียหายในตำแหน่งงานใด ก็อาจถือว่าค้ำประกันความเสียหายที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงานในตำแหน่งที่ได้รับการเลื่อนขั้นไปด้วยครับ

    ถึงแม้ว่าผมจะบอกกับคุณผู้อ่าน Lisa ว่าเรื่องค้ำประกันนั้นควรหลีกเลี่ยง แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ เช่นคุณต้องไปค้ำประกันคนในครอบครัว ญาติสนิท คุณก็ต้องอ่านสัญญาค้ำประกันให้ละเอียดก่อนลงนามหรือลงลายมือชื่อ มิฉะนั้นคุณอาจปวดกระดองใจ แถมยังส่งต่อภาระการค้ำประกันนี้ไปถึงทายาของคุณด้วยนะครับ

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •